วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

อี-ไลบรารี่ ปรีดี-พูนศุข

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6758 ข่าวสดรายวัน


อี-ไลบรารี่ ปรีดี-พูนศุข


นงนวล รัตนประทีป




"ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์" (Pridi-Phoonsuk Banomyong E-Library) เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ต่อยอดมาจากงานรำลึกวันปรีดี พนมยงค์ ในวันที่ 11 พ.ค.ของ ทุกปี รัฐบุรุษอาวุโส ปูชนียบุคคลสำคัญของไทย

เป็นหนึ่งในหลายๆ โครงการ ที่จะทยอยจัดไปตลอดจนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งจะครบรอบ 110 ปีชาตกาล

โดยมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ และคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน 110 ปี ชาต กาลรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ มีแนว คิดเผยแพร่ข้อมูลประวัติ คุณงามความดีของท่าน ที่เป็นนักประชาธิปไตย และ เสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง

มอบหมายให้ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ และในฐานะกรรมการอำนวยการจัดงาน 110 ปีรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ 2443-2553 เป็นประธานคณะทำงานโครงการห้องสมุดอิเล็ก ทรอนิกส์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์

และโครงการจัดทำเว็บไซต์ ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (www.pridi-phoon suk.org) เพื่อเชิดชูเกียรติคุณ ประวัติ และผลงานของนายปรีดี และท่านผู้หญิงพูนศุข ภริยาคู่ชีวิต เพื่อให้เป็นแหล่งค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สังคม และการเมืองไทยที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุด ให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประ ชาชนทั่วไป ที่สน ใจ ใช้ประโยชน์ในการสืบค้น



ล่าสุดได้เปิดตัวโครงการนี้ไปเรียบ ร้อยแล้ว

อาจารย์ชาญวิทย์กล่าวว่า โครงการห้องสมุดอิเล็ก ทรอนิกส์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ และเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้น เพื่อต้องการรวบรวมเรื่องราวผลงานของนายปรีดี และท่านผู้หญิงพูนศุข ในเหตุการณ์สำคัญๆ ที่มีบท บาทกับประวัติศาสตร์การเมืองของชาติ จากหลายๆ บุคคลและหลายๆ หน่วยงาน ที่จัดทำไว้แล้วมาเรียงลำดับให้อยู่ในที่เดียวกัน เช่น งานเขียน โสตทัศนวัสดุ (ไฟล์เสียง, ไฟล์ภาพ, ไฟล์วีดิทัศน์)

หรืองานที่เกี่ยวข้องในรูปอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็มผลงาน หรือเรื่องราวผลงานของนายปรีดี และท่านผู้หญิงพูนศุข ในเหตุการณ์สำคัญบางช่วงที่ไม่มีอยู่ในตำราเรียน หรือสื่อทั่วไป เนื่องจากมีปัญหาทางการเมือง ทำให้เรื่องราวท่านทั้ง 2 ถูกบดบัง หรือลบทิ้งไปหมด

ดังนั้น ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นการรักษาเอกสารให้คงอยู่ไม่สูญหาย และสามารถทำให้คนทั่วไปเข้าถึง หรือสืบค้นได้ง่ายขึ้น แม้ว่าจะอยู่ที่บ้าน หรือที่ต่างๆ ทั่วโลก



"ประชาชนทั่วไปสามารถสืบค้น หรือดูเว็บ ไซต์ปรีดี-พูนศุข ได้แล้ว และยังสามารถนำมาใช้งานได้เลย ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เสียง ไฟล์ภาพ แต่บางส่วนโดยเฉพาะคลังภาพอาจจะยังไม่สมบูรณ์ มากนัก เพราะบางภาพยังไม่มีคำบรรยายใต้ภาพ โดยรวมแล้วหลังจากนี้ 1 ปีคงจะสมบูรณ์มากขึ้น"

นอกจากเรื่องราวของอาจารย์ปรีดีกับท่านผู้หญิงพูนศุขแล้ว อาจารย์ชาญวิทย์ระบุว่า ในอนาคตเราจะจัดทำเว็บไซต์ประวัติของบุคคลสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองด้วย เช่น อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นต้น

ด้าน นายธนาพล อิ๋วสกุล ผู้จัดทำเว็บไซต์ ให้ข้อมูลแนะนำว่า เนื้อหาในเว็บประกอบด้วย ประวัติ เอกสารผลงาน ภาพถ่ายต่างๆ ของอาจารย์ปรีดี และท่านผู้หญิงพูนศุข รวมถึงเนื้อหา นิทรรศการ 100 ปี ปรีดี พนมยงค์ ต้นฉบับเต็ม

วิทยานิพนธ์ของอาจารย์ปรีดี เนื้อหาหนังสือของท่านผู้หญิงพูนศุข ไฟล์เสียงที่ทั้ง 2 ท่านให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างๆ อาทิ ไฟล์เสียงที่อาจารย์ปรีดีให้สัมภาษณ์สำนักข่าวบีบีซี เมื่อครบรอบ 50 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เทปบันทึกภาพการให้สัมภาษณ์ของท่านผู้หญิงพูนศุข ที่สำคัญทั้งหมดสามารถดาวน์โหลดได้

ธนาพลกล่าวว่า ล่าสุดยังได้รับอนุเคราะห์ไฟล์เสียงคำสารภาพของนายตี๋ ศรีสุวรรณ ผู้เคยให้การปรักปรำอาจารย์ปรีดี ที่ได้กล่าวขอขมากับท่านปัญญานันทภิกขุ เมื่อปีพ.ศ.2522 ด้วย

"ในยุคอินเตอร์เน็ตปัญหาเรื่องความทรงจำทางการเมืองที่ถูกตัดขาดไป และการเข้าไม่ถึงข้อมูล น่าจะลดลงได้ระดับหนึ่ง แต่หากตัดปัญหาเหล่านี้ไปแล้วจะมีปัจจัยอื่นที่มีผลให้ความทรงจำระหว่างอดีตและปัจจุบันขาดไปอีก หรือไม่ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กัน"

ทั้งห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ และเว็บ ไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (www.pridi-phoonsuk.org) พร้อมแล้วสำหรับผู้สนใจค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สังคมและการ เมืองไทย

หน้า 5

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น