วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

อินเดียโคลนนิง "ควาย" สำเร็จเป็นครั้งที่สอง

อินเดียโคลนนิง "ควาย" สำเร็จเป็นครั้งที่สอง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 มิถุนายน 2552 14:05 น.

"การิมา" ลูกควายโคลนนิงตัวที่สองของอินเดียที่คาดว่าจะมีชีวิตยืนยาวกว่าตัวแรก (ภาพ AFP/HO/NDRI)

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
นักวิทยาศาสตร์แห่ง NDRI กับผลงานควายโคลนนิงตัวแรกของโลกเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา แต่น่าเสียดายเจ้าควายตัวนี้มีอายุแค่ 1 สัปดาห์

นักวิจัยอินเดียเผยผลงานลูกควายโคลนนิง "การิมา" สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ แก้มือเมื่อต้นปีที่ลูกควายโคลนนิงตัวแรกของโลกมีอายุได้เพียงแค่ 1 สัปดาห์
       
       นักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ทางด้านนมแห่งอินเดีย (National Dairy Research Institute : NDRI) ในเมืองกรนาล (Karnal) รัฐหรยาณา (Haryana) ทางตอนเหนือของอินเดีย ได้โคลนนิงกระบือสำเร็จ โดยใช้เนื้อเยื่อตัวอ่อน
       
       สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานโ ดยอ้างข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ฮินดู (Hindu newspaper) ที่สัมภาษณ์ศรีวัศตวา (A.K. Srivastava) ผู้อำนวยการ NDRI ว่า ลูกกระบือโคลนนิงที่ได้เพศเมีย ชื่อว่า "การิมา" (Garima) มีน้ำหนักประมาณ 43 กิโลกรัม ตอนนี้สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี
       
       ทั้งนี้ สำนักข่าวเพรสทรัสต์ออฟอินเดีย (Press Trust of India) ได้รายงานเพิ่มเติมว่า ใน การโคลนนิงการิมานั้น นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เนื้อเยื่อจากตัวอ่อน และใช้เทคนิคโคลนนิงแบบที่สามารถเลือกเพศของตัวอ่อนได้ ที่เรียกว่า "แฮนด์-ไกด์ โคลนนิง เทคนิค" (hand-guided cloning technique) นับว่าได้พัฒนาก้าวหน้าไปมากกว่าการสร้างแกะดอลลี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโคลนนิงตัวแรกของโลก
       
       อย่างไรก็ดี การิมาก็หาใช่กระบือโคลนิงตวแรกของโลก แต่ อินเดียก็ได้โคลนนิงกระบือตัวแรกของโลก จนลืมตาออกมาดูโลกได้สำเร็จเมื่อ 6 ก.พ.52 ที่ผ่านมา ด้วยการสร้างตัวอ่อนจากเนื้อเยื่อหูของกระบือเพศเมียตัวหนึ่ง แต่ลูกกระบือดังกล่าวมีชีวิตอยู่เพียงแค่ 1 สัปดาห์ก่อนที่จะตายไปด้วยโรคปอดบวม
       

       สำหรับการิมานั้น นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ใช้เเนื้อเยื่อตัวอ่อนของกระบือเพศเมียมาใช้ในการโคลน นิงครั้งนี้ แทนการใช้เนื้อเยื่อหูเหมือนครั้งที่ผ่านมรา
       
       ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ NDRI ให้ความรู้ว่า อินเดียเป็นประเทศที่มีกระบือสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก และยังมีจำนวนมากที่สุดในโลก ทว่าสัดส่วนของกระบือสายพันธุ์พิเศษกำลังลดน้อยลง ซึ่งการวิจัยและพัฒนาวิธีการโคลนนิงวัวของพวกเขาก็เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์ที่ เป็นสายพันธุ์พิเศษเฉพาะ.

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000064267

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น