วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

รฟท.สร้างทางคู่ 1.1หมื่นล.ฉะเชิงเทรา-แก่งคอย

Pic_5538

ระยะทาง 106 กม. หวังพัฒนาการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศ คาดเริ่มประกวดราคาได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้  คาดช่วยเพิ่มขบวนได้เป็นวันละ 200 เที่ยว.. 

วานนี้ (12 พ.ค.) นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร มูลค่าประมาณ 11,107 ล้านบาท โดยหวังว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยพัฒนาการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศ 

รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า โครงการทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการก่อสร้างทางคู่ ตอน ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความจุของทางรถไฟ แก้ปัญหาการเดินรถในทางเดี่ยว เพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพของการขนส่งระบบรางที่เชื่อมโยงภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มายังพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือท่าเรือแหลมฉบัง คาดว่าเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มความถี่ขบวนรถไฟเป็นวันละ 200 เที่ยว จากปัจจุบันให้บริการวันละ 30 เที่ยว 

สำหรับความคืบหน้าการดำเนินโครงการนั้น นายถวัลย์รัฐ กล่าวว่า ปัจจุบันออกแบบรายละเอียดเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถประกวดราคาได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ที่มีปัญหาล่าช้า เนื่องจากความไม่ชัดเจนในเรื่องงบประมาณ แต่ปัจจุบันโครงการดังกล่าวถูกบรรจุในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 แล้ว  

ส่วนโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงสุราษฏร์ธานี-พังงา (ท่านุ่น) นั้น รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า คณะกรรมาธิการคมนาคม วุฒิสภา สอบถามความคืบหน้ามายังกระทรวงคมนาคม พบว่าโครงการดังกล่าวไม่ได้ส่งเสริมการขนส่งสินค้าเป็นสำคัญ แต่เน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวมากกว่า ประกอบกับแนวเส้นทางรถไฟผ่านเขตลุ่มน้ำและป่าชายเลน จึงให้ระงับการดำเนินโครงการไปก่อน แต่ให้ไปทบทวนการก่อสร้างรถไฟเชื่อมท่าเรือปากบาราแทน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบมากกว่า 

นายถวัลย์รัฐ ยังกล่าวถึงโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย ว่า ได้สั่งการให้ รฟท.ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมในการก่อร้างทางรถไฟในเส้นทางดังกล่าว เนื่องจากยังมีแนวเส้นทางไม่ชัดเจน คือ มีการศึกษาทั้งแนวเส้นทาง เด่นชัย-เชียงราย และเด่นชัย-เชียงแสน จึงให้ไปทบทวนและพิจารณาความเหมาะสมเส้นทางที่เป็นประโยชน์โดยรวมมากที่สุด
 
http://www.thairath.co.th/content/eco/5538



Hotmail® has ever-growing storage! Don't worry about storage limits. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น