วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ผลวิจัยเผย "โจ๋ใต้" คิดฆ่าตัวตายสูง เหตุเครียดจัด ซ้ำเสี่ยงยาเสพติดเพิ่ม



Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com  

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11433 มติชนรายวัน


ผลวิจัยเผย "โจ๋ใต้" คิดฆ่าตัวตายสูง เหตุเครียดจัด ซ้ำเสี่ยงยาเสพติดเพิ่ม







ผลวิจัยพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพนักเรียนมัธยมภาคใต้เผยวัยรุ่นละเลยสุขภาพ พฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติด นักเรียนหญิงร้อยละ 15 มีเซ็กซ์แบบไม่คุมกำเนิด ซ้ำร้ายเครียดหนักคิดฆ่าตัวตายสูง นักวิชาการแนะผู้ปกครองใส่ใจบุตรหลานมากขึ้น

รายงานการวิจัยเรื่อง "พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพและการติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการใช้สารเสพติดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในภาคใต้" โดย รศ.ดร.พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย และทีมวิจัยประกอบด้วยนางอุไรวรรณ พัฒนสัตยวงศ์ นางอโนชา หมึกทอง และนางสาวนิศานติ์ สำอางศรี ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สนับสนุนวิจัยโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) ซึ่งเป็นการสำรวจในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 3 และ 5 และนักเรียนสายอาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 โดยโครงการนี้เป็นการสำรวจซ้ำทุกปี เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เพื่อสำรวจความชุกและเฝ้าระวังแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ พฤติกรรมการใช้สารเสพติดและเจตคติต่อการใช้สารเสพติดในเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในภาคใต้

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการใช้สารเสพติดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในภาคใต้ ปีการศึกษา 2548 เก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 3, 5 และ ปวช. ปี 2 รวมทั้งสิ้น 11,135 คนของโรงเรียนในจังหวัดสงขลา ปัตตานี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และยะลา รวม 48 โรงเรียน เป็นนักเรียนชาย 4,711 คน หญิง 6,413 โดยจำแนกเป็นนักเรียนจากโรงเรียนรัฐบาล 7,994 คน โรงเรียนเอกชน 3,141 คน โรงเรียนสายสามัญ 9,013 คน โรงเรียนสายอาชีวศึกษา 2,122 โรงเรียนในเขตเมือง 7,122 คน และโรงเรียนในเขตชนบท 4,013 คน ใช้วิธีตอบแบบสอบถามให้เป็นไปตามความสมัครใจของนักเรียนโดยไม่ระบุชื่อของผู้ตอบ

ผลการสำรวจพบว่า นักเรียนชาย 27% และหญิง 34% ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยเวลานั่งในรถยนต์ นักเรียนหญิงทุกระดับชั้นมีอัตราการไม่สวมกันน็อคและไม่คาดเข็มขัดนิรภัยมากกว่านักเรียนชายในระดับชั้นเดียวกัน เมื่อแยกโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน 24 และ 29% ไม่เคยสวมหมวกกันน็อค 30 และ 34% ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยนักเรียนชาย 26% และนักเรียนหญิง 13% เคยดื่มแอลกอฮอล์อยู่ใน 30 วัน ก่อนตอบแบบสอบถาม โดยนักเรียนชาย 17% นักเรียนหญิง 4% เคยดื่มสุราจนเมา โดยนักเรียนสายอาชีพมีอัตราการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์สูงกว่านักเรียนสายสามัญ นักเรียนโรงเรียนเอกชนมีอัตราการเคยสูบบุหรี่จนหมดมวนสูงกว่านักเรียนโรงเรียนรัฐบาล แต่พฤติกรรมการดื่มสุราของนักเรียนโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนมีอัตราพอๆ กัน

สำหรับพฤติกรรมทางเพศซึ่งอาจจะทำให้เกิดการตั้งครรภ์อย่างไม่ตั้งใจและการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้น นักเรียนชายหญิง 14 และ 5% เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ในจำนวนนี้นักเรียนชาย 11% และนักเรียนหญิง 15% ไม่ได้ใช้วิธีการคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด และนักเรียนชายหญิงเหล่านี้ 22 และ 9% ได้ดื่มสุราหรือใช้สารเสพติดก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย นักเรียนชายและหญิง 24 กับ 12% ตอบว่าไม่เคยได้รับความรู้หรือการสอนเกี่ยวกับโรคเอดส์ หรือเอชไอวี ในโรงเรียน

ส่วนของเรื่องความรู้สึกซึมเศร้าและการพยายามฆ่าตัวตายนั้น นักเรียนชายและหญิง 14-15% เคยรู้สึกซึมเศร้า หมดหวังหมดอาลัยในชีวิตเกือบตลอดเวลาเป็นเวลานาน 2 สัปดาห์ติดต่อกัน จนรบกวนการดำเนินชีวิตตามปกติ นักเรียนทั้งหมด 5-6% เคยคิดจะฆ่าตัวตายอย่างจริงจังและวางแผนวิธีการฆ่าตัวตาย และประมาณ 4-6% เคย

พยายามฆ่าตัวตายจริง นักเรียนหญิงจะมีอัตราของอาการซึมเศร้า วางแผนฆ่าตัวตายและพยายามฆ่าตัวตายสูงกว่านักเรียนชาย ในชั้นปีเดียวกัน นักเรียนระดับชั้นสูงกว่ามีอัตราของความรู้สึกและพฤติกรรมเหล่านี้สูงกว่านักเรียนชั้นเล็กกว่า

"พฤติกรรมบางอย่างของกลุ่มมัธยมศึกษาน่าเป็นห่วงมาก เรื่องความซึมเศร้าขนาดที่พยายามฆ่าตัวตายที่สูงถึง 14-15% และหลายคนเคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว และอีกเรื่องคือเรื่องพฤติกรรมทางเพศที่วัยรุ่นละเลยการคุมกำเนิด และที่ร้ายกว่านั้นคือมีจำนวนไม่น้อยบอกว่าไม่เคยได้รับความรู้เรื่องเชื้อเอชไอวีจากสถานศึกษาเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมากว่าตอนนี้พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่นน่าเป็นห่วง ผู้ปกครองต้องใส่ใจลูกหลานของตัวเองมากขึ้น สังเกตความเปลี่ยนแปลงให้ดีจะได้ให้คำแนะนำกับเขาได้" รศ.ดร.พญ.สาวิตรีกล่าว

แหล่งข่าวยังบอกอีกว่า ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่านักเรียนหญิงมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องติดตามเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษ ได้แก่ อารมณ์ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ไม่สวมหมวกกันน็อคและไม่คาดเข็มขัดนิรภัย พยายามลดน้ำหนัก ไม่ค่อยออกกำลังกาย มีแนวโน้มการใช้แอลกอฮอล์และบุหรี่ ส่วนนักเรียนชายมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเกือบทุกด้านโดยเฉพาะพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บโดยจงใจ มีพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์กับคนมากกว่า 1 คนและไม่คุมกำเนิด และนักเรียนสายอาชีพ (ปวช.2) มีพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังมากในเกือบทุกด้าน ยกเว้นการไม่สวมหมวกกันน็อคและการชกต่อยซึ่งนักเรียนชั้นมัธยม 1 เสี่ยงมากกว่า

นอกจากนั้นพบว่านักเรียนโรงเรียนเอกชนมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังมากกว่านักเรียนโรงเรียนรัฐบาล ได้แก่ การไม่สวมหมวกกันน็อค ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ ความรู้สึกซึมเศร้า พยายามควบคุมน้ำหนักและสูบบุหรี่ พฤติกรรมเสี่ยงในนักเรียนโรงเรียนรัฐบาลที่ต้องเฝ้าระวังได้แก่ การดื่มสุรา การพกอาวุธ การถูกข่มขู่ การคิดวางแผนและพยายามฆ่าตัวตาย

อย่างไรก็ดี อัตราการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่นการไม่สวมหมวกกันน็อค ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย การพกพาอาวุธ และชกต่อยทะเลาะวิวาท การสูบบุหรี่หรือดื่มสุรา อาการซึมเศร้า และความคิดฆ่าตัวตาย รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ มีแนวโน้มลดลงกว่าอัตราในสามปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในด้านความรู้และพฤติกรรมสุขภาพ แต่นักเรียนรุ่นนี้เคยมีประสบการณ์ใช้สารเสพติดเพิ่มมากขึ้นกว่านักเรียนรุ่นก่อนหน้านี้ สารที่นักเรียนรุ่นนี้เคยใช้และเคยเห็นของจริงมากที่สุดคือพืชกระท่อม รองลงมาคือกัญชาและยาบ้า

หน้า 26
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01epe01290652&sectionid=0147&day=2009-06-29



Invite your mail contacts to join your friends list with Windows Live Spaces. It's easy! Try it!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น