วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11414 มติชนรายวัน อยุธยายศล่มแล้ว ล่มอีก ถ่อยฉุดกระชากฉีก ชั่วช้า คอลัมน์ สยามประเทศไทย โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ![]() คูคลองลำรางทางน้ำธรรมชาติทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นเส้นทางสัญจรคมนาคม กับเป็นแหล่งข้าวปลาอาหารให้ประชากรชาวนาสยามยุคกรุงศรีอยุธยาทั้งมวลได้มีชีวิตลมหายใจ มรดกตกทอดเหล่านี้ยังมีสืบเนื่องให้ชาวนาปัจจุบันใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวและตัวเองสืบมา แต่ประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทยไม่เคยมีเรื่องราววิถีชีวิตชาวบ้านร้านถิ่น ไม่มีเรื่องราวของท้องถิ่น จึงไม่ให้ความสำคัญคูคลองลำรางทางน้ำธรรมชาติอะไรทั้งนั้น คนทั่วไปก็ไม่รู้จักมักจี่ความสำคัญ ฉะนั้นในท้องที่จังหวัด, อำเภอ, ตำบล, หมู่บ้าน จึงไม่มีป้ายชื่อบอกแม่น้ำลำคลองลำรางทางน้ำไหลผ่าน ห้วยหนองคลองบึงที่เป็นแหล่งน้ำเลี้ยงชีวิตคนในชุมชนท้องถิ่นก็ไม่มีป้ายบอกชื่อให้รู้ทั่วกัน
แน่นอน ย่อมไม่มีประวัติธรรมชาติวิทยา ความเป็นมาของแหล่งน้ำลำรางห้วยหนองคลองบึงเหล่านั้น ทั้งๆทำไว้จะมีผลพลอยได้ทางการศึกษาและการท่องเที่ยว ด้วยเหตุนี้เองคูคลองลำรางทางน้ำธรรมชาติห้วยหนองคลองบึงทั่วทุกแห่งโดยรอบพระนครศรีอยุธยา(และทั่วประเทศไทย)จึงรกร้างตื้นเขิน หมักหมมด้วยกองขยะสกปรกโสโครกที่เป็นผลงานของชาวบ้านชาวเมืองละแวกนั้นทำไว้ทั้งสิ้น จะขอคัดข่าวจากมติชน (วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม 2552 หน้า 8) มาให้อ่านดังนี้ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ที่ท่าน้ำหน้าพระราชวังจันทรเกษมริมแม่น้ำป่าสัก จ. พระนครศรีอยุธยา ร่วมกันเปิดงานสัปดาห์รณรงค์สิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมพายเรือเก็บขยะและรณรงค์ชุมชนในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และคลองคูเมือง อย่าทิ้งขยะลงแม่น้ำ ภายใต้โครงการคืนรอยยิ้มสู่สายน้ำ เจ้าพระยาปลอดมลพิษ ของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชาวบ้านนำเรือพื้นบ้านเข้าร่วมจำนวนมาก กลุ่มนักกิจกรรมได้พายเรือจากปากน้ำโพ จ. นครสวรรค์ และมาแวะจัดกิจกรรมที่ จ. พระนครศรีอยุธยา จากนั้นจะพายเรือผ่านกรุงเทพฯ รวมระยะทาง 350 ม. โดยพบว่า น้ำที่ปลายแม่น้ำมีคุณภาพต่ำที่สุด ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ประสานงานคำสั่งไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 157 แห่ง ให้นำเครื่องจักรหรืองบประมาณของท้องถิ่นออกไปช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังในพื้นที่ โดยให้เร่งขุดคลองทั้ง 16 อำเภอ ให้เป็นทางน้ำที่ใช้งานได้จริง เมื่อฝนตกลงมาและชาวนาสามารถสูบน้ำออกจากนาลงลำคลองเป็นการช่วยลำเลียงน้ำออกจากพื้นที่นาได้อีกทางหนึ่ง คลองส่งน้ำหลายแห่งของจังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทานอยู่ระหว่างการปรับปรุงและก่อสร้างดาดคอนกรีตตลอดลำคลอง เพื่อป้องกันการพังทลายของตลิ่ง และหากทำเสร็จสิ้นจะอำนวยความสะดวกทางน้ำไหลในลำคลองง่ายต่อการบำรุงรักษา และบริหารจัดการน้ำไปให้ถึงพื้นที่การเกษตรท้ายคลอง ประหลาดไหม? ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีมหาวิทยาลัย แต่ไม่มีการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา แม้จะมีสถาบันอยุธยาบังหน้าไว้ ก็ไม่ได้ทำอะไรให้ประชาราษฎร เช่น เรื่องลำรางทางน้ำธรรมชาติ ฯลฯ เว้นเสียแต่กิจกรรมมหรสพของคนชั้นกลางอยากเป็นผู้ดีมีตระกูลกรุงเก่า แต่ไม่มีชีวิตและลมหายใจของไพร่บ้านพลเมืองผู้ลงแรงและเลือดเนื้อสร้างกรุงศรีอยุธยา หน้า 20 http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra03100652§ionid=0131&day=2009-06-10 |
บ้านอนุรักษ์ธรรมชาติ
-
แม้ว่าสภาวะโลกร้อนจะเป็นวิกฤตการณ์ที่ทวีความร้ายแรงขึ้นทุกวัน
แต่เราทุกคนสามารถช่วยเหลือโลก เพื่อประหยัดพลังงานได้อย่างง่าย ๆ
ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แล...
16 ปีที่ผ่านมา
ดิฉันมีความเห็นว่าควรมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม ของท้องถิ่นให้ชนในท้องถิ่นทราบ ได้ภาคภูมิใจ
ตอบลบเมื่อท้องถิ่นภูมิใจในถิ่นที่อยู่ ความเป็นมาของตน และร่วมกันอนุรักษ์ไว้ ก็น่าจะส่งผลไปให้วัฒนธรรมของชาติได้รับการอนุรักษ์ตามไปด้วยค่ะ