วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

ป.ป.ช.ไล่บี้ข้อมูลทุจริต ธอส. ผู้บริหารทำพิลึกบริจาคเงิน 1.2 ล.แก้ทาง

วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4191  ประชาชาติธุรกิจ


ป.ป.ช.ไล่บี้ข้อมูลทุจริต ธอส. ผู้บริหารทำพิลึกบริจาคเงิน 1.2 ล.แก้ทาง





ภาย หลังจากที่มีพนักงานมือดี ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) แอบส่งข้อมูลลับชุดใหญ่ให้คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยขอให้ตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของ ธอส.จนในที่สุดเรื่องทุจริตที่เกิดขึ้นนี้ ก็กลายมาเป็นข่าวใหญ่อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อ ป.ป.ช.มีหนังสือลับถึง นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ให้กระทรวงการคลังตรวจสอบข้อเท็จจริง 3 เรื่องดังนี้

1) การทุจริตที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างระบบคอมพิวเตอร์หลัก (core bank system : CBS) กับ บมจ.ดาต้าแมท กรณีการตรวจรับงานและจ่ายเงินไม่เป็นไปตามสัญญา กล่าวคือ มีการแก้ไขวันที่ส่งมอบสัญญาและรีบเร่งอนุมัติเบิกจ่ายเงินให้แก่เอกชนผู้ รับจ้าง ทั้งที่การตรวจรับยังไม่ครบถ้วนตามสัญญา

2) การทุจริตเกี่ยวกับการระดมเงินทุนและการธุรกรรมตราสารอนุพันธ์ interest rate swap เอื้อประโยชน์ให้แก่ภาคเอกชน คือ มีการทำสัญญาจ้าง DEPFA INVESTMENT BANK LIMITED ระดมเงินฝากโดยไม่มีอำนาจ ซึ่งทาง DEPFA เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกตราสารกับ ธอส. ได้แก่ ค่า facility fee 0.72%, arrangement fee 0.5% และ financial advisor fee 0.5% เป็นต้น ซึ่งปกติธนาคารไม่จำเป็นต้องมาเสียค่าธรรมเนียมประเภทนี้

นอกจาก นี้ ในการทำสัญญาว่าจ้าง DEPFA ซึ่งเป็นบริษัทที่ไม่มีสำนักงานในประเทศไทย เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในการระดมทุนวงเงิน 25 ล้านเหรียญสหรัฐ น่าจะเป็นการกระทำที่ไม่ได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจจะต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษาภายในประเทศเฉพาะที่ขึ้นทะเบียนกับ กระทรวงการคลังเท่านั้น ดังนั้นในการทำสัญญาว่าจ้าง DEPFA ไม่ใช่การดำเนินการปกติ การทำสัญญานี้จะต้องผ่านการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดด้วย

และ ประเด็นสุดท้ายที่ ป.ป.ช.สนใจ คือ การจัดซื้อเครื่องแบบพนักงานธนาคารตั้งแต่ปี 2548-2549 ด้วยวิธีพิเศษ อาทิ จัดซื้อเสื้อแจ็กเกตสีน้ำตาลแจกพนักงานจำนวน 2,000 ตัว ในราคาตัวละ 1,800 บาท เป็นต้น โดย ป.ป.ช.ได้ขอให้กระทรวงการคลังตรวจสอบและจัดส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมกับเซ็นรับรองสำเนาเอกสารส่งให้ ป.ป.ช.พิจารณาภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือจาก ป.ป.ช.

ผลปรากฏว่า เมื่อครบกำหนดนำส่ง เอกสารตามที่ร้องขอ ทาง ป.ป.ช.กลับไม่ได้ รับเอกสาร แต่ได้รับเป็นเงินบริจาคแทน โดยเมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธอส. ได้นำแคชเชียร์เช็คมูลค่า 1.2 ล้านบาท มอบให้นายอภินันท์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อร่วมสนับสนุนการจัดงานประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ครั้งที่ 14 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 10-13 พ.ย.นี้ ซึ่งทาง ป.ป.ช.ก็แก้เกมเพื่อป้องกันข้อครหาที่จะกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ด้วยการนำภาพถ่ายนายฉัตรชัยนำเงินแบงก์มาบริจาคให้กับ ป.ป.ช.ขึ้นเว็บไซต์ทันที

ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง ก็ออกมาบอกว่า กระทรวงการคลังคงไม่สามารถจัดส่งข้อมูลตามที่ ป.ป.ช.ขอได้ทัน 30 วันที่กำหนด เนื่องจาก นายศุภชัย จงศิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง เพิ่งจะทำหนังสือไปถึงนายนริศ ชัยสูตร ประธานกรรมการ ธอส. เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยนายนริศได้นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมบอร์ดธนาคาร และได้มีการกำหนดตัวบุคคลที่มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลนำส่ง ป.ป.ช.แล้ว ซึ่งยังไม่ทราบข้อมูลทั้งหมดจะพร้อมนำส่ง ป.ป.ช.ได้เมื่อไหร่

ซึ่งก่อนหน้านี้ นางโสภาวดี เลิศมนัสชัย ประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีพนักงาน ธอส.ทุจริตเงินแบงก์ 499 ล้านบาท ได้สรุปผลการสอบสวนเสนอต่อที่ประชุม ซึ่งก็มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการทางวินัยกับผู้บริหารที่ เกี่ยว ข้องทั้งหมด นอกเหนือจากนายสมเกียรติ ปัญญาวรคุณเดช ผู้ต้องหา เวลาผ่านมาเกือบ 1 ปี แต่ก็ยังไม่พบว่า มีผู้บริหาร ท่านใดถูกลงโทษทางวินัย

และที่น่าจับตา คือ หลัง ป.ป.ช.เริ่มเข้ามาตรวจสอบ ธอส. ก็มีเสียงสะท้อนความอึดอัดใจจากนายนริศที่ปรารภกับผู้ใหญ่ในกระทรวงการคลัง ว่าอยากจะลาออกจากประธานกรรมการ ธอส. ตามกรรมการหลายท่านที่ทยอยลาออกกันไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนายชัยยุทธ สุทธิธนากร, นายวัชชรา ตันทรานนท์, นายเฉลียว วิฑูรปกรณ์, น.ส.โสภาวดี เลิศมนัสชัย ตอนนี้เหลือเพียง "นายนริศ" เท่านั้น


หน้า 14
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02fin05110353&sectionid=0206&day=2010-03-11

--
Web link
http://www.edtguide.com/SuanplooThaiMassage_486629
http://www.victam.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://www.niwatkongpien.com
http://sundara21.blogspot.com
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com/v1/
http://cloudbookclub.blogspot.com
http://blogok09.blogspot.com
http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2049
http://www.ias.chula.ac.th/Thai/modules.php?name=NuCalendar

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

จับตาแผนพีดีพี 2010 ผุดนิวเคลียร์-ถ่านหินอื้อ

จับตาแผนพีดีพี 2010 ผุดนิวเคลียร์-ถ่านหินอื้อ
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 12 กุมภาพันธ์ 2553 08:51 น.
       ASTVผู้จัดการรายวัน- สนพ.เปิดรับฟังความเห็นแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่(2010) ระยะยาว 20 ปี(2553-2573) 17 ก.พ.นี้ ขณะที่นักวิชาการค้านคลอดเร็วผิดปกติไม่รอค่าพยากรณ์ต่างๆที่จะเสร็จมี .ค.นี้ จับตาแผนเบื้องต้นเสียบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 แห่ง ถ่านหิน 14 แห่ง กำลังผลิตพุ่งกว่า 6 หมื่นเมกะวัตต์ลงทุนกว่า 2 ล้านล้านบาท
       
        นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาลตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะ กรรมการคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(PDP 2010) หรือ(2553-2573) เปิดเผยว่า การจัดทำPDP 2010 เบื้องต้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์โดยจะมีการพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งในการ ประชุมคณะทำงานทบทวนสมมติฐาน PDP2010 เป็นการภายในอีกครั้งก่อนที่จะสรุปเพื่อนำไปทำการเปิดรับฟังความเห็นจากผู้ มีส่วนได้ส่วนเสียวันที่ 17 ก.พ.นี้
       
        ทั้งนี้ตนคงจะคัดค้านถึงแนวทางการสรุปแผนดังกล่าวที่ได้มีการเสนอร่างมาแล้ว เบื้องต้นที่มีการกำหนดอัตรากำลังการผลิตไฟฟ้าตามแผนสูงถึง 66,000 เมกะวัตต์ มูลค่าลงทุนกว่า 2 ล้านล้านบาท ขณะที่กำลังการผลิตตามแผนปัจจุบันหรือ PDP-2007 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่2) หรือช่วงปี 2551-2564 กำลังการผลิต 30,155 เมกะวัตต์ลงทุนประมาณ 1,626,274 ล้านบาท
       
        นอกจากนี้แผนยังบรรจุการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ถึง 11 แห่งตลอดแผนโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2563 โรงแรกและเฉลี่ยที่เหลือปีละแห่งกำลังผลิตแห่งละประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ ขณะเดียวกันยังบรรจุการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอีกประมาณ 14 แห่งกำลังผลิตเฉลี่ยแห่งละ 800 เมกะวัตต์โดยจะทยอยเข้าระบบควบคู่ไปกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
       
        “ การเสนอแผนดังกล่าวมาถือเป็นการเร่งรีบทำเพราะเดิมจะต้องรอการจัดทำค่า พยากรณ์การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ของสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์หรือนิด้าที่มีการจ้างให้ดำเนินการรวมถึง การนำค่าจีดีพีไปพิจารณาในการจัดทำความต้องการไฟฟ้าจากมูลนิธิพลังงานเพื่อ สิ่งแวดล้อมเสียก่อนซึ่งล่าสุดนิด้าคาดการณ์จีดีพีของไทยตลอดแผนจะโตเฉลี่ย 4-4.5% ซึ่งทั้งหมดจะสรุปไม่เกินมี.ค.นี้แต่การจัดทำแผนมีการอิงจีดีพีที่ 4.5-5 %“นายเดชรัตน์กล่าว
       
        นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผู้อำนวยการส่วนไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า สนพ.ได้แจ้งผ่านเว็บไซต์เพื่อประกาศเปิดรับฟังความเห็น "ร่างแผนพัฒนาแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 (PDP 2010)" ในวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 08.30-13.00 น. ณ โรงแรมอมารี วอร์เตอร์เกต ห้องวอเตอร์เกตบอลรูม ผู้จัดได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงแล้ว หากผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพิ่มเติมได้ โดยส่งแบบตอบรับการเข้าร่วมสัมมนาทางโทรสาร 0-2967-1474
       
        สำหรับกรณีที่มีผู้ระบุว่ามีการจัดทำเร่งรีบเกินไปนั้นได้มีการหารือกันมา อย่างเป็นลำดับขั้นตอนและแผนขณะนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์จะมีการดูรายละเอียด อีกครั้งเร็วๆ นี้โดยส่วนของนิวเคลียร์ที่ตามแผนจะมีเพิ่มขึ้นนั้นเนื่องจากนิวเคลียร์จะมี ข้อดีที่ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุของภาวะเรือนกระจกได้ดี ที่สุดและยังกระจายความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิงที่ไทยพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติในสัด ส่วนที่สูงเกินไป
       
        “ ตามแผนพีดีพีเป็นระยะยาว 20 ปี มุ่งเน้นความมั่นคงของกำลังการผลิตไฟฟ้าควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม คือ มีสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศที่เหมาะสม และมีการกระจายแหล่งและชนิดเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ควบคู่ไปกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการผลิตไฟฟ้าใหม่ โดยส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนา พลังงานทดแทน 15 ปี รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อน ร่วม (Cogeneration)”นายเสมอใจกล่าว
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000020240

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

ภาพอนาคตระบบไฟฟ้าไทย : เมื่อประเทศไทยจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรง

ภาพอนาคตระบบไฟฟ้าไทย : เมื่อประเทศไทยจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรง
โดย เดชรัต สุขกำเนิด 15 กุมภาพันธ์ 2553 18:22 น.
ไม่น่าเชื่อว่า ประเทศไทยกำลังจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรงบวกกับโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก 17 โรงในอีก 20 ข้างหน้า
       
       นี่คือ ภาพอนาคตที่กระทรวงพลังงานวางไว้ให้กับสังคมไทย ผ่านการวางแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หรือ แผนพีดีพี 2010
       
       สิ่งที่น่าสนใจคือ เราอยากให้ภาพอนาคตของระบบไฟฟ้าไทยเป็นอย่างไร และใครเป็นผู้มีสิทธิกำหนดอนาคตของสังคมไทย
       
       ไฟฟ้าไทยในสายตาของกระทรวงพลังงาน
       
       เหตุผลสำคัญที่กระทรวงพลังงานมีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้ากันขนานใหญ่ ก็เพราะคาดการณ์ว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 22,050 เมกะวัตต์ เป็น 57,097 เมกะวัตต์ในปี พ.ศ.2573
       
       เมื่อหักลบการจัดการด้านความต้องการใช้ไฟฟ้า ซึ่งกระทรวงพลังงานคาดว่าจะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้เพียง 240 เมกะวัตต์ (หรือประหยัดได้เพียงร้อยละ 0.4 ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุดเท่านั้น) ทำให้ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดลดลงเล็กน้อยเหลือ 56,863 เมกะวัตต์
       
       จากความต้องการไฟฟ้าสูงสุดดังกล่าว กระทรวงพลังงานจึงกำหนดให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งประมาณ 70,126 เมกะวัตต์ ในปี พ.ศ.2573 โดยเผื่อให้มีกำลังการผลิตสำรองไว้ร้อยละ 15
       
       เมื่อบวกกับกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน 30,000 เมกะวัตต์ และการปลดระวางโรงไฟฟ้าเก่าไปอีกจำนวนหนึ่ง กระทรวงพลังงานจึงกำหนดว่า ประเทศไทยจะต้องมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นหรือมีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเกือบ 50,000 เมกะวัตต์ ภายในระยะเวลา 20 ปี
       
       ตัวเลข 50,000 เมกะวัตต์จึงเป็นที่มาของโครงการต่างๆ รวมทั้งโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประมาณ 11 โรง รวมกัน 11,000 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าถ่านหินประมาณ 17 โรง รวมกัน 13,600 เมกะวัตต์ และซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านอีกประมาณ 10 โรง รวมกัน 8,000 เมกะวัตต์
       
       ในขณะที่ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน กระทรวงพลังงานกำหนดให้กำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกันเพียง 5,656 เมกะวัตต์ในปีพ.ศ. 2573 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของกระทรวงพลังงานตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ที่กำหนดให้มีกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียน 5,690 เมกะวัตต์ ในปีพ.ศ. 2565
       
       กล่าวโดยสรุป ตามแผนพีดีพีของกระทรวงพลังงาน ประเทศไทยจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ประมาณ 40,000 เมกะวัตต์ (ไม่รวมการซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านและการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน) หรือเท่ากับว่า ใน 20 ปีข้างหน้าเราต้องสร้างโรงไฟฟ้ากันมากกว่าโรงไฟฟ้าที่เรามีอยู่ในปัจจุบันเสียอีก
       
       ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ นับจากปีพ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประเทศไทยจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปีละหนึ่งโรง ต่อเนื่องกันทุกปี ไม่มีเว้นจนถึงปี พ.ศ. 2573 รวมทั้งสิ้น 11 โรง
       
       ทางเลือกของอนาคตไฟฟ้าไทย
       
       สิ่งที่น่าสนใจคือ ประเทศไทยของเรามีทางเลือกอื่นๆ อีกหรือไม่
       
       ในความเป็นจริง ประเทศไทยยังมีทางเลือกอื่นๆ อีกไม่น้อย ที่ไม่ได้รับความสนใจจากกระทรวงพลังงานอย่างจริงจัง
       
       เริ่มต้นจากการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า เพราะที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นแผนพีดีพี 2004 หรือแผนพีดีพี 2007 ก็ล้วนพยากรณ์เกินความจริงไปไม่ไม่น้อย โดยในแผนพีดีพี 2007 (ซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว) พยากรณ์ความต้องการเกินไปประมาณ 3,180 เมกะวัตต์ คิดเป็นภาระการลงทุนเกินจริงมากกว่า 120,000 ล้านบาท
       
       มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมได้รับมอบหมายจากกระทรวงพลังงานให้ พยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด พบว่า ในปีพ.ศ. 2573 ความต้องการไฟฟ้าของไทยจะมีเพียง 51,123 เมกะวัตต์เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของกระทรวงพลังงานถึง 5,740 เมกะวัตต์
       
       เช่นเดียวกับมูลนิธินโยบายสุขภาวะซึ่งคาดการณ์ว่า ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในปี พ.ศ. 2573 จะมีเพียงประมาณ 49,743 เมกะวัตต์เท่านั้น หรือต่างจากที่กระทรวงพลังงานกว่า 7,374 เมกะวัตต์
       
       เมื่อบวกกับว่า เราต้องสำรองกำลังการผลิตไฟฟ้าไว้อีกร้อยละ 15 การคาดการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้นจะช่วยลดความต้องการสร้างโรง ไฟฟ้าใหม่ไปได้ถึง 8,457 เมกะวัตต์ หรือ เท่ากับไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไป 8 โรง ประหยัดเงินลงทุนไปได้กว่า 900,000 ล้านบาท
       
       ยิ่งไปกว่านั้น หากเราพยายามอนุรักษ์พลังงานให้มากขึ้น โดยลดการใช้ไฟฟ้าส่วนที่ไม่มีประสิทธิภาพลงให้ได้ร้อยละ 15 เพื่อลดภาระทางเศรษฐกิจและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (แทนที่จะลดลงเพียงร้อยละ 0.4 ตามที่กระทรวงพลังงานวางแผน) เราก็จะประหยัดพลังงานไปได้อีก 7,461 เมกะวัตต์
       
       จากการประหยัดพลังงานที่ดียิ่งขึ้นดังกล่าว เราจะสามารถลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าได้อีกกว่า 8,580 เมกะวัตต์ เหลือ เท่ากับลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีก 3 โรงที่เหลือ และลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินลงได้อีก 7 โรง ประหยัดเงินในการสร้างโรงไฟฟ้าไปได้กว่า 620,000 ล้านบาท
       
       ส่วนพลังงานหมุนเวียน หากเราทำได้ตามแผนพลังงานทดแทน 15 ปีที่กระทรวงพลังงานกำหนดไว้ พร้อมต่อยอดอย่างต่อเนื่องจากปี พ.ศ. 2565-2573 เราก็จะมีกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มอีก 8,900 เมกะวัตต์ เท่ากับว่าในปี พ.ศ. 2573 เราจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนร้อยละ 15 ของกำลังการผลิตทั้งหมด แทนที่จะเป็นร้อยละ 8 ตามที่กระทรวงพลังงานกำหนดไว้
       
       ในจำนวนเกือบ 9,000 เมกะวัตต์นี้ เราสามารถพึ่งพากำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนได้อีก 4,500 เมกะวัตต์ (มากกว่าที่กระทรงพลังงานกำหนดไว้ในแผนพีดีพีประมาณ 2,500 เมกะวัตต์) ดังนั้น จึงช่วยลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้เพิ่มขึ้นอีก 3 โรง
       
       แถมเรายังสามารถผลิตไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าและความร้อนร่วม ซึ่งมีประสิทธิภาพทางพลังงานสูงกว่าการผลิตไฟฟ้าอย่างเดียว สำหรับนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้มากกว่า 8,000 เมกะวัตต์ (ในขณะที่กระทรวงพลังงานกำหนดไว้เพียง 4,000 เมกะวัตต์) ทำให้สามารถลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินไปได้อีก 5 โรง
       
       เช่นเดียวกับ โรงไฟฟ้าเก่าๆ ที่ต้องปลดระวางไป ประมาณ 10,000 เมกะวัตต์ แทนที่จะปลดทิ้งไปเฉยๆ เราก็ควรทำการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าดังกล่าวแทน ซึ่งก็จะช่วยลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก 2 โรงที่เหลือ พร้อมทั้งยังลดความจำเป็นในการนำเข้าไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านไปได้อีกด้วย
       
       เพราะฉะนั้น ทางเลือกที่เราจะลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรงและโรงไฟฟ้าถ่านหิน 17 โรง นั้นมีอยู่มาก ซึ่งจะช่วยลดภาระทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านล้านบาทตลอดระยะเวลา 20 ปี
       
       ปัญหาคือความเร่งรีบของกระทรวงพลังงาน
       
       ในระหว่างทางเลือกที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรงและโรงไฟฟ้าถ่านหิน 17 โรง ซึ่งจะต้องนำเข้าทั้งเทคโนโลยีและเชื้อเพลิง กับการเอาจริงเอาจังในการประหยัดพลังงานและการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนด้วยตัว เราเองนั้น กำลังจะนำสู่ภาพอนาคตที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก
       
       กล่าวเฉพาะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรงก็คงจะต้องมีการก่อสร้างในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 3 จังหวัด ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหิน 17 โรงก็คงตั้งอยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 จังหวัด
       
       ภายใต้ความแตกต่างดังกล่าว การ หารือแลกเปลี่ยนกันอย่างเปิดเผย โปร่งใส และแบบเป็นขั้นเป็นตอน เป็นหัวใจสำหรับการยอมรับซึ่งกันและกัน และการลดทอนความขัดแย้งที่จะตามมาจากโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าว
       
       แม้ว่าผมจะไม่เห็นด้วยกับโรงฟ้านิวเคลียร์ แต่ผมก็มิได้คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือนิวเคลียร์ หากผ่านกระบวนการวางแผนและคิดร่วมกันอย่างรอบคอบ
       
       แต่กระทรวงพลังงานกลับเลือกที่จะเดินหน้าการวางแผนดังกล่าวอย่างเร่ง รีบจนน่าประหลาดใจ เพราะแม้ว่าความถูกต้องของการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดก็ยังไม่ได้รับ การยืนยัน กระทรวงพลังงานกลับเลือกใช้การพยากรณ์ของตนเอง ทั้งๆ ที่ที่ผ่านมาก็พยากรณ์เกินความเป็นจริงมาโดยตลอด
       
       ยิ่งไปกว่านั้น กระทรวงพลังงาน ยังรีบจัดกระบวนการรับฟังความเห็น ในวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 โดยแจ้งล่วงหน้าเพียง 7วัน และตราบจนถึงเช้าวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 (48 ชั่วโมงก่อนเวทีจะเริ่มขึ้น) กระทรวงพลังงานก็ยังไม่ยอมเผยแพร่เอกสารที่จะใช้การรับฟังความคิดเห็นดัง กล่าวให้ผู้เข้าร่วมได้ศึกษาก่อน
       
       ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมกระทรวงพลังงานถึงต้องรีบเหลือเกิน ทั้งๆ ที่เรายังมีกำลังการผลิตสำรองเหลือเฟือ (ประมาณร้อยละ 30 ของความต้องการสูงสุด) และสังคมไทยต้องการเวลาและกระบวนการที่เปิดกว้างสำหรับการตัดสินใจที่สำคัญ เหลือเกินในอนาคต
       
       คำตอบที่ผมได้รับจากกระทรวงพลังงานคือ ภาคการเมือง (ซึ่งผมไม่รู้ว่าหมายถึงใคร???) ต้องการเร่งทำให้เสร็จโดยเร็ว ส่วนที่กระทรวงพลังงานจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นประชาชนเพียงครั้งเดียว เพราะหน่วยงานไม่มีงบประมาณ
       
       นี่หรือคือเมืองไทย ที่อนาคตถูกกำหนดจากใครก็ไม่รู้
       
       นี่หรือคือเมืองไทย ที่เรากำลังจะลงทุนนับเป็นเงินกว่าสามถึงสี่ล้านล้านบาท (ย้ำ!! ล้านล้านบาท) แต่เรากลับไม่มีงบประมาณ (น่าจะไม่ถึงหนึ่งล้านบาท) สำหรับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งประเทศ
       
       แล้วเราจะยอมให้การกำหนดอนาคตของประเทศไทย เดินหน้าต่อไปเช่นนี้หรือ???
       
       -----------------
       เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นักวิชาการผู้เกาะติดนโยบายพลังงานมาอย่างต่อเนื่อง
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000021876
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

ชำแหละแผนพัฒนาผลิตไฟฟ้าใหม่ โยนภาระค่าโง่ปีละแสนล้านให้ประชาชน

ชำแหละแผนพัฒนาผลิตไฟฟ้าใหม่ โยนภาระค่าโง่ปีละแสนล้านให้ประชาชน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 มีนาคม 2553 22:39 น.
รสนา โตสิตระกูล
       ASTVผู้จัดการออนไลน์ - วุฒิสภาร่วมกับธรรมศาสตร์ จัดเวทีซักค้านแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า 2010ชี้กระบวนการจัดทำแผนเร่งรัดผิดปกติและไม่โปร่งใส นักวิชาการอิสระชำแหละแผนลงทุนเกินจำเป็นจะก่อให้เกิดภาระหรือค่าโง่นับแสน ล้านต่อปี มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคลั่นยัดเยียดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่าหวังได้เกิด กังขาปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนเอื้อประโยชน์เอกชน โยนภาระให้ชาวบ้าน
       
       ผลประโยชน์มหาศาลในธุรกิจพลังงาน เป็นแรงจูงใจให้เกิดการวางแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าที่ออกมาในลักษณะเกินความจำ เป็นและผลักภาระค่าการลงทุนนั้นมาให้ประชาชนเป็นผู้จ่ายผ่านค่าไฟที่เพิ่ม สูงขึ้นโดยไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ ภายใต้ระบบที่ผูกขาด แผนพีดีพีที่ป่วยเรื้อรังด้วยโรค “ลงทุนเกินจำเป็น” ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องชำระสะสางเพื่อกำจัดโจรใส่สูทที่สูบเลือดประชาชน อิ่มเอมเปรมปรีดิ์มาเป็นเวลายาวนาน
       
       การปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan – PDP) หรือแผนพีดีพี 2010 ซึ่งคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงแผนฯ ที่ได้รับแต่งตั้งจากนายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.กระทรวงพลังงาน ในฐานประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) กำลังเร่งดำเนินการเพื่อให้ทันกำหนดเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการพลังงาน แห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 12 มี.ค.นี้ กำลังถูกตรวจสอบและคัดค้านจากสาธารณะ โดยตั้งข้อกังขาต่อความไม่โปร่งใส รวบรัดดำเนินการ ทั้งยังเป็นแผนที่เน้นลงทุนเกินความจำเป็น และตั้งเป้าสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กว่า 10,000 เมกะวัตต์
       
       ในงานเสวนา เรื่อง “การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าและการวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า 2010” ซึ่งจัดโดยคณะอนุกรรมาธิการทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าเพื่อให้สอดคล้องกับ สภาวะเศรษฐกิจและสังคม ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ และสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมานั้น
       
       นางรสนา โตสิตระกูล ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า กระบวนการรับฟังความเห็นสาธารณะในการปรับปรุงแผนครั้งนี้ดำเนินการอย่างเร่ง รีบ รวบรัด ยกตัวอย่างเช่น การจัดเวทีสัมมนารับฟังความคิดเห็น ร่างแผนพีดีพี 2010 ในวันที่ 8 มี.ค.นี้ เป็นการรับฟังความเห็นที่สาธารณชนไม่ได้มีโอกาสศึกษาข้อมูลก่อนล่วงหน้า เพราะรายงานผลการศึกษาแผนพีดีพี 2010 ที่กระทรวงพลังงานให้นิด้าศึกษายังไม่แล้วเสร็จ
       
       ขณะเดียวกัน สมมุติฐานอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ที่จะนำมาใช้เป็นตัวเลขฐานในคำนวณความต้องการใช้ไฟฟ้าก็ยังไม่ชัดเจน รวมทั้งแผนนี้เป็นการประมาณการล่วงหน้าถึง 20ปี ซึ่งแผนที่วางไว้ยาวนานขนาดนั้น มีค่าความเบี่ยงเบนและการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขเศรษฐกิจที่อาจไม่สอดคล้องกับ การคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า ที่ผ่านมาแผนพีดีพี 2007 เพิ่งดำเนินการได้เพียง 3 ปี ก็กลับมาทบทวนกันใหม่ แล้วทำไมคราวนี้ต้องคาดการณ์ล่วงหน้าถึง 20 ปี
       
       ประธาน คณะกรรมาธิการฯ ยังตั้งข้อกังขาว่า การวางแผนพีดีพี 2010 ยาวไกลขนาดนี้เป็นการทำแผนเพื่อรองรับโครงการไฟฟ้านิวเคลียร์ และรองรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อโครงการนี้ใช่หรือไม่ นี่เป็นข้อสงสัย เหมือนช่วงวางแผนพีดีพี 2007 ที่ให้มีโรงไฟฟ้าใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิง ปรากฎว่า หุ้นพลังงานราคาพุ่งกระฉูดขึ้นรับแผนทันที
       
       “เป็น ไปได้หรือไม่ว่า ในวันที่ 12 มี.ค.ที่จะเสนอแผนพีดีพี 2010เข้าสู่ที่ประชุมกพช. ขอให้เป็นเพียงวาระเพื่อทราบเท่านั้น แล้วกลับมาดำเนินกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากกว่านี้” นางรสนา ได้ถามประเด็นนี้ต่อนายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ที่เข้าร่วมงานเสวนาในวันดังกล่าว ซึ่งนายวีระพล รับว่าจะนำข้อเสนอไปหารือในคณะอนุกรรมการฯ อีกครั้ง
       
       นายศุภกิจ นันทะวรการ คณะอนุกรรมาธิการฯ ระบุว่า การวางแผนพีดีพีระยะยาวส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณ เช่น โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีงบจัดสรรมาแล้ว 1,200 ล้านบาท ระหว่างปี 2551-2553เพื่อเตรียมความพร้อมของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่บรรจุไว้ในแผนพีดีพี โดยที่ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว หากมีการปรับปรุงแผนพีดีพี นิวเคลียร์จะยังอยู่หรือไม่
       
       นางชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน นักวิชาการอิสระ สะท้อนภาพวงจรอุบาทว์ที่เกื้อหนุนต่อการขยายการลงทุนที่เกินความจำเป็นภาย ใต้ระบบผูกขาดว่า การพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้ามักสูงเกินจริง เพื่อนำไปสู่การวางแผนและลงทุนขยายระบบไฟฟ้าและการใช้ก๊าซฯที่อิงตัวเลข พยากรณ์และเน้นรูปแบบการลงทุนที่ใช้งบประมาณสูง แล้วกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าที่สามารถผลักภาระมาให้ผู้ใช้ไฟฟ้าหรือประชาชนเป็น ผู้จ่าย
       
       ดังเช่น การคิดอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้ผลตอบแทนจากเงินลงทุน (Return on Invested Capital – ROIC) **เป็นเกณฑ์หลักในการกำหนดค่าไฟฟ้า ทำให้นำมาซึ่งการลงทุนที่มากเกินความเป็นจริง เพราะยิ่งลงทุนมาก ยิ่งได้กำไรมาก ซึ่งปัจจุบันนี้ มีการประกันรายได้ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สูงถึง 8.4% ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในช่วงที่จะนำ กฟผ.เข้าตลาดหุ้น เพื่อทำให้หุ้นกฟผ.จูงใจสำหรับนักลงทุน เวลานี้กฟผ.ไม่ได้เข้าตลาดหุ้นแล้วแต่เกณฑ์ดังกล่าวก็ยังไม่เปลี่ยน
       
       นอก จากนั้น ยังมีค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือ ค่าเอฟที ซึ่ง กฟผ. อธิบายว่า เป็นค่าไฟฟ้าที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่า ใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าที่อยู่นอกเหนือการควบคุมการควบคุมของ การไฟฟ้า คำอธิบายนี้แปลความได้ว่า ค่าเอฟทีเป็นเครื่องมือในการส่งผ่านต้นทุนต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคโดยอัตโนมัติ ประกอบด้วย
       
       1) ค่าเชื้อเพลิง เช่น ก๊าซฯ ถ่านหินนำเข้า และอื่นๆ รวมค่าลงทุนท่อก๊าซฯ กำไรปตท.ที่ส่งผ่านความเสี่ยงราคาร้อยเปอร์เซนต์

       2)ค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนและต่างประเทศ ซึ่งรวมค่าประกันกำไร การชดเชยเงินเฟ้อ ชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน
       
       3)การส่งผ่านค่าใช้จ่ายตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนด เช่น เงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า, ค่าส่วนต่างราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น และ

       4)การชดเชยกรณีหน่วยขายต่ำกว่าประมาณการ (หรือลงทุนเกิน)
       
       “การลงทุนยิ่งมาก ยิ่งได้กำไรมาก หากลงทุนเกินแล้วขายได้ต่ำกว่าประมาณการก็มีการจ่ายชดเชยให้ กลายเป็นระบบกลับหัวกลับหาง สร้างปัญหาเรื้อรังจากโรคลงทุนเกินจำเป็น” นางชื่นชมกล่าว และให้ภาพอาการป่วยเรื้อรังของแผนพีดีพีว่า มาจาก
1)การพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าที่มักสูงเกินจริงอยู่เสมอ

2)ไม่ให้ความสำคัญกับมาตรการประหยัดพลังงาน (DSM) ซึ่งความจริงแล้วสามารถทำโครงใหม่ให้เพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่แผนพีดีพีของไทยมีเพียงโครงการเปลี่ยนหลอดผอม T5 เท่านั้น และในระยะ 20 ปีตามการปรับปรุงแผนพีดีพี 2010 คาดการณ์ว่า DSM จะประหยัดได้แต่ 0.3% เท่านั้น
       
       3)กำลังผลิตสำรองเกินจำเป็น โดยเกณฑ์สำรองไฟฟ้าของไทย กำหนดไว้ประมาณ 15% แต่ส่วนใหญ่มีกำลังสำรองเหลือเกินกว่านั้น มีบางปีที่ต่ำกว่าประมาณการแต่กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นน้อยมาก
       
       4)อาการป่วยเพราะชอบของแพง ลงทุนสูง แต่พยายามทำให้ดูเหมือนว่าถูก เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่เทียบราคาต้นทุนค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าและค่าเชื้อเพลิงต่ำกว่าโรงไฟฟ้าถ่าน หิน และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม แต่ไม่ได้คิดต้นทุนการกำจัดกากนิวเคลียร์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอื่นๆ รวมทั้งผลกระทบต่อสังคมรวมเข้าไปด้วย อีกทั้งค่าต้นทุนเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ก็ยังคิดในอัตราคงที่ตั้งแต่ปี 2553 – 2573 ซึ่งไม่เป็นจริง
       
       “การลงทุนเกินตามแผนพีดีพี 2010 จะก่อให้เกิดภาระหรือค่าโง่นับหมื่นนับแสนล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ยตลอด 20 ปี รวมกว่า 2.7 ล้านล้านบาท” นางชื่นชมกล่าว และมีข้อเสนอว่า ปัญหาดังกล่าวต้องแก้ที่หัวใจของปัญหาคือ การยกเลิกระบประกันผลกำไรให้การไฟฟ้า และระบบรับผิดในการวางแผนและพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าด้วย รวมทั้งยกเลิกการชดเชยหน่วยขายไฟฟ้าต่ำกว่าประมาณการในสูตรค่าเอฟทีด้วย เพื่อตัดวงจรการขยายระบบอย่างไร้ประสิทธิภาพ
       
       นายวีระพล ได้ให้ข้อมูลว่า การประกันรายได้ให้กับกฟผ. ขณะนี้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กำลังพิจารณาทบทวนใหม่เพื่อยกเลิก ซึ่งต้องนำเสนอเรื่องต่อกพช. และเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติยกเลิกต่อไป
       
       ทั้งนี้ ศาลปกครองมีคำพิพากษาคดีแปรรูปกฟผ.ตั้งแต่ปี 2549 แต่การพิจารณายกเลิกระบบประกันรายได้ให้กฟผ. หรือ Return on Invested Capital – ROIC กลับไม่มีการพิจารณายกเลิกจนถึงบัดนี้ หรือล่าช้ามากว่า 4 ปีแล้ว ขณะที่การปรับปรุงแผนพีดีพี 2010 กลับรีบเร่งดำเนินการอย่างผิดปกติ
       
       นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ถ้าแผนพีดีพี 2010 มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ผู้บริโภคจะเดินหน้าคัดค้านตลอด และถ้าเรื่องมาตรการประหยัดพลังงาน ไม่มีความชัดเจน อย่าหวังว่านิวเคลียร์จะได้เกิด
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9530000031622

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เปิดขุมทรัพย์ล่าสุด ทักษิณ-ครอบครัว 3.3 หมื่นล้าน

วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4188  ประชาชาติธุรกิจ


เปิดขุมทรัพย์ล่าสุด ทักษิณ-ครอบครัว 3.3 หมื่นล้าน





นอก จากทรัพย์สินจำนวนมหาศาลในต่างประเทศซึ่งไม่มีใครรู้อย่างแท้จริงว่ามีจำนวน เท่าไหร่ ? และเงินฝากธนาคารที่ถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่รัฐอายัด 6.9 หมื่นล้านบาท

ล่าสุดจากการตรวจสอบของ "ประชาชาติธุรกิจ" พบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว ยังมีธุรกิจมูลค่ากว่า 3.3 หมื่นล้านบาท ดังนี้

1.บริษัท โอ เอ ไอ ลิสซิ่ง จำกัด ก่อตั้งวันที่ 17 ตุลาคม 2534 ธุรกิจเช่าซื้อ ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ณ วันที่ 29 เมษายน 2552 บริษัท โอเอไอ แมนเนจเม้นท์ จำกัด 54.9% นางสาวพินทองทา ชินวัตร 22.4% นางสาวแพทองธาร ชินวัตร 22.4%

2.บริษัท เอส ซี เค เอสเตท จำกัด ก่อตั้งวันที่ 16 มกราคม 2535 ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ทุนจดทะเบียน 2,200 ล้านบาท ณ วันที่ 28 เมษายน 2552 นางสาวพินทองทา 96.3% นางสาวแพทองธาร 2.9% คุณหญิงพจมาน 0.7%

3.บริษัท เอส ซี ออฟฟิศ พลาซ่า จำกัด ก่อตั้งวันที่ 29 สิงหาคม 2533 ให้เช่าอสังหาฯ ทุนจดทะเบียน 2,200 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 นางสาวพินทองทา 95.4% นางสาวแพทองธาร 4.5%

4.บริษัท บี.พี.พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 16 มิถุนายน 2531 ให้บริการด้านสาธารณูปโภค ทุนจดทะเบียน 340 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 คุณหญิงพจมานถือหุ้น 49.4% นางสาวพินทองทา 24.3% นางสาวแพทองธาร 14.3% บริษัท เอส ซี ออฟฟิซ ปาร์ค จำกัด 11.7% พ.ต.ท.ทักษิณ 0.07%

5.บริษัท พี.ที.คอร์ปอเรชั่น จำกัด ก่อตั้งวันที่ 21 สิงหาคม 2524 ประกอบธุรกิจให้เช่า-บริการอสังหาริมทรัพย์ ทุนจดทะเบียน 3,700 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 นางสาวพินทองทา ชินวัตร ถือหุ้น 92.4% นางสาวแพทองธาร ชินวัตร 5.6% คุณหญิงพจมาน 1.8%

6.บริษัท ประไหมสุหรี พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2533 ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์และบริการสาธารณูปโภค ทุนจดทะเบียน 3,340 ล้านบาท ณ วันที่ 19 เมษายน 2550 นางสาวพินทองทาถือหุ้น 49.8% นางสาวแพทองธาร 49.8% พ.ต.ท.ทักษิณ 0.14% คุณหญิงพจมาน 0.14%

7.บริษัท เวิร์ธซัพพลายส์ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 2 มกราคม 2530 ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าและดำเนินการทางธุรกิจ ทุนจดทะเบียน 4,600 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 นางสาว พินทองทา 51.2% นายพานทองแท้ ชินวัตร 43.4% นางสาว แพทองธาร ชินวัตร 3% คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ 2.1%

8.บริษัท โอ เอ ไอ คอนซัลแตนท์ แอนด์ แมนเนจเม้นท์ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 27 เมษายน 2533 โรงแรมและภัตตาคาร ทุนจดทะเบียน 700 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 คุณหญิงพจมานถือหุ้น 87.1% บริษัท เอส ซี ออฟฟิซ ปาร์ค จำกัด 12.8%

9.บริษัท โอ เอ ไอ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด ก่อตั้งวันที่ 5 มีนาคม 2541 มหาวิทยาลัยชินวัตร ทุนจดทะเบียน 2,500 ล้านบาท ณ วันที่ 29 เมษายน 2552 นางสาวพินทองทาถือหุ้น 55% คุณหญิงพจมาน 22.5% นางสาวแพทองธาร ชินวัตร 22.5%

10.บริษัท ทุนนวัตกรรม จำกัด ก่อตั้งวันที่ 13 กันยายน 2542 ประกอบธุรกิจลงทุนในบริษัทต่างประเทศ ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 นางสาวพินทองทาถือหุ้น 28.1% นางสาวแพทองธาร 28.1% บริษัท โอเอไอ แมนเนจเม้นท์ จำกัด 25% คุณหญิงพจมาน 18.7%

11.บริษัท อัลไพน์กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 30 ตุลาคม 2532 สนามกอล์ฟอัลไพน์ ทุนจดทะเบียน 747 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 คุณหญิงพจมาน นางสาวพินทองทา นางสาวแพทองธาร ถือหุ้นคนละ 33.3%

12.บริษัท เอส ซี ออฟฟิซ ปาร์ค จำกัด ก่อตั้งวันที่ 21 มีนาคม 2533 ประกอบธุรกิจให้เช่าอสังหาฯ ทุนจดทะเบียน 160 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 นางสาวพินทองทาถือหุ้น 70% นางสาวแพทองธาร 30%

13.บริษัท โอ เอ ไอ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ก่อตั้งวันที่ 21 เมษายน 2551 ขายเสื้อผ้า ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 บริษัท ประไหมสุหรี พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ถือหุ้น 100%

14.บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งวันที่ 29 สิงหาคม 2546 ธุรกิจอสังหาฯ ทุนจดทะเบียน 3,500 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 นางสาวแพทองธารถือหุ้น 29.1% นางสาวพินทองทา 28.9% นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ 4.9% คุณหญิงพจมาน 2.8%

15.บริษัท วี.แลนด์พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 21 มกราคม 2535 ธุรกิจอสังหาฯ ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น ถือหุ้น 100%

16.บริษัท อัพคันทรี่ แลนด์ จำกัด ก่อตั้ง 1 พฤษภาคม 2533 ธุรกิจอสังหาฯ ทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น ถือหุ้น 100%

รวมทุนจะเบียน 24,507 ล้านบาท

นอกจากนี้ คุณหญิงพจมาน ยังมีเงินลงทุนอื่น ประมาณ 870.5 ล้านบาท ได้แก่

บริษัท เดอะ เพนนินซูล่า ทราเวล เซอร์วิส จำกัด 20,000 หุ้น มูลค่า 2 แสนบาท, บริษัท โรงพยาบาลพระรามเก้า จำกัด 2,856,625 หุ้น มูลค่า 285.6 ล้านบาท, บริษัท โรงพยาบาลหริภุญชัย เมโมเรียล จำกัด 100,000 หุ้น มูลค่า 1 ล้านบาท, บมจ.โรงพยาบาลวิภาวดี 3,616,660 หุ้น มูลค่า 8.4 ล้านบาท, กองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรรัฐบาล 50 ล้านหุ้น มูลค่า 506.5 ล้านบาท, กองทุนเปิดรวงข้าวทวิภาค 5,000,000 หุ้น มูลค่า 36.8 ล้านบาท, พันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ ปี 2545 จำนวน 2,000 หน่วย มูลค่า 20 ล้านบาท, MBI INVESTORS LP จำนวน 5,440 หน่วย มูลค่า 12 ล้านบาท (พ.ต.ท.ทักษิณ)

ขณะที่ นายพานทองแท้ บุตรชาย ยังมีธุรกิจส่วนตัว 7 บริษัท รวมทุนจดทะเบียน 410 ล้านบาท

1.บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด แปลงร่างมาจากบริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 9 ตุลาคม 2546 ทุนจดทะเบียนปัจจุบัน 300 ล้านบาท บริษัท พี.ที.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ) ถือหุ้น 56%, นายพานทองแท้ 36.9% นางสาวพินทองทา ชินวัตร (เอม) น้องสาว 7% สำนักงานอยู่ที่อาคารบีบีดี ถนนวิภาวดีฯ แขวงสามเสนใน กรุงเทพฯ

2.บริษัท นิวโอ๊ค จำกัด ก่อตั้งวันที่ 16 มิถุนายน 2546 ร้าน ถ่ายรูป She@mood ที่สยามสแควร์ ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท หนุ่มโอ๊คถือหุ้น 100%

3.บริษัท มาสเตอร์ โฟน จำกัด ก่อตั้งวันที่ 9 ธันวาคม 2546 ขายโทรศัพท์มือถือเวอร์ทู ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท นายพานทองแท้ ถือหุ้นร่วมกับ นายศิธา ทิวารี อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ นางสาวสิรอักษร กฤษดาธานนท์ ทายาทกลุ่มอสังหาฯ กฤษดานคร นายไอยคุปต์ กฤตบุญญาลัย และนาย นันทสิทธิ์ แจ่มสมบูรณ์ คนละ 20%

4.บริษัท โอคานิท จำกัด ก่อตั้งวันที่ 9 มกราคม 2547 ร้านกาแฟ ทุนจดทะเบียน 35 ล้านบาท นางสาวอุษณา มหากิจศิริ ถือหุ้น 35% นางสาวอุษณีย์ มหากิจศิริ 15% หนุ่มโอ๊ค 19.9% นางสาวพินทองทา ชินวัตร 15% และนางสาวแพทองธาร ชินวัตร 15%

5.บริษัท ฮาวคัม มีเดีย จำกัด ก่อตั้งวันที่ 30 เมษายน 2547 ธุรกิจโฆษณา ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท บริษัท วอยซ์ ทีวี ถือหุ้น 100%

6.บริษัท ฮาวคัม เอวี จำกัด ก่อตั้งวันที่ 4 ตุลาคม 2547 ธุรกิจบันเทิงและสันทนาการ ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท บริษัท เอ.วี.ซิสเท็มส์ จำกัด ของนายพลวัฒน์ ศุขจรัส ถือหุ้น 45% บริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ 45% นายกุลพงศ์ บุนนาค 9.9%

7.บริษัท ฮาวคัม สตูดิโอ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 รับจ้างผลิตป้ายโฆษณา ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท บริษัท วอยซ์ ทีวี ถือหุ้น 49.9% บริษัท โอคานิท จำกัด 25% นางเดือนเต็ม กฤษดาธานนท์ 7% นายกฤตพงศ์ ชวาลดิฐ 5% นาย มนัสชัย พรโสภากุล 5% นายพานทองแท้ 4% นางสาวอุษณา มหากิจศิริ (บุตรสาวนายประยุทธ มหากิจศิริ เจ้าพ่อเนสกาแฟ) 4%

ขณะที่ นายบรรณพจน์ ถือหุ้น 2 บริษัท รวมมูลค่าทุนจดทะเบียน 8,150 ล้านบาท ได้แก่

1.บริษัท โอเอไอ แมนเนจเม้นท์ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2529 บริการให้คำปรึกษา (ด้านวิศวกรรม) ทุนจดทะเบียน 5,150 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 นาย บรรณพจน์ถือหุ้น 100%

2.บริษัท บี.บี.ดี.พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 24 ตุลาคม 2549 ให้เช่าอสังหาฯ ทุนจดทะเบียน 3,000 ล้านบาท ณ วันที่ 28 เมษายน 2552 นายบรรณพจน์ถือหุ้น 100%

รวมมูลค่าทั้งหมด (ตามทุนจดทะเบียน) 33,937.5 ล้านบาท


หน้า 2
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02edi01010353&sectionid=0212&day=2010-03-01

--
โปรดอ่าน blog
www.pridiinstitute.com
www.nakkhaothai.com
www.pcpthai.org
http://wdpress.blog.co.uk
http://www.cedthai.com/
http://rsm2009-rsm2009.blogspot.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
www.youtube.com/user/naiissarachon#p/a/u/0/34ZvscsnCbA

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รำลึก 4 ปีที่จากไป กนกพงศ์ สงสมพันธุ์


วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7031 ข่าวสดรายวัน


รำลึก 4 ปีที่จากไป กนกพงศ์ สงสมพันธุ์


วิภาวี จุฬามณี




"...ชีวิตคือสิ่งมหัศจรรย์ และเราหาได้ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผล ทั้งเราไม่ได้ตายไปพร้อมความว่างเปล่า...ศรัทธาต่อการเขียน ชักนำไปสู่ศรัทธาต่อชีวิต และเพราะมีศรัทธาต่อชีวิตนั่นเอง ทำให้เราเขียน..."

เย็นย่ำ ในแกลเลอรี่ขนาดเล็ก ย่านแพร่งภูธร กลางกรุง บรรดาคนใกล้ชิดและแฟนหนังสือของนักเขียนหนุ่มแห่งหุบเขาฝนโปรยไพร รวมตัวกันในงาน "รำลึก กนกพงศ์ สงสมพันธุ์" ที่วรพจน์ พันธุ์พงศ์ นักเขียนหนุ่มอีกคนเป็นหัวเรือใหญ่จัดขึ้น เพื่อรำลึก 4 ปีแห่งการจากไปของนักเขียนซีไรต์ปี 2539 เจ้าของประโยคที่ยกมากล่าวในข้างต้น

ในงาน นอกจากข้าวของเครื่องใช้และผลงานรวมเล่มของกนกพงศ์แล้ว อัลบั้มรูปภาพท้องฟ้าที่กนกพงศ์ถ่ายและเก็บรวบรวมไว้กว่า 100 ภาพ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชวนให้นึกถึงนักเขียนหนุ่มผู้นี้

ว่ากันว่า กนกพงศ์มักจะถ่ายรูปท้องฟ้าเก็บไว้เสมอๆ กล้องฟิล์มตัวโปรด ติดเลนส์ขนาด 28 ม.ม. เขาใช้มันบันทึกฟากฟ้าที่เปลี่ยนรูปร่างหน้าตาไปในแต่ละวัน หลายรูปถ่ายในที่เดิม จากมุมเดิมซ้ำๆ เพียงแต่ต่างวันและเวลา ท้องฟ้าที่มองเมื่อไหร่ก็คือท้องฟ้า กนกพงศ์อาจเห็นรายละเอียดบางอย่างที่อยู่ในความธรรมดาสามัญนั้น

กับงานเขียนก็เช่นกัน เขาได้ชื่อว่าเป็นนักเขียนที่เก็บรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ได้อย่างยอดเยี่ยมหมดจดที่สุดคนหนึ่ง อาจารย์สกุล บุณยทัต นักเขียน นักวิจารณ์วรรณกรรม และอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งได้รับเชิญมาร่วมวิเคราะห์งานเขียนของกนกพงศ์ในงานนี้ พูดถึงงานของกนกพงศ์ว่า เป็นงานในเชิงรายละเอียด ที่ให้ความสำคัญกับทุกมิติของสิ่งที่กำลังกล่าวถึง



"ถ้าเป็นการทำหนัง กนกพงศ์ใช้ภาพเยอะมาก ใช้ฟิล์มถ่ายเยอะมาก เปลี่ยนมุมกล้องมากที่สุด แม้ว่างานของเขาจะดูเนิบช้า แต่มีการเปลี่ยนมุมกล้อง งานของเขาจะเหมือนหนังยุโรป หนังทดลอง การเขียนงานในลักษณะอย่างนี้เขามีภาพพจน์ในใจของเขาในเชิงรายละเอียด ไม่ได้เขียนออกมาลอยๆ ไม่ได้เขียนสักแต่ว่าเรามีพล็อตแบบนี้ เรามีโครงเรื่องแบบนี้ก็จะเขียน คิดฉาก คิดตัวละครได้ก็จะเขียน แต่มันคือการมองเห็นภาพในใจของตัวเอง แล้วเอาออกมาให้เห็น"

อาจารย์สกุลเล่าต่อว่า รู้จักกนกพงศ์ครั้งแรกเมื่อครั้งที่กนกพงศ์ยังเขียนหนังสือให้กับนิตยสารอิม เมจ และรู้จักกันมากขึ้นเมื่อทั้งคู่ได้รับรางวัลเรื่องสั้นช่อการะเกดในปีเดียว กัน

"กนกพงศ์เป็นคนที่ถ่อม สุภาพเสมอ ในทรรศนะของผม เขามักเอ่ยถึงพี่ๆ ด้วยความรู้สึกรักและศรัทธา คนหนึ่งนั้นคือ สุริยฉัตร ชัยมงคล สังเกตว่าภาษาของกนกพงศ์จะเป็นภาษากวี เป็นภาษาที่งดงามอย่างยิ่ง อย่างที่สุริยฉัตรใช้ ไม่ได้หมายความว่ากนกพงศ์จะไปเลียนแบบอะไร แต่อิทธิพลความซึมซับในแง่มุมของความรู้สึกนั้นมันถ่ายทอดถึงกันได้" อาจารย์สกุลวิเคราะห์

นักเขียนหนุ่มจากด้ามขวานผู้นี้ เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2509 ที่ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็นลูกคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 7 คน เริ่มเขียนหนังสือตั้งแต่ยังเป็นเด็กชาย ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกคือบทกวี "ความจริงที่เป็นไป" พิมพ์ใน "สยามใหม่" ตั้งแต่ปีพ.ศ.2523



ผลงานรวมเล่มครั้งแรกคือกวีนิพนธ์ "ป่าน้ำค้าง" ตีพิมพ์ในปีพ.ศ.2532 และถัดมาอีก 2 ปี รวมเรื่องสั้นชุด "สะพานขาด" และ "คนใบเลี้ยงเดี่ยว" ก็ทยอยปรากฏสู่สายตาของนักอ่าน

ปีทองของกนกพงศ์ เมื่อพ.ศ.2539 หลังได้รับ "รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน" หรือ "ซีไรต์" จากผลงานรวมเรื่องสั้นอันทรงพลัง "แผ่นดินอื่น"

"ปีนั้นเป็นปีที่คนรุ่นผมมีความรู้สึกว่า งานที่เรารอคอย ที่หายไปหลายปี มันกลับมา หลังจากที่เราเคยอ่าน ตลิ่งสูงซุงหนัก ของนิคม รายยวา เราอ่าน ลูกพ่อคนหนึ่ง (ถากไม้เหมือนหมาเลีย) ของวัฒน์ วรรลยางกูร แล้วก็มาถึงงานของกนกพงศ์ คือแผ่นดินอื่น"

"ผมก็บอกว่า งานชิ้นนี้แหละเป็นงานที่บ่งบอกได้ชัดเจนที่สุดแล้ว เป็นงานในเชิงศรัทธาที่พูดถึงโลก ที่ในตอนนั้นคนไม่พยายามจะพูดถึงด้วยซ้ำไป เป็นการพูดถึงศรัทธาที่ถูกทำลายไปด้วยหายนะของความรู้สึกของมนุษย์ในยุค ปัจจุบัน พูดถึงแผ่นดินที่มันกลายเป็นอื่น พูดถึงศรัทธาที่มันกลายเป็นอื่น เราไม่เคยคิดถึงศรัทธา แต่เราคิดถึงแต่ภาวะที่จะทำให้เราสะดวกสบายเท่านั้น" อาจารย์สกุลวิจารณ์ ในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินรางวัลซีไรต์ในปีนั้น

ในทรรศนะของอาจารย์สกุล มองว่างานเขียนของกนกพงศ์สะท้อนให้เห็นลักษณะที่เด่นชัด 3 ประการ คือ "การเติบใหญ่ของภูมิปัญญา" กนกพงศ์พยายามที่จะตอบโจทย์อะไรบางอย่างที่เป็นปัญหาสังคมในสมัยนั้น "Building a character" ตัวละครทุกตัวที่เขาสร้างขึ้นล้วนมีบุคลิกเฉพาะ และบุคลิกนั้นไม่ได้อยู่ที่ตัวบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ยังก่อร่างขึ้นเป็นบุคลิกของเรื่องด้วย

ที่สำคัญคือ งานของกนกพงศ์สร้าง "ความเติบโตทางจิตวิญญาณ" นั่นคือ เป็นงานที่เขียนออกมาจากใจ จากจิตวิญญาณ อย่างที่อาจารย์สกุลให้ความหมายไว้ว่า "เป็นงานที่เอาใจไปจ่อใจ และสร้างความจับใจกับวิถีชีวิตที่ลึกซึ้ง"

"สิ่งหนึ่งที่กนกพงศ์เขียนถึงอยู่เสมอก็คือว่า การที่เราต่ำต้อยอย่างไรก็ตามแต่ ภาวะที่เราตกต่ำอย่างไรก็ตามแต่ เราต้องเป็นซูเปอร์แมนให้ได้ เป็นคนที่อยู่เหนือคน อยู่เหนือภาวะของความจน ภาวะของการตีบตันในชีวิต งานของเขาแต่ละชิ้นไม่ว่าจะอยู่ในภาวะที่ตีบตันมืดมนขนาดไหน เขาก็จะแสดงให้เห็นว่าตัวละครเหล่านั้นไม่มีทางแพ้ เพราะเขารู้อยู่แล้วว่า เขาแพ้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเขาจะอยู่อย่างไร นี่คือความงดงามที่เขามองโลก และเป็นการให้โอกาสของมนุษย์ว่า ความเป็นมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญ"

แผ่นดินนี้ในวันนี้อาจไม่มีกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ อีกต่อไป แต่แผ่นดินนี้ในวันหน้า เชื่อแน่ว่า ชื่อและผลงานของเขาจะยังไม่เลือนหายไปไหน


หน้า 5
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNakk0TURJMU13PT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1DMHdNaTB5T0E9PQ==

--
โปรดอ่าน blog
www.pridiinstitute.com
www.nakkhaothai.com
www.pcpthai.org
http://wdpress.blog.co.uk
http://rsm2009-rsm2009.blogspot.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
www.youtube.com/user/naiissarachon#p/a/u/0/34ZvscsnCbA

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความท้าทาย "4 บิ๊ก" ซีอีโอ "เปิดสไตล์-ถอดรหัส"..บริหารความเสี่ยง

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4187  ประชาชาติธุรกิจ


ความท้าทาย "4 บิ๊ก" ซีอีโอ "เปิดสไตล์-ถอดรหัส"..บริหารความเสี่ยง





มี นักวิชาการบอกว่า "การเมือง" ไม่นับเป็น "ความเสี่ยง" เนื่องจาก ไม่สามารถคำนวณเป็น "ตัวเลข" ได้ เพราะ "การเมือง" เป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม และความคาดหมาย

ขณะที่ "ความเสี่ยง" เป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจต่างตระหนักและระแวดระวังกันทุกคน เพราะ "ความเสี่ยง" เป็นเรื่องที่ป้องกันได้ และหา "ค่า" ได้ โดยแต่ละธุรกิจต่างมีปัจจัยเสี่ยงไม่เหมือนกัน แต่ละตัวแปรสามารถแปลงเป็นตัวเลขได้ ขึ้นอยู่กับสมมติฐาน

ในงาน สัมมนาประจำปีของสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย (TLCA) จึงยึดธีม "ความท้าทายในการบริหารความเสี่ยง" (challenge of risk management) "ประชาชาติธุรกิจ" จึงเลือกหยิบการบริหารความเสี่ยงจากวงเสวนาเรื่อง "CEO challenge-leading thorough uncertainty" จาก 3 กลุ่มธุรกิจ คือ ธุรกิจพลังงาน มี "ชนินทร์ ว่องกุศลกิจ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) "อนนต์ สิริแสงทักษิณ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) จำกัด (มหาชน) ธุรกิจอาหารแปรรูป โดย "ธีรพงศ์ จันศิริ" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) และมี "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) มาร่วมกันเปิดประเด็นวิธีป้องกันและการรับมือกับความเสี่ยง

"บ้านปู" ต้องคิดง่าย ๆ

"ชนินทร์" กล่าวว่า ธุรกิจของ "บ้านปู" ปัจจัยเสี่ยงมาจากภายนอกประเทศ ซึ่งมีอยู่ 2 ส่วน คือ 1.ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ จะผันผวนและเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะเศรษฐกิจ 2.กฎระเบียบของประเทศที่ส่งสินค้าไปขายจะออกกฎระเบียบใหม่ ๆ มาควบคุมเสมอ บริษัทจึงต้องติดตามการออกกฎระเบียบของทั้งรัฐบาลกลาง และส่วนท้องถิ่นที่บริษัทไปลงทุนและค้าขาย

แม้ความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับ"ต่างประเทศ" แต่การบริหารจัดการความเสี่ยงภายในก็สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากธุรกิจหลักของบ้านปู คือ ถ่านหิน ต้องลงทุนนานกว่าจะสามารถรับรู้รายได้ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือต้องมองภาพไปข้างหน้าพร้อมกับรายงานความเสี่ยงที่ อาจเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งบริษัทมี คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ที่นำประเด็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมาคุยกัน ทุก ๆ 3 เดือน เพื่อนำไปสู่การหารือใน 2 เรื่องใหญ่ แผนประจำปีนั้น ๆ และยุทธศาสตร์ในระยะ 5 ปี

"ผู้บริหารธุรกิจต้องพยายามมองสถานการณ์ ให้ออก แล้วพยายามเรียงให้ง่าย ๆ ว่าความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรามีอะไรบ้าง ถ้ามองให้มันซับซ้อนมากเกินไปมันทำให้เรามองไม่เห็น"

และสุดท้าย คือการที่สถานการณ์ ค่อนข้างเปลี่ยนเร็ว ไม่แน่นอนสูงเราต้องสร้างทางเลือกสำหรับธุรกิจ ไม่ว่าธุรกิจดีหรือไม่ดีแล้วเรามีทางออกอย่างไร

ปตท.สผ. มอง "คน" เสี่ยงสุด

ปตท.สผ.เป็นอีกธุรกิจที่มีการลงทุนในต่างประเทศ มีความเสี่ยงจากความ แตกต่างของภูมิประเทศ (Geographic risk) "อนนต์ สิริแสงทักษิณ" กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทกระจายการลงทุน 20 โครงการ อยู่ใน 13 ประเทศ

"อนนต์" มองว่าความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของทุกธุรกิจ คือ "คน" เพราะคนคือ ผู้ที่จะตัดสินใจนำความเสี่ยงต่าง ๆ มาสู่ธุรกิจ ดังนั้นการจัด "mind set" ของบุคลากรจึงเป็นภารกิจที่สำคัญและต้องให้ความสำคัญกับโครงสร้างและ วัฒนธรรมองค์กรที่การสร้างภาวะผู้นำ รวมถึงการเปิดรับความเสี่ยงต้องสอดคล้องไปกับเป้าหมายของบริษัท

การ จัดการความเสี่ยงของ ปตท.สผ. ต้องผูกกับเป้าหมายขององค์กร มีกลยุทธ์รองรับ เข้าใจปัจจัยที่ขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จว่ามีความไม่แน่นอนอะไรบ้าง แล้วลดผลกระทบที่เข้ามา

นอกจากนี้ ต้องมั่นใจว่าธุรกิจยังคงเดินไปตามเป้าหมายระยะยาวที่วางไว้ โดยต้องมีการทบทวนกลยุทธ์อยู่เสมอว่าที่ทำอยู่ปัจจัยทำให้ธุรกิจเติบโตได้ หรือไม่ เช่น ในช่วงวิกฤตการณ์การเงินโลกในปีที่ผ่านมาทำให้การจะไปถึงเป้าหมายโดยการเติบ โตจากภายใน (organic growth) เป็นไปได้ยากขึ้น บริษัทก็มองหาการเติบโตด้วยวิธีไปซื้อสินทรัพย์ในต่างประเทศ

"การ บริหารความเสี่ยงเราต้องมองยาวด้วย สั้นด้วย และบริหารพอร์ตในภาพรวมด้วยความเข้าใจอุตสาหกรรม ก่อนหน้าวิกฤตเราตั้งเป้าเติบโตสูง แต่พอมีวิกฤตเราก็ลดการเปิดรับความเสี่ยง แต่ยังถือเป้าหมายระยะยาวไว้ เพียงแต่ปรับวิธีทำงานระยะสั้น ในขณะที่การบริหารความเสี่ยงของเรายังมีบอร์ดชุดย่อยที่ดูแลความเสี่ยงในทุก ฟังก์ชั่น แล้วนำความเสี่ยงมารวมกันเพื่อนำไปสู่การจัดการได้อย่างเบ็ดเสร็จ เพราะถ้าแยกต่างคนต่างทำ ต่างเป้าหมาย มันเป็นความเสี่ยงได้เหมือนกัน"

ไทยยูเนี่ยนฯขีดวงความเสี่ยง 5 ข้อ

ในส่วนธุรกิจอาหารแปรรูป "ธีรพงศ์ จันศิริ" จากไทยยูเนี่ยนฯบอกว่า บริษัทเป็นผู้ส่งออกไปทั่วโลก ความเสี่ยงอันดับ 1 คือ คุณภาพ เนื่องจากเป็นประเด็นที่นำไปสู่ความน่าเชื่อถือ แม้จะควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพแต่ความเสี่ยงก็เกิดขึ้นได้ตลอดในอุตสาหกรรม นี้

2.อัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากรายรับ 95% เป็นเงินดอลลาร์ แนวคิดการจัดการเรื่องนี้ต้องยืดหยุ่น จัดการได้เร็ว ใช้แนวคิดง่าย ๆ คือ 40% บริหารความเสี่ยงโดยให้รายรับและรายจ่ายที่อยู่ในรูปดอลลาร์หักกลบกัน (natural hedging) ส่วนที่เหลืออีก 60% ครึ่งหนึ่งป้องกันความเสี่ยงเต็มจำนวน (fix forward) ส่วนอีกครึ่งหนึ่งไม่ป้องกันความเสี่ยง เปิดรับความเสี่ยงเผื่อรับกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้อง ทำแบบนี้เพราะจริง ๆ แล้วไม่มีใครรู้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นอย่างไร

3.ราคา ของวัตถุดิบ เนื่องจากบริษัทมีการรับคำสั่งซื้อมาล่วงหน้าแล้ว การจัดซื้อวัตถุดิบมาผลิตก็ต้องซื้อล่วงหน้าในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ไม่เน้นการเก็งกำไร 4.ด้านแรงงาน ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงานไม่เพียงพอ บริษัทต้องเตรียมหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาทดแทนแรงงานที่ขาดแคลน

5.ความเสี่ยงจากเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากบริษัทส่งสินค้าไปทั่วโลก และไทยส่งออกอันดับ 1 ในสินค้าหลายประเภท จึงมีโอกาสสูงที่จะถูกโจมตีและกีดกันทั้งในรูปของภาษีและไม่ใช่ภาษี การจัดการความเสี่ยงเหล่านี้จึงอยู่ที่การติดตามการออกกฎระเบียบการค้า การลงทุนของแต่ละประเทศ

กสิกรไทยหวั่น "ความเสี่ยงลูกค้า"

ด้าน สถาบันการเงิน ธุรกิจซึ่งนอกจากจะต้องคุมความเสี่ยงจากการบริหารจัดการภายในของตัวเองแล้ว แต่ที่ดูเหมือนจะควบคุมยากยิ่งกว่าคือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการบริหารจัดการธุรกิจของลูกค้าซึ่งอาจเป็นที่มาของการ ผิดนัดชำระหนี้

"ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" จากค่ายกสิกรไทยประเมินว่า ขณะนี้มีหลายความเสี่ยงที่อาจเข้ามากระทบธุรกิจของลูกค้าในระดับที่แตกต่าง กันออกไป ซึ่งหากไม่จัดการให้ดีมีโอกาสที่จะกระทบมาถึงธนาคาร ประการแรกคือ ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก,ความเสี่ยงที่ ดอกเบี้ยจะปรับตัวขึ้นตามแนวโน้มเงินเฟ้อ ซึ่งจะกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น

ส่วนที่เป็นความเสี่ยงเฉพาะ ของธนาคารนั่นคือ การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การทำธุรกิจ มีแนวโน้มจะออกเกณฑ์เพื่อจัดระเบียบสถาบันการเงินมากขึ้น ซึ่งถ้ามีผลต่อต้นทุนทางธุรกิจก็มีโอกาสที่ต้นทุนดังกล่าวจะกระทบไปถึง ลูกค้าและส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

"ประสาร" กล่าวว่า ในส่วนของสถาบันการเงินมีการจัดการคือ ภายใต้ความไม่แน่นอนของทั้งเศรษฐกิจและการเมือง ธนาคารพยายามสร้างความสมดุลของพอร์ตสินเชื่อ ให้ประกอบด้วยลูกค้าทั้งขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องจากทั้งในและต่าง ประเทศ ลูกค้ารายกลางและรายบุคคล เพื่อลดการกระจุกตัวของผลกระทบการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมซึ่ง ไม่ต้องเก็บความเสี่ยงมาไว้กับธนาคาร

ส่วนการออกกฎเกณฑ์มาจัดระเบียบ สถาบันการเงินมากขึ้น แม้จะเป็นการเริ่มขึ้นในต่างประเทศก่อน แต่สถาบันการเงินไทยก็ต้องบริหารความเสี่ยงจากประเด็นนี้ด้วยการหาช่องทาง เข้าไปหารือกับผู้กำกับ เพื่อว่าหากเกิดกรณีว่าทางการจะนำเกณฑ์ใหม่ ๆ เข้ามาจะได้ข้อสรุปที่เหมาะสมในทางปฏิบัติ


หน้า 36
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02spe01250253&sectionid=0223&day=2010-02-25

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687

นโยบายแปรสภาพตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ให้เป็นบริษัทมหาชน

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7030 ข่าวสดรายวัน


แปรรูปตลท.


คอลัมน์ ถุงแดง



รัฐบาล มีนโยบายแปรสภาพตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ให้เป็นบริษัทมหาชน ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทยระยะ 5 ปี (ปี"53-57) แล้ว

แต่การแปรรูปก็มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

โดยเฉพาะนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตกรรมการ และผู้จัดการตลท. คัดค้านการแปรรูปตลท. สุดลิ่ม

เพราะ มองว่าผู้ที่ผลักดันให้มีการแปรสภาพตลท. มีจุดประสงค์อื่นแอบแฝง โดยเฉพาะการนำเงินกองทุนมหาศาลของตลท.ที่มีอยู่ประมาณ 10,000 ล้านบาทไปใช้ประโยชน์

และที่สำคัญการแปรสภาพของตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลกที่ผ่านมาก็ไม่ได้ประสบผลสำเร็จเสมอไป

ขณะ ที่คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการตลท. เห็นว่าตลท. ควรเป็นองค์กรปลอดการเมือง ดังนั้น การเดินหน้าแปร สภาพตลท. อาจช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น

อีกทั้งมองว่ายังมีข้อดีโดยเฉพาะในเรื่องการระดมทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุนให้เติบโต ทั้งการลงทุนด้านระบบต่างๆ เพื่อรองรับสินค้าใหม่ๆ

จะแปรรูปหรือไม่คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่

ที่สำคัญขอให้นึกถึงประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นหลัก


หน้า 8
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlOVEkzTURJMU13PT0=&sectionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBeE1DMHdNaTB5Tnc9PQ==

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

"ครูแก้ว อัจฉริยะกุล" คีตกวีรัตนโกสินทร์ (4) : เพลงคำหอม

"ครูแก้ว อัจฉริยะกุล" คีตกวีรัตนโกสินทร์ (4) : เพลงคำหอม
โดย คีตา พญาไท18 กุมภาพันธ์ 2553 10:51 น.
       อีกเพลงหนึ่งซึ่ง ครูแก้ว อัจฉริยะกุล แต่งเอาไว้กับ ครูเวส สุนทรจามร เป็นคติสอนใจคนฟัง คล้ายคลึงกับ เพลงโลกหมุนวน คือ เพลงละครชีวิต ซึ่งขับร้องบันทึกเสียงเอาไว้ โดย ป้าจุ๊ หรือ จุรี โอศิริ นักร้องรุ่นใหญ่ ที่ต่อมาหันไปเอาดีด้านการพากย์ภาพยนตร์ และการแสดงละครทีวี แทน
        ...
       เพลงละครชีวิต
       คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล/ทำนอง เวส สุนทรจามร

       ถึงยามสำราญ ขอท่านฟังฉัน หน่อยก่อน
       แม้นดูละคร แล้วกลับมาย้อนดูตัว
       พระ นาง ตัวโกง ถึงคราวออกโรง พันพัว
       ชวนหัว เมามัว เต้นยั่วดังฝัน
       
       ละครระกำ ช้ำจิตใจ ละครดีใจ เราหัวร่อ
       นั่นแหละภาพล้อ เราทุกวัน
       บทตัวละคร มีแต่ยอกย้อน ชวนให้
       ระเริงจิตใจ ให้เคลิ้ม ไปพลัน
       
       ละครมีสอน ใจกัน ละครเลิกแล้ว ลืมกัน
       เหมือนนอนหลับ ฝันเพียงคืน

       
        แนวคิดเรื่อง โลกคือละครโรงใหญ่ ใน เพลงละครชีวิต นี้ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล คงได้มาจาก บทพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่องตามใจท่าน ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงแปลมาจากเรื่อง As You Like It ของ วิลเลียม เช็คสเปียร์ นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ที่ว่า
       
       “...โลกนี้ คือละครโรงใหญ่ 
       ชายหญิงไซร้ เปรียบตัวละครนั่น
       ต่างมียามเข้าออกอยู่เหมือนกัน
       คนหนึ่งนั้น ย่อมเล่นตัวนานา...”
       
       All the World’s a Stage,
       And All the Men and Women Merely Players:
       They Have Their Exits and Their Entrances;
       And One Man In His Time Plays Many Parts…

       
        ซึ่ง บทพระนิพนธ์ ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่ทรงแปลมาจาก กาพย์ รุไบยาต ของ ฮะกิม โอมาร์ คัยยาม กวีชาวเปอร์เซีย ที่ว่า
       ดูละคร ขำอกโอ้ 
       ละครฉงน ใยแม่
       เราก็เล่น ละครคน 
       คึกหล้า
       
       ตลกละ พระนางกล 
       ละครเล่น ละครพ่อ
       แปลกแต่ชุดเร็วช้า 
       เท่านั้นขวัญเอย
       
       ดูหนัง ดูละคร
       แล้วย้อน ดูตัว
       ขำอุรา น่าหัว
       เต้นยั่ว อย่างฝัน
       
       ดอกเอ๋ย
       เจ้าดอก พิตะวัน
       ละครคน ละครขัน
       ประชันกัน สนุกเอย

ภาพจาก http://www.pantown.com/board.php?id=5050&area=4&name=board13&topic=258&action=view
       ส่วนเพลงที่ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล แต่งคู่กับ ครูเวส สุนทรจามร แล้วสร้างชื่อเสียงให้แก่ วินัย จุลละบุษปะ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ที่เป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิดั้งเดิม เพราะเป็นผู้ชักชวนให้เข้ามาร่วมงานสมัย วงดนตรีกรมโฆษณาการ ในยุคแรกๆและทำการฝึกสอนให้ มีอยู่ด้วยกันหลายเพลง เช่น เพลงกล่อมรัก เพลงคำหอม เพลงพรหมลิขิต เพลงเด่นดวงเดือน เพลงเดือนดวงเด่น เพลงผู้แพ้รัก เพลงหงส์เหิน ฯลฯ
        ...
       เพลงคำหอม
       คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล/ทำนอง เวส สุนทรจามร

       ลมโบกหวนกลิ่นหอม 
       หอมชวนเด็ดดอม คำหอมเจ้าเอ๋ย
       กลิ่นนี้พี่เคย 
       เคยได้แนบเขนย อกเอ๋ยหวนคำนึง
       
       เพียงแต่กลิ่นล่องลม ชื่นชมซาบซึ้ง
       ชวนให้คิดติดตรึง ใจประหวัดคะนึง ถึงสาวเจ้า
       ชวนให้ใจพี่เหงา 
       จำว่ากลิ่นเจ้า เศร้าอยู่ในใจ
       
       เนื้อเจ้าอวลกลิ่น ประทินเดียวกัน 
       ขวัญเอยแนบขวัญ รักกันชิดใกล้
       หอมเอย เคยชื่นใจ 
       หอมใด ไม่ซึ้งถึงอารมณ์
       
       ขวัญพุ่ม ปทุมมา 
       กลีบบัวยั่วตา พลิ้วพากระเพื่อมลม
       ผ่องศรีที่พี่ชม สีนวลชวนชื่นอารมณ์ 
       ดุจดังสีแพรเจ้าห่ม ปิดถันกัน ลมซ้ำชมให้เศร้าใจ
       
       เจ้าเอยเจ้าคำหอม 
       เจ้าเนื้อหอม หอมชวนใคร่
       ต้องจิตเตือนใจ 
       ยิ่งคิดไปชวนให้ตระกอง
       
       โอ้มือพี่เคยโลมเร้า 
       สาวเจ้าเคยเอามือป้อง แต่ไม่พ้นมือพี่ต้อง
       หวงยิ่งกว่าทอง 
       แต่น้องยังให้ชื่นใจ
       
       ยอดชู้คู่เชย 
       ขวัญเอย อย่าเลยจากไป
       โอ้คำหอมเอย เคยชิดใกล้ 
       อีกนานเท่าใด ขวัญใจจะกลับมา
       
       ยอดชู้คู่ชม 
       ภิรมย์ชมชื่นอุรา
       เพื่อนชายร้อยคน มากล้นค่า 
       ไม่ชื่นอุรา เหมือนเจ้าเพื่อนชม

       
        เพลงนี้สร้างชื่อเสียงให้แก่ วินัย จุลละบุษปะ มาก เป็นเพลงในจังหวะแทงโก้ ที่ใครๆชอบฟังและชอบเต้นรำ จนได้รับสมญาว่า ราชาแทงโก้ของไทย บันทึกแผ่นเสียงไว้ เมื่อปี พ.ศ.2492
       
        ครูเวส สุนทรจามร นำทำนองมาจาก เพลงลาวคำหอม ซึ่งเป็นเพลงในอัตราจังหวะสองชั้น ที่ จ่าเผ่นผยองยิ่ง ( จ่าโคม ) เป็นผู้แต่งทั้งบทร้องและทำนองการร้อง ซึ่ง พระยาประสานดุริยศัพท์ ( แปลก ประสานศัพท์) นำไปใช้ในการบรรเลงของวงเครื่องสายปี่ชวา
       
        ต่อมา หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปะบรรเลง ) ได้แต่งขยายขึ้นเป็น อัตราจังหวะสามชั้น แล้วตัดเป็นอัตราจังหวะชั้นเดียว จนครบเป็นเพลงเถา แต่ก็สูญหายไป
       
        พ.ศ. ๒๕๐๒ ครูเจริญ แรงเพชร จึงได้แต่งขึ้นใหม่ โดยยึดเอาทำนองเดิมของ จ่าเผ่นผยองยิ่ง ส่วนบทร้องยึดเอา บทร้องเดิมของ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปะ บรรเลง ) จึงขอนำเอาเนื้อเพลงดั้งเดิมของ เพลงลาวคำหอม มาลงให้อ่านกัน ดังนี้
        ...
       เพลงลาวคำหอม
       ยามเมื่อลม พัดหวน ลมก็อวล แต่กลิ่น มณฑาทอง
       ไม้เอย ไม้สุดสูง อย่าสู้ปอง ไผเอย บ่ ได้ต้อง แต่ยินนามดวง เอย
       
       โอ้เจ้าดวง เจ้าดวง ดอกโกมล กลิ่นหอม เพิ่งผุดพ้น พุ่มในสวน ดุสิตา
       แข่งแข อยู่แต่นภา ฝูงภุมรา สุดปัญญา เรียมเอย
       
       โอ้อก คิดถึง คิดถึง คะนึงนอนวัน นอนไห้ใฝ่ฝัน เห็นจันทร์ แจ่มฟ้า
       โอ้อก คิดถึง คิดถึง คะนึงนอนวัน นอนไห้ ใฝ่ฝัน เห็นจันทร์ แจ่มฟ้า
       
       ทรงกลด สวยสดโสภา แสงทอง ส่องหล้า ขวัญตา ของเรียมเอย
       ทรงกลดสวยสดโสภา แสงทอง ส่องหล้า ขวัญตา ของเรียมเอย

       
        จะเห็นได้ว่า เพลงคำหอม ที่แต่งขึ้นใหม่นั้น ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ใช้คำว่า หอม เป็น คำซ้ำ ด้วยกัน รวม ๗ คำ คือ กลิ่น หอม / หอม ชวน / คำ หอม / หอม เอย / หอม ใด / คำ หอม / คำ หอม
       
        คำว่า กลิ่น มีอยู่ด้วยกัน 4 คำ คือ กลิ่น หอม / กลิ่น นี้ / กลิ่น ล่องลม / กลิ่น เจ้า / กลิ่นประทิน
       
        และ คำว่า ขวัญ มีอยู่ 5 คำ เช่นกัน คือ ขวัญ เคย / แนบ ขวัญ / ขวัญ พุ่ม / ขวัญ เอย / ขวัญ ใจ
       ทำให้ได้เนื้อความ ที่สื่อความหมายถึงบทเพลงที่คร่ำครวญ ถึงสาวคนรักที่ชื่อ คำหอม ผู้มี กลิ่นกาย หอม ที่ต้องจากไปไกลอย่างอาลัยอาวรณ์ และระลึกนึกถึงความหลังครั้งเก่าก่อน ที่เคยมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งตรึงใจต่อกัน
        “กลิ่น นี้พี่เคย เคยได้ แนบเขนย อกเอ๋ย หวนคำนึง”
       
        “ผ่องศรี ที่พี่ชม สีนวล ชวนชื่นอารมณ์ ดุจดังสีแพร เจ้าห่ม ปิดถันกันลม ซ้ำชมให้เศร้าใจ”
       
        ในวรรคนี้ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เลือกใช้คำ ปิดถัน – กันลม ได้อย่างเหมาะสมลงตัว ทำให้เกิดภาพพจน์ได้ชัดเจน แต่ไม่โป๊ไม่เปลือย
       
        โดยเฉพาะ วรรคทอง ที่ว่า
        “ โอ้มือพี่เคย โลมเร้า สาวเจ้าเคย เอามือป้อง แต่ไม่พ้น มือพี่ต้อง หวงยิ่งกว่าทอง แต่ น้องยังให้ชื่นใจ” นั้น ถือว่าเป็นการบรรยายภาพที่แนบเนียน เป็นจริงเป็นจังได้ยอดเยี่ยมมาก สาวคนใดได้ฟังก็คงต้องหน้าแดง ม้วนอายอย่างแน่นอน
       
        แล้ว ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ก็สรุป ด้วยคำว่า เพื่อน ของกวีโบราณ ที่ว่า
        “ถึงมี เพื่อน ก็เหมือนพี่ ไม่มี เพื่อน 
        ไม่แม้นเหมือน นุชนาฎ ที่มาดหมาย
        มี เพื่อนกิน ก็ไม่เหมือน มี เพื่อนตาย
        มี เพื่อนชาย ก็ไม่เหมือน มี เพื่อนชม” (อ่านต่อสัปดาห์หน้า)

ข่าวล่าสุด ในหมวด

"ครูแก้ว อัจฉริยะกุล" คีตกวีรัตนโกสินทร์ (4) : เพลงคำหอม
"ครูแก้ว อัจฉริยะกุล" คีตกวีรัตนโกสินทร์ (3) : โลกหมุนเวียน
"ครูแก้ว อัจฉริยะกุล" คีตกวีรัตนโกสินทร์ (2) : อัจฉริยะครูเพลง
"ครูแก้ว อัจฉริยะกุล" คีตกวีรัตนโกสินทร์(1)
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9530000023482

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

คำนึงถึงชีวิตตำรวจผู้น้อยที่ต้องใช้พาหนะเหล่านี้บ้างไหม!?

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6997 ข่าวสดรายวัน


เสวยสุขบนชีวิตผู้อื่น


ชกไม่มีมุม

วงค์ ตาวัน



ไม่ กี่วันก่อน เพิ่งเกิดเหตุการณ์ที่ยังเขย่าขวัญเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจนถึงวันนี้ จากกรณีรถจักรยานยนต์ยี่ห้อไทเกอร์ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดซื้อเมื่อ 2-3 ปีก่อน เพื่อนำมาใช้ในราชการ

เกิดอุบัติเหตุพุ่งชนท้ายรถคันอื่นแล้วไฟลุกท่วม ย่างสดนายดาบตำรวจจราจรผู้ขับขี่ อย่างสยดสยอง

*รถมอเตอร์ไซค์ไปพุ่งชนอะไรแล้วมีไฟไหม้ตามมา ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดกันได้ง่ายๆ*

เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไป ทุกคนต้องนึกถึงคดีที่กองปราบฯเพิ่งไปสอบสวนดำเนินการ เนื่องจากเป็นโครงการจัดซื้อที่มีเรื่องไม่ชอบมาพากล

มีการล็อกสเป๊กในตอนประมูล มีปัญหาเรื่องศูนย์ซ่อม ไปจนถึงอะไหล่ อะไรต่อมิอะไรมากมาย

ในแง่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ต้องใช้รถมอเตอร์ไซค์รุ่นนี้เขาบ่นกันมานานแล้ว ในแง่เป็นรถที่สภาพไม่สมบูรณ์

จนกระทั่งมาเกิดเหตุร้าย คร่าชีวิตตำรวจจราจรในขณะปฏิบัติหน้าที่!

แน่นอนว่า ยังต้องรอการตรวจพิสูจน์หลักฐานที่แน่ชัดว่า ต้นตออุบัติเหตุคืออะไร และไฟลุกไหม้ขึ้นได้อย่างไร

แต่ในชั้นต้นผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่า นายดาบเคราะห์ร้ายไม่ได้ขับขี่ด้วยความเร็วสูงมากนัก อีกทั้งการลุกไหม้เกิดขึ้นที่บริเวณถังน้ำมันของรถ

ขณะที่ญาติของผู้ตายบอกว่า ปกติไม่ค่อยนำออกมาใช้เพราะเบรกไม่ดี ส่งซ่อมแล้วก็แก้ไม่ได้

*เบรกไม่ดีอยู่แล้ว อาจเป็นต้นตอทำให้เกิดการไปชนท้ายรถคันอื่น และความบกพร่องที่ถังน้ำมันอาจเป็นต้นเหตุที่นำมาสู่การย่างสดอย่างสยดสยอง*

ถ้าผลพิสูจน์ออกมาเป็นความบกพร่องของรถเช่นนี้จริง แปลว่าผู้เสียหายสามารถยื่นฟ้องร้องตามมาได้อีก

หลังจากเหตุร้ายรายนี้ มีตำรวจรายอื่นออกมาเปิดเผยว่า เคยเบรกไม่อยู่ไถลไปชนจนบาดเจ็บมาก่อนแล้ว!

ที่แน่ๆ หลายโรงพักต้องเลิกใช้ จอดทิ้งตากแดดตากฝน น่าเสียดายเงินภาษีอากรของประชาชนอย่างมาก

นี่คือผลงานของใคร จัดซื้อกันในยุคสมัยไหน

คำนึงถึงชีวิตตำรวจผู้น้อยที่ต้องใช้พาหนะเหล่านี้บ้างไหม!?

คงคล้ายๆ กับเรื่องเศร้าที่เราได้ยินกันบ่อยๆ เจ้านายจัดซื้อเสื้อเกราะ ซื้ออาวุธ แบบไม่ได้มาตรฐาน ให้ลูกน้องไปเสี่ยงตายในสนามรบโดยคนเซ็นซื้อนั่งนับเงินสุขสบายในคฤหาสน์

มอเตอร์ไซค์ถ้าไร้มาตรฐาน ก็ขาดประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ดูแลประชาชน ถ้าเอาไปใช้ในงานสายตรวจก็หมายถึง ไม่สามารถสอดส่องป้องกันโจรได้ทันท่วงที

และอาจเป็นต้นเหตุคร่าชีวิตตำรวจอย่างรายที่ถูกย่างสดนี้

*แล้วที่ยังต้องทนเสี่ยงใช้กันอีกมากมาย เพราะจัดซื้อกันเบิกบานเกือบ 2 หมื่นคัน!!*

ใครจะรับประกันความเสี่ยงให้ตำรวจ

แล้วใครที่เสวยสุขกับโครงการไทเกอร์ อย่าลืมเข้าวัดไปทำบุญให้ตำรวจที่ตายไปรายนี้ด้วย


หน้า 2
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dOekkxTURFMU13PT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1DMHdNUzB5TlE9PQ==
วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6997 ข่าวสดรายวัน


"หนังสือเดซี่" ประตูเรียนรู้จากโลกมืด





การนวดแผนไทยได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ที่สำคัญการนวดกับหมอแผนไทยที่พิการทางสายตายังได้รับความนิยมไม่แพ้กัน แต่ความจริงแล้วหมอนวดที่พิการทางสายตาทุกคนยังไม่ถูกรับรองให้เป็นผู้ ประกอบโรคศิลปะจากคณะกรรม การวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยอย่างถูกต้องเหมือนกับหมอนวดที่สายตาปกติทั่วไป

ทางมูลนิธิเด็กพิการ จึงร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้พิทักษ์ทางสายตา และวิทยาลัยราชสุดา เปิดตัวแบบเรียนเดซี่ หลักสูตรนวดไทยไฮเทค ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาผู้พิการทางสายตาให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยประเภทการนวดไทย

เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางสายตาได้มีโอกาสเรียนและสอบเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะได้ต่อไป

น.พ.ประพจน์ เภตรากาศ ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ กล่าวถึงที่มาของโครงการพัฒนาผู้พิการทางสายตาให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขา การแพทย์แผนไทย ว่า จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเตรียมคนตาบอดให้มีคุณสมบัติพร้อมที่จะสอบใบประกอบ โรคศิลปะได้ โดยโครงการนี้ในอนาคตจะพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน รวมทั้งสื่อต่างๆ อย่างเช่น หนังสือเสียงเดซี่ ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของคนตาบอด

โดยจะขยายไปยัง 7 องค์กร ได้แก่

1.ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด ปากเกร็ด
2.ศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน
3.สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
4.มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด
5.มูลนิธิคอลฟิลด์เพื่อคนตาบอดในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
6.ศูนย์การเรียนรู้และสาธิตอาชีพคนตาบอดธนบุรี และ
7.สมาคมส่งเสริมการนวดแผนไทยคนตาบอด



นอกจากนี้โครงการจะสนับสนุนมูลนิธิหรือเครือข่ายคนตาบอดที่สอนนวดอยู่แล้ว ให้ได้รับการรับรองเป็นสถาบันอบรมถ่ายทอดความรู้วิชาชีพการนวดไทย ที่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด

ผศ.ดร.พิมพา ขจรธรรม คณบดีวิทยาลัยราชสุดา กล่าวว่า ผู้พิการทางสายตาส่วนใหญ่ประสบปัญหาในการอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือด้วยระบบสัมผัสทางเสียง เช่น เทปคาสเซ็ต หรือการอ่านด้วยระบบสัมผัส เช่น อักษรเบรล เพราะหนังสืออักษรเบรลมีความหนาเกินไป อย่าง 1 หน้า A4 ของหนังสือธรรมดา จะได้หนังสือเบรล 2 หน้าครึ่ง ทำให้พกพาไม่สะดวก ส่วนเทปคาสเซ็ตก็ไม่ทนทาน และไม่สามารถค้นหาคำหรือประโยคได้ สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับผู้พิการทางสายตา

วิทยาลัย ราชสุดาจึงคิดค้นและจัดทำหนังสือเสียงเดซี่ (DAISY) หรือ DAISY ACCESSIBLE INFORMATION SYSTEM ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางสายตา สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่เขาต้องการค้นหาได้ ซึ่งหลักสูตรแรกที่วิทยาลัยได้จัดทำสำหรับหนังสือเสียงเดซี่ คือสื่อการเรียนการสอนสำหรับหมอนวดตาบอด ที่มีเสียงและรูปภาพแบบนูนที่ผู้พิการทางสายตาสัมผัสในหนังสือได้ หนังสือเสียงเดซี่นี้มีสองรูปแบบ คือแบบแผ่น ซีดีที่สามารถเปิดใช้ในคอมพิวเตอร์ได้ และแบบเล่มรูปภาพนูนที่สามารถสัมผัสรูปภาพและนำไปปฏิบัติตามได้



จุดเด่นของหนังสือเสียงเดซี่ที่แตกต่างจากหนังสืออักษรเบรลและเทปเสียง คือ รูปแบบอัจฉริยะและยืดหยุ่น เช่น หากผู้พิการทางสายตานำโปรแกรมหนังสือเสียงเดซี่เปิดในคอมพิวเตอร์ ก็สามารถสืบค้นคำที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพราะโปรแกรมจะค้นหาคำที่ต้องการให้พร้อมเสียงประกอบ ซึ่งผู้พิการทางสายตาสามารถฟังเสียงตามตัวอักษรที่หน้าจอได้เลย โปรแกรมอื่นๆ ไม่สามารถทำได้แบบนี้ และหากผู้พิการไม่อยากฟังในรูปแบบของเสียงก็สามารถพิมพ์ออกมาในรูปแบบของภาพ นูนเพื่อศึกษาได้ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางสายตา เพื่อสามารถสอบใบประกอบโรคศิลปะด้านการนวดไทยได้

อาจารย์ธรรม จตุนาม อาจารย์ประจำวิทยาลัยราชสุดากล่าวว่า หนังสือเดซี่เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง โดยกระบวนการผลิตหนังสือเสียงเดซี่ ขั้นตอนแรก คือ วิเคราะห์ต้นฉบับหนังสือ โดยวิเคราะห์จากเนื้อหาภายในและเน้นเนื้อหาที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงของคนตาบอด เช่น รูปภาพ ตาราง เป็นต้น

ขั้นตอนที่สอง คือการพิมพ์ต้นฉบับ โดยพิมพ์ตามรูปแบบที่ปรากฏในต้นฉบับ

ขั้นตอนที่สาม คือ การทำ Mark up ตามไฟล์ต้นฉบับ

ขั้นตอนที่สี่ คือ การตรวจสอบข้อผิดพลาดของ htal code โดยใช้โปรแกรม Validator

ขั้นตอนที่ห้า คือการบันทึกเสียง โดยใช้โปรแกรม sigtunar ขั้นตอนที่หก คือการตัดต่อและแก้ไขไฟล์ โดยใช้โปรแกรม sigtunar ตัดต่อไฟล์ และ ขั้นตอนสุดท้าย คือ การผลิตเป็นหนังสือเสียงต้นฉบับ โดยนำไฟล์ที่แก้ไขแล้วมาเรียงลำดับเนื้อหาและจัดทำสำเนาต้นฉบับหนังสือเสียง เพื่อนำไปใช้

อาจารย์ธรรมกล่าวต่อว่า ทางเรามีหน้าที่ผลิตต้นฉบับ โดยมีทีมงานประมาณ 5 คน รูปแบบการทำงานคล้ายๆ การทำห้องอัด คือ มีช่างเทคนิคคนหนึ่ง โปรดิวเซอร์คนหนึ่ง คนอ่านเสียงคนหนึ่ง โดยขั้นตอนพิมพ์หนังสือลง Text จะเหนื่อยที่สุด เพราะใช้เวลานาน หนังสือเดซี่นี้ในประเทศไทยเรียก "สื่อเสียงสำหรับคนตาบอด" แต่ทางต่างประเทศเขาเรียกว่า "สื่อเสียงสำหรับผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์"

ผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์ คือ ผู้ที่อ่านหนังสือไม่ได้ เช่น คนตาบอด ผู้สูงอายุ และคนพิการแอลดีที่ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ โดยคนประเภทนี้เป็นหมอนวดแผนไทยเยอะ และถ้าเอาโปรแกรมเสียงพวกนี้ไปให้เขาฟังเขาก็จะอ่านได้และเรียนรู้เนื้อหา การนวดได้

นายโชคชัย คำโพธิ์ทอง หมอนวดที่พิการทางสายตา กล่าวว่า หนังสือเดซี่ช่วยให้เข้าใจเรื่องการนวดมากขึ้น เพราะเวลาเราฟังเราจะเรียนรู้เรื่องเส้นและเรื่องการนวดที่ละเอียดขึ้น จากเมื่อก่อนเรียนจากหนังสือเบรลแล้วก็ครูสอน และการใช้งานก็ใช้ได้สะดวกแต่ควรมีพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์มาก่อน ตนคิดว่าหากหนังสือเดซี่นี้มีกระแสตอบรับที่ดี คนตาบอดจะมาเรียนเพิ่มขึ้น เพราะอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับคนตาบอดส่วนใหญ่ก็มาจากอาชีพนวดแผนไทย

หนังสือเดซี่จึงเป็นอีกช่องทางที่ช่วยผู้พิการทางสายตา


หน้า 21

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNakkxTURFMU13PT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1DMHdNUzB5TlE9PQ==