วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

รอยอดีตในเชียงตุง(3)

รอยอดีตในเชียงตุง(3)/จิปาถะวัฒนธรรม
สมโชติ อ๋องสกุล16/5/2552

จิปาถะวัฒนธรรม

สมโชติ อ๋องสกุล

 

รอยอดีตในเชียงตุง(3)

หอเจียงเหล็ก เจ้าฟ้าก้อนแก้วอินทรแถลง มีชายา 6 คนมีรวมลูก19 คน(ดู อนุสรณ์งานพระราช ทานเพลิงศพ เจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง) มีอัครชายาคือแม่เจ้าปทุมมหาเทวี(ธิดาเจ้าเมืองสิง) ซึ่งคนเชียงตุงร่วมสมัยเรียกว่า "เจ้าแม่เมือง" มีอำนาจมาก มีทายาทคือ เจ้าฟ้าพรหมลือ ต่อมาได้มีสายสัมพันธ์รักกับเจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง (พ.ศ.2446-2532) หลานสาวของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตเจ้าหลวงลำปางองค์ที่13(มารดาคือเจ้าหญิงฝนห่าแก้วเป็นธิดาเจ้าหลวงลำปาง)

เจ้าฟ้าก้อนแก้วอินทรแถลง โปรดฯ ให้สร้างหอเจียงเหล็กให้เป็นที่อยู่ของอัครชายา คือแม่เจ้าปทุมมหาเทวี ต่อมา "หอเจียงเหล็ก" ตกทอดแก่ทายาทคือเจ้าฟ้าพรหมลือ ณ เชียงตุง ที่ "ข่วง" หน้าหอเจียงเหล็กนี้เวลากลางคืน "ฟ้าหม่อม" จะทำพิธีเชิญเทวดารักษาหอหลวง เทวดารักษากาดหลวง และเทวดารักษาหนองตุงมาสอบถามเรื่องราวความเป็นไปของบ้านเมือง (ดู เจ้านางสุคันธา)

หอนางฟ้า เจ้าฟ้าก้อนแก้วอินทรแถลง มีชายารองๆ เรียกว่า "นางฟ้า" จำนวน 5 คน ต่อมาได้สร้างหอให้นางฟ้าแต่ละคนดังนี้ 1)"หอเจียงงาม" เป็นที่อยู่ของสนมซึ่งชาวเชียงตุงร่วมสมัยเรียกว่า "นางฟ้า" คือเจ้านางจามฟอง พระมารดาของเจ้าฟ้ากองไท เจ้าฟ้าอินทรา เจ้าฟ้าขุนเมือง เจ้านางบัวสวรรค์ เจ้านางฟองแก้ว และเจ้าฟ้าขุนศึกสุวรรณสงคราม

สำหรับเจ้านางบัวสวรรค์ เมื่อเจ้านางจามฟอง พระมารดาสิ้นชีวิตเมื่อ คศ.1916(พศ.2459) "เจ้าย่า" ได้รับเจ้านางบัวสวรรค์เป็นบุตรบุญธรรม เจ้านางบัวสวรรค์จึงได้รับมรดกของ "เจ้าย่า" ทั้งหมด คนเชียงตุงร่วมสมัยเรียกเจ้านางบัวสวรรค์ ว่า "เจ้านางเสษเฐ"(เศรษฐี) เพราะเป็นผู้คุมการเงินส่วนพระองค์ของเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินทรแถลง พระบิดาทั้งหมด (ดู ชีวิตเจ้าฟ้า อนุสรณ์งานประชุมเพลิงเจ้าฟ้าขุนศึก เม็งราย)

ทายาทคนสุดท้องของเจ้านางจามฟอง คือเจ้าขุนศึกสุวรรณสงคราม ต่อมาได้สมรสกับนางสาวธาดา พัฒนถาบุตร ธิดาของแม่บัวจันทร์และนายดาบแดง พัฒนถาบุตร(2430-2523)คหบดีบ้านวัวลายเชียงใหม่  เป็นสายสัมพันธ์รักระหว่างเชียงตุง-เชียงใหม่อีกคู่หนึ่ง และบั่นปลายชีวิตเจ้าขุนศึกสุวรรณสงครามพำนักที่เชียงใหม่ สิ้นชีพที่เชียงใหม่ ภริยาและทายาทอยู่ที่เชียงใหม่(ดู ชีวิตเจ้าฟ้า)

หอสวนเล้า ของ "นางฟ้า" ชื่อเจ้านางทิพย์หลวง หรือเจ้านางบัวทิพย์หลวง ตั้งอยู่ด้านหน้าหอหลวงและด้านข้างวัดเชียงยืน มีทายาท 5 คน คือ เจ้านางแว่นแก้ว เจ้านางสุคันธา เจ้านางแว่นทิพ เจ้าสิงห์ไชย และเจ้าแก้วเมืองมา ต่อมาเจ้านางสุคันธาได้เสกสมรสกับเจ้าชายแห่งราชสำนักเชียงใหม่ คือเจ้าอินทนนท์ ณ เชียง ใหม่ ราชบุตรของพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียง ใหม่องค์ที่ 9 ณ หอคำเชียงตุง โดยมีเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินทรแถลงเจ้าหอคำ เจ้านางปทุมมหาเทวี "เจ้าแม่เมือง"เป็นเจ้าภาพ(พ.ศ.2476) มีร้อยเอกโรแบรด์ ข้าหลวงอังกฤษผู้กำกับราชการนครเชียงตุง ร่วมเป็นเกียรติในงานมงคลสมรส

ทำให้เห็นสายสัมพันธ์อันแนบแน่นเชียงตุงกับเชียงใหม่

http://www.siamrath.co.th/uifont/Articledetail.aspx?nid=3326&acid=3326

Hotmail® has ever-growing storage! Don't worry about storage limits. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น