วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เปิดขุมทรัพย์ล่าสุด ทักษิณ-ครอบครัว 3.3 หมื่นล้าน

วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4188  ประชาชาติธุรกิจ


เปิดขุมทรัพย์ล่าสุด ทักษิณ-ครอบครัว 3.3 หมื่นล้าน





นอก จากทรัพย์สินจำนวนมหาศาลในต่างประเทศซึ่งไม่มีใครรู้อย่างแท้จริงว่ามีจำนวน เท่าไหร่ ? และเงินฝากธนาคารที่ถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่รัฐอายัด 6.9 หมื่นล้านบาท

ล่าสุดจากการตรวจสอบของ "ประชาชาติธุรกิจ" พบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว ยังมีธุรกิจมูลค่ากว่า 3.3 หมื่นล้านบาท ดังนี้

1.บริษัท โอ เอ ไอ ลิสซิ่ง จำกัด ก่อตั้งวันที่ 17 ตุลาคม 2534 ธุรกิจเช่าซื้อ ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ณ วันที่ 29 เมษายน 2552 บริษัท โอเอไอ แมนเนจเม้นท์ จำกัด 54.9% นางสาวพินทองทา ชินวัตร 22.4% นางสาวแพทองธาร ชินวัตร 22.4%

2.บริษัท เอส ซี เค เอสเตท จำกัด ก่อตั้งวันที่ 16 มกราคม 2535 ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ทุนจดทะเบียน 2,200 ล้านบาท ณ วันที่ 28 เมษายน 2552 นางสาวพินทองทา 96.3% นางสาวแพทองธาร 2.9% คุณหญิงพจมาน 0.7%

3.บริษัท เอส ซี ออฟฟิศ พลาซ่า จำกัด ก่อตั้งวันที่ 29 สิงหาคม 2533 ให้เช่าอสังหาฯ ทุนจดทะเบียน 2,200 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 นางสาวพินทองทา 95.4% นางสาวแพทองธาร 4.5%

4.บริษัท บี.พี.พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 16 มิถุนายน 2531 ให้บริการด้านสาธารณูปโภค ทุนจดทะเบียน 340 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 คุณหญิงพจมานถือหุ้น 49.4% นางสาวพินทองทา 24.3% นางสาวแพทองธาร 14.3% บริษัท เอส ซี ออฟฟิซ ปาร์ค จำกัด 11.7% พ.ต.ท.ทักษิณ 0.07%

5.บริษัท พี.ที.คอร์ปอเรชั่น จำกัด ก่อตั้งวันที่ 21 สิงหาคม 2524 ประกอบธุรกิจให้เช่า-บริการอสังหาริมทรัพย์ ทุนจดทะเบียน 3,700 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 นางสาวพินทองทา ชินวัตร ถือหุ้น 92.4% นางสาวแพทองธาร ชินวัตร 5.6% คุณหญิงพจมาน 1.8%

6.บริษัท ประไหมสุหรี พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2533 ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์และบริการสาธารณูปโภค ทุนจดทะเบียน 3,340 ล้านบาท ณ วันที่ 19 เมษายน 2550 นางสาวพินทองทาถือหุ้น 49.8% นางสาวแพทองธาร 49.8% พ.ต.ท.ทักษิณ 0.14% คุณหญิงพจมาน 0.14%

7.บริษัท เวิร์ธซัพพลายส์ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 2 มกราคม 2530 ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าและดำเนินการทางธุรกิจ ทุนจดทะเบียน 4,600 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 นางสาว พินทองทา 51.2% นายพานทองแท้ ชินวัตร 43.4% นางสาว แพทองธาร ชินวัตร 3% คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ 2.1%

8.บริษัท โอ เอ ไอ คอนซัลแตนท์ แอนด์ แมนเนจเม้นท์ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 27 เมษายน 2533 โรงแรมและภัตตาคาร ทุนจดทะเบียน 700 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 คุณหญิงพจมานถือหุ้น 87.1% บริษัท เอส ซี ออฟฟิซ ปาร์ค จำกัด 12.8%

9.บริษัท โอ เอ ไอ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด ก่อตั้งวันที่ 5 มีนาคม 2541 มหาวิทยาลัยชินวัตร ทุนจดทะเบียน 2,500 ล้านบาท ณ วันที่ 29 เมษายน 2552 นางสาวพินทองทาถือหุ้น 55% คุณหญิงพจมาน 22.5% นางสาวแพทองธาร ชินวัตร 22.5%

10.บริษัท ทุนนวัตกรรม จำกัด ก่อตั้งวันที่ 13 กันยายน 2542 ประกอบธุรกิจลงทุนในบริษัทต่างประเทศ ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 นางสาวพินทองทาถือหุ้น 28.1% นางสาวแพทองธาร 28.1% บริษัท โอเอไอ แมนเนจเม้นท์ จำกัด 25% คุณหญิงพจมาน 18.7%

11.บริษัท อัลไพน์กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 30 ตุลาคม 2532 สนามกอล์ฟอัลไพน์ ทุนจดทะเบียน 747 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 คุณหญิงพจมาน นางสาวพินทองทา นางสาวแพทองธาร ถือหุ้นคนละ 33.3%

12.บริษัท เอส ซี ออฟฟิซ ปาร์ค จำกัด ก่อตั้งวันที่ 21 มีนาคม 2533 ประกอบธุรกิจให้เช่าอสังหาฯ ทุนจดทะเบียน 160 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 นางสาวพินทองทาถือหุ้น 70% นางสาวแพทองธาร 30%

13.บริษัท โอ เอ ไอ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ก่อตั้งวันที่ 21 เมษายน 2551 ขายเสื้อผ้า ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 บริษัท ประไหมสุหรี พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ถือหุ้น 100%

14.บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งวันที่ 29 สิงหาคม 2546 ธุรกิจอสังหาฯ ทุนจดทะเบียน 3,500 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 นางสาวแพทองธารถือหุ้น 29.1% นางสาวพินทองทา 28.9% นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ 4.9% คุณหญิงพจมาน 2.8%

15.บริษัท วี.แลนด์พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 21 มกราคม 2535 ธุรกิจอสังหาฯ ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น ถือหุ้น 100%

16.บริษัท อัพคันทรี่ แลนด์ จำกัด ก่อตั้ง 1 พฤษภาคม 2533 ธุรกิจอสังหาฯ ทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น ถือหุ้น 100%

รวมทุนจะเบียน 24,507 ล้านบาท

นอกจากนี้ คุณหญิงพจมาน ยังมีเงินลงทุนอื่น ประมาณ 870.5 ล้านบาท ได้แก่

บริษัท เดอะ เพนนินซูล่า ทราเวล เซอร์วิส จำกัด 20,000 หุ้น มูลค่า 2 แสนบาท, บริษัท โรงพยาบาลพระรามเก้า จำกัด 2,856,625 หุ้น มูลค่า 285.6 ล้านบาท, บริษัท โรงพยาบาลหริภุญชัย เมโมเรียล จำกัด 100,000 หุ้น มูลค่า 1 ล้านบาท, บมจ.โรงพยาบาลวิภาวดี 3,616,660 หุ้น มูลค่า 8.4 ล้านบาท, กองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรรัฐบาล 50 ล้านหุ้น มูลค่า 506.5 ล้านบาท, กองทุนเปิดรวงข้าวทวิภาค 5,000,000 หุ้น มูลค่า 36.8 ล้านบาท, พันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ ปี 2545 จำนวน 2,000 หน่วย มูลค่า 20 ล้านบาท, MBI INVESTORS LP จำนวน 5,440 หน่วย มูลค่า 12 ล้านบาท (พ.ต.ท.ทักษิณ)

ขณะที่ นายพานทองแท้ บุตรชาย ยังมีธุรกิจส่วนตัว 7 บริษัท รวมทุนจดทะเบียน 410 ล้านบาท

1.บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด แปลงร่างมาจากบริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 9 ตุลาคม 2546 ทุนจดทะเบียนปัจจุบัน 300 ล้านบาท บริษัท พี.ที.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ) ถือหุ้น 56%, นายพานทองแท้ 36.9% นางสาวพินทองทา ชินวัตร (เอม) น้องสาว 7% สำนักงานอยู่ที่อาคารบีบีดี ถนนวิภาวดีฯ แขวงสามเสนใน กรุงเทพฯ

2.บริษัท นิวโอ๊ค จำกัด ก่อตั้งวันที่ 16 มิถุนายน 2546 ร้าน ถ่ายรูป She@mood ที่สยามสแควร์ ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท หนุ่มโอ๊คถือหุ้น 100%

3.บริษัท มาสเตอร์ โฟน จำกัด ก่อตั้งวันที่ 9 ธันวาคม 2546 ขายโทรศัพท์มือถือเวอร์ทู ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท นายพานทองแท้ ถือหุ้นร่วมกับ นายศิธา ทิวารี อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ นางสาวสิรอักษร กฤษดาธานนท์ ทายาทกลุ่มอสังหาฯ กฤษดานคร นายไอยคุปต์ กฤตบุญญาลัย และนาย นันทสิทธิ์ แจ่มสมบูรณ์ คนละ 20%

4.บริษัท โอคานิท จำกัด ก่อตั้งวันที่ 9 มกราคม 2547 ร้านกาแฟ ทุนจดทะเบียน 35 ล้านบาท นางสาวอุษณา มหากิจศิริ ถือหุ้น 35% นางสาวอุษณีย์ มหากิจศิริ 15% หนุ่มโอ๊ค 19.9% นางสาวพินทองทา ชินวัตร 15% และนางสาวแพทองธาร ชินวัตร 15%

5.บริษัท ฮาวคัม มีเดีย จำกัด ก่อตั้งวันที่ 30 เมษายน 2547 ธุรกิจโฆษณา ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท บริษัท วอยซ์ ทีวี ถือหุ้น 100%

6.บริษัท ฮาวคัม เอวี จำกัด ก่อตั้งวันที่ 4 ตุลาคม 2547 ธุรกิจบันเทิงและสันทนาการ ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท บริษัท เอ.วี.ซิสเท็มส์ จำกัด ของนายพลวัฒน์ ศุขจรัส ถือหุ้น 45% บริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ 45% นายกุลพงศ์ บุนนาค 9.9%

7.บริษัท ฮาวคัม สตูดิโอ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 รับจ้างผลิตป้ายโฆษณา ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท บริษัท วอยซ์ ทีวี ถือหุ้น 49.9% บริษัท โอคานิท จำกัด 25% นางเดือนเต็ม กฤษดาธานนท์ 7% นายกฤตพงศ์ ชวาลดิฐ 5% นาย มนัสชัย พรโสภากุล 5% นายพานทองแท้ 4% นางสาวอุษณา มหากิจศิริ (บุตรสาวนายประยุทธ มหากิจศิริ เจ้าพ่อเนสกาแฟ) 4%

ขณะที่ นายบรรณพจน์ ถือหุ้น 2 บริษัท รวมมูลค่าทุนจดทะเบียน 8,150 ล้านบาท ได้แก่

1.บริษัท โอเอไอ แมนเนจเม้นท์ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2529 บริการให้คำปรึกษา (ด้านวิศวกรรม) ทุนจดทะเบียน 5,150 ล้านบาท ณ วันที่ 30 เมษายน 2552 นาย บรรณพจน์ถือหุ้น 100%

2.บริษัท บี.บี.ดี.พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ก่อตั้งวันที่ 24 ตุลาคม 2549 ให้เช่าอสังหาฯ ทุนจดทะเบียน 3,000 ล้านบาท ณ วันที่ 28 เมษายน 2552 นายบรรณพจน์ถือหุ้น 100%

รวมมูลค่าทั้งหมด (ตามทุนจดทะเบียน) 33,937.5 ล้านบาท


หน้า 2
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02edi01010353&sectionid=0212&day=2010-03-01

--
โปรดอ่าน blog
www.pridiinstitute.com
www.nakkhaothai.com
www.pcpthai.org
http://wdpress.blog.co.uk
http://www.cedthai.com/
http://rsm2009-rsm2009.blogspot.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
www.youtube.com/user/naiissarachon#p/a/u/0/34ZvscsnCbA

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รำลึก 4 ปีที่จากไป กนกพงศ์ สงสมพันธุ์


วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7031 ข่าวสดรายวัน


รำลึก 4 ปีที่จากไป กนกพงศ์ สงสมพันธุ์


วิภาวี จุฬามณี




"...ชีวิตคือสิ่งมหัศจรรย์ และเราหาได้ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผล ทั้งเราไม่ได้ตายไปพร้อมความว่างเปล่า...ศรัทธาต่อการเขียน ชักนำไปสู่ศรัทธาต่อชีวิต และเพราะมีศรัทธาต่อชีวิตนั่นเอง ทำให้เราเขียน..."

เย็นย่ำ ในแกลเลอรี่ขนาดเล็ก ย่านแพร่งภูธร กลางกรุง บรรดาคนใกล้ชิดและแฟนหนังสือของนักเขียนหนุ่มแห่งหุบเขาฝนโปรยไพร รวมตัวกันในงาน "รำลึก กนกพงศ์ สงสมพันธุ์" ที่วรพจน์ พันธุ์พงศ์ นักเขียนหนุ่มอีกคนเป็นหัวเรือใหญ่จัดขึ้น เพื่อรำลึก 4 ปีแห่งการจากไปของนักเขียนซีไรต์ปี 2539 เจ้าของประโยคที่ยกมากล่าวในข้างต้น

ในงาน นอกจากข้าวของเครื่องใช้และผลงานรวมเล่มของกนกพงศ์แล้ว อัลบั้มรูปภาพท้องฟ้าที่กนกพงศ์ถ่ายและเก็บรวบรวมไว้กว่า 100 ภาพ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชวนให้นึกถึงนักเขียนหนุ่มผู้นี้

ว่ากันว่า กนกพงศ์มักจะถ่ายรูปท้องฟ้าเก็บไว้เสมอๆ กล้องฟิล์มตัวโปรด ติดเลนส์ขนาด 28 ม.ม. เขาใช้มันบันทึกฟากฟ้าที่เปลี่ยนรูปร่างหน้าตาไปในแต่ละวัน หลายรูปถ่ายในที่เดิม จากมุมเดิมซ้ำๆ เพียงแต่ต่างวันและเวลา ท้องฟ้าที่มองเมื่อไหร่ก็คือท้องฟ้า กนกพงศ์อาจเห็นรายละเอียดบางอย่างที่อยู่ในความธรรมดาสามัญนั้น

กับงานเขียนก็เช่นกัน เขาได้ชื่อว่าเป็นนักเขียนที่เก็บรายละเอียดของสิ่งต่างๆ ได้อย่างยอดเยี่ยมหมดจดที่สุดคนหนึ่ง อาจารย์สกุล บุณยทัต นักเขียน นักวิจารณ์วรรณกรรม และอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งได้รับเชิญมาร่วมวิเคราะห์งานเขียนของกนกพงศ์ในงานนี้ พูดถึงงานของกนกพงศ์ว่า เป็นงานในเชิงรายละเอียด ที่ให้ความสำคัญกับทุกมิติของสิ่งที่กำลังกล่าวถึง



"ถ้าเป็นการทำหนัง กนกพงศ์ใช้ภาพเยอะมาก ใช้ฟิล์มถ่ายเยอะมาก เปลี่ยนมุมกล้องมากที่สุด แม้ว่างานของเขาจะดูเนิบช้า แต่มีการเปลี่ยนมุมกล้อง งานของเขาจะเหมือนหนังยุโรป หนังทดลอง การเขียนงานในลักษณะอย่างนี้เขามีภาพพจน์ในใจของเขาในเชิงรายละเอียด ไม่ได้เขียนออกมาลอยๆ ไม่ได้เขียนสักแต่ว่าเรามีพล็อตแบบนี้ เรามีโครงเรื่องแบบนี้ก็จะเขียน คิดฉาก คิดตัวละครได้ก็จะเขียน แต่มันคือการมองเห็นภาพในใจของตัวเอง แล้วเอาออกมาให้เห็น"

อาจารย์สกุลเล่าต่อว่า รู้จักกนกพงศ์ครั้งแรกเมื่อครั้งที่กนกพงศ์ยังเขียนหนังสือให้กับนิตยสารอิม เมจ และรู้จักกันมากขึ้นเมื่อทั้งคู่ได้รับรางวัลเรื่องสั้นช่อการะเกดในปีเดียว กัน

"กนกพงศ์เป็นคนที่ถ่อม สุภาพเสมอ ในทรรศนะของผม เขามักเอ่ยถึงพี่ๆ ด้วยความรู้สึกรักและศรัทธา คนหนึ่งนั้นคือ สุริยฉัตร ชัยมงคล สังเกตว่าภาษาของกนกพงศ์จะเป็นภาษากวี เป็นภาษาที่งดงามอย่างยิ่ง อย่างที่สุริยฉัตรใช้ ไม่ได้หมายความว่ากนกพงศ์จะไปเลียนแบบอะไร แต่อิทธิพลความซึมซับในแง่มุมของความรู้สึกนั้นมันถ่ายทอดถึงกันได้" อาจารย์สกุลวิเคราะห์

นักเขียนหนุ่มจากด้ามขวานผู้นี้ เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2509 ที่ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็นลูกคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 7 คน เริ่มเขียนหนังสือตั้งแต่ยังเป็นเด็กชาย ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกคือบทกวี "ความจริงที่เป็นไป" พิมพ์ใน "สยามใหม่" ตั้งแต่ปีพ.ศ.2523



ผลงานรวมเล่มครั้งแรกคือกวีนิพนธ์ "ป่าน้ำค้าง" ตีพิมพ์ในปีพ.ศ.2532 และถัดมาอีก 2 ปี รวมเรื่องสั้นชุด "สะพานขาด" และ "คนใบเลี้ยงเดี่ยว" ก็ทยอยปรากฏสู่สายตาของนักอ่าน

ปีทองของกนกพงศ์ เมื่อพ.ศ.2539 หลังได้รับ "รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน" หรือ "ซีไรต์" จากผลงานรวมเรื่องสั้นอันทรงพลัง "แผ่นดินอื่น"

"ปีนั้นเป็นปีที่คนรุ่นผมมีความรู้สึกว่า งานที่เรารอคอย ที่หายไปหลายปี มันกลับมา หลังจากที่เราเคยอ่าน ตลิ่งสูงซุงหนัก ของนิคม รายยวา เราอ่าน ลูกพ่อคนหนึ่ง (ถากไม้เหมือนหมาเลีย) ของวัฒน์ วรรลยางกูร แล้วก็มาถึงงานของกนกพงศ์ คือแผ่นดินอื่น"

"ผมก็บอกว่า งานชิ้นนี้แหละเป็นงานที่บ่งบอกได้ชัดเจนที่สุดแล้ว เป็นงานในเชิงศรัทธาที่พูดถึงโลก ที่ในตอนนั้นคนไม่พยายามจะพูดถึงด้วยซ้ำไป เป็นการพูดถึงศรัทธาที่ถูกทำลายไปด้วยหายนะของความรู้สึกของมนุษย์ในยุค ปัจจุบัน พูดถึงแผ่นดินที่มันกลายเป็นอื่น พูดถึงศรัทธาที่มันกลายเป็นอื่น เราไม่เคยคิดถึงศรัทธา แต่เราคิดถึงแต่ภาวะที่จะทำให้เราสะดวกสบายเท่านั้น" อาจารย์สกุลวิจารณ์ ในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินรางวัลซีไรต์ในปีนั้น

ในทรรศนะของอาจารย์สกุล มองว่างานเขียนของกนกพงศ์สะท้อนให้เห็นลักษณะที่เด่นชัด 3 ประการ คือ "การเติบใหญ่ของภูมิปัญญา" กนกพงศ์พยายามที่จะตอบโจทย์อะไรบางอย่างที่เป็นปัญหาสังคมในสมัยนั้น "Building a character" ตัวละครทุกตัวที่เขาสร้างขึ้นล้วนมีบุคลิกเฉพาะ และบุคลิกนั้นไม่ได้อยู่ที่ตัวบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ยังก่อร่างขึ้นเป็นบุคลิกของเรื่องด้วย

ที่สำคัญคือ งานของกนกพงศ์สร้าง "ความเติบโตทางจิตวิญญาณ" นั่นคือ เป็นงานที่เขียนออกมาจากใจ จากจิตวิญญาณ อย่างที่อาจารย์สกุลให้ความหมายไว้ว่า "เป็นงานที่เอาใจไปจ่อใจ และสร้างความจับใจกับวิถีชีวิตที่ลึกซึ้ง"

"สิ่งหนึ่งที่กนกพงศ์เขียนถึงอยู่เสมอก็คือว่า การที่เราต่ำต้อยอย่างไรก็ตามแต่ ภาวะที่เราตกต่ำอย่างไรก็ตามแต่ เราต้องเป็นซูเปอร์แมนให้ได้ เป็นคนที่อยู่เหนือคน อยู่เหนือภาวะของความจน ภาวะของการตีบตันในชีวิต งานของเขาแต่ละชิ้นไม่ว่าจะอยู่ในภาวะที่ตีบตันมืดมนขนาดไหน เขาก็จะแสดงให้เห็นว่าตัวละครเหล่านั้นไม่มีทางแพ้ เพราะเขารู้อยู่แล้วว่า เขาแพ้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเขาจะอยู่อย่างไร นี่คือความงดงามที่เขามองโลก และเป็นการให้โอกาสของมนุษย์ว่า ความเป็นมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญ"

แผ่นดินนี้ในวันนี้อาจไม่มีกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ อีกต่อไป แต่แผ่นดินนี้ในวันหน้า เชื่อแน่ว่า ชื่อและผลงานของเขาจะยังไม่เลือนหายไปไหน


หน้า 5
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNakk0TURJMU13PT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1DMHdNaTB5T0E9PQ==

--
โปรดอ่าน blog
www.pridiinstitute.com
www.nakkhaothai.com
www.pcpthai.org
http://wdpress.blog.co.uk
http://rsm2009-rsm2009.blogspot.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
www.youtube.com/user/naiissarachon#p/a/u/0/34ZvscsnCbA

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความท้าทาย "4 บิ๊ก" ซีอีโอ "เปิดสไตล์-ถอดรหัส"..บริหารความเสี่ยง

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4187  ประชาชาติธุรกิจ


ความท้าทาย "4 บิ๊ก" ซีอีโอ "เปิดสไตล์-ถอดรหัส"..บริหารความเสี่ยง





มี นักวิชาการบอกว่า "การเมือง" ไม่นับเป็น "ความเสี่ยง" เนื่องจาก ไม่สามารถคำนวณเป็น "ตัวเลข" ได้ เพราะ "การเมือง" เป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม และความคาดหมาย

ขณะที่ "ความเสี่ยง" เป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจต่างตระหนักและระแวดระวังกันทุกคน เพราะ "ความเสี่ยง" เป็นเรื่องที่ป้องกันได้ และหา "ค่า" ได้ โดยแต่ละธุรกิจต่างมีปัจจัยเสี่ยงไม่เหมือนกัน แต่ละตัวแปรสามารถแปลงเป็นตัวเลขได้ ขึ้นอยู่กับสมมติฐาน

ในงาน สัมมนาประจำปีของสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย (TLCA) จึงยึดธีม "ความท้าทายในการบริหารความเสี่ยง" (challenge of risk management) "ประชาชาติธุรกิจ" จึงเลือกหยิบการบริหารความเสี่ยงจากวงเสวนาเรื่อง "CEO challenge-leading thorough uncertainty" จาก 3 กลุ่มธุรกิจ คือ ธุรกิจพลังงาน มี "ชนินทร์ ว่องกุศลกิจ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) "อนนต์ สิริแสงทักษิณ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) จำกัด (มหาชน) ธุรกิจอาหารแปรรูป โดย "ธีรพงศ์ จันศิริ" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) และมี "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) มาร่วมกันเปิดประเด็นวิธีป้องกันและการรับมือกับความเสี่ยง

"บ้านปู" ต้องคิดง่าย ๆ

"ชนินทร์" กล่าวว่า ธุรกิจของ "บ้านปู" ปัจจัยเสี่ยงมาจากภายนอกประเทศ ซึ่งมีอยู่ 2 ส่วน คือ 1.ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ จะผันผวนและเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะเศรษฐกิจ 2.กฎระเบียบของประเทศที่ส่งสินค้าไปขายจะออกกฎระเบียบใหม่ ๆ มาควบคุมเสมอ บริษัทจึงต้องติดตามการออกกฎระเบียบของทั้งรัฐบาลกลาง และส่วนท้องถิ่นที่บริษัทไปลงทุนและค้าขาย

แม้ความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับ"ต่างประเทศ" แต่การบริหารจัดการความเสี่ยงภายในก็สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากธุรกิจหลักของบ้านปู คือ ถ่านหิน ต้องลงทุนนานกว่าจะสามารถรับรู้รายได้ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือต้องมองภาพไปข้างหน้าพร้อมกับรายงานความเสี่ยงที่ อาจเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งบริษัทมี คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ที่นำประเด็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมาคุยกัน ทุก ๆ 3 เดือน เพื่อนำไปสู่การหารือใน 2 เรื่องใหญ่ แผนประจำปีนั้น ๆ และยุทธศาสตร์ในระยะ 5 ปี

"ผู้บริหารธุรกิจต้องพยายามมองสถานการณ์ ให้ออก แล้วพยายามเรียงให้ง่าย ๆ ว่าความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรามีอะไรบ้าง ถ้ามองให้มันซับซ้อนมากเกินไปมันทำให้เรามองไม่เห็น"

และสุดท้าย คือการที่สถานการณ์ ค่อนข้างเปลี่ยนเร็ว ไม่แน่นอนสูงเราต้องสร้างทางเลือกสำหรับธุรกิจ ไม่ว่าธุรกิจดีหรือไม่ดีแล้วเรามีทางออกอย่างไร

ปตท.สผ. มอง "คน" เสี่ยงสุด

ปตท.สผ.เป็นอีกธุรกิจที่มีการลงทุนในต่างประเทศ มีความเสี่ยงจากความ แตกต่างของภูมิประเทศ (Geographic risk) "อนนต์ สิริแสงทักษิณ" กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทกระจายการลงทุน 20 โครงการ อยู่ใน 13 ประเทศ

"อนนต์" มองว่าความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของทุกธุรกิจ คือ "คน" เพราะคนคือ ผู้ที่จะตัดสินใจนำความเสี่ยงต่าง ๆ มาสู่ธุรกิจ ดังนั้นการจัด "mind set" ของบุคลากรจึงเป็นภารกิจที่สำคัญและต้องให้ความสำคัญกับโครงสร้างและ วัฒนธรรมองค์กรที่การสร้างภาวะผู้นำ รวมถึงการเปิดรับความเสี่ยงต้องสอดคล้องไปกับเป้าหมายของบริษัท

การ จัดการความเสี่ยงของ ปตท.สผ. ต้องผูกกับเป้าหมายขององค์กร มีกลยุทธ์รองรับ เข้าใจปัจจัยที่ขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จว่ามีความไม่แน่นอนอะไรบ้าง แล้วลดผลกระทบที่เข้ามา

นอกจากนี้ ต้องมั่นใจว่าธุรกิจยังคงเดินไปตามเป้าหมายระยะยาวที่วางไว้ โดยต้องมีการทบทวนกลยุทธ์อยู่เสมอว่าที่ทำอยู่ปัจจัยทำให้ธุรกิจเติบโตได้ หรือไม่ เช่น ในช่วงวิกฤตการณ์การเงินโลกในปีที่ผ่านมาทำให้การจะไปถึงเป้าหมายโดยการเติบ โตจากภายใน (organic growth) เป็นไปได้ยากขึ้น บริษัทก็มองหาการเติบโตด้วยวิธีไปซื้อสินทรัพย์ในต่างประเทศ

"การ บริหารความเสี่ยงเราต้องมองยาวด้วย สั้นด้วย และบริหารพอร์ตในภาพรวมด้วยความเข้าใจอุตสาหกรรม ก่อนหน้าวิกฤตเราตั้งเป้าเติบโตสูง แต่พอมีวิกฤตเราก็ลดการเปิดรับความเสี่ยง แต่ยังถือเป้าหมายระยะยาวไว้ เพียงแต่ปรับวิธีทำงานระยะสั้น ในขณะที่การบริหารความเสี่ยงของเรายังมีบอร์ดชุดย่อยที่ดูแลความเสี่ยงในทุก ฟังก์ชั่น แล้วนำความเสี่ยงมารวมกันเพื่อนำไปสู่การจัดการได้อย่างเบ็ดเสร็จ เพราะถ้าแยกต่างคนต่างทำ ต่างเป้าหมาย มันเป็นความเสี่ยงได้เหมือนกัน"

ไทยยูเนี่ยนฯขีดวงความเสี่ยง 5 ข้อ

ในส่วนธุรกิจอาหารแปรรูป "ธีรพงศ์ จันศิริ" จากไทยยูเนี่ยนฯบอกว่า บริษัทเป็นผู้ส่งออกไปทั่วโลก ความเสี่ยงอันดับ 1 คือ คุณภาพ เนื่องจากเป็นประเด็นที่นำไปสู่ความน่าเชื่อถือ แม้จะควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพแต่ความเสี่ยงก็เกิดขึ้นได้ตลอดในอุตสาหกรรม นี้

2.อัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากรายรับ 95% เป็นเงินดอลลาร์ แนวคิดการจัดการเรื่องนี้ต้องยืดหยุ่น จัดการได้เร็ว ใช้แนวคิดง่าย ๆ คือ 40% บริหารความเสี่ยงโดยให้รายรับและรายจ่ายที่อยู่ในรูปดอลลาร์หักกลบกัน (natural hedging) ส่วนที่เหลืออีก 60% ครึ่งหนึ่งป้องกันความเสี่ยงเต็มจำนวน (fix forward) ส่วนอีกครึ่งหนึ่งไม่ป้องกันความเสี่ยง เปิดรับความเสี่ยงเผื่อรับกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้อง ทำแบบนี้เพราะจริง ๆ แล้วไม่มีใครรู้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นอย่างไร

3.ราคา ของวัตถุดิบ เนื่องจากบริษัทมีการรับคำสั่งซื้อมาล่วงหน้าแล้ว การจัดซื้อวัตถุดิบมาผลิตก็ต้องซื้อล่วงหน้าในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ไม่เน้นการเก็งกำไร 4.ด้านแรงงาน ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงานไม่เพียงพอ บริษัทต้องเตรียมหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาทดแทนแรงงานที่ขาดแคลน

5.ความเสี่ยงจากเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากบริษัทส่งสินค้าไปทั่วโลก และไทยส่งออกอันดับ 1 ในสินค้าหลายประเภท จึงมีโอกาสสูงที่จะถูกโจมตีและกีดกันทั้งในรูปของภาษีและไม่ใช่ภาษี การจัดการความเสี่ยงเหล่านี้จึงอยู่ที่การติดตามการออกกฎระเบียบการค้า การลงทุนของแต่ละประเทศ

กสิกรไทยหวั่น "ความเสี่ยงลูกค้า"

ด้าน สถาบันการเงิน ธุรกิจซึ่งนอกจากจะต้องคุมความเสี่ยงจากการบริหารจัดการภายในของตัวเองแล้ว แต่ที่ดูเหมือนจะควบคุมยากยิ่งกว่าคือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการบริหารจัดการธุรกิจของลูกค้าซึ่งอาจเป็นที่มาของการ ผิดนัดชำระหนี้

"ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" จากค่ายกสิกรไทยประเมินว่า ขณะนี้มีหลายความเสี่ยงที่อาจเข้ามากระทบธุรกิจของลูกค้าในระดับที่แตกต่าง กันออกไป ซึ่งหากไม่จัดการให้ดีมีโอกาสที่จะกระทบมาถึงธนาคาร ประการแรกคือ ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก,ความเสี่ยงที่ ดอกเบี้ยจะปรับตัวขึ้นตามแนวโน้มเงินเฟ้อ ซึ่งจะกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น

ส่วนที่เป็นความเสี่ยงเฉพาะ ของธนาคารนั่นคือ การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การทำธุรกิจ มีแนวโน้มจะออกเกณฑ์เพื่อจัดระเบียบสถาบันการเงินมากขึ้น ซึ่งถ้ามีผลต่อต้นทุนทางธุรกิจก็มีโอกาสที่ต้นทุนดังกล่าวจะกระทบไปถึง ลูกค้าและส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

"ประสาร" กล่าวว่า ในส่วนของสถาบันการเงินมีการจัดการคือ ภายใต้ความไม่แน่นอนของทั้งเศรษฐกิจและการเมือง ธนาคารพยายามสร้างความสมดุลของพอร์ตสินเชื่อ ให้ประกอบด้วยลูกค้าทั้งขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องจากทั้งในและต่าง ประเทศ ลูกค้ารายกลางและรายบุคคล เพื่อลดการกระจุกตัวของผลกระทบการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมซึ่ง ไม่ต้องเก็บความเสี่ยงมาไว้กับธนาคาร

ส่วนการออกกฎเกณฑ์มาจัดระเบียบ สถาบันการเงินมากขึ้น แม้จะเป็นการเริ่มขึ้นในต่างประเทศก่อน แต่สถาบันการเงินไทยก็ต้องบริหารความเสี่ยงจากประเด็นนี้ด้วยการหาช่องทาง เข้าไปหารือกับผู้กำกับ เพื่อว่าหากเกิดกรณีว่าทางการจะนำเกณฑ์ใหม่ ๆ เข้ามาจะได้ข้อสรุปที่เหมาะสมในทางปฏิบัติ


หน้า 36
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02spe01250253&sectionid=0223&day=2010-02-25

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687

นโยบายแปรสภาพตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ให้เป็นบริษัทมหาชน

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7030 ข่าวสดรายวัน


แปรรูปตลท.


คอลัมน์ ถุงแดง



รัฐบาล มีนโยบายแปรสภาพตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ให้เป็นบริษัทมหาชน ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทยระยะ 5 ปี (ปี"53-57) แล้ว

แต่การแปรรูปก็มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

โดยเฉพาะนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตกรรมการ และผู้จัดการตลท. คัดค้านการแปรรูปตลท. สุดลิ่ม

เพราะ มองว่าผู้ที่ผลักดันให้มีการแปรสภาพตลท. มีจุดประสงค์อื่นแอบแฝง โดยเฉพาะการนำเงินกองทุนมหาศาลของตลท.ที่มีอยู่ประมาณ 10,000 ล้านบาทไปใช้ประโยชน์

และที่สำคัญการแปรสภาพของตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลกที่ผ่านมาก็ไม่ได้ประสบผลสำเร็จเสมอไป

ขณะ ที่คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการตลท. เห็นว่าตลท. ควรเป็นองค์กรปลอดการเมือง ดังนั้น การเดินหน้าแปร สภาพตลท. อาจช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น

อีกทั้งมองว่ายังมีข้อดีโดยเฉพาะในเรื่องการระดมทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุนให้เติบโต ทั้งการลงทุนด้านระบบต่างๆ เพื่อรองรับสินค้าใหม่ๆ

จะแปรรูปหรือไม่คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่

ที่สำคัญขอให้นึกถึงประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นหลัก


หน้า 8
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlOVEkzTURJMU13PT0=&sectionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBeE1DMHdNaTB5Tnc9PQ==

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

"ครูแก้ว อัจฉริยะกุล" คีตกวีรัตนโกสินทร์ (4) : เพลงคำหอม

"ครูแก้ว อัจฉริยะกุล" คีตกวีรัตนโกสินทร์ (4) : เพลงคำหอม
โดย คีตา พญาไท18 กุมภาพันธ์ 2553 10:51 น.
       อีกเพลงหนึ่งซึ่ง ครูแก้ว อัจฉริยะกุล แต่งเอาไว้กับ ครูเวส สุนทรจามร เป็นคติสอนใจคนฟัง คล้ายคลึงกับ เพลงโลกหมุนวน คือ เพลงละครชีวิต ซึ่งขับร้องบันทึกเสียงเอาไว้ โดย ป้าจุ๊ หรือ จุรี โอศิริ นักร้องรุ่นใหญ่ ที่ต่อมาหันไปเอาดีด้านการพากย์ภาพยนตร์ และการแสดงละครทีวี แทน
        ...
       เพลงละครชีวิต
       คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล/ทำนอง เวส สุนทรจามร

       ถึงยามสำราญ ขอท่านฟังฉัน หน่อยก่อน
       แม้นดูละคร แล้วกลับมาย้อนดูตัว
       พระ นาง ตัวโกง ถึงคราวออกโรง พันพัว
       ชวนหัว เมามัว เต้นยั่วดังฝัน
       
       ละครระกำ ช้ำจิตใจ ละครดีใจ เราหัวร่อ
       นั่นแหละภาพล้อ เราทุกวัน
       บทตัวละคร มีแต่ยอกย้อน ชวนให้
       ระเริงจิตใจ ให้เคลิ้ม ไปพลัน
       
       ละครมีสอน ใจกัน ละครเลิกแล้ว ลืมกัน
       เหมือนนอนหลับ ฝันเพียงคืน

       
        แนวคิดเรื่อง โลกคือละครโรงใหญ่ ใน เพลงละครชีวิต นี้ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล คงได้มาจาก บทพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่องตามใจท่าน ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ทรงแปลมาจากเรื่อง As You Like It ของ วิลเลียม เช็คสเปียร์ นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ที่ว่า
       
       “...โลกนี้ คือละครโรงใหญ่ 
       ชายหญิงไซร้ เปรียบตัวละครนั่น
       ต่างมียามเข้าออกอยู่เหมือนกัน
       คนหนึ่งนั้น ย่อมเล่นตัวนานา...”
       
       All the World’s a Stage,
       And All the Men and Women Merely Players:
       They Have Their Exits and Their Entrances;
       And One Man In His Time Plays Many Parts…

       
        ซึ่ง บทพระนิพนธ์ ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่ทรงแปลมาจาก กาพย์ รุไบยาต ของ ฮะกิม โอมาร์ คัยยาม กวีชาวเปอร์เซีย ที่ว่า
       ดูละคร ขำอกโอ้ 
       ละครฉงน ใยแม่
       เราก็เล่น ละครคน 
       คึกหล้า
       
       ตลกละ พระนางกล 
       ละครเล่น ละครพ่อ
       แปลกแต่ชุดเร็วช้า 
       เท่านั้นขวัญเอย
       
       ดูหนัง ดูละคร
       แล้วย้อน ดูตัว
       ขำอุรา น่าหัว
       เต้นยั่ว อย่างฝัน
       
       ดอกเอ๋ย
       เจ้าดอก พิตะวัน
       ละครคน ละครขัน
       ประชันกัน สนุกเอย

ภาพจาก http://www.pantown.com/board.php?id=5050&area=4&name=board13&topic=258&action=view
       ส่วนเพลงที่ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล แต่งคู่กับ ครูเวส สุนทรจามร แล้วสร้างชื่อเสียงให้แก่ วินัย จุลละบุษปะ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ที่เป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิดั้งเดิม เพราะเป็นผู้ชักชวนให้เข้ามาร่วมงานสมัย วงดนตรีกรมโฆษณาการ ในยุคแรกๆและทำการฝึกสอนให้ มีอยู่ด้วยกันหลายเพลง เช่น เพลงกล่อมรัก เพลงคำหอม เพลงพรหมลิขิต เพลงเด่นดวงเดือน เพลงเดือนดวงเด่น เพลงผู้แพ้รัก เพลงหงส์เหิน ฯลฯ
        ...
       เพลงคำหอม
       คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล/ทำนอง เวส สุนทรจามร

       ลมโบกหวนกลิ่นหอม 
       หอมชวนเด็ดดอม คำหอมเจ้าเอ๋ย
       กลิ่นนี้พี่เคย 
       เคยได้แนบเขนย อกเอ๋ยหวนคำนึง
       
       เพียงแต่กลิ่นล่องลม ชื่นชมซาบซึ้ง
       ชวนให้คิดติดตรึง ใจประหวัดคะนึง ถึงสาวเจ้า
       ชวนให้ใจพี่เหงา 
       จำว่ากลิ่นเจ้า เศร้าอยู่ในใจ
       
       เนื้อเจ้าอวลกลิ่น ประทินเดียวกัน 
       ขวัญเอยแนบขวัญ รักกันชิดใกล้
       หอมเอย เคยชื่นใจ 
       หอมใด ไม่ซึ้งถึงอารมณ์
       
       ขวัญพุ่ม ปทุมมา 
       กลีบบัวยั่วตา พลิ้วพากระเพื่อมลม
       ผ่องศรีที่พี่ชม สีนวลชวนชื่นอารมณ์ 
       ดุจดังสีแพรเจ้าห่ม ปิดถันกัน ลมซ้ำชมให้เศร้าใจ
       
       เจ้าเอยเจ้าคำหอม 
       เจ้าเนื้อหอม หอมชวนใคร่
       ต้องจิตเตือนใจ 
       ยิ่งคิดไปชวนให้ตระกอง
       
       โอ้มือพี่เคยโลมเร้า 
       สาวเจ้าเคยเอามือป้อง แต่ไม่พ้นมือพี่ต้อง
       หวงยิ่งกว่าทอง 
       แต่น้องยังให้ชื่นใจ
       
       ยอดชู้คู่เชย 
       ขวัญเอย อย่าเลยจากไป
       โอ้คำหอมเอย เคยชิดใกล้ 
       อีกนานเท่าใด ขวัญใจจะกลับมา
       
       ยอดชู้คู่ชม 
       ภิรมย์ชมชื่นอุรา
       เพื่อนชายร้อยคน มากล้นค่า 
       ไม่ชื่นอุรา เหมือนเจ้าเพื่อนชม

       
        เพลงนี้สร้างชื่อเสียงให้แก่ วินัย จุลละบุษปะ มาก เป็นเพลงในจังหวะแทงโก้ ที่ใครๆชอบฟังและชอบเต้นรำ จนได้รับสมญาว่า ราชาแทงโก้ของไทย บันทึกแผ่นเสียงไว้ เมื่อปี พ.ศ.2492
       
        ครูเวส สุนทรจามร นำทำนองมาจาก เพลงลาวคำหอม ซึ่งเป็นเพลงในอัตราจังหวะสองชั้น ที่ จ่าเผ่นผยองยิ่ง ( จ่าโคม ) เป็นผู้แต่งทั้งบทร้องและทำนองการร้อง ซึ่ง พระยาประสานดุริยศัพท์ ( แปลก ประสานศัพท์) นำไปใช้ในการบรรเลงของวงเครื่องสายปี่ชวา
       
        ต่อมา หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปะบรรเลง ) ได้แต่งขยายขึ้นเป็น อัตราจังหวะสามชั้น แล้วตัดเป็นอัตราจังหวะชั้นเดียว จนครบเป็นเพลงเถา แต่ก็สูญหายไป
       
        พ.ศ. ๒๕๐๒ ครูเจริญ แรงเพชร จึงได้แต่งขึ้นใหม่ โดยยึดเอาทำนองเดิมของ จ่าเผ่นผยองยิ่ง ส่วนบทร้องยึดเอา บทร้องเดิมของ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปะ บรรเลง ) จึงขอนำเอาเนื้อเพลงดั้งเดิมของ เพลงลาวคำหอม มาลงให้อ่านกัน ดังนี้
        ...
       เพลงลาวคำหอม
       ยามเมื่อลม พัดหวน ลมก็อวล แต่กลิ่น มณฑาทอง
       ไม้เอย ไม้สุดสูง อย่าสู้ปอง ไผเอย บ่ ได้ต้อง แต่ยินนามดวง เอย
       
       โอ้เจ้าดวง เจ้าดวง ดอกโกมล กลิ่นหอม เพิ่งผุดพ้น พุ่มในสวน ดุสิตา
       แข่งแข อยู่แต่นภา ฝูงภุมรา สุดปัญญา เรียมเอย
       
       โอ้อก คิดถึง คิดถึง คะนึงนอนวัน นอนไห้ใฝ่ฝัน เห็นจันทร์ แจ่มฟ้า
       โอ้อก คิดถึง คิดถึง คะนึงนอนวัน นอนไห้ ใฝ่ฝัน เห็นจันทร์ แจ่มฟ้า
       
       ทรงกลด สวยสดโสภา แสงทอง ส่องหล้า ขวัญตา ของเรียมเอย
       ทรงกลดสวยสดโสภา แสงทอง ส่องหล้า ขวัญตา ของเรียมเอย

       
        จะเห็นได้ว่า เพลงคำหอม ที่แต่งขึ้นใหม่นั้น ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ใช้คำว่า หอม เป็น คำซ้ำ ด้วยกัน รวม ๗ คำ คือ กลิ่น หอม / หอม ชวน / คำ หอม / หอม เอย / หอม ใด / คำ หอม / คำ หอม
       
        คำว่า กลิ่น มีอยู่ด้วยกัน 4 คำ คือ กลิ่น หอม / กลิ่น นี้ / กลิ่น ล่องลม / กลิ่น เจ้า / กลิ่นประทิน
       
        และ คำว่า ขวัญ มีอยู่ 5 คำ เช่นกัน คือ ขวัญ เคย / แนบ ขวัญ / ขวัญ พุ่ม / ขวัญ เอย / ขวัญ ใจ
       ทำให้ได้เนื้อความ ที่สื่อความหมายถึงบทเพลงที่คร่ำครวญ ถึงสาวคนรักที่ชื่อ คำหอม ผู้มี กลิ่นกาย หอม ที่ต้องจากไปไกลอย่างอาลัยอาวรณ์ และระลึกนึกถึงความหลังครั้งเก่าก่อน ที่เคยมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งตรึงใจต่อกัน
        “กลิ่น นี้พี่เคย เคยได้ แนบเขนย อกเอ๋ย หวนคำนึง”
       
        “ผ่องศรี ที่พี่ชม สีนวล ชวนชื่นอารมณ์ ดุจดังสีแพร เจ้าห่ม ปิดถันกันลม ซ้ำชมให้เศร้าใจ”
       
        ในวรรคนี้ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เลือกใช้คำ ปิดถัน – กันลม ได้อย่างเหมาะสมลงตัว ทำให้เกิดภาพพจน์ได้ชัดเจน แต่ไม่โป๊ไม่เปลือย
       
        โดยเฉพาะ วรรคทอง ที่ว่า
        “ โอ้มือพี่เคย โลมเร้า สาวเจ้าเคย เอามือป้อง แต่ไม่พ้น มือพี่ต้อง หวงยิ่งกว่าทอง แต่ น้องยังให้ชื่นใจ” นั้น ถือว่าเป็นการบรรยายภาพที่แนบเนียน เป็นจริงเป็นจังได้ยอดเยี่ยมมาก สาวคนใดได้ฟังก็คงต้องหน้าแดง ม้วนอายอย่างแน่นอน
       
        แล้ว ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ก็สรุป ด้วยคำว่า เพื่อน ของกวีโบราณ ที่ว่า
        “ถึงมี เพื่อน ก็เหมือนพี่ ไม่มี เพื่อน 
        ไม่แม้นเหมือน นุชนาฎ ที่มาดหมาย
        มี เพื่อนกิน ก็ไม่เหมือน มี เพื่อนตาย
        มี เพื่อนชาย ก็ไม่เหมือน มี เพื่อนชม” (อ่านต่อสัปดาห์หน้า)

ข่าวล่าสุด ในหมวด

"ครูแก้ว อัจฉริยะกุล" คีตกวีรัตนโกสินทร์ (4) : เพลงคำหอม
"ครูแก้ว อัจฉริยะกุล" คีตกวีรัตนโกสินทร์ (3) : โลกหมุนเวียน
"ครูแก้ว อัจฉริยะกุล" คีตกวีรัตนโกสินทร์ (2) : อัจฉริยะครูเพลง
"ครูแก้ว อัจฉริยะกุล" คีตกวีรัตนโกสินทร์(1)
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9530000023482

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon