วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ทำความรู้จักกับ เทคโนโลยี คลาวด์ คอมพิวติ้ง

วันที่ 02 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11375 มติชนรายวัน


ทำความรู้จักกับ เทคโนโลยี คลาวด์ คอมพิวติ้ง





ดร.ประสบโชค ประมงกิจ

ลองจินตนาการว่า ชีวิตของเราสามารถเลือกทำงาน สนทนา สร้างชุมชน มีปฏิสัมพันธ์กับทุกคน ได้ทุกที่ ทุกเวลาและทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นจากคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือบนอินเตอร์เน็ต ในรูปแบบบริการแบบสาธารณะหรือแบบส่วนตัวก็ได้ตามต้องการ นี่คงเป็นยุคของ "คลาวด์ คอมพิวติ้ง" หรือการประมวลผลบนกลุ่มเมฆซึ่งมีการพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

"โครงการจัดทำระบบอี-เมลให้กับสถาบันการศึกษา หรือ "เป็นตัวอย่างของโมเดลคลาวด์ คอมพิวติ้งของไมโครซอฟท์ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มหาวิทยาลัยศรีปทุม และบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในการสร้างระบบอี-เมลของโรงเรียน กว่า 2,000 โรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งการจัดทำระบบอี-เมลนี้ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งระบบอี-เมลของโรงเรียนก็จะเป็นชื่อสถานศึกษาต่อท้ายด้วย เช่น areeya.ton@suriyothai.net ซึ่งต่างจากอี-เมลทั่วๆ ไปคือ นักเรียนทุกคนจะได้รับอี-เมลจากโรงเรียน โดยมีชื่อ นามสกุลสามตัวแรก แล้วต่อท้ายด้วยชื่อโรงเรียน ลงท้ายด้วยนามสกุล .ac.th หรือ .net ถือเป็นการพัฒนาช่องทางการเรียนรู้ สื่อสาร (ส่งการบ้าน ปรึกษาปัญหาการเรียน) สนทนาและส่งการบ้านออนไลน์ ระหว่างครูและนักเรียน และส่งไฟล์งานระหว่างนักเรียนด้วยกัน โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด และมีพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร 10G ต่อคน รายละเอียดพื้นที่อี-เมลจะมีข้อมูลกลุ่มเพื่อน และปฏิทินการเรียนการสอนและกิจกรรม โครงการ Microsoft Live@edu ถือเป็นการลดความเหลื่อมล้ำและช่องว่างความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างเด็กในเมืองและต่างจังหวัดที่ห่างไกล นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยให้นักเรียนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกัน



หลักสูตรการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้สถาบันการศึกษานำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ร่วมกับการเรียนการสอน รวมถึงให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีอี-เมลเป็นของตนเอง ที่ผ่านมาสถานศึกษาหลายแห่งมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง แต่ที่ไม่สามารถสร้างอีเมลภายในโรงเรียนได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง อีกทั้งขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญเป็นการประมวลผลโดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สายที่วิ่งไปมาอยู่ในอากาศนั่นเอง จากเมื่อก่อนที่การประมวลผลหรือใช้งานซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นใดก็ตามทำได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปหรือเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น

แต่ปัจจุบัน ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตสามารถใช้ "เมฆ" ให้ทำหน้าที่เป็นเสมือนเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ และอุปกรณ์ที่รวบรวมเอาซอฟต์แวร์ข้อมูล และระบบประมวลผลจากผู้ให้บริการหลายราย หรือจากดาต้าเซ็นเตอร์ หลายๆ แห่งมาไว้บนเครือข่ายเมฆ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้งานทรัพยากรเหล่านี้โดยการซื้อ (หรือเช่า) ได้ตามที่ต้องการโดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องคำนึงเลยว่าทางผู้ให้บริการทรัพยากรจะบริหารทรัพยากรให้มีความสามารถขยายตัวด้วยวิธีอะไร โดยผู้ใช้สามารถเลือกบริการแบบสาธารณะ หรือแบบส่วนตัวได้ตามต้องการ

ดร.ประสบโชค ประมงกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "ไมโครซอฟท์ได้เตรียมความพร้อมการให้บริการ Cloud Computing โดยล่าสุด ศูนย์ข้อมูล หรือดาต้าเซ็นเตอร์ได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว 5 ศูนย์ ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยศูนย์ทั้งหมดสามารถให้บริการผู้ใช้ได้ทั่วโลก ไมโครซอฟท์เรียกคลาวด์ คอมพิวติ้งนี้ว่า Windows Azure

เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าและพันธมิตรธุรกิจในรูปแบบธุรกิจที่เรียกว่า Software Plus Services ที่สามารถรองรับการใช้งานมหาศาลบนก้อนเมฆ ในยุคของ "คลาวด์ คอมพิวติ้ง" นั่นเอง

หน้า 17

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01tec01020552&sectionid=0143&day=2009-05-02

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น