วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

June 18th -19th, 2009, 9 a.m. – 4 p.m. Auditorium, The Bangkok Art and Culture Center - Bangkok

The Italian Section, Faculty of Arts, Chulalongkorn University

in collaboration with

The International Institute for Advanced Asian Studies (CESMEO)

The Italian Embassy in Bangkok and The Royal Thai Embassy in Rome

International Symposium

"140 Years of Thai-Italian Relations"

June 18th -19th, 2009, 9 a.m. – 4 p.m.

Auditorium, The Bangkok Art and Culture Center - Bangkok

On the occasion of 140 years of Thai-Italian Relations, the Italian Section, Department of Western Languages, Faculty of Arts, Chulalongkorn University, in collaboration with the International Institute for Advanced Asian Studies (CESMEO, Turin), The Italian Embassy in Bangkok and The Royal Thai Embassy in Rome, is organizing an International Symposium on June 18th – 19th, 2009 at the Bangkok Art and Culture Center.

The key objectives of this International Symposium are to broaden perspectives and offer new ideas to students, lecturers, researchers and those who are interested in art and culture, as well as in Italian studies, Italian language and literature. Through the symposium, academics, researchers, students and the public will have the opportunity to interact and exchange ideas. The International Symposium also reflects the long history of close ties between the two countries, Thailand and Italy.

FOUR CLUSTERS IN THE INTERNATIONAL SYMPOSIUM

The International Symposium will be organized into four clusters, representing four different areas of interests:

Siam – Italy in Scenario of Art

Cultural Perspective in Italian Cinema

A Comparative Dimension in Italian Language and Literature

Multi-Dimension in Contemporary Times

CALL FOR PAPERS

Papers are invited on the proposed conference topics below. Interested authors please note the following requirements.

Proposed Topics

Topics to be discussed in the proceedings include those related to perspectives of Italian language and literature; art and culture. These topics will be categorized under the four clusters below and presented in the International Symposium:

Siam – Italy in Scenario of Art

Cultural Perspective in Italian Cinema

A Comparative Dimension in Italian Language and Literature

Multi-Dimension in Contemporary Times

Abstracts

Authors should submit an abstract of no more than 300 words, typewritten in English. This abstract should provide sufficient information to allow assessment of the scope and the contents of the paper.

The abstract should be sent to the Organizing Committee via e-mail: intersymposium.bkk@gmail.com by May 22nd, 2009.

Full papers

Required full papers are accepted in Italian or English of no more than 10 pages long. They will be published as proceedings in your original submitted language.

Authors are responsible for the content of each article published in the proceedings. The Organizing Committee does not assume any responsibility for the content.

The Organizing Committee reserves for itself, however, the right to review papers before publishing them. Any content adverse to the common sense of good taste or clearly offensive towards persons or institutions will not be tolerated.

The full paper should be sent to the Organizing Committee via e-mail: intersymposium.bkk@gmail.com by August 31st, 2009.

Submission format

For all documents submitted, please adhere to the following requirements to facilitate the review process:

Typewritten using Microsoft Word (.doc)

Line spacing: 1.5 Lines

Text: Times New Roman 12

Footnotes: Times New Roman 10

Footnotes, progressively numbered (1, 2, 3…), should be placed at the bottom of the page. Footnotes exponents should precede punctuation. The bibliographical references should be placed in footnotes.

IMPORTANT DEADLINES

Abstract submission: within May 22nd, 2009.

Curriculum vitae submission: within May 22nd, 2009

Full paper submission: within August 31st, 2009

We shall send the notification of acceptance by May 25th, 2009.

All documents must be sent to the Organizing Committee via e-mail: intersymposium.bkk@gmail.com, as mentioned above.

Any inquiries can be directed to the attention of the Organizing Committee: intersymposium.bkk@gmail.com.


Invite your mail contacts to join your friends list with Windows Live Spaces. It's easy! Try it!

การ์ตูน เซีย 01/06/2552

Pic_9828

การ์ตูน เซีย 01/06/2552



See all the ways you can stay connected to friends and family

Libraryhub Update : ห้องสมุดทำอะไรได้บ้างบน Facebook


 

From: dcy_4430323@hotmail.com
Subject: Libraryhub Update : ห้องสมุดทำอะไรได้บ้างบน Facebook และผมขอบ่นเรื่องส่วนตัว
Date: Fri, 29 May 2009 09:28:25 +0700

 เรื่องมาใหม่วันนี้ ผมขอนำเสนอเรื่องราวของ Facebook ที่ห้องสมุดนำมาประยุกต์กับงานประชาสัมพันธ์
ลองไปดูวิธีการของห้องสมุดในต่างประเทศดูกันนะครับ
เผื่อว่าเพื่อนๆ จะได้นำมาใช้ในห้องสมุดของท่านเอง

 

ห้องสมุดทำอะไรได้บ้างบน Facebook
หลังจากที่ผมลองเล่น Facebook มาได้ระยะหนึ่ง
ผมก็ได้พบกับห้องสมุดต่างๆ มากมายที่สมัครใช้งาน Facebook เช่นกัน
วันนี้ผมเลยขออนุญาตพาเพื่อนๆ เข้าไปดูห้องสมุดต่างๆ เหล่านี้หน่อย ว่าเขาใช้ Facebook ทำอะไรบ้าง
อ่านได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/2009/05/28/library-on-the-facebook/

 

จบเรื่องอัพเดทวันนี้ครับ

วาย - Libraryhub (http://www.libraryhub.in.th)


เพิ่มแผนที่และทิศทางไปสู่งานปาร์ตี้ของคุณ แสดงเส้นทาง!

Hotmail® goes with you. Get it on your BlackBerry or iPhone.

พาชมหอสมุดแห่งชาติในภาพลักษณ์ใหม่ และแนะนำข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้ห้องสมุด


 

From: dcy_4430323@hotmail.com
Subject: พาชมหอสมุดแห่งชาติในภาพลักษณ์ใหม่ และแนะนำข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้ห้องสมุด
Date: Sat, 30 May 2009 15:15:59 +0700

เรื่องใหม่ 2 เรื่องวันนี้ ผมขอเล่าเรื่องแบบสบายๆ แล้วกันนะครับ
เริ่มจากการพาชมหอสมุดแห่งชาติในภาพลักษณ์ใหม่
การนำชมหอสมุดแห่งชาติของผม ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะครับว่า
ผมเข้าชมหอสมุดแห่งชาติในวันอังคาร ดังนั้นจำนวนคนจึงไม่ค่อยมาก
และข้อจำกัดด้านเวลา ที่ผมมีเวลาในการเข้าชมเพียงแค่ 2 ชั่วโมง
ดังนั้นอาจจะเข้าชมได้ไม่ครบ แต่ผมจะนำเสนอข้อมูลเท่าที่ผมได้เห็นนะครับ

อ่านต่อ และชมภาพมิติใหม่ของหอสมุดแห่งชาติได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/2009/05/30/new-look-at-national-library-thailand/

อีกเรื่องวันนี้ผมขอส่งต่อให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดแล้วกัน
เรื่อง ผู้ใช้บริการห้องสมุดที่ดีควรจะ…
หลายครั้งบรรยากาศในห้องสมุดที่ผมพบ มันดูเหมือนจะไม่ใช่ห้องสมุด
สาเหตุก็เกิดจากการใช้บริการของผู้ใช้ส่วนหนึ่งที่ทำให้บรรยากาศของห้องสมุดถูกทำลาย เช่น
- การพูดคุยส่งเสียงดังในห้องสมุด
- การนำขนมมากินในห้องสมุด
- การนอนหลับในห้องสมุด (แล้วส่งเสียงกรนดังมาก)
ฯลฯ อีกมากมาย

อ่านต่อที่ http://www.libraryhub.in.th/2009/05/29/10-rule-for-good-user-in-library/

จบเรื่องสบายๆ แล้วนะครับ สุขสันต์วันหยุดทุกคนครับ

วาย -libraryhub(http://www.libraryhub.in.th)


โหลดฟรี! โปรแกรม Windows Live ครบชุด Windows Live Services

Hotmail® has ever-growing storage! Don't worry about storage limits. Check it out.

ของฝากจากบางรัก

Pic_9545

"บางรักเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว"

เขียนเรื่อง "ตำนานตรอกซุง" บางรัก ในคอลัมน์ซอกแซกไปเมื่อสัปดาห์ก่อน ด้วยความคิดถึงขาหมูตรอกซุงเจ้าเก่าที่หัวหน้าทีมซอกแซกห่างเหินมาเป็นเวลานานพอสมควร

ก็ปรากฏว่าอีก 1 สัปดาห์ต่อมารายการโทรทัศน์ โด่งดังของช่อง 5 "ตลาดสดสนามเป้า" ซึ่งมี "หนู แหม่ม" สุริวิภา กุลตังวัฒนา กับหนูเหมี่ยว ปวันรัตน์ นาคสุริยะ และน้องรถเมล์ คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์ เป็นพิธีกรใหญ่ ก็ส่งคณะแวะไปชิมของอร่อย ย่านบางรัก โดยมิได้นัดหมาย

หนึ่งในของอร่อยติดอันดับท็อปเทนของเมืองหลวงที่หนูแหม่มแนะนำก็คือ "โจ๊กบางรัก" ที่ขายมากว่า 50 ปี หน้าโรงภาพยนตร์ปริ๊นซ์

เป็นร้านโจ๊กในดวงใจของนิตยสารเฮลท์แอนด์ คูซีน และขณะเดียวกันก็เป็นร้านเจ้าประจำของทีมซอกแซกด้วย
 
เป็นร้านโจ๊กในดวงใจของนิตยสารเฮลท์แอนด์ คูซีน และขณะเดียวกันก็เป็นร้านเจ้าประจำของทีมซอกแซกด้วย

เมื่อตอนที่พวกเราทบทวนความทรงจำ เรื่อง 10 ร้านโจ๊กเด่นของ กทม. โจ๊กบางรัก ได้รับการวางตัวอยู่ในอันดับต้นๆเลยทีเดียวเชียว

จำไม่ได้แล้วว่ารายการตลาดสดสนามเป้า เขาแนะนำร้านอาหารอร่อยๆอื่นใดอีก แต่จำได้ว่าทีมซอกแซกของเรามีบัญชีหางว่าวของอร่อยย่านบางรัก ที่จดเอาไว้ในสมุดบันทึกเล่มเก่าอยู่ 1 บัญชี

เสียดายที่ไม่ได้มีการตรวจสอบมานานพอสมควรไม่ทราบว่าร้านต่างๆเหล่านี้จะยังคงอยู่ครบถ้วนหรือไม่

แต่ก็เอาเถอะอยู่หรือไม่อยู่ก็ลองแวะไปดูกันเอาเอง   ขออนุญาตคัดลอกบัญชีมาลงสู่กันอ่านในสัปดาห์นี้เสียเลย เพื่อเป็นข้อมูลเสริมสำหรับแฟนๆนักชิมที่จะไปเยี่ยมชิม ของอร่อยย่านบางรักตามคำแนะนำของหนูแหม่ม หนูเหมี่ยว น้องรถเมล์ จะได้มีข้อมูลเพิ่มขึ้น

การสำรวจของทีมงานซอกแซกเริ่มจากบริเวณสิ้นสุดถนนสีลมที่ไปบรรจบกับถนนเจริญกรุง ไม่ไกลจากโรงพยาบาลเลิศสินเท่าไรนัก

ณ จุดนั้นจะมีแผ่นป้ายสีนํ้าเงินตัวอักษรขาวของ กทม. เขียนไว้ว่า "บางรัก" เห็นถนัดชัดเจน

จากจุดนี้เราจะเดินไปตามถนนเจริญกรุงล่องใต้ ไปเรื่อยๆโดยมีสะพานตากสิน ซึ่งอยู่ใกล้ๆวัดยานนาวา เป็นเป้าหมาย

นี่คืออาณาบริเวณที่ชาวบ้านเรียกขานว่าตลาดบางรักขนานแท้ และเป็นชุมชนเก่าแก่ที่เคยรุ่งเรืองไม่น้อยของกรุงเทพมหานครในอดีตกาล

จากป้าย "บางรัก" ที่อยู่บริเวณหัวมุม เราเดิน มาหน่อยเดียวก็จะเห็นตึกโรงจำนำ ง่วนฮะเชียง 3 คูหา ทาสีเหลืองเข้มสะดุดตา

นี่คือโรงจำนำเก่าแก่คู่เคียงกับตลาดบางรักไม่ตํ่ากว่า 50 ปีเป็นอย่างน้อย

เดินมาเรื่อยๆทางฝั่งเดียวกับโรงจำนำง่วน-ฮะเชียง จะถึงร้านเบเกอรี่ประเภทเค้กและขนมปังต่างๆชื่อ "ปั้นลี เบเกอรี่" ซึ่งก็มีอายุประมาณ 50 ปีเช่นกัน

เค้กหรือขนมปังร้านนี้จะอร่อยติดอันดับสูงๆ ของ กทม. หรือไม่...ไม่มีหลักฐานใดๆบันทึกไว้... แต่สำหรับชาวบางรักถือเป็นร้านระดับตำนานร้านหนึ่ง เพราะเปิดและคงอยู่มาแล้วเกินกึ่งศตวรรษอย่างที่ว่า

เดินมาเรื่อยๆทางฝั่งเดียวกันเรียกง่ายๆว่าฝั่งโรงหนังปริ๊นซ์ก็แล้วกันครับ จะถึงถนนเล็กๆซึ่งความจริงควรจะเป็นตรอกมากกว่า แต่คงจะยาวและลึกพอสมควร ทางราชการจึงตั้งให้เป็นถนน...ชื่อถนน ศรีเวียง

ปากซอยหรือถนนที่เว้าลึกไปทางซ้ายมือถนนนี้เป็นที่ตั้งของโรงจำนำเก่าแก่อีกโรงหนึ่ง ได้แก่โรงจำนำ "ล้งอัน" ที่ชาวบางรักรู้จักดีไม่แพ้โรงจำนำที่เอ่ยถึงตอนแรก

ถัดจากโรงจำนำจะเป็นตลาดและปากทางเข้าสู่โรงหนังปริ๊นซ์บางรักที่เคยโด่งดังในอดีต ประเภทฉาย 2 เรื่องควบ และมักเป็นหนังประเภท "ติดเหรต" ที่หนุ่มๆชอบดูนักหนา

ที่หน้าโรงหนังนี่แหละเป็นที่ตั้งของ โจ๊กบางรัก ที่เรากล่าวถึงในตอนนำเรื่อง

เจ้าตำรับโจ๊กบางรัก เป็นที่รู้จักกันดีของชาวบ้านแถบนั้นในนามของ เจ๊โซ้ว ขายตั้งแต่รุ่นเตี่ยมาจนถึงตัวเจ๊เอง น้องสาวเจ๊ และหลานเจ๊...ทุกวันนี้ขายตลอด 24 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 3 กะ เป็นของเจ๊โซ้ว (คนสวยๆในทีวีนั่นแหละ) 1 กะ...ของน้องสาวเจ๊ 1 กะ และของหลานอีก 1 กะ

ใกล้ๆกันมีร้านลูกชิ้นปลาชื่อ เจ๊หลี ร้านเก่าแก่อีกร้านหนึ่งที่ชาวบางรักคุ้นเคย

เดินล่องไปเรื่อยๆทางฝั่งเดียวกัน จะเจอร้านหมูแดงเป็ดย่างชื่อร้าน "ประจักษ์" เป็นร้านแบบห้องแอร์คูหาเดียว

นอกจากหมูแดงเป็ดย่างจะเป็นเมนูเด็ดของร้านประจักษ์แล้ว   บะหมี่   ของร้านนี้โดยเฉพาะเส้นบะหมี่นั้นน่าจะติดอันดับท็อปเทนได้เลย

ถัดมามีร้านขนมปังสังขยาซุกๆอยู่ 1 ร้าน เก่ามากป้ายเก่าจนผุชื่อ "เม้งขนมปัง" นี่คือเจ้าตำรับขนมปังสังขยารุ่นแรกของเมืองหลวงที่ทุกวันนี้ยังมีแฟนเก่าๆไปอุดหนุนหนาตาพอใช้

เดินไปอีกไม่กี่ก้าวจะถึงซอยใหญ่หน่อยเขาเลยเรียก ถนนเจริญเวียง ในถนนนี้มี เจริญเวียงโภชนา ข้าวหน้าเป็ด และบะหมี่เป็ดสไตล์ภัตตาคารรุ่นเก่า รสชาติใช้ได้เลยละ
ลึกเข้าไปอีกก็จะถึงร้าน "ขาหมูตรอกซุง" ที่หัวหน้าทีมซอกแซกเอ่ยถึงบ่อยๆ และยังแอบไปอุดหนุนอยู่บ้างเป็นครั้งเป็นคราว

หากเดินเข้าซอยหรือถนนเจริญเวียงออกไปอีกจนเกือบทะลุถนนสาทรจะถึงถนนจรัสเวียง...จะมีภัตตาคาร "แสนยอดโภชนา" ตั้งตระหง่านอยู่

นี่ก็เป็นร้านดังประจำบัญชีของเราอีกร้านครับ โดยเฉพาะราดหน้าถือว่าติดอันดับท็อปเทนอันดับต้นๆด้วยซํ้า

ทั้งหมดนี้อยู่ทางฝั่งโรงหนังปริ๊นซ์นะครับ อีกฝั่งหนึ่งของถนนเจริญกรุงด้านห้างโรบินสิน ซึ่งเป็นบริเวณตลาดสดบางรักเก่านั้นไม่มีภัตตาคารเด็ดๆอยู่ในบัญชี แต่มีพวกของหวานที่ขึ้นชื่ออยู่ 2-3 เจ้า

โดยเฉพาะร้านหัวมุม "ส.บุญประกอบพาณิชย์" เลยซอยเจริญกรุง 46 มาหน่อย ดังมากพวกของหวานต่างๆ แต่ที่ทีมซอกแซกชอบเป็นพิเศษก็คือ ขนมบ้าบิ่น ชิ้นโตตำรับบางรักที่ไม่เหมือนของใครๆ

ครับ! ก็เป็นรายชื่อของอร่อยบางรักริมถนนเจริญกรุงทั้ง 2 ฝั่ง จากทางเข้าบางรักเรื่อยไปจนเกือบถึงสะพานตากสิน จะเลือกกินเลือกรับประทานร้านไหนก็เชิญตามสะดวก

รับประทานเสร็จไปตั้งหลักที่สถานี รถไฟฟ้าบีทีเอสสะพานตากสินได้เลย...จะกลับเข้าสยามสแควร์ หรือเลยไปวงเวียนใหญ่ สถานีใหม่ ก็เชิญตัดสินใจกันเอาเอง...เพราะอิ่มแล้วมักอารมณ์ดีจะตัดสินใจยังไงก็ได้จริงไหมครับ?

"ซูม"

http://www.thairath.co.th/content/life/9545



What can you do with the new Windows Live? Find out

ท่านทูตฝรั่งเศส 'รักไทย' 'มร.โลรองต์ บีลี่' 'ชนบทไทยเหมือนสวรรค์'

วันที่ 31 พฤษภาคม 2552 เวลา 00:00 น.
ท่านทูตฝรั่งเศส 'รักไทย' 'มร.โลรองต์ บีลี่' 'ชนบทไทยเหมือนสวรรค์'
 
ในขณะที่คนไทยหลายต่อหลายคนชื่นชมในไลฟ์สไตล์ต่างชาติ แต่ชาวต่างชาติคนนี้กลับมีมุม มอง มีความนิยมชมชอบในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบไทย ๆ ถึงขนาดเลือกที่จะมารับตำแหน่งบริหารระดับสูงที่ประเทศไทย แม้ว่าจะมีสิทธิเลือกรับตำแหน่งที่ อื่น ๆ และถึงขนาดปรารภเลยว่าหากต้องเลือกระหว่างรับตำแหน่งที่วอชิงตัน กับที่กรุงเทพฯ ก็จะเลือกกรุงเทพฯ วันนี้มาดูชีวิตชาวต่างชาติคนนี้... "มร.โลรองต์ บีลี่"

มร.โลรองต์ บีลี่ ชาวต่างชาติคนนี้ไม่ธรรมดา เพราะเป็นถึง "เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย" โดยท่านทูตเกิดเมื่อ 12 ส.ค. 2504 ปัจจุบันอายุ 48 ปี จบปริญญาโทด้านประวัติศาสตร์ และด้านรัฐศาสตร์ รวมถึงสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการบริหารแห่งชาติด้วย ก่อนหน้านี้ท่านเคยเป็นที่ปรึกษาด้านการทูตของประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค ช่วง ต.ค. 2545-15 พ.ค. 2550 เคยเป็นผู้อำนวยการกองที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กำกับดูแลกิจการสหภาพยุโรป พ.ค.-ต.ค. 2545 เป็นเลขานุการเอกและรองหัวหน้าคณะผู้แทนฝรั่งเศสประจำสหภาพยุโรปตะวันตก (กรุงบรัสเซลส์) ปี 2541-2543

ความสามารถทางภาษาของท่านทูตท่านนี้ ล้นเหลือ นอกจากภาษาฝรั่งเศสเองแล้ว ท่านยังพูดได้อีกหลายภาษา ทั้งเยอรมัน, อังกฤษ, โปรตุเกส, สเปน, ตุรกี และรวมถึงภาษาไทยด้วย

"ผมชอบวิถีชีวิตแบบไทย ๆ และวัฒนธรรม ไทย ผมอยู่เมืองไทย ผมรู้สึกสบายมาก ผมมีชีวิตที่นี่ที่สบายมาก และเพื่อน ๆ ก็รู้สึกเช่นเดียวกัน" มร.โล รองต์ บีลี่ กล่าวกับทีมวิถีชีวิต เมื่อถามถึงความรู้สึกของท่านที่มีต่อเมืองไทย พร้อมเล่าอีกว่า กับประสบการณ์แรกที่เมืองไทยคือการใช้ชีวิตกับครอบครัวชาวบ้านธรรมดา ๆ ที่เมืองน่าน หรือ จ.น่าน ก่อนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เมื่อช่วงก่อนเดือน มิ.ย. 2550 อยู่กับครอบครัวไทย 3 สัปดาห์คนเดียว เรียนภาษาไทย โดยท่านทูตกล่าวว่า ที่เมืองน่านเป็นสถานที่ที่วิเศษสำหรับตนเอง ตอนนั้นใช้ชีวิตในแต่ละวันด้วยการไปเรียนภาษาไทยกับครูพิเศษทุกวัน ๆ ละ 4 ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังไปวัด กินข้าวกับครอบครัวไทย และพักผ่อนปล่อยอารมณ์แบบสบาย ๆ ด้วยการไปถีบจักรยาน

"ที่เมืองน่านเป็นเมืองชนบทที่เหมือนสวรรค์ เป็นประสบการณ์แรกที่ประทับใจมาก"

ท่านเอกอัครราชทูต โลรองต์ บีลี่ กล่าวย้ำด้วยรอยยิ้มอีกว่า ประทับใจครั้งแรกที่เมืองน่าน การได้ใช้ชีวิตที่เมืองน่านเป็นโอกาสที่ดีมาก ที่เลือกน่านเพราะว่ามีเพื่อนที่เป็นอาจารย์ที่ฝรั่งเศส เพื่อนสนิท อยู่ที่น่าน ทำให้ได้มีโอกาสใช้ชีวิตกับครอบครัวไทย ได้ใช้ชีวิตที่เมืองไทย ได้เรียนภาษาไทย สนุกมาก ทุกคนในครอบครัวไทยน่ารักมาก ตอนได้ใช้ชีวิตที่เมืองน่านมีเวลาว่างมาก ได้ไปเดินป่า ไปถีบจักรยาน ไปดูวิถีชีวิตแบบโบราณ ที่สำคัญไม่มีรถติด แต่มีวัฒนธรรมที่น่ารักมาก ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดี ทุกคนน่ารัก และน่าสนใจมาก

"มีความสุขมาก และอาหารที่ชอบทานคือ ลาบปลาดุก แต่ไม่ชอบทานต้มแซบในตอนเช้า เพราะเผ็ดมาก และมีเครื่องในมาก กินไม่ไหว เพราะที่ฝรั่งเศสกินแต่ขนมปังมาตลอด"

การอยู่ที่เมืองไทย ท่านเอกอัครราชทูตโลรองต์บอกว่า อยู่ที่เมืองไทยตนเองเหมือนมีหลายชีวิต คือเป็นเอกอัครราชทูต เป็นพ่อของลูก 4 คน และเป็นคนธรรมดาที่เรียนรู้วัฒนธรรมไทย เรียนภาษาไทย และแม้เมื่อเข้ารับตำแหน่งแล้ว ถ้ามีเวลาว่างจากการทำงานก็จะไปภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ อยู่เสมอ ๆ

ทั้งนี้ ก่อนที่จะเลือกมารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ท่านเล่าว่าท่านเป็นที่ปรึกษาด้านการทูตของประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค มาก่อน ทำให้มีโอกาสเลือกได้ จึงได้เลือกมาที่นี่ เพราะไทยกับฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์กันมายาวนาน มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากทีเดียว และคิดว่าน่าจะมี โอกาสพัฒนาความร่วมมือสูงในอนาคต มากกว่าประเทศอื่น ๆ ซึ่งพอมาอยู่แล้วก็เป็นประสบการณ์ที่ดีทีเดียว

"กับคนไทยผมรู้สึกสบายมาก แต่ภาษาไทยยากมาก พยายามเรียน 2-3 ปี เริ่มเรียนภาษาไทยตั้งแต่อยู่ที่ฝรั่งเศสมาก่อน ก่อนที่จะมาเรียนเพิ่มเติมที่เมืองไทย"

นอกจากน่าน ท่านยังชอบ ลพบุรี ด้วย "ชอบเมืองแบบลพบุรี เพราะเหมือนเมืองน่าน ไม่มีฝรั่งเยอะ คุยกับคนไทยโดยใช้ภาษาไทยได้ ชอบ ถ้าไปภูเก็ตทุกคนจะพยายามพูดภาษาอังกฤษกับผม"

นอกจากนี้ ท่านยังชอบสถานที่อื่น ๆ ของไทยที่มีบรรยากาศแบบโบราณ ชอบไปชนบท เคยไปเที่ยวดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ไปเดินป่
าขึ้น ภูเขา ไปหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่แม่เว้ อ.แม่สอด จ.ตาก ไปใช้ชีวิตอยู่กับชาวบ้าน 3 วัน ได้นอนพื้น อาบน้ำที่แม่น้ำ ซึ่งท่านบอกสบาย มาก ชาวบ้านอธิบายให้ฟังถึงวิถีชีวิต และวัฒน ธรรมแบบกะเหรี่ยง ทุกคนน่ารักมาก ที่สำคัญ ทุกคนมีระดับภาษาไทย ที่ไม่สูง คุยกันรู้เรื่อง สบายเลย

สำหรับชีวิตที่กรุงเทพฯ กับตำแหน่งเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ท่าน บอกว่า คนภายนอกมองว่าเป็นท่านทูตแล้วต้องเป็นทางการ แต่จริง ๆ แล้วท่านไม่ชอบใส่เนกไทตลอดเวลา ไม่ต้องการความเป็นทางการตลอดเวลา แต่ที่กรุงเทพฯ ก็ต้องเป็นตัวแทนฝรั่งเศสตลอดเวลา

"ไม่สนุก ผมชอบความเป็นกันเองสบาย ๆ"

อย่างไรก็ตาม ที่กรุงเทพฯ กับบ้านที่ท่านพำนักริมแม่น้ำเจ้าพระยา ท่านทูต บอกว่าชอบบ้านหลังนี้ เพราะมีสวนที่สวยมาก ชอบแม่น้ำ ชอบชีวิตที่แม่น้ำ และส่วนตัวเมื่อมีเวลาว่างจะไปฟิตเนสที่โรงแรมโอเรียนเต็ล โดยทางน้ำ อยู่ที่แม่น้ำทุกวัน สบายมาก ยอมรับว่าปรับตัวกับสังคมไทยได้ค่อนข้างง่าย ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ

"ผมยังเป็น 1 ใน 119 นักศึกษาของสถาบัน พระปกเกล้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม มีความสัมพันธ์ ที่ดีกับทุกคน สำหรับผม สบายมากสำหรับที่นี่" ท่านเอกอัครราชทูตโรลองต์กล่าว และว่าการรับตำแหน่งที่เมืองไทย ถ้าเป็นไปได้จะขอให้มีโอกาสอยู่ในตำแหน่งถึง 4 ปี และขอมีโอกาสอีกครั้งหนึ่งด้วย

"ถ้าเลือกได้อีกครั้งหนึ่ง โดยมีตัวเลือกว่าจะให้ไปวอชิงตัน หรือกรุงเทพฯ ผมจะเลือกมาที่กรุง เทพฯ" เป็นอีกคำกล่าวของเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจำประเทศไทยคนนี้ ซึ่งฟังดูแล้วคนไทยหลาย ๆ คน คงจะทึ่งกับความชอบในการดำเนินชีวิต และที่สำคัญคือมุมมองที่ดีต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทยของท่าน.

เทศกาลวัฒนธรรม 'ลา แฟ็ต'

มร.โลรองต์ บีลี่ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ได้กล่าวถึงนโยบายส่วนตัวต่อความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสว่า นโยบายด้านวัฒนธรรมเป็น โอกาสที่ดี ต่อความสัมพันธ์ทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งอยากจะขอประชาสัมพันธ์ "เทศกาล วัฒนธรรมฝรั่งเศส-ไทย" ครั้งที่ 6 ในปี 2552 หรือ "ลา แฟ็ต 2009" (ระหว่างเดือน มิ.ย.-ต.ค.) ที่จะนำเสนอความหลากหลายของศิลปะทั้งในด้านละคร ดนตรีคลาสสิก นาฏยลีลา ภาพยนตร์ ภาพถ่ายใต้สมุทร แฟชั่น การออกแบบ วิทยาศาสตร์ มรดกทางวัฒนธรรม มานุษยวิทยา การท่องเที่ยว ฯลฯ โดยในวันที่ 3 มิ.ย. 2552 นี้ จะมีพิธีเปิด ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ท่านทูตโลรองต์บอกอีกว่า ลา แฟ็ต เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฤดูใบไม้ผลิแห่งเอเชียซึ่งรวบรวมและเผยแพร่วัฒนธรรมฝรั่งเศสในภูมิภาคเอเชีย และนับแต่เริ่มขึ้นเมื่อปี 2547 เทศกาลนี้ถือเป็นเวทีสำคัญในการเผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลปะและการแสดง ระหว่างไทยและฝรั่งเศส นอกจากนี้ ส่วนตัวยังสนับสนุนนักเรียนไทยที่ต้องการไปเรียนที่ฝรั่งเศสด้วย ซึ่งเท่าที่ทราบมีคนไทยต้องการไปเรียนที่ฝรั่งเศสเพราะค่าเรียนถูกกว่าที่อเมริกาและออสเตรเลีย และที่สำคัญทางประเทศฝรั่งเศสเองก็มีทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนไทยที่สนใจด้วย.


สุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล : รายงาน/ จเร รัตนราตรี : ภาพ


check out the rest of the Windows Live™. More than mail–Windows Live™ goes way beyond your inbox. More than messages

อี-ไลบรารี่ ปรีดี-พูนศุข

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6758 ข่าวสดรายวัน


อี-ไลบรารี่ ปรีดี-พูนศุข


นงนวล รัตนประทีป




"ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์" (Pridi-Phoonsuk Banomyong E-Library) เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ต่อยอดมาจากงานรำลึกวันปรีดี พนมยงค์ ในวันที่ 11 พ.ค.ของ ทุกปี รัฐบุรุษอาวุโส ปูชนียบุคคลสำคัญของไทย

เป็นหนึ่งในหลายๆ โครงการ ที่จะทยอยจัดไปตลอดจนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งจะครบรอบ 110 ปีชาตกาล

โดยมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ และคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน 110 ปี ชาต กาลรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ มีแนว คิดเผยแพร่ข้อมูลประวัติ คุณงามความดีของท่าน ที่เป็นนักประชาธิปไตย และ เสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง

มอบหมายให้ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ และในฐานะกรรมการอำนวยการจัดงาน 110 ปีรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ 2443-2553 เป็นประธานคณะทำงานโครงการห้องสมุดอิเล็ก ทรอนิกส์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์

และโครงการจัดทำเว็บไซต์ ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (www.pridi-phoon suk.org) เพื่อเชิดชูเกียรติคุณ ประวัติ และผลงานของนายปรีดี และท่านผู้หญิงพูนศุข ภริยาคู่ชีวิต เพื่อให้เป็นแหล่งค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สังคม และการเมืองไทยที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุด ให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประ ชาชนทั่วไป ที่สน ใจ ใช้ประโยชน์ในการสืบค้น



ล่าสุดได้เปิดตัวโครงการนี้ไปเรียบ ร้อยแล้ว

อาจารย์ชาญวิทย์กล่าวว่า โครงการห้องสมุดอิเล็ก ทรอนิกส์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ และเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้น เพื่อต้องการรวบรวมเรื่องราวผลงานของนายปรีดี และท่านผู้หญิงพูนศุข ในเหตุการณ์สำคัญๆ ที่มีบท บาทกับประวัติศาสตร์การเมืองของชาติ จากหลายๆ บุคคลและหลายๆ หน่วยงาน ที่จัดทำไว้แล้วมาเรียงลำดับให้อยู่ในที่เดียวกัน เช่น งานเขียน โสตทัศนวัสดุ (ไฟล์เสียง, ไฟล์ภาพ, ไฟล์วีดิทัศน์)

หรืองานที่เกี่ยวข้องในรูปอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็มผลงาน หรือเรื่องราวผลงานของนายปรีดี และท่านผู้หญิงพูนศุข ในเหตุการณ์สำคัญบางช่วงที่ไม่มีอยู่ในตำราเรียน หรือสื่อทั่วไป เนื่องจากมีปัญหาทางการเมือง ทำให้เรื่องราวท่านทั้ง 2 ถูกบดบัง หรือลบทิ้งไปหมด

ดังนั้น ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นการรักษาเอกสารให้คงอยู่ไม่สูญหาย และสามารถทำให้คนทั่วไปเข้าถึง หรือสืบค้นได้ง่ายขึ้น แม้ว่าจะอยู่ที่บ้าน หรือที่ต่างๆ ทั่วโลก



"ประชาชนทั่วไปสามารถสืบค้น หรือดูเว็บ ไซต์ปรีดี-พูนศุข ได้แล้ว และยังสามารถนำมาใช้งานได้เลย ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เสียง ไฟล์ภาพ แต่บางส่วนโดยเฉพาะคลังภาพอาจจะยังไม่สมบูรณ์ มากนัก เพราะบางภาพยังไม่มีคำบรรยายใต้ภาพ โดยรวมแล้วหลังจากนี้ 1 ปีคงจะสมบูรณ์มากขึ้น"

นอกจากเรื่องราวของอาจารย์ปรีดีกับท่านผู้หญิงพูนศุขแล้ว อาจารย์ชาญวิทย์ระบุว่า ในอนาคตเราจะจัดทำเว็บไซต์ประวัติของบุคคลสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองด้วย เช่น อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นต้น

ด้าน นายธนาพล อิ๋วสกุล ผู้จัดทำเว็บไซต์ ให้ข้อมูลแนะนำว่า เนื้อหาในเว็บประกอบด้วย ประวัติ เอกสารผลงาน ภาพถ่ายต่างๆ ของอาจารย์ปรีดี และท่านผู้หญิงพูนศุข รวมถึงเนื้อหา นิทรรศการ 100 ปี ปรีดี พนมยงค์ ต้นฉบับเต็ม

วิทยานิพนธ์ของอาจารย์ปรีดี เนื้อหาหนังสือของท่านผู้หญิงพูนศุข ไฟล์เสียงที่ทั้ง 2 ท่านให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างๆ อาทิ ไฟล์เสียงที่อาจารย์ปรีดีให้สัมภาษณ์สำนักข่าวบีบีซี เมื่อครบรอบ 50 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เทปบันทึกภาพการให้สัมภาษณ์ของท่านผู้หญิงพูนศุข ที่สำคัญทั้งหมดสามารถดาวน์โหลดได้

ธนาพลกล่าวว่า ล่าสุดยังได้รับอนุเคราะห์ไฟล์เสียงคำสารภาพของนายตี๋ ศรีสุวรรณ ผู้เคยให้การปรักปรำอาจารย์ปรีดี ที่ได้กล่าวขอขมากับท่านปัญญานันทภิกขุ เมื่อปีพ.ศ.2522 ด้วย

"ในยุคอินเตอร์เน็ตปัญหาเรื่องความทรงจำทางการเมืองที่ถูกตัดขาดไป และการเข้าไม่ถึงข้อมูล น่าจะลดลงได้ระดับหนึ่ง แต่หากตัดปัญหาเหล่านี้ไปแล้วจะมีปัจจัยอื่นที่มีผลให้ความทรงจำระหว่างอดีตและปัจจุบันขาดไปอีก หรือไม่ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กัน"

ทั้งห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ และเว็บ ไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (www.pridi-phoonsuk.org) พร้อมแล้วสำหรับผู้สนใจค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สังคมและการ เมืองไทย

หน้า 5

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

"ฮูลู"สันติภาพ สร้างสุข 3 จังหวัดใต้

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6758 ข่าวสดรายวัน


"ฮูลู"สันติภาพ สร้างสุข 3 จังหวัดใต้


นุเทพ สารภิรมย์




ทุกส่วนในสังคมต้องการเห็นสันติภาพและความสงบสุขเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ปะทุคุกรุ่นมาหลายปี

"โครงการสื่อพื้นบ้านเพื่อสุขภาวะของเยาวชน" ถึงคราวสัญจรลงพื้นที่ จ.ปัตตานี เพื่อนำเสนอเรื่องราววิถีชีวิตชุมชน วัฒนธรรม ใช้ดนตรีพื้นบ้านเป็นสื่อกลาง เพื่อหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนทัศนคติและความเข้าใจอันดีต่อกัน และหวังว่าอาจเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่นำมาซึ่งสันติภาพ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วย สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มดินสอสี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตปัตตานี จึงร่วมกันทำ "ลิเกฮูลูเพื่อสันติภาพ"

โดยประสานความร่วมมือระหว่างบุคลากรในท้องถิ่น ที่มีความรู้ความสามารถในเชิงศิลปะการแสดงพื้นบ้านอย่าง "ลิเกฮูลู" มาถ่ายทอดให้ลูกหลานนักศึกษา มอ.ปัตตานี เพื่อสานสุขขยายต่อไปยังชาวบ้านในชุมชน

การละเล่นชนิดนี้ เป็นการร้องและมีดนตรีให้จังหวะ ต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ ใช้ภาษา คารม ด้นกลอนสด โต้ตอบ ยอวาที และแซว เนื้อหาของเพลงจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้

คล้ายกับลำตัด หรือเพลงฉ่อยทางภาคกลาง

แต่มีเอกลักษณ์สำคัญที่ท่าร่ายรำจะบ่งบอก และสะท้อนถึงวิถีของผู้คนและธรรมชาติ เช่น ท่ากรีดยาง พายเรือ การทำมือเป็นลูกคลื่น ท่ากวักมือชักชวนพี่น้องกลับมายังบ้านเกิด โดยจะตบมือแทรกเป็นจังหวะเพิ่มความสนุกสนาน



นายเจะปอ สะแม ปราชญ์ท้องถิ่น หัวหน้าคณะลิเกฮูลู แหลมทราย เล่าว่า เป็นศิลปะพื้นบ้านของชาวมุสลิม เล่นกันมานานกว่า 100 ปี สมัยก่อนเล่นเพื่อสะท้อนวิถีชีวิตชาวบ้าน

แต่กาลเวลาทำให้ลิเกฮูลู เสื่อมหายไปจากชุมชนมุสลิม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะชาวบ้านประสบปัญหาทำมาหาเลี้ยงชีพ วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลง ทำให้การละเล่นพลอยหายไปด้วย เพราะลิเกฮูลู เป็นการละเล่นที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิต

จนปลายปีพ.ศ.2535 จึงเริ่มรวบรวมชาวบ้านกว่า 20 คน ที่ยังพอมีความรู้ความสามารถในทักษะการละเล่นลิเกฮูลู มารวมกลุ่มฝึกซ้อมร่วมกัน ระยะแรกพวกเราเล่นกันภายในหมู่บ้าน ร้องรำทำเพลงบอกเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ที่ผ่านมาของชุมชนเราในอดีต

หลังจากนั้น 1 ปี จึงตั้งคณะลิเกฮูลูขึ้นมา ชื่อ "แหลมทราย" และเริ่มตระเวนเล่นในชุมชนใกล้เคียง โดยนำบทร้องเพลงเกี่ยวกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่นานชาวบ้านในชุมชนต่างๆ ที่พอมีความสามารถเล่นลิเกฮูลู เริ่มหันมาสนใจและรื้อฟื้น

กระทั่งช่วงต้นปีพ.ศ.2552 เจะปอได้มาเป็นผู้ฝึกสอนลิเกฮูลูให้แก่นักศึกษาคณะวิทยาการสื่อสาร มอ.ปัตตานี ในโครงการสื่อพื้นบ้านสานสุข

เจะปอเล่าถึงการสอนของเขาว่า เริ่มจากเล่ารายละเอียด เกี่ยวกับประวัติของลิเกฮูลู ให้นักศึกษาฟังเข้าใจก่อน จาก นั้นถึงสอนแนวทางการแต่งเพลง โดยนำเอาองค์ความรู้ของวิถีชุมชน มาถ่ายทอดให้ผ่านบทเพลง และกำชับให้นักศึกษาเข้าหาชาวบ้านในชุมชน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาแต่งเป็นบทเพลงประกอบ ลิเกฮูลู เมื่อสามารถแต่งบทเพลงได้แล้ว ถึงจะกำหนดท่าทางในการรำประกอบเพลงได้



"ผมหวังว่าเมื่อชาวบ้านได้ฟังและเห็น เขาจะนำกลับไปคิด นั่นคือช่องทางของจุดเริ่มต้นสันติภาพ เพราะครั้งหนึ่งลิเกฮูลูเคยช่วยพลิกฟื้นวิถีชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และครั้งนี้ผมยังเชื่อว่า อย่างน้อยลิเกฮูลู จะเป็นสื่อสามารถช่วยทำให้ความสงบสุข หวนกลับคืนมาสู่ชุมชนมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้" หัวหน้าคณะลิเกฮูลูแหลมทราย กล่าว

การแสดงสัญจรครั้งนี้ ทางกลุ่มนักศึกษารวมตัวกันในนาม "กลุ่มข้าวยำละครเร่" เปิดแสดงที่ชุมชนสะบารัง และชุมชนรูสะมิแล อ.เมืองปัตตานี โดยเน้นสื่อสารตรงไปยังเยาวชน ปรากฏว่าผลตอบรับดีมาก ชาวบ้านทั้ง 2 ชุมชนชื่นชอบ และประทับ ใจการแสดงของกลุ่มนักศึกษา

ขณะที่เนื้อหาของเพลงที่แต่งขึ้นมา เป็นการผสมผสานระหว่างภาษาไทยกับภาษามลายู เพื่อให้เยาวชนในชุมชนได้เข้าใจ ทำให้รู้สึกเป็นมิตร เป็นส่วนหนึ่งในชุมชนของพวกเขา และเพิ่มสีสันในการแสดง

น.ส.สุตาภัทร หมั่นดี นักศึกษาคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หนึ่งในนักแสดงกลุ่มข้าวยำละครเร่ เล่าความประทับใจว่า เป็นครั้งแรกที่เราได้เล่นลิเกฮูลูแบบผสมผสานกับละครเร่ ส่วนในเนื้อหาการแสดงเกี่ยวกับความรักใคร่ปรองดอง และความสามัคคีในชุมชน โดยเชื่อว่าหากชุมชนมีความรักสามัคคีกัน ความสันติสุขจะเกิดขึ้น

"สำหรับบทเพลงเป็นการบรรยายว่า เราอยู่ประเทศเดียวกัน ต้องมีความรักสามัคคี ห่วงใยซึ่งกันและกัน มอบความรักให้กัน พ่อแม่เพื่อนผอง ของเรา เราก็รัก ดังนั้น เรามาช่วยกันเป็นหูเป็นตา ดูแลประเทศไทยของเรา ที่ผ่านมาพี่น้องเราไม่ได้ทำงาน ไม่ได้กรีดยาง"

"ครูก็ไม่ได้สอน เด็กไม่ได้เรียน 3 จังหวัดชาย แดนภาคใต้ต้องการความสงบ ไฟใต้ถ้าไม่จุดมัน จะลุกได้ไหม หากพวกเรามาร่วมรักสามัคคี ไม่ทะเลาะกัน มาร่วมสร้างความรักสามัคคี หันหน้าเข้าหากัน สานสัม พันธ์กัน หากไฟใต้ดับ 3 จัง หวัดก็สงบ สันติภาพจะเกิดกับบ้านเรา" สุตาภัทรอธิบาย บทเพลง

ไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหน สันติสุขจะเกิดขึ้นใน 3 จัง หวัดภาคใต้ แต่ลิเกฮูลูเพื่อสันติภาพ โดยกลุ่มนักศึกษาข้าวยำละครเร่ และ "เจะปอ"

ได้สะท้อนให้เห็นว่า พวกเขาพยายามที่จะใช้วัฒนธรรมและวิถีพื้นบ้าน เป็นสื่อกลางทำความเข้าใจ ให้เกิดความรักซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดสันติสุขอย่างยั่งยืน แม้อาจต้องใช้เวลานานก็ตาม

แต่ก็ย่อมดีกว่าการใช้กำลังเจ้าหน้าที่บังคับให้เกิดความสงบเรียบร้อย ที่เกิด ได้แค่ชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น

หน้า 5

http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNVE14TURVMU1nPT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBd09TMHdOUzB6TVE9PQ==

เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6758 ข่าวสดรายวัน


เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์


คอลัมน์ แสตมป์ที่ฉันรัก




ไปรษณีย์ไทยจัดทำตราไปรษณียากรชุดเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ออกแบบโดย นางวีณา จันทนทัศน์ มี 4 แบบ จำหน่ายวันแรก 2 มิถุนายน 2552 ราคาดวงละ 5 บาท

แบบที่ 1 พระคเณศ แบบได้มาจากเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ พระคเณศ ผู้มีสรีระอ้วน พระพักตร์เป็นช้าง พระอุทรใหญ่ มีงาข้างเดียว ถือเป็นมหาเทพแห่งความสำเร็จ เป็นราชาแห่งศิลปะวิทยาการทั้งปวง

แบบที่ 2 พระพรหม แบบได้มาจากพระพรหมเอราวัณ พระพรหมได้รับขนานนามว่าเป็นมหาเทพแห่งเมตตาและลิขิตชะตามนุษย์ เนื่องจากพระองค์เปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม รับฟังคำขอจากทุกคนทั่วสารทิศด้วยพระพักตร์ทั้ง 4 ที่ดูแลทั่วถึงทั้งโลกและสวรรค์

ตำนานกล่าวว่าพระพรหมสร้างมนุษย์จากอวัยวะของพระองค์ โดยวรรณะพราหมณ์เกิดจากเศียร วรรณะกษัตริย์เกิดจากบ่า วรรณะแพศย์เกิดจากส่วนท้อง และวรรณะศูทรเกิดจากเท้า

แบบที่ 3 พระนารายณ์ หรือ พระวิษณุ แบบได้มาจากเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ พระนารายณ์ เทพผู้คุ้มครองโลก ผู้มีสี่กร ผู้ทรงถือสังข์และจักร สวมมงกุฎ และกุณฑล (ต่างหู) ทรงพัสตราภรณ์สีเหลือง มีพวงมาลัย

แบบที่ 4 พระศิวะ หรือ พระอิศวร เทพแห่งการทำลายล้าง ลักษณะของพระศิวะ ทรงมุ่นมวยผม มีพระเนตร 3 ดวง ทรงถือตรีศูล มีสร้อยพระศอคือ พญา นาค

ตามคติไทยมีอยู่ว่าในปีหนึ่งๆ พระศิวะจะเสด็จลงมาเยี่ยมโลกมีกำหนด 10 วัน เริ่มตั้งแต่ขึ้น 7 ค่ำ เดือนยี่ ถึง แรม 1 ค่ำเดือนยี่ ในช่วงเวลานี้พราหมณ์จะจัดพิธีเฉลิมฉลองเพื่อต้อนรับการเสด็จ เรียกว่า ตรียัมปวาย ต่อจากนั้นจะมีการโล้ชิงช้าและบวงสรวงสังเวยตลอดระยะเวลาดังกล่าว

หน้า 24
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdORE14TURVMU1nPT0=&sectionid=TURNeE1RPT0=&day=TWpBd09TMHdOUzB6TVE9PQ==

ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรี "ขี้เหร่เนะ" "ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้"

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11404 มติชนรายวัน


ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรี "ขี้เหร่เนะ" "ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้"


โดย สุรเชษฐ์ เพชรน้ำไหล




หญิงร่างเจ้าเนื้อที่นั่งพูดคุย เล่าถึงชีวิตส่วนตัวของเธอให้ฟังวันนั้น มีรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ฉายความสดใสให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

แววตา สีหน้าท่าทาง - เป็นประจักษ์พยานยืนยัน

ครั้งหนึ่ง เมื่อเข้าร่วมเป็นคณะรัฐมนตรีใหม่หมาด นักวิชาการ สื่อมวลชน ตลอดจนผู้คนในสังคมเคยวิพากษ์วิจารณ์คณะรัฐมนตรีชุดนี้ว่า "ขี้เหร่" ซึ่งนายกรัฐมนตรีสมัยนั้นก็ออกมายอมรับ

"แต่ก็เล่นคำบอกว่าเป็นคณะรัฐมนตรี "ขี้เหร่เนะ" ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่า "น่ารัก""

แม้จะไม่ชี้เฉพาะเจาะจงลงไปว่าเป็นใครบ้าง แต่เธอ ในฐานะรัฐมนตรีใหม่ถอดด้าม ก็ต้องตกเป็นเป้าสายตาของนักวิชาการ สื่อมวลชน และผู้คนทั่วไป

"เธอ - "ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี" จึงต้องพิสูจน์ตัวเองให้เห็น แสดงฝีมือให้เต็มที่"

และในที่สุดผลงานที่ปรากฏออกมาต่อสาธารณชนก็ได้หรี่เสียงซุบซิบนินทา เสียงวิพากษ์วิจารณ์นั้นลง

ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ (นามสกุลเดิม หงส์ภักดี) เป็นบุตรสาวของ "เลิศ หงส์ภักดี" อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นครราชสีมาหลายสมัย

เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2499 จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสตรีวิทยา จากนั้นสอบเข้าวิทยาลัยพยาบาลทหารบก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตามความประทับใจของผู้เป็นแม่ที่ครั้งหนึ่งป่วย พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนาน และชื่นชมบริการที่ดีของคุณพยาบาล จากนั้นเรียนต่อสำเร็จปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารการเมือง) จากมหาวิทยาลัยเกริก

"เป็นคนเรียนอะไรก็ได้ เลยไปสอบเข้าวิทยาลัยพยาบาลทหารบก รุ่นที่ 10 เข้าเรียนปี พ.ศ.2516 จบปี พ.ศ.2520 การเรียนที่นี่ได้เปรียบกว่าที่อื่นคือ ได้เป็นทั้งพยาบาลและเป็นทั้งทหาร เพราะการเป็นทหาร ทำให้มีวินัย มีรุ่นพี่รุ่นน้อง เริ่มงานพยาบาลครั้งแรกที่โรงพยาบาลค่ายสุรนารี จ.นครราชสีมา อยู่ 3 ปีแล้วโอนมาอยู่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งเป็นการทำงานด้านวิชาการ แล้วก็เป็นนักบริหาร เป็นหัวหน้าฝ่าย ขยับมาเป็นผู้อำนวยการสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา"

นั่นคือตำแหน่งสุดท้ายก่อนเข้าสู่แวดวงการเมือง

ด้านชีวิตครอบครัว ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ เป็นภรรยาของ "ไพโรจน์ สุวรรณฉวี" สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา หลายสมัย อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ตอนนี้ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี รู้จักกันดีในฐานะสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 3 คน เป็นชายล้วน

"นับจากบรรทัดต่อจากนี้ไป เป็นมุมชีวิตที่น่าสนใจของรัฐมนตรีหญิงคนเก่ง"

"""""""""""

เข้าสู่แวดวงการเมืองได้อย่างไร?

ครอบครัวทำงานเกี่ยวกับด้านนี้อยู่แล้ว พ่อรับราชการ ตำแหน่งสุดท้ายคือ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย พอเกษียณก็เล่นการเมือง สมัยนั้นไม่ต้องสังกัดพรรค ได้รับเลือกเป็น ส.ส. จ.นครราชสีมา หลายสมัย และตัวเองก็มาแต่งงานกับคุณไพโรจน์ ซึ่งใกล้ชิดกับการเมืองมาตั้งแต่เป็นประธานนักศึกษาของมหาลัยธรรมศาสตร์ และยังเป็นเลขาฯส่วนตัวของท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช



คุณไพโรจน์ดูแลคุณพ่อในเรื่องการเมือง พอคุณพ่อเลิกเล่นการเมือง คุณไพโรจน์ก็ลาออกจากราชการ แล้วมาลงรับเลือกตั้ง ได้รับเลือกเป็น ส.ส. นครราชสีมา

พอคุณไพโรจน์ติดเรื่องบ้านเลขที่ 111 เราก็มาปรึกษากัน ได้ข้อตกลงว่าควรจะมาทางนี้ เลยลงสมัคร ส.ว. ครั้งแรกปี 2549 แต่ก่อนลงสมัคร ได้มานั่งคิดแล้วว่า ส.ว.หน้าที่อะไรบ้าง ก็พบว่าไม่น่าจะเกินความสามารถของตัวเอง เพราะอย่างที่บอกเราทำอะไรก็ได้ เพราะใจเปิดรับ ก็ได้รับเลือกเป็นลำดับที่ 5 จากจำนวนผู้ได้รับเลือกเป็น ส.ว. 8 คน

เป็น ส.ว.ได้ไม่นานก็มาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.?

อยู่ได้สี่เดือนกว่าเกิดการปฏิวัติ (19 ก.ย.2549) สิ้นสภาพ จึงกลับเข้ารับราชการอีกเกือบปี จนกระทั่งมีการเลือกตั้งใหม่ พี่ไพโรจน์ก็บอกว่าเราน่าจะลงสมัคร ส.ส. เลยไปศึกษาว่า การเป็น ส.ส.นั้นต้องทำอะไรบ้าง คุณพ่อทำงานอะไร พี่ไพโรจน์ทำแบบไหน ตัดสินใจแล้วว่าถ้าไม่ได้รับเลือกจะไม่กลับไปรับราชการอีกเด็ดขาด ถือว่าพอแล้ว ตอนนั้นลงเลือกตั้งกับลูกคนโต (พลพีร์ สุวรรณฉวี) อยู่คนละเขต ตัวเองลงเขต 4 ลูกชายลงเขต 6

ในเขตที่ลงสมัคร ไม่ใช่เขตดั้งเดิมของพี่ไพโรจน์ แต่เป็นเขตที่คุณพ่อเคยลงสมัครตั้งแต่ปี 2520 โน่น คิดว่าไม่เป็นไร เรามีทั้งคุณพ่อเวลาหาเสียง อยู่โคราชมานานกว่า 30 ปี ผลงานก็มี ไม่เคยทอดทิ้งคนโคราชแม้จะไม่ใช่คนที่นี่

เวลาไปหาเสียงเราจะไม่ก้าวร้าว ไม่ไปตำหนิใคร หาเสียงเฉพาะในนโยบายพรรคเพื่อแผ่นดิน มีดีอะไรก็เอาไปโชว์เขา และก็อาศัยเราเป็นข้าราชการ มีลูกน้องอยู่โรงพยาบาล หรือสถานีอนามัย มีคนรู้จักมากจึงได้รับเลือกตั้ง ทั้งแม่ทั้งลูก

เป็น ส.ส.สมัยแรกได้เป็นรัฐมนตรีเลย?

พรรคเพื่อแผ่นดินส่งเข้ามาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ถามว่าเราทำได้ไหม ก็มานั่งศึกษาว่ากระทรวงการคลังมีทั้งหมดกี่กรม และแต่ละกรมทำหน้าที่อะไรบ้าง ในเรื่องที่ยังไม่รู้ก็ต้องศึกษา ต้องมีที่ปรึกษาที่ดี มีความรู้ ความสามารถ ไม่เข้าใจก็ถามเขาได้ ซึ่งเมื่อเข้าใจแล้วก็กลับมานั่งคิดวิเคราะห์ ดูนโยบาย วางแผนงานต่อไป ก็รู้สึกว่าเราพิสูจน์ตัวเองได้ว่าทำได้ แต่หากจะให้คนร้อยคนชอบเราคงเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่คิดว่าห้าสิบๆ นะ (ยิ้ม)

อยู่กระทรวงการคลัง 2 สมัย เหตุที่ลาออกไปช่วงหนึ่งมาจากสุขภาพตัวเอง ช่วงที่หยุดพักเป็นช่วงที่เรากำลังทำงานได้ดี ซึ่งเมื่อได้รับความไว้วางใจจากพรรคเพื่อแผ่นดินเข้าไปอีกรอบหนึ่ง ในสมัยของท่านสมชาย (วงศ์สวัสดิ์) การทำงานกับท่านก็ราบรื่นดี เพราะเราดูแลงานในส่วนเดิมทั้งหมด จนพอมีเรื่องของการเลือกนายกฯใหม่ มาเป็นท่านอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) ก็ได้รับความไว้วางใจให้มาดูแลกระทรวงไอซีที

ระหว่าง คลัง กับ ไอซีที ชอบที่ไหนมากกว่ากัน?

งานของทั้งสองกระทรวงมีความแตกต่างกัน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงไอซีที ตัวเองใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมานานมาก แล้วพวกเทคโนโลยีต่างๆ เราก็พอเป็นอยู่บ้าง แต่อาจจะไม่รู้ลึกถึงขั้นปฏิบัติการ ในเรื่องของการบริหารงาน เราก็ใช้หลักการบริหารงานทั่วไปที่ได้เรียนมา กับการที่เรามีประสบการณ์ในการทำงานมาบริหารช่วย เพราะการเป็นรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องไปรู้ในเรื่องรายละเอียดมากนัก แต่ขอให้การทำงานเข้าเป้าและการทำงานตามนโยบายรัฐบาลให้มีประโยชน์ ตามไตรมาสที่ตั้งไว้ แล้วก็กำกับดูแลทุกหน่วยงานที่อยู่ภายใต้ไอซีที ทำงานเพื่อให้ได้ประโยชน์กับประเทศชาติมากที่สุด

เป็นคนจริงจังกับงาน เครียดมั้ย?

ไม่เครียด เครียดทำไมล่ะ (หัวเราะ) คือเราทำงานให้สนุก น้องๆ ที่ทำงานด้วยกันก็ไม่เครียด เพราะเราไม่ดุ คุยกันได้ ใครต้องการอะไร อย่างไร อย่างเวลามีข่าวอะไรดีๆ มา ก็จะมีคนช่วยอ่าน คนช่วยตัดข่าวมาดูกัน การทำคลิปปิ้งข่าวนั้นดี แต่ตัวเองจะชอบอ่านข่าวทั้งฉบับก่อนเพื่อจะได้รู้ว่ากระทรวงอื่นทำอะไรบ้าง เพราะการอ่านก็เหมือนกับเราอยู่สารสนเทศ ถือเป็นการสื่อสารชนิดหนึ่ง เราต้องทำตัวเป็นแบบอย่างให้ลูกน้อง

ตอนนี้ครอบครัวไม่ต้องมีภาระอะไร ลูกเต้าโตหมดแล้ว เขาดูแลตัวเองได้ เราจึงมาทุ่มเทให้กับงานอย่างเดียว มีเวลาให้กับงานค่อนข้างเยอะ บางวันอยู่ที่กระทรวงจนลืมเวลา ลูกน้องต้องเข้ามาเตือนว่าดึกแล้ว 2 ทุ่มแล้วจะกลับบ้าน (หัวเราะ)

เวลาที่ให้กับครอบครัว และพื้นที่ตัวเอง?

ตัวเองโชคดีที่ลูกชายทั้งสามคนไม่มีใครเกเร จึงไม่ต้องห่วงเขามาก ถ้ามีเวลาว่างก็จะไปทานข้าวด้วยกันตลอด ไม่ว่าจะในบ้านหรือนอกบ้าน ตอนเช้าเจอกันที่โต๊ะอาหาร ถ้าว่างมากๆ ก็จะคุยกันเรื่องงาน เรื่องข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์วันนั้นๆ ชี้ชวนกันให้อ่านข่าวโน้น ข่าวนี้

สำหรับการลงพื้นที่ (จ.นครราชสีมา) ปกติแล้ววันเสาร์-อาทิตย์ ก็ลงพื้นที่ไปเยี่ยมเยียนบ้าง จะปล่อยพื้นที่ไม่ได้ เพราะเราถูกเขาเลือกมา แต่ก่อนจะรับตำแหน่งรัฐมนตรีก็เคยบอกกับเขาแล้วว่าอาจจะมาเยี่ยมได้ไม่บ่อยนัก เพราะว่าเราก็มีภาระเป็นรัฐมนตรี ต้องเข้าประชุมสภา การไปพบปะชาวบ้านอาจจะเป็นศุกร์หรือจันทร์

พบรักกับคุณไพโรจน์ได้อย่างไร?

(ยิ้ม) เขาเป็นเลขาฯคุณพ่อ เจอพี่ไพโรจน์ตั้งแต่เรียนหนังสือ ตั้งแต่ชั้นมัธยมที่โรงเรียนสตรีวิทยา สอบเข้าวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก พอเรียนจบไปทำงานที่โคราช พี่เขาก็ขอย้ายตามไปเป็นปลัดอำเภออยู่ที่นั่น ตอนเราอยู่โรงพยาบาลก็ไปทำงานตามปกติ บางทีเขาก็มารับส่งตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคุณพ่อ ด้วยความใกล้ชิดอย่างนี้แหละมั้ง จากหน้าที่เลยกลายมาเป็นสามีเสีย (หัวเราะ) คือเรามีความรู้สึกว่าพี่เขาดูแลดี เราอายุห่างกัน 6 ปีนะ รู้จักกัน 8 ปีกว่า ถึงได้แต่งงาน

ในการใช้ชีวิตคู่ สำหรับเรื่องครอบครัวเราจะตัดสินใจร่วมกัน ไม่ว่าจะเรื่องลูกจะเรียนยังไง ไปทิศทางไหน แต่เรื่องงานเราไม่เคยไปก้าวก่ายเขา เขาก็จะไม่ก้าวก่ายงานของเรา แต่ถ้าจัดงานร่วมกันในฐานะอยู่จังหวัดเดียวกัน ก็เกี่ยวข้องกันเรื่องงานบ้าง ก็จะปรึกษากันว่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ดีไหม เป็นของธรรมดา

ความรู้พยาบาล วันนี้ยังใช้ได้อยู่ไหม?

ใช้ได้ ไม่มีลืม ยังใช้เป็นประจำในชีวิตครอบครัว วันก่อนตอนไปทำบุญกระดูกพ่อแม่ ปรากฏว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งเดินๆ แถวนั้นแล้วเป็นลมบ้าหมู ชักอยู่ในวัด เราก็เอาความรู้พยาบาลไปช่วยเขา หาช้อนห่อกระดาษทิชชูยัดปากไว้ก่อน ป้องกันเขากัดลิ้นตัวเอง ตะแคงหน้าให้นอนหง่ายไม่งั้นเดี๋ยวลิ้นไปจุกคอ บอกอย่าให้คนมุง เพราะเขาจะได้หายใจโล่งๆ บังเอิญว่าวันนั้นมีคุณหมอจากโรงพยาบาลรามาธิบดีก็มาทำบุญอยู่ใกล้ๆ ด้วย หมอกับพยาบาลเลยได้ช่วยกันดูแลผู้ป่วย (หัวเราะ)

ช่วงหนึ่งที่คุณไพโรจน์เป็นอัมพฤกษ์ เส้นเลือดตีบ เขาพักรักษาตัวอยู่ที่กรุงเทพฯ ส่วนตัวเองอยู่ที่โคราช ก็สอบถามอาการจากคนดูแลอยู่เป็นประจำ ว่าอาการเป็นอย่างไรบ้าง พูดคุยกันทางโทรศัพท์ ให้ลองกดเส้นเท้าดูหน่อยซิ มีความรู้สึกไหม นิ้วกระดิกไหม ก็สั่งการดูอาการทางโทรศัพท์ คือวิชาชีพนี้มันเป็นความรู้ที่ติดตัวเราอยู่ตลอด พี่ถึงบอกว่าการเป็นพยาบาลได้เปรียบกว่าคนอื่นๆ เพราะเราสามารถดูแลคนข้างเคียงได้

ประสบการณ์นักเรียนพยาบาลทหารประยุกต์ใช้กับการเมืองได้?

ได้ในเรื่องความอดทน เรื่องสมาธิ เพราะอย่างเวลาที่เราฟังใคร ต้องฟังให้จบก่อน เหมือนฟังอาการคนที่มารักษาก่อนจะทำการวินิจฉัย เวลาประชุมคณะรัฐมนตรี เราต้องมีสมาธิฟังเขาพูดจนจบ อยากเสนอ ก็ค่อยขออนุญาต บอกข้อเสนอ ตอบข้อสงสัยไป คิดว่าการเรียนพยาบาลมาไม่เสียหาย แล้วก็รู้สึกว่าได้เปรียบกว่าคนอื่นในเรื่องความนิ่ง มีสมาธิในการทำงาน

ตอนนี้จึงเป็นคนที่นิ่งมาก คิดดูแล้วกัน รถถูกผู้ชุมนุมประท้วงขว้างเละทั้งคัน โฆษกของพรรคก็ถูกก้อนหินก้อนใหญ่ เรามีสติก่อนรีบเรียกโรงพยาบาล และพยายามถามเขาอยู่ตลอดว่าเป็นอะไรรึเปล่า ให้เขาขานชื่อเรา จำได้หรือเปล่า จำไว้เลยนะว่าถ้าใครเป็นอะไรอย่าจับเขานั่ง ให้นอนไปเลย เพราะไม่รู้ว่าสมองเป็นอะไรบ้าง ในการเคลื่อนย้ายก็เช่นกัน ต้องเป็นเจ้าหน้าที่เท่านั้น คือท่าย้ายผู้ป่วยผิดท่ามันอันตรายมากเลยนะ

ทำไม ส.ส.หญิงต้องให้ความสำคัญกับปัญหาเด็กและสตรี?

คิดว่าปัญหาเด็ก สตรี กับ ส.ส.ผู้หญิงนั้นเป็นของคู่กัน กับเด็กนี่จะมี ส.ส.ผู้ชายที่ไหนจะอ่อนหวานไปหาเด็ก มีมั้ยผู้ชายที่ไหนเข้าไปเยี่ยมสถานรับเลี้ยงเด็กแล้วอุ้มเด็ก น้อยมาก ความเป็นผู้หญิง ความเป็นแม่ ความอ่อนหวาน ทำให้เข้าถึงตัวเด็กได้ง่ายกว่าผู้ชาย สำหรับเรื่องสตรี ถ้า ส.ส.หญิงไม่รู้เรื่องสตรีด้วยกันแล้วจะไปรู้เรื่องใครล่ะ

อันที่จริงเราทำงานได้ทุกด้านแหละ อย่างตอนนี้ ตัวเองก็ทำงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุด้วย เพราะเรารู้เรื่องโรคภัยไข้เจ็บอย่างเป็นเบาหวาน การดูแลรักษาทำยังไง ปีหนึ่งต้องไปเช็คตาสักครั้ง ถ้ารู้สึกว่าสายตาคุณฟ่าฟาง นั่นแหละเบาหวานกำลังจะขึ้นตาแล้ว ตาจะขุ่นแล้วก็บอด นี่คือส่วนหนึ่งของผู้สูงอายุที่ดูแลอยู่

ถ้าจะให้คำจำกัดความตัวเอง สั้นๆ?

เป็นคนเรียบง่าย ไม่โผงผาง ไม่เครียด (ยิ้ม) แล้วก็คิดทำแต่สิ่งดีๆ

"ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้ไปเรื่อยๆ"


หน้า 17
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01fun01310552&sectionid=0140&day=2009-05-31

ลูกปัดสวัสดิกะจากสามแก้ว สวัสดี นาซีหรือสันติภาพ ?

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11404 มติชนรายวัน


ลูกปัดสวัสดิกะจากสามแก้ว สวัสดี นาซีหรือสันติภาพ ?


คอลัมน์ แกะ(รอย)ลูกปัด

โดย บัญชา พงษ์พานิช plearnstan@gmail.com




แรกเห็นลูกปัดหินผลึกคริสตัลใสสะอาดเม็ดนี้ที่เขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร ผมถึงกับอึ้งเพราะไม่เคยคิดว่าสัญลักษณ์อย่างนี้จะมีทำเป็นลูกปัด แต่เมื่อได้ลองแกะรอยไปเรื่อยๆ จึงได้รู้ว่าตรากากบาทต่อหางตั้งฉากทางเดียวกันทั้ง 4 นี้มีเรื่องราวให้แกะรอยอย่างเหลือเชื่อ

คำ ""สวัสดิกะ"" ท่านว่ามาจาก สุ + อัสดิ + กะ แปลประมาณว่า ""ความสุขสวัสดีจงมี"" คล้ายๆ กับคำว่า สวัสดี หรือโสตถิ ที่มีใช้กันมาเนิ่นนานมากนับพันๆ ปีที่อินเดียโบราณ รวมทั้งในประเทศไทยเราด้วยโดยมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลายหลัก

เช่น หลักที่ 23 วัดศาลามีชัย เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อพุทธศตวรรษที่ 14 ที่ขึ้นต้นว่า "โสตถิ" อันเป็นที่มาของคำว่า "สวัสดี" ที่ใช้กันเป็นปกติทั่วทั้งประเทศไทยทุกวันนี้ แต่ก็มีปัญหาที่ไม่ค่อยพบคำว่าสวัสดิกะในพระคัมภีร์ซึ่งมักมีแต่คำสวัสดี ท่านว่ามีพบคำสวัสดิกะในมหากาพย์รามายานะ รวมทั้งมหาภารตะและอื่นๆ ซึ่งมีการให้นิยามความหมายโดยสรุปว่าคือ "เครื่องหมายแห่งมงคล พร โชค ลาภ และอายุยืน"


ส่วน "รูปสัญลักษณ์กากบาทต่อหางตั้งฉากในทางเดียวกันทั้ง 4" ไม่ว่าจะตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกานั้น พบได้ทั่วทั้งโลกโบราณบนชิ้นส่วนภาชนะหรือเครื่องใช้เครื่องประดับตกแต่ง ไม่ว่าจะที่ซูซาในเปอร์เซียโบราณ ฮารัปปาและโมเหนโชดาโรในปากีสถานโบราณ และสุเมอเรียในดินแดนเมโสโปเตเมียโบราณ รวมทั้งในดินแดนกรีก โรมันและอียิปต์โบราณด้วย

แม้ในโลกปัจจุบันนี้ก็พบมีการใช้ตราสวัสดิกะอย่างแพร่หลายทั้งในดินแดนแห่งศาสนาฮินดูทั้งที่อินเดียและอินโดนีเซีย และดินแดนแห่งพุทธศาสนาทั่วทั้งเอเชียอาคเนย์ ตลอดจนทิเบต จีน เกาหลีและญี่ปุ่น

มีการตีความและตั้งสมมติฐานกันอย่างมากมายทั้งเรื่องนิยามความหมายและที่มาของรูปสัญลักษณ์ นับได้เป็นร้อยพันสมมติฐาน โดยจำนวนมากเวียนวนอยู่กับ "ความหมายแห่งการเคลื่อนไหวหรือพลวัตที่หมุนวน โดยมีศูนย์กลางเป็นหนึ่งกับอีกสี่สาแหรก ซึ่งมีการตีความตามหมวด 4 ได้มากมาย" ไม่ว่าจะเป็น 4 ทิศ 4 เทพ 4 โลก 4 วรรณะ 4 อาศรม เช่น เป็นสัญลักษณ์ของการรวมกันของทั้ง 4 วรรณะ

ที่ยืนยันนั้น มีการใช้อย่างแพร่หลายใน 3 ศาสนาสำคัญคือ "ฮินดู พุทธ และ เชน" โดยในศาสนาฮินดูนั้นเชื่อถึงขนาดว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งชนเผ่าอารยันที่เก่าแก่ที่สุด หมายถึงพระพรหม พระวิษณุและพระศิวะ ผู้สร้าง ผู้ปกปักรักษาและผู้ทำลายล้าง ในขณะที่ของศาสนาพุทธนอกจากพบใช้ในจารึกที่นิยมนำมาขึ้นต้นหรือตอนจบแล้ว ยังพบใช้เป็นหนึ่งใน 65 ตรามงคลที่ฝ่าพระพุทธบาท ส่วนศาสนาเชนนั้นยกให้เป็นสัญลักษณ์สำคัญอันดับแรกใน 8 สัญลักษณ์มงคล

ที่ถูกใช้ครั้งใหญ่และเป็นที่จดจำกันทั้งโลกนั้นเกิดขึ้นเมื่อร้อยปีที่แล้ว (ตั้งแต่ พ.ศ.2450) เมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งพลพรรคนาซี เยอรมัน เรียนรู้ว่าสัญลักษณ์นี้มีความหมายดี แล้วตีความหมายว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งบรรพชนเยอรมันแห่งเผ่าพันธุ์อารยันที่เข้ามาจากอินเดียพร้อมลัทธิถือชั้นวรรณะ แล้วยึดมั่นการฟื้นคืนเผ่าพันธุ์พร้อมกับการกำจัดและชำระความแปดเปื้อนจนเกิดเป็นมหาโศลกโศกนาฏกรรมสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยฮิตเลอร์ใช้ "ดวงตราสวัสดิกะนี้เป็นสัญลักษณ์พันธกิจแห่งชัยชนะของเผ่าพันธุ์อารยันผู้ริเริ่มและสร้างสรรค์" ซึ่งลงเอยอย่างที่รู้กันทั่วทั้งโลกว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น

จนเมื่อปี 2548 ได้มีการเสนอต่อที่ประชุมประชาคมยุโรปให้มีการห้ามใช้ตราสวัสดิกะนี้ทั่วทั้งยุโรปในฐานะซากเดนของนาซีที่ไม่พึงประสงค์ ร้อนถึงพี่น้องชาวฮินดูทั้งหลายต้องออกมาร้องทุกข์ว่า ดวงตรานี้ที่แท้แล้วเป็นตรามงคลแห่งสันติที่แพร่หลายมาแล้วกว่า 5,000 ปี

"กลับมาที่เขาสามแก้ว นอกจากพบลูกปัดหินผลึกคริสตัลใสรูปสวัสดิกะแล้ว ยังพบลูกปัดรังผึ้งเขียนลายสวัสดิกะอีกชิ้นหนึ่ง รวมทั้งหลักฐานอื่นร่วมสมัยประมาณพุทธศตวรรษต้นๆ ซึ่งเวลาสอดคล้องพอดีกับข้อสรุปข้างต้นจนอาจตั้งเป็นอีกสมมติฐานได้ว่า รอยสวัสดิกะนี้ที่มีหมายถึงสวัสดีและสันติภาพนี้ อาจเข้ามาจากอินเดียเมื่อสมัยนั้นซึ่งยังไม่มีนิยามอย่างนาซีแน่นอน"

"หวังว่าจะไม่มีคนไทยคนไหนบ้าเลือดอย่างฮิตเลอร์เอารอยหลักฐานนี้ที่สามแก้วไปปลุกผีอารยันแล้วลุกขึ้นมาห้ำหั่นมหาชนอย่างเมื่อร้อยปีที่แล้ว"

หน้า 21
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01sun02310552&sectionid=0120&day=2009-05-31

วธ.-กมธ.ศน.วุฒิสภาหวั่นสร้างศาลใหม่กระทบภูมิทัศน์วัดพระแก้ว

วธ.-กมธ.ศน.วุฒิสภาหวั่นสร้างศาลใหม่กระทบภูมิทัศน์วัดพระแก้ว

ข่าววันที่ 28 พฤษภาคม 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ

ภาพจำลองอาคารศาลทรงไทย จากอินเตอร์เน็ต

 

วธ.-กมธ.ศน.วุฒิสภาหวั่นสร้างศาลใหม่กระทบภูมิทัศน์วัดพระแก้ว

สยามรัฐ – ศิลปวัฒนธรรม 28 พ.ค. นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวว่า คณะ กรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะ และวัฒนธรรม วุฒิสภา ได้หารือเกี่ยวกับการดำเนินงาน วธ. ซึ่งคณะกรรมาธิการฯเป็นห่วงกรณีศาลยุติธรรมจะดำเนินการทุบอาคารศาลยุติธรรมหลังเก่าเพื่อสร้างอาคารหลังใหม่ ตรงข้ามกับท้องสนามหลวง ถนนราชดำเนินใน เนื่องจากเห็นว่าเป็นอาคารที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ จึงอยากให้วธ. ในฐานะที่ดูแลด้านโบราณสถานประสานงานกับทางศาลให้ชะลอการทุบทำลายอาคารดังกล่าว ซึ่งในเบื้องต้นตนได้ให้นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด รวมทั้งจะมีการหารือกับคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์อีกครั้งว่า แบบแปลนใหม่ของอาคารศาลยุติธรรมจะกระทบต่อภูมิทัศน์ของพระบรมราชวังหรือไม่

ด้าน นางตรึงใจ บูรณสมภพ ประธานคณะกรรมาธิการศาสนาฯ กล่าวว่า เมื่อปีที่ผ่านมากลุ่มสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)ได้คัดค้านการทุบอาคารดังกล่าวมาครั้งหนึ่งแล้ว เพราะเห็นว่าเป็นอาคารที่มีประวัติศาสตร์หลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังนั้นอยากจะให้ระงับการทุบอาคาร และสอบถามความคิดเห็นของประชาชนก่อนว่า ต้องการให้ทุบหรือไม่ ซึ่งในเบื้องต้นทราบว่ารูปแบบอาคารที่จะสร้างขึ้นมาแทนนั้น เป็นอาคารสูงทรงไทยคล้ายวัดขนาดใหญ่ เมื่อสร้างเสร็จอาจจะข่มทัศนียภาพของพระบรมมหาราชวังได้ – จบ

 
http://www.siamrath.co.th/uifont/NewsDetail.aspx?cid=70&nid=38976

งานศพ"ป้าเหลือง"สุดเศร้าเหยื่อรถขนช้างกำไลเบรกแตกชนเขา

งานศพ"ป้าเหลือง"สุดเศร้าเหยื่อรถขนช้างกำไลเบรกแตกชนเขา

ข่าววันที่ 31 พฤษภาคม 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ

วันนี้(31 พ.ค.52) ที่บ้านตากลางหมู่บ้านช้าง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ บรรยากาศที่บ้านเลขที่ 119/1 บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ซึ่งเป็นบ้านของป้าเหลือง ศาลางาม อายุ 51 ปี ซึ่งประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต จากกรณีที่รถบรรทุกช้างพังกำไล เบรกแตก เสียหลัก ตกถนน ที่บริเวณถนนสายโนนดินแดง-ตาพระยา ช่วงขาลง ช่องตะโก อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว เมื่อช่วงเช้าตรู วันที่ 29 พ.ค.52 ที่ผ่านมา
 
ที่บ้านของนางเหลือง ศาลางาม ผู้เสียชีวิต จากอุบัติเหตุดังกล่าว ผู้สื่อข่าวได้พบกับนายอุ่น ศาลางาม อายุ 52 ปี สามีของนางเหลือง ศาลางาม  ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ตนเองทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ตำบลบางพระ อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในวันที่เกิดเหตุ ตนได้โทรศัพท์ พูดคุยกับ นางเหลือง ภรรยา ว่า ให้เดินทางมาเยี่ยม เพราะตนเองจะทำการผ่าตัด เอานิ่ว ออกจากถุงน้ำดี ในวันที่ 1 กรกฎาคม 52 ซึ่งแพทย์ได้ นัดผ่าตัดในวันดังกล่าว นางเหลือง บอกตนเองว่าจะเดินทางไปหาไปเยี่ยมและเฝ้าไข้ขณะทำการผ่าตัด พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จึงได้บอกนางเหลือง ภรรยาว่า ให้เดินทางไปด้วยรถทัวร์ และตนจะขับรถออกไปรับที่อำเภอศรีราชา แต่ภรรยา คือนางเหลืองบอกว่า ไม่ต้องขึ้นรถทัวร์ไปหรอก เพราะว่า จะมีรถบรรทุกช้าง จากหมู่บ้านตากลาง นำช้างพังกำไล เดินทาง ไปผสมพันธุ์ที่ สวนแสดงช้าง ที่พัทยา ก็จะเดินทางไปกับรถบรรทุกช้าง ที่เดินทางออกจากหมู่บ้าน และจะนำเอาหลานชายอายุ 2 ขวบ เดินทางไปด้วยเพื่อไปเยี่ยมปู่
 
ตนเองจึงตกลงว่าให้ภรรยา เดินทางมากับรถบรรทุกช้างพังกำไล ก็ได้ และให้ลงรถที่อำเภอศรีราชา ตนเองจะขับรถจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียวมารับ จนกระทั่งเวลา 01.00 น.ตนเองก็ได้รับโทรศัพท์ จากหลานที่เดินทางไปด้วยกันว่า รถบรรทุกช้างพังกำไล เกิดอุบัติ เบรกแตก ตกถนนอยู่ทำอำเภอตาพระยา จ.สระแก้ว จึงได้ขับรถยนต์ออกจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เดินทางมาที่บริเวณที่เกิดเหตุ พบสภาพรถบรรทุกเสียหายอย่างหนัก นางเหลือภรรยา ได้รับบาดเจ็บสาหัส ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอำเภอตาพระยา และเสียชีวิต ในเวลา ประมาณ 02.00 น. แพทย์แจ้งให้ทราบว่า สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากกระดูก ซี่โครงหักหลายซี่ และทีมเข้าไปในปอด  ทำให้เสียชีวิต
ขณะที่หลานชาย อายุ 2 ขวบ ที่ย่าเหลืองอุ้มไปด้วย ได้ อยู่ใน อ้อมกอดของย่าไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด นายอุ่น ยังบอกอีกว่า คนที่ร่วมเดินทางไปกับรถบรรทุกช้างพังกำไล เล่าให้ฟังว่าขณะที่รถบรรทุกช้างเบรกแตกและกำลัง วิ่งลงทางลาดชัน คนขับรถ ได้สั่งให้ ผู้ชายกระโดดลงจากรถ เพื่อไปหา ท่อนไม้หรือก้อนหิน มาหนุนล้อรถไว้เพื่อหยุดรถไว้ ไม่ให้รถวิ่งลงไป  แต่ก็ไม่ใครหาก้อนหินหรือท่อนไม้ได้ เนื่องจากเป็นช่วงที่มืดมาก และรถวิ่งลงไปเลื่อยๆคนที่ลงจากรถไป เพียงได้วิ่งตามหลังรถเท่านั้น ขณะที่คนที่นั่งอยู่ด้านหน้าคู่กับคนขับรถ ซึ่งก็มีนางเหลือง และหลานชายอายุ 2 ขวบ นั่งมาด้วย ต่างก็รู้ดีว่ารถเกิดอุบัติเหตุ พยายาม เกาะยึดกับตัวรถให้แน่น ประกอบกับรถบรรทุกช้าง มีน้ำหนักเกือบ 2 ตัน รถวิ่งลงจากเนินเขาช่องตะโก ค่อนข้างเร็ว รถเสียหลัก คนขับรถควบคุมรถไม่ได้ รถจึงพุงลงข้าง ทางชนกับเนิน รถผลิกคว่ำ ช้างกระเด็กตกออกจากตัวรถ เหล็กตัวเก๋ง ที่เป็นโครงเหล็กสำหรับบรรทุก หลุดออกจากตัวรถไปทับช่วงขาหน้าของช้างพังกำไล ได้รับบาดเจ็บสหัส ส่วนนางเหลือง ภรรยา ตนเอง ถูกแรงกระแทกอย่างแรงกับตัวรถ ทำให้กระดูกโครงหัก และทีมเข้าที่ปอด เสียชีวิต ตามที่หอบอก ส่วนหลานชายวัย 2 ขวบ ไม่ได้รับบาดเจ็บ เพราะย่าอุ้มไว้ สำหรับคนอื่นๆที่นั่งมาด้วยกัน 5 คน ได้รับบาดเจ็บขาหักคนหนึ่งแขนหักคนหนึ่ง นอกนั้นก็ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ
 
นายอุ่น ศาลางาม สามีของนางเหลือง ผู้วายชนม์ บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ก่อนหน้านี้ไม่กี่ปี ตนก็เสียลูกชายคนโต ไปเนื่องจากอุบัติเหตุรถยนต์ ชนเสียชีวิต ที่บริเวณหน้าวัด ในหมู่บ้านากลาง และเมื่อสิบปีที่ผ่านมา ตนเองก็มีชื่อเสียงโด่งดัง เมื่อช้างพังลำดวน ตกลูกช้าง ออกมาเป็นช้างแฝดชื่อว่า จุ่ม-จิ๋ม ซึ่งช้างจุ่ม  มีชีวิตอยู่ไม่นานได้ล้มเสียชีวิต และขณะนี้ช้างจิ๋ม มีอายุ 16 ปี ซึ่งมีบริษัทเอกชนซื้อช้างเชือกที่ชื่อจิ๋ม มอบให้กับสวนสัตว์เปิดเขาเขียว และรับตนไว้ทำงานที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว อำเภอศรีราชา จ.ชลบุรี จนถึงขณะนี้
 
ปัจจุบันตนเองมีช้างเหลืออยู่ 2 เชือก คือช้างพังลำดวนและพลายแหลมสิงห์ ตนเองได้ทำเรื่องขอนำช้างทั้ง 2 เชือก เพื่อเข้าร่วมโครงการนำช้างคืนถิ่น ในโครงการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณา ให้เข้าร่วมโครงการ เพราะงบประมาณของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ มีน้อย ให้รอไปก่อน ซึ่งตนเองอยากนำช้างเข้าร่วมโครงการนำช้างคืนถิ่นบ้านเกิดเพราะลำบากในการดูแลช้าง ไม่ต้องการนำช้างออกไปเร่ร่อนในที่ต่างๆ หากมีหน่วยงานใดมาดูแลและให้การช่วยเหลือก็จะนำช้างเข้าร่วมโครงการ เพื่อที่จะได้เดินทางกลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเกิด
 
  รูปประกอบข่าว
http://www.siamrath.co.th/uifont/NewsDetail.aspx?cid=108&nid=39137

คนพลิกโลก : แอนน์ โบลีน ราชินีบนสรวงสวรรค์

คนพลิกโลก : แอนน์ โบลีน ราชินีบนสรวงสวรรค์

ข่าววันที่ 31 พฤษภาคม 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ

                  "อังกฤษ"  นับเป็นประเทศหนึ่งที่สมเด็จพระราชินี มีบทบาทอย่างสูงในการปกครอง  

 ดังจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ของประเทศแห่งนี้ที่ผ่านมา  เช่น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิ

 ซาเบธ ที่ 1 และสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เป็นต้น ซึ่งแต่ละพระองค์ล้วนมีพระปรีชา

 สามารถในการบริหารปกครอง  จนนำพาประเทศฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี หรือ

 ถึงขั้นก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจก็ยังเคยมี

                 แต่ที่บรรดานักประวัติศาสตร์ชาวเมืองผู้ดีอังกฤษ   ยกย่องมากที่สุดพระองค์หนึ่ง  ก็

 เห็นจะเป็น "สมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน" พระมเหสีของพระเจ้าเฮนรี ที่ 8 โดยกล่าว

 ยกย่องกันว่า พระองค์เป็นราชินีที่สำคัญที่สุดเท่าที่เคยมีมาเลยทีเดียว

                ทั้งนี้  ก็ด้วยพระองค์นับเป็นราชินีที่ทรงภูมิความรู้ที่หลากหลาย  จากการที่ได้ติดตาม

 บิดาของท่านไปทำงานในฐานะทูตของอังกฤษประเทศต่างๆ   เช่น  เนเธอร์แลนด์  และ

 ฝรั่งเศส  ถึงขนาดที่ว่าเคยโต้แย้งกับพระเจ้าเฮนรี  ที่ 8 พระสวามี หากเห็นว่าพระราช

 ดำริของพระเจ้าเฮนรี  ที่  8 ไม่ถูกต้อง

                ความที่มีพระปรีชาสามารถนี่เอง      ก็ทำให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในราชสำนัก

 อังกฤษขึ้น ระหว่างคนของพระองค์กับคนของพระเจ้าเฮนรี ที่ 8 จนมีคำเรียกว่า "คนของ

 พระราชา  กับคนของพระราชินี และด้วยเหตุนี้ ก็กลายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ พระองค์

 ต้องระหองระแหงกับพระเจ้าเฮนรี  ที่ 8 จนนำไปสู่การถูกประหารชีวิตในที่สุด นอกเหนือ

 ไปจากการที่พระองค์ไม่สามารถมีพระโอรสให้ได้แล้ว  รวมถึงการถูกตั้งข้อหาว่ามีชู้กับพระ

 อนุชาของพระนางเอง

                  สำหรับพระประวัติของพระองค์นั้น ทรงประสูติกาลเมื่อปี 2050 สวรรคตเมื่อวันที่ 1

 9    พฤษภาคม    2079    ความสำคัญของพระองค์นั้น   แม้แต่โทมัส   เครนเมอร์  

 อาร์กบิชอปแห่งแคนเทอเบอรี   ประมุขคริสตจักรนิกายอังกฤษ  ก็ยังยกย่องในวันประหาร

 ชีวิตว่า วันนี้พระองค์ทรงเป็นราชินีบนสรวงสวรรค์ไปแล้ว
 
  รูปประกอบข่าว
http://www.siamrath.co.th/uifont/NewsDetail.aspx?cid=54&nid=39140

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การเมืองย้อนยุค วัฏจักรน้ำเน่า บุฟเฟ่ต์คาบิเนต

วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11403 มติชนรายวัน


การเมืองย้อนยุค วัฏจักรน้ำเน่า บุฟเฟ่ต์คาบิเนต





นับเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่งที่เห็นบรรดานักการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาลไม่ว่าเป็นพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคภูมิใจไทยต่างกระตือรือร้นทำหน้าที่เป็นนักการเมืองที่ดีในระบอบประชาธิปไตย ตั้งหน้าตั้งตาตรวจสอบโครงการต่างๆ ที่เสนอเข้ามาให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ

นักการเมืองเหล่านี้ต่างพูดอย่างหน้าชื่นตาบานและเป็นภาษาเสียงเดียวกันว่า "เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนไม่ให้ภาษีอากรทุกบาททุกสตางค์หลุดไปเข้ากระเป๋าของนักการเมืองคนใดหรือพรรคการเมืองพรรคใด"

เพราะภาพที่ปรากฏในสื่อในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาคือรัฐบาลของ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" สั่งเลื่อนพิจารณาโครงการรถเมล์เช่า 4 พันคัน มูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท และโครงการการระบายข้าวสารในสต๊อครวมถึงสินค้าเกษตรตัวอื่นๆ อาทิ ข้าวโพด มันสำปะหลัง ที่มีมูลค่ารวมกันหลายพันล้านบาท ซึ่งโครงการเหล่านี้ถูกผลักดันโดยรัฐมนตรีของพรรคภูมิใจไทย

โครงการเหล่านี้ถูกจับตามองเป็นพิเศษด้วยสายตาอิจฉาริษยาเพราะมีมูลค่ามหาศาล พร้อมกับมีเสียงกระซิบมาจากกุนซือข้างกายนายกฯให้ระมัดระวังการพิจารณาเพราะมีข้อท้วงติงในเรื่องความไม่สุจริตโปร่งใส

และในทันทีที่งานในมือของพรรคภูมิใจไทยถูกเบรก "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" น้องชายของ "เนวิน ชิดชอบ" แกนนำคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย ในฐานะประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็ออกมาคัดค้านโครงการจัดสรรที่ดินเช่าที่สาธารณะไร่ละ 10 บาท ที่เสนอโดย "ถาวร เสนเนียม" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เพราะเกรงว่าการดำเนินการอาจเกิดความไม่โปร่งใส ที่ดินไม่ตกไปอยู่ในมือของเกษตรกรยากจน แต่อาจตกไปอยู่ในมือของนายทุนแทน

ตามมาติดๆ จากคำแถลงของ "ศุภชัย ใจสมุทร" โฆษกพรรคภูมิใจไทย ว่า "แม้จะมีกระแสข่าวที่ ครม.ติติงโครงการต่างๆ ของพรรคภูมิใจไทย ซึ่งพรรคยินดีรับฟังคำ ถือว่าเป็นมิติใหม่ในการทำงานร่วมกัน ที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมให้ความคิดเห็นในโครงการต่างๆ ของพรรคภูมิใจไทยได้ ในทางเดียวกับพรรคภูมิใจไทยมีสิทธิเข้าไปท้วงติงโครงการต่างๆ ของพรรคร่วมรัฐบาลได้ทุกโครงการ"



ถ้ามองปรากฏการณ์เหล่านี้ด้วยสายตาบริสุทธิ์มองโลกเป็นสีขาว ถือว่าพรรคร่วมรัฐบาลต่างสร้างมาตรฐานใหม่ในการตรวจสอบซึ่งกันและกัน โดยมองผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

ข้อขัดแย้งต่างๆ ที่ออกมาไม่ใช่การต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง แต่ทำไปด้วยใจบริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่อยากให้มีการนินทาหรือมีข้อครหาว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์อนุมัติโครงการต่างๆ โดยมีการหาเศษหาเลย เอาภาษีประชาชนเข้าพกเข้าห่อของนักการเมืองคนใดหรือพรรคการเมืองพรรคใด

แต่ถ้ามองด้วยสายตาของคนมากประสบการณ์ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องการเมืองไทย และเข้าใจสัจธรรมคำพูดของนักการเมืองว่า "หนึ่งบวกหนึ่งผลลัพธ์อาจไม่ใช่สอง แต่อาจเป็นสาม สี่ ห้า"

จะเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องของการต่อรองผลประโยชน์ล้วนๆ หรือจะพูดด้วยคำพูดที่เข้าใจกันง่ายๆ ว่า "เอาหมูไปเอาไก่มา"



วัฏจักรที่เกิดขึ้นเป็นวงจรที่คุ้นหน้าคุ้นตาและคุ้นหูดี หากย้อนกลับไปเมื่อก่อนจะมีรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 แวดวงการเมืองถูกกล่าวหาว่าเป็น "บุฟเฟ่ต์คาบิเนต" เพราะรัฐบาลประกอบไปด้วยพรรคการเมืองหลายพรรค เป็นพรรคเล็กพรรคน้อย เพราะพรรคแกนนำไม่ได้เสียงที่เด็ดขาด เสถียรภาพของรัฐบาลต้องอาศัยเสียงของพรรคเล็กพรรคน้อยเหล่านี้จึงจะอยู่ได้

ดังนั้นการพิจารณาโครงการต่างๆ ในรัฐบาลสมัยนั้น แต่ละพรรคที่ควบคุมดูแลกระทรวงในสังกัดต้องผ่านการต่อรองว่าพรรคนี้จะเอาโครงการนี้เข้า ขอให้พรรคร่วมสนับสนุนและพร้อมจะผ่านโครงการที่พรรคโน้นเสนอเข้ามา หากพรรคไหนคัดค้านก็จะถูกพรรคร่วมรัฐบาลพรรคนั้นตั้งแง่ เมื่อไหร่ที่เสนอโครงการเข้ามาก็จะถูกคัดค้านเป็นการตอบแทนเช่นกัน หรือถ้าไม่อยากให้คัดค้านก็ขอมีเอี่ยวในโครงการนั้นบ้าง

เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "เอาหมูไปเอาไก่มา"

บ้านเมืองยุคนั้นผู้คนเห็นความไม่ชอบมาพากล เห็นว่าประเทศชาติคงเดินไปไม่ถึงไหนเพราะนักการเมืองมัวแต่เตะสกัดกันเอง โครงการไหนที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนจริงๆ ก็เดินหน้าไปช้ามาก เพราะพรรคเมืองเห็นผลประโยชน์ของตัวเองมากกว่าประชาชน เสียงเรียกร้องของผู้คนจึงต้องการพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง ต้องการรัฐบาลพรรคเดียวที่มีเสถียรภาพมากกว่า



ปรากฏการณ์เหล่านั้นเหมือนกงเกวียนที่ย้อนกลับมาในยุคนี้สมัยนี้ ที่แกนนำรัฐบาลกำลังถูกขี่ด้วยพรรคการเมืองหลายๆ พรรค หลายๆ กลุ่ม โดยมีเสถียรภาพเป็นเดิมพัน

การคัดค้านโครงการรถเมล์เช่า 4 พันคันและโครงการการระบายข้าวสารในสต๊อครวมถึงสินค้าเกษตรตัวอื่นๆ อาทิ ข้าวโพด มันสำปะหลัง ที่มีมูลค่ารวมกันหลายพันล้านบาท หากทำด้วยใจที่บริสุทธิ์เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ย่อมไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใดๆ ที่จะเกิดขึ้น เสถียรภาพของรัฐบาลย่อมไม่พ่ายแพ้ต่อสิ่งชั่วร้ายหรือความอยากมีอยากได้ ความไม่สุจริตทั้งปวง

เวลาต่อจากนี้ไปจะเป็นเครื่องพิสูจน์ตัวต้นของบุคคล ของพรรคการเมืองว่าจะยืนอยู่บนหลักการความถูกต้องหรือไม่

การประชุม ครม.ครั้งต่อไปจะเห็นธาตุแท้ของบางสิ่งบางอย่าง เพราะถ้าโครงการเหล่านี้ที่ถูกจับตาจากสังคม ผ่านความเห็นชอบของ ครม. มีการติติงพอเป็นพิธี ไม่ได้มีการแก้ไขให้ถูกต้อง หรือสร้างความกระจ่างให้เกิดขึ้น

ขอให้เข้าใจตรงกันว่า "วัฏจักรน้ำเน่า" กำลังย้อนกลับมาในยุคนี้สมัยนี้อีกแล้ว....


หน้า 3
 
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01col02300552&sectionid=0116&day=2009-05-30


Windows Live™: Keep your life in sync. Check it out!

พ่อเมืองสระแก้วปราม ส่งเด็กแต่งงานฝรั่งวัยเกษียณ พิการแขน-ขา ขาด บางคนเป็นอัมพฤกษ์ ช่วยตัวเองไม่ค่อยได้

วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เวลา 20:14:37 น.  มติชนออนไลน์

พ่อเมืองสระแก้วปราม ส่งเด็กแต่งงานฝรั่งวัยเกษียณ


เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ที่ จ.สระแก้ว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศานิตย์ นาคสุขศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าวระหว่างการประชุมคณะกรรมการจังหวัดว่า อยากให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั้งสองเขต ช่วยกำกับดูแลไม่ให้นักเรียนหญิงต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ก่อนสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นต่างๆ เพื่อไปแต่งงานอยู่กินกับชาวยุโรปวัยเกษียณ ตามความต้องการของพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.ตาพระยาและ อ.โคกสูง มีหญิงไทยจำนวนมาก ตามหมู่บ้านต่างๆ สมัครใจแต่งงาน เพื่อต้องการมีบ้านหลังใหญ่โต และมีเงินใช้อย่างสบายๆ ปัจจุบัน เกือบทุกหมู่บ้านจะมีฝรั่งวัยเกษียณใช้ชีวิตอยู่กับภรรยาคนไทยจำนวนมาก

"ชาวยุโรปที่เดินทางเข้ามาแต่งงานกับหญิงไทยล้วนเป็นคนแก่ที่ปลดเกษียณ พวกนั้นไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายในประเทศของเขาด้วยเงินบำนาญที่ได้รับได้ จึงดิ้นรนเข้ามาแต่งงานกับหญิงไทยเพียงเพื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ในเมืองไทย ที่มีค่าครองชีพถูก และมีภรรยาคอยรับใช้ดูแลเขาเยี่ยงทาสเท่านั้น ประกอบกับหญิงไทยบางคน หรือพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กหญิง ต้องการมีบ้านหลังใหญ่โต หรือต้องการรวยทางลัด จึงยินยอมแต่งงานหรือให้บุตรหลานแต่งงาน อยู่กินกับชาวต่างชาติซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง" นายศานิตย์กล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่า ปัจจุบันใน จ.สระแก้ว มีชาวยุโรปวัยชรา บางคนพิการแขน-ขา ขาด บางคนเป็นอัมพฤกษ์ ช่วยตัวเองไม่ค่อยได้ เดินทางมาอาศัยโดยแต่งงานกับหญิงไทย ตามหมู่บ้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก   
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1243602907&grpid=03&catid=19


check out the rest of the Windows Live™. More than mail–Windows Live™ goes way beyond your inbox. More than messages

ปฏิทินศิลปะ/สัปดาหวิจารณ์

ปฏิทินศิลปะ/สัปดาหวิจารณ์
ข่าววันที่ 28 พฤษภาคม 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ

ปฏิทินศิลปะ

บูรพา

burapha_cch@yahoo.com

 

ไกลบ้าน นิทรรศการ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสอิตาลี" นายอารักษ์ สาหิตกุล ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย(สศร.) นำศิลปะเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-อิตาลีครบรอบ140 ปี จะจัดขึ้น วันที่ 6-10 มิ.ย.นี้ โบสถ์บาสิลิกา เด ฟรารี Basilica dei Frari นครเวนิส

 

ภาพเก่าเล่าเรื่อง กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับจังหวัดปัตตานี และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดแสดงภาพเก่าถิ่นแดนใต้ และ 8 วิถีศิลปวัฒนธรรม ใน "มหกรรมวัฒนธรรมปัตตานีย้อนยุค สู่สันติสุขแดนใต้" ครั้งที่ 2 วันที่ 3 - 7 มิ.ย. บริเวณลานศิลปวัฒนธรรม จ.ปัตตานี

 

ปูรณฆฏคีตา อ่านว่า ปูระนะคะตะคีตา The Bouquet of Sounds ญาณปัญญาที่พวยพุ่ง รุ่งเรืองอยู่เสมอ จากหยดสู่หยาดจนกลายเป็นสายธาราแห่งชีวิต คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ จัดแสดงดนตรีและการแสดงล้านนาร่วมสมัย เสาร์ที่ 27 มิ.ย.นี้ โรงละครหอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม ม.เชียงใหม่

 
  รูปประกอบข่าว
http://www.siamrath.co.th/uifont/NewsDetail.aspx?cid=69&nid=39028


What can you do with the new Windows Live? Find out