วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

หนึ่งทางเลือกกับที่มาของ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


หนึ่งทางเลือกกับที่มาของ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

by : ทศพนธ์ นรทัศน์
IP : (124.120.154.161) - เมื่อ : 27/07/2009 10:33 AM

ท่ามกลางความไม่ลงตัวของการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 3 ซึ่งจะมาแทนสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 2 ที่หมดวาระลงเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551 (แต่ปัจจุบัน - กรกฎาคม 2552 ก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่รักษาการจนกว่าสมาชิกซึ่งได้รับการเลือกขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่) แต่เนื่องจากบุคคลผู้มีสิทธิคัดเลือกกันเองเพื่อเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ชุดที่ 3 ได้ยื่นฟ้องเกี่ยวกับการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ครั้งนี้ต่อศาลปกครองกลาง จำนวน 3 คดี และเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2552 ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ระงับการเสนอชื่อบุคคลผู้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ชุดที่ 3 เฉพาะกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร และกลุ่มการผลิตด้านการบริการ และให้สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ระงับการส่งรายชื่อบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ดังกล่าว ไปยังนายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการให้ประกาศรายชื่อสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา ไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เกิดขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540 หมวด 5 มาตรา 89 บัญญัติว่า "เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ให้รัฐจัดให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมและให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งแผนอื่นใดที่กฎหมายกำหนดให้เสนอแผนต่อสภาที่ปรึกษาฯ ก่อนพิจารณาประกาศใช้" พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ได้บัญญัติให้สภาที่ปรึกษาฯ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 99 คน ซึ่งได้รับเลือกจากบุคคลที่เป็นตัวแทนของกลุ่มในภาคเศรษฐกิจ (การผลิตด้านการเกษตร, การผลิตด้านการอุตสาหกรรม, การผลิตด้านการบริการ) และกลุ่มในภาคสังคม (การพัฒนาชุมชน, การสาธารณสุข, การศึกษา ศิลปวัฒนธรรมและศาสนา, การพัฒนาและสงเคราะห์คนพิการ, การพัฒนาเด็กเยาวชน สตรีและผู้สูงอายุ, การพัฒนาแรงงาน, การคุ้มครองผู้บริโภค) ฐานทรัพยากร (ฐานทรัพยากร เช่น ที่ดิน ป่าไม้ แหล่งน้ำ ลุ่มน้ำ ทะเล อากาศ หรือความหลากหลายทางชีวภาพ, การพัฒนาระบบการเกษตร, การพัฒนาระบบการอุตสาหกรรม, การพัฒนาระบบการบริการ) และผู้ทรงคุณวุฒิ

แม้ว่าเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสภาที่ปรึกษาฯ จะมุ่งให้เป็น "สภาของประชาชน" ไม่ได้เป็นสภาของรัฐ เป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชน และการระดมความคิดเห็นจากคนทั่วประเทศ ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจแทนรัฐ แต่มีลักษณะเป็นเพียงการให้คำปรึกษา โดยยึดโยงกับหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้สามารถทำหน้าที่และติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง และเป็นองค์กรที่ไม่ก่อให้เกิดการแสวงหาอำนาจ หรือตำแหน่งหน้าที่โดยมีสมาชิกมาจากผู้แทนกลุ่มอาชีพ แต่ดูเหมือนว่าสภาที่ปรึกษาฯ ในวันนี้กำลังจะห่างไกลเจตนารมณ์ของการก่อตั้งออกไปทุกขณะ เพราะ ตัวแทนกลุ่มอาชีพที่เข้ามาเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ไม่ได้เป็นตัวแทนที่สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของกลุ่มอาชีพอย่างแท้จริง และไม่เป็นที่ยอมรับ เกิดปัญหาการแบ่งกลุ่มภายในแต่ละกลุ่มอาชีพ ท้ายที่สุดผู้แทนที่เข้ามาก็เป็นกลุ่มผลประโยชน์เสียมากกว่า?

หลายฝ่ายจึงช่วยกันขบคิดเพื่อหาทางออกในการได้มาซึ่งสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ที่จะเป็นสภาของประชาชนอย่างแท้จริงตามเจตนารมณ์การก่อตั้ง ผู้เขียนจึงอยากเสนออีกหนึ่งทางเลือก นั้นก็คือ การให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ มาจากประธาน/นายกของสภาวิชาชีพ/อาชีพต่างๆ ทั้งในภาคเศรษฐกิจ ภาคสังคม ฐานทรัพยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ สภาเกษตรกร (ที่กำลังจะจัดตั้งขึ้น) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาการศึกษา คุรุสภา แพทยสภา สภาทนายความ สภาวิจัยแห่งชาติ สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาพัฒนาการเมือง ฯลฯ ทั้งนี้ หากกลุ่มอาชีพ หรือวิชาชีพใดยังไม่มีสภา หรือองค์กรที่เด่นชัดก็ให้มีกระบวนการเลือกกันเองที่เป็นไปอย่างสุจริต โปร่งใส เพื่อให้ได้ผู้แทนของกลุ่มวิชาชีพ/อาชีพนั้นอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ กระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ภาคประชาชนในการที่จะลุกขึ้นมามีส่วนร่วมปฏิรูปสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะหากภาคประชาชนไม่ลุกขึ้นมาปกป้องและกำหนดทิศทางของสภาอันเป็นของภาคประชาชนแห่งนี้เสียแล้ว สักวันหนึ่งสภาแห่งนี้ก็จะกลายเป็นสภาเพื่อต่อรองผลประโยชน์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล จนสายเกินกว่าที่แก้ไขได้ และเจตนารมณ์ในการเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการประเทศโดยคำนึงถึงความโปร่งใสและความยุติธรรมเป็นสำคัญ ย่อมจะล่มสลายโดยสิ้นเชิง

http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1284
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://www.narit.or.th
http://dbd-52.hi5.com
http://www.rmutr.ac.th
http://www.momypedia.com
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
http://icann-ncuc.ning.com
http://www.webmaster.or.th
http://weblogcamp2009.blogspot.com

"ดอกไม้ไทย"เบ่งบานไปทั่วโลก

วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6816 ข่าวสดรายวัน


"ดอกไม้ไทย"เบ่งบานไปทั่วโลก





โครงการหนังสือ "ดอกไม้ไทย" หนังสือวัฒนธรรมดอกไม้แห่งชาติ (Dok Mai Thai : The Flower Culture of Thailand) บันทึกทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมดอกไม้ ริเริ่มโดย สกุล อินทกุล ศิลปินนักจัดดอกไม้และออก แบบผลิตภัณฑ์ระดับนานาชาติ เพื่อเทิด พระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระ บรมราชินีนาถ ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 77 พรรษาในปีนี้ ได้ฤกษ์เปิดตัวแล้ว ที่พิพิธภัณฑ์ จิม ทอมป์สัน วันที่ 5 ส.ค.นี้

โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก ม.ร.ว.ยงสวาสดิ์ กฤดากร รองผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นประธานกรรมการที่ปรึกษา ร่วมด้วยรองประธานอีก 3 คน คือท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ท่าน ผู้หญิงสุภรเพ็ญ หลวงเทพ คุณหญิง ม.ล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี พร้อมคณะกรรมการ ประกอบด้วยศิลปินแห่งชาติ 3 คน อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต อาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร และ อาจารย์นิธิ สถาปิตานนท์ รวมทั้งสามผู้เชี่ยวชาญจากแวดวงน้ำหมึก ได้แก่ ม.ล.จิราธร จิรประวัติ สิรี อุดมฤทธิรุจ และพยอม วลัยพัชรา



อาจารย์จักรพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2543 อนุญาตให้นำภาพวาด ชื่อ "พวงร้อย" เป็นภาพหญิงสาวห่มสไบ นั่งพับเพียบ เท�าแขนบนตั่งที่มีมาลัยดอกไม้ วางประดับ ลงพิมพ์ในบท "งานดอกไม้เล็ก" ของหนังสือ และอนุญาตให้นำภาพถ่ายหุ่นกระบอกจากการซ้อมหุ่นกระบอกเรื่องตะเลงพ่าย ฝีมือจักรพันธุ์ โปษยกฤต และคณะอันมีความวิจิตรยิ่งมานำเสนอ



ในส่วนของอาจารย์จุลทัศน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาสถาปัตยกรรม (ร่วมสมัย) ประจำปี 2547 เอื้อเฟื้อบ้านศิลปินแห่งชาติที่สวยงามตามสไตล์ล้านนาร่วมสมัย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิง เขตตำบลสันผีเสื้อ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ถ่ายทำในส่วนของวัฒนธรรมการจัดดอกไม้ของล้านนา ในรูปแบบร่วมสมัย

สำหรับอาจารย์นิธิ ศิลปินแห่งชาติ สาขาสถาปัตยกรรม (ร่วมสมัย) ประจำปี 2545 มอบผลงานหนังสือหลายเล่มใช้เป็นเอก สารอ้างอิงและสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งาน อาทิ หนังสือ Architecture of Thailand รวมทั้งหนังสือเล่มเล็กในชุด Thai Architecture Elements เช่น หนังสือ Colors, Roofs, Gates and Fences และ Surfaces เป็นต้น

หนังสือดอกไม้ไทย จัดพิมพ์สี่สีเป็นภาษาอังกฤษ ความยาว 176 หน้า ราคา 1,777 บาท จะวางจำหน่ายที่ร้านหนังสือชั้นนำไทยและทั่วโลก ตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค.นี้เป็นต้นไป ผู้สนใจติดต่อขอรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ "ดอกไม้ไทย" หนังสือวัฒนธรรมดอกไม้แห่งชาติได้ที่ บริษัท ซิลเลเบิล จำกัด โทร. 0-2254-6895-7

หน้า 25

http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROc1lXUXdNakk0TURjMU1nPT0=&sectionid=TURNeE5BPT0=&day=TWpBd09TMHdOeTB5T0E9PQ==

 
 




แบ่งปันความทรงจำกับคนอื่นๆ ที่คุณต้องการทางออนไลน์ได้ คนอื่นๆ ที่คุณต้องการ

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Internationally Renowned Dance Theatre Pappa Tarahumara Presents Acclaimed Chekov Adaptation at Patravadi Theatre


 

--- On Sun, 7/26/09, info <info@jfbkk.or.th> wrote:

From: info <info@jfbkk.or.th>
Subject: Internationally Renowned Dance Theatre Pappa Tarahumara Presents Acclaimed Chekov Adaptation at Patravadi Theatre
To: jfbkk-mailing-list@jfbkk.or.th
Date: Sunday, July 26, 2009, 9:46 PM

Internationally Renowned Dance Theatre Pappa Tarahumara Presents
Acclaimed Chekov Adaptation at Patravadi Theatre

"The original Chekhov play has been condensed into a 60-minute whirlwind full of wit, humour and surprise that swings between the highs and lows of young women coming to terms with beauty, aging and disappointment... a testimony to the best of highly original and energetic dance choreography."

The Flying Inkpot

A long-awaited stage appearance from Japan's internationally renowned contemporary dance theatre company Pappa Tarahumara will finally be realized at Patravdi Theatre on 26 August 2009 (Wednesday).

Directed and choreographed by the troupe's Artistic Director Hiroshi Koike, Pappa Tarahumara will present "Three Sisters", an adaptation from Anton Chekov's timeless literary classic. The performance transforms the setting of Moscow into the context of the Japanese countryside in the 1960s. Its seemingly sweet portrayal of three bored sisters grappling with womanhood spirals into a sensual and charged meditation on female identity, coming-of-age and the Japanese obsession with youth culture. This eccentric comic tragedy, narrated through a dynamic choreography, is a powerfully condensed alternative to the company's larger-scale multi-disciplinary works.

Since its premiere in 2005, "Three Sisters" have been performed over 100 times in more than 30 countries, including at New York's Joyce Theatre, Singapore's Esplanade, Guangdong Modern Dance Festival, and has won rave reviews across the world.

Founded by director Hiroshi Koike in 1982, Pappa TARAHUMARA is distinctive and extraordinary from other theater companies for their flexibility and synergetic method in their creative process in which dance, play, music, and visual arts are combined to present a wholesome theatre arts. The troupe has attracted many audiences worldwide and has attained and international recognition.

"Three Sisters" is organized by Pappa Tarahumara, in cooperation with The Japan Foundation, Bangkok and Patravadi Theatre. The event is supported by Tokyo Metropolitan Governent, and Mekong-Japan Exchange Year 2009.

Performance: "Three Sisters" by Pappa Tarahumara
Date/Time: 26 August 2009 (Wednesday) 8pm
Venue: Theatre in the Garden, Patravadi Theatre
Tickets: 700B, 600B and 400B (full-time student half price)
Promotion: Early Bird - 10% off booking before 15 August
Group Booking: 5 to 10 (5 % off); 11 or above (10% off)

Tickets are now available at Total Reservation, the public can contact www.totalreservation.com or hotline 02-833-5555 to book the tickets.. Total Reservation branches: Siam Paragon, Emporium, IMPACT Muang Thong Thani, BTS Mo Chit, BTS Victory Monument, The Mall: Bangkae, Bangkapi, Thapra, Ramkhamhaeng, Ngamwongwan.

For more information, please visit
www.patravaditheatre.com
, http://www.jfbkk.co.th


Press inquiry:
Toby To (International Programme Director, Patravadi Theatre)
02412 7287-8 (Tel) 08 9153 0682 (mobile)
toby_patravaditheatre@yahoo.com
The Japan Foundation, Bangkok 02260 8560-4 (Tel)

-------------------------------------------------------
The Japan Foundation, Bangkok
10th Fl. Serm-Mit Tower,
159 sukhumvit 21 Rd., Bangkok 10110
Tel. (662) 260-8560-4 Fax. (662) 260-8565
Website:
http://www.jfbkk.or.th

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ชุมชนเข้มแข็ง เข้มแข็งจริงหรือ?

วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11457 มติชนรายวัน


ชุมชนเข้มแข็ง เข้มแข็งจริงหรือ?


โดย ระพี สาคริก



บทนำ

เธอที่รักของฉัน ภาษิตโบราณบทหนึ่งได้ชี้ให้รู้ความจริงแล้วว่า "สัญชาติคางคก ถ้ายางหัวไม่ตกก็คงไม่รู้จักจำ" ความจริงแล้วภาษิตบทนี้มีเหตุมีผลสอดคล้องกันกับหลักธรรมอีกบทหนึ่งซึ่งกล่าวไว้ว่า

"เพราะมีเหตุนั้น จึงมีเหตุนี้"

ดังนั้น สิ่งที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดควรจะสอนให้รู้ว่า "ถ้ารากฐานจิตใจคนในสังคมยุคนี้ไม่อ่อนแอจนกระทั่งก่อความเดือดร้อนอย่างหนัก เราก็คงไม่คิดที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่นเช่นปัจจุบัน"

อนึ่ง เรื่องนี้ตามที่กระบวนการจัดการศึกษาของไทยได้เขียนเอาไว้ว่า "ผลจากการจัดการศึกษาควรจะสร้างความเป็นมนุษย์ให้กับคนในสังคมท้องถิ่น" แท้จริงแล้วความเป็นมนุษย์นั้นเกิดจากรากฐานจิตใจที่อิสระทำให้ความคิดและปฏิบัติมีความเป็นไทแก่ตนเอง ซึ่งหมายถึงผลจากเรื่องนี้ควรจะสร้างคนให้มีคุณสมบัติ "ซื่อสัตย์แก่ตนเองอย่างธรรมชาติ"

แต่ในปัจจุบัน ผลจากการจัดการศึกษากลับทำให้คนส่วนใหญ่หลงยึดติดอยู่กับตำแหน่งและอำนาจรวมทั้งการมีเงินมากๆ และมีความสะดวกสบายทางวัตถุ ซึ่งเกิดจากรากฐานจิตใจที่ขาดอิสรภาพ ทำให้คนเห็นแก่ตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ดังตัวอย่างเช่นปัญหาเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นภายในสังคมไทยยุคนี้ แม้แต่การแสดงออกที่ไม่อยู่กับร่องรอย คงคิดแต่จะเอาตัวรอดถ่ายเดียว ไม่ว่าจะเจาะลงไปที่ไหนมักพบได้อย่างกว้างขวาง จนกระทั่งถึงกับนำเอาแผ่นดินถิ่นเกิดของตัวเองอันถือว่าเป็นพื้นฐานความเป็นชาติอย่างสำคัญที่สุด ซึ่งควรจะรักษาไว้อย่างสุดชีวิตไปขายให้กับคนชาติอื่น แม้คนไทยที่มีทรัพย์สินเงินทองซึ่งอยู่เหนือกว่า โดยที่เส้นทางสายนี้นำไปสู่ผลประโยชน์ของคนชาติอื่น

ซึ่งประเด็นนี้น่าจะทำให้กลุ่มบุคคลผู้มีหน้าที่ในการจัดการศึกษามาแล้วรู้สึกเฉลียวใจว่า "เป็นเพราะเหตุใดผลจากการจัดการศึกษาซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่เกี่ยวกับความเป็นความตายของสังคม ถึงได้ทำให้คนมีรูปลักษณะปรากฏออกมาบนแนวทางที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อันเป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษา"

นอกจากนั้นในอีกด้านหนึ่ง คนส่วนใหญ่ที่ควรจะมีจิตใจรับผิดชอบต่อผลได้ผลเสียของชาติอย่างสำคัญ แต่กลับมีนิสัยที่เรียกกันว่า "นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น" แทนที่จะเป็นคนตื่นอยู่เสมอ แม้มีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือกันถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่ตัวฉันเองแม้จะมีอายุ 87 ปีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังลุกขึ้นยืนพูดอย่างเปิดอกถึง "เหตุที่อยู่ในรากฐานจิตใจคน"

ซึ่งทำให้คนในสังคมยุคนี้แม้จะมีอายุในระดับสูง ส่วนใหญ่ก็ยังขาดจิตใต้สำนึกที่ควรจะแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งตนมีส่วนร่วมอย่างสำคัญ

เหตุแห่งปัญหาที่ผู้มีอำนาจยังเข้าไม่ถึง

สิ่งที่กล่าวมาแล้วหรือมิใช่ ที่ทำให้ตัวฉันเองจำต้องนำความคิดของตนมาค้นหาความจริงอย่างหนักว่า "เหตุแห่งปัญหาที่แท้จริงนั้นคืออะไรและอยู่ที่ไหน" ซึ่งทุกคนถ้าไม่อยู่อย่างหลงตัวเอง ประเด็นนี้ย่อมค้นหาได้เองอย่างเป็นธรรมชาติ

อนึ่ง ในปัจจุบันแม้อำนาจรัฐจะได้กำหนดจัดทำโครงการ "สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนท้องถิ่น" ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดีแต่ก็ยังหลงอยู่กับการออกกฎระเบียบเพื่อใช้เงินทองสนับสนุนสิ่งที่มีอยู่แล้ว แทนที่จะคิดค้นหาเหตุอันเป็นที่มาของปัญหาดังกล่าว เพื่อสนับสนุนให้เกิดชุมชนท้องถิ่นขึ้นภายในสังคมอย่างเป็นธรรมชาติให้ได้เสียก่อน เช่นนี้แล้วเราจะเรียกว่าเป็นการปฏิบัติอย่างมีสติได้ยังไง นอกจากทำตามกระแสที่สร้างปัญหาให้แก่สังคมอย่างที่เรียกกันว่า "แบบชุบมือเปิบ"

นอกจากนั้นสิ่งที่กลุ่มบุคคลภายในอำนาจรัฐคิดจะแก้ไขความอ่อนแอของรากฐานชุมชนท้องถิ่น ถ้าพิจารณาจากรากฐานจิตใจที่อิสระย่อมเห็นได้ว่า พฤติกรรมดังกล่าว บริการจากภาครัฐก็ยังหลงอยู่กับผลสำเร็จรูป ดังเช่นชุมชนที่เกิดขึ้นแล้วในสังคม ตนจะให้การสนับสนุนเรื่องการจัดตั้งกองทุนเป็นต้น แทนที่จะหวนกลับมาพิจารณาค้นหาเหตุและผลให้ได้เสียก่อนว่า "การเกิดชุมชนนั้นมีเงื่อนไขมาจากอะไรรวมทั้งมีความเป็นมาอย่างไร เพื่อใช้เป็นพื้นฐานการพิจารณาถึงความอ่อนแอที่ควรจะได้รับการแก้ไข"

จึงสรุปได้ว่าแม้กลุ่มบุคคลในภาครัฐก็ยังไม่ใช่เป็นผู้รู้จริง นอกจากหลงอยู่กับผลสำเร็จรูป แล้วจะไปแก้ปัญหาเรื่องชุมชนเข้มแข็งได้อย่างไร นอกจากเข้าไปสานปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

ประเด็นนี้ทำให้นึกถึงคำพูดของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งท่านได้กล่าวฝากเอาไว้ว่า "การจัดการศึกษาของไทยเท่าที่เป็นมาแล้วนั้นเหมือนกับหมาหางด้วน"

ประเด็นนี้ แม้แต่การคิดแก้ปัญหาเรื่องความอ่อนแอภายในรากฐานคนในชุมชนท้องถิ่น ผู้มีอำนาจก็ยังไม่คิดที่จะแก้ไขปัญหาซึ่งอยู่ในการจัดการศึกษา หากกลับไปคิดถึงเรื่องการให้ทรัพย์สินเงินทองดังเช่นการให้ทุนรอน ซึ่งแท้จริงแล้วการใช้วัตถุที่ให้ความสะดวกสบายแก่จิตใจคนเป็นเครื่องมือ ย่อมยิ่งส่งผลทำให้เกิดภาวะเสพติดอันมีผลทำลายความเข้มแข็งให้เสียหายหนักมากยิ่งขึ้นไปอีก

จากตัวฉันเองถ้าจะมองในด้านดีก็คงกล่าวว่า "ถ้าตนไม่ได้รับโอกาสให้เข้าไปนั่งอยู่ในคณะกรรมการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยอำนาจรัฐ ก็คงไม่มีโอกาสรู้ความจริงเรื่องนี้เพื่อนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์เจาะลึกลงไปถึงระดับพื้นฐานซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสำคัญของชาติ"

แต่หลังจากมีการประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็น ทั้งๆ ที่ยังไม่ทันลงมือทำ เราก็สะท้อนภาพให้เห็นเป็นประจักษ์พยานตั้งแต่เริ่มแรกแล้วว่า "คนในภาครัฐส่วนใหญ่ยังคิดใช้อิทธิพลทางวัตถุและเงินตราล่อให้คนยึดติด ซึ่งมีผลทำลายรากฐานจิตใจที่ควรจะเป็นไทแก่ตนเอง"

ทำให้เห็นความจริงได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า "ยิ่งพยายามสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น ก็ยิ่งมีผลทำลายรากฐานจิตใจคนท้องถิ่น ซึ่งควรจะลุกขึ้นยืนหยัดแสดงความรับผิดชอบต่อแผ่นดินถิ่นเกิดของตนอย่างเป็นธรรมชาติ"

20 กรกฎาคม 2552


หน้า 7
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01230752&sectionid=0130&day=2009-07-23


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
www.patani-conference.net
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://dbd-52.hi5.com
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
http://www.bedo.or.th/default.aspx
www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm

คนที่เป็น"ขอม" คือบรรพชนทั้งของคนไทยและคนเขมร

วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11457 มติชนรายวัน


คนที่เป็น"ขอม" คือบรรพชนทั้งของคนไทยและคนเขมร


คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ



เขมรไม่ใช่ขอม หรือขอมไม่ใช่เขมร เป็นประเด็นที่สังคมไทยเคยทักท้วงถกเถียงกันมานานแล้ว อย่างน้อยตั้งแต่เรือน พ.ศ.2500 ที่มีกรณีพิพาทแย่งปราสาทพระวิหาร แล้วศาลโลกตัดสินเมื่อ พ.ศ.2505 ให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา เลยมีผู้แต่งเพลงลำตัดสะท้อนสำนึกชาตินิยมของคนไทยยุคนั้น ที่พากันเชื่อว่าเขมรไม่ใช่ขอมผู้สร้างปราสาทพระวิหารจึงไม่ควรเป็นเจ้าของ ดังมีกลอน ลำตัดว่า

แขมร์ไม่ใช่ขอมโบราณ ไฉนมาพาลเรียกเอา

ขอมเป็นชาติก่อนเก่า แขมร์มาเข้าทีหลัง

ยุคนั้นไม่มีใครกล้าหาญชาญชัย "พายเรือทวนน้ำ" ออกมาบอกว่า ขอมคือเขมร

แต่มีผู้ซุ่มค้นคว้าเอาไว้โดยไม่มีใครรู้ ว่าขอมคือเขมร และชาติพันธุ์อื่นๆ และอักษรขอมก็คืออักษรเขมร แต่เพิ่งมารู้เมื่อหลัง 6 ตุลาคม 2519 เขาคือ จิตร ภูมิศักดิ์ ค้นคว้าแล้วเรียบเรียงไว้อย่างน้อย 2 เล่ม คือ ความเป็นมาของคำสยาม,ไทย, ลาว, และขอมฯ (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2519), ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2525) ต่อมาค้นพบต้นฉบับเขียนด้วยลายมือเรื่อง "ขอม" เพิ่มเติม จึงพิมพ์ไว้เป็นภาคผนวกท้ายเล่มด้วย เมื่อ พ.ศ.2547

(ซ้าย) ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม ของ จิตร ภูมิศักดิ์ (สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2547) มีภาคผนวกเรื่อง"ขอม" ค้นพบล่าสุด (ขวา) ปราสาทพระวิหาร ทำไม ? มาจากไหน (พิมพ์โดย กองทุนแบ่งปันเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ เมื่อ พ.ศ. 2551) มีรายละเอียดตามหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีว่า ขอม, เขมร, ไทย, ลาว, ฯลฯ มีบรรพชนร่วมกัน


ล่าสุด มีผู้เสนอความเห็นว่า ขอมคือไทย ไม่ใช่เขมร ข้อคิดเห็นกรณีปราสาทนครวัด พระวิหาร และพิมาย (โดย ทวิช จิตรสมบูรณ์ พิมพ์ใน ASTV ผู้จัดการ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2552) แล้วผู้ใหญ่ที่เคารพนับถืออย่างสูงได้กรุณาถ่ายสำเนาส่งแฟ็กซ์มาให้ผมอ่านเพื่อแสดงความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง

ก่อนจะบอกว่าขอมคือไทย ไม่ใช่เขมร ต้องอธิบายพร้อมหลักฐานและร่องรอยก่อนว่า ขอม, ไทย, เขมร, เป็นใคร? ทำไม? มาจากไหน? มีลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน หรือต่างกันอย่างไร?

ถ้ายังไม่บอก หรือบอกไม่ได้ ก็ยังฟังไม่ชัดว่าขอมคือไทย ไม่ใช่เขมร

แต่เรื่อง "ขอม" ผมเคยเขียนอธิบายไว้ในเอกสารชื่อบ้านนามเมืองเรื่อง เมืองพระประแดง นครเขื่อนขันธ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์แจกในงานเทศกาลสงกรานต์ 13 เมษายน 2550) กับในหนังสือปราสาทพระวิหาร ทำไม ? มาจากไหน (พิมพ์โดยกองทุนแบ่งปันเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ เมื่อ พ.ศ.2551) จะคัดมาให้อ่านมีดังนี้

"ขอม" ไม่ใช่ชื่อชนชาติเฉพาะ ฉะนั้น ชนชาติขอมจึงไม่มีจริง

แต่ "ขอม" เป็นชื่อทางวัฒนธรรมใช้สมมุติเรียกคนบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่นับถือศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) และพุทธคติมหายาน แล้วใช้ภาษาเขมรสื่อสารในชีวิตประจำวัน กับใช้อักษรเขมรในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์

เช่นเดียวกับคำว่าแขก ใช้สมมุติเรียกผู้นับถือศาสนาอิสลาม คำว่าคริสต์ ใช้สมมุติเรียกผู้นับถือศาสนาคริสต์

ศูนย์กลาง "ขอม" ครั้งแรกอยู่รัฐละโว้ (ลพบุรีโบราณ) ต่อมาย้ายลงไปอยู่ที่อโยธยาศรีรามเทพ (ต่อไปคือกรุงศรีอยุธยา) แล้วเลื่อนขยายไปอยู่กัมพูชา

ด้วยเหตุนี้ใครก็ตาม ไม่ว่า มอญ เขมร มลายู ลาว จีน จาม หรือ ไทย ฯลฯ ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) และพุทธคติมหายานอยู่ในสังกัดรัฐละโว้-อโยธยา และรัฐกัมพูชาจะได้ชื่อว่า "ขอม" ทั้งนั้น

แต่คนทั่วไปในประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทยมักเข้าใจต่างกันเป็น 2 อย่างว่า "ขอมไม่ใช่เขมร" และ "ขอมคือเขมร"

ฉะนั้น บรรพชนคนไทยสายหนึ่งเป็น "ขอม" หรือ "ขอม" ก็เป็นบรรพชนคนไทย แล้วเป็นบรรพชนคนเขมรด้วย จะปฏิเสธความจริงดังนี้มิได้เลย


หน้า 20
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra03230752&sectionid=0131&day=2009-07-23

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
www.patani-conference.net
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://dbd-52.hi5.com
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
http://www.bedo.or.th/default.aspx
www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm

ไม่มี"ชนชาติขอม"อยู่ในโลก เป็นชื่อทางวัฒนธรรม ใครๆ ก็เป็น"ขอม"ได้ ถ้านับถือพราหมณ์ หรือพุทธมหายาน


วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11457 มติชนรายวัน


ไม่มี"ชนชาติขอม"อยู่ในโลก เป็นชื่อทางวัฒนธรรม ใครๆ ก็เป็น"ขอม"ได้ ถ้านับถือพราหมณ์ หรือพุทธมหายาน


คอลัมน์ สุวรรณภูมิ สังคมวัฒนธรรม



ปรับปรุงจากหนังสือ 2 เล่ม ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ

(อักษรไทย มาจากไหน? สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2548

(คนไทย มาจากไหน? สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2548



"ขอม" เมืองละโว้


ละโว้เป็นรัฐประชาชาติ ที่มีประชากรหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ตั้งหลักแหล่งกระจัดกระจายปะปนอยู่ด้วยกัน แล้วล้วนเป็น "เครือญาติ" กันทางสังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะเป็นเครือญาติชาติภาษา เพราะในยุคนั้นภาษายังร่วมกันใกล้ชิดกว่าทุกวันนี้จนแยกไม่ได้แน่นอนเด็ดขาดอย่างปัจจุบัน

ประชากรรัฐละโว้นับถือศาสนาต่างกันอย่างน้อย 3 ศาสนา คือ ศาสนาผี เป็นของพื้นเมืองดั้งเดิม ศาสนาพราหมณ์ กับศาสนาพุทธ รับจากชมพูทวีป (อินเดีย)

เฉพาะศาสนาพุทธ ครั้งนั้นกำลังยกย่องนิกายมหายาน ที่มีต้นแบบอยู่เมืองพิมาย (เมืองนครธมก็ได้แบบไปจากเมืองพิมายด้วย) ซึ่งล้วนสร้างศาสนสถานด้วยหิน ที่เรียกภายหลังว่าปราสาทหิน เช่น ปราสาทหินพิมาย เป็นฝ่ายพุทธมหายาน

พราหมณ์กับพุทธมหายานเน้นพิธีกรรมเป็นสำคัญ เห็นได้จากชีวิตประจำวันที่หมดไปกับการบวงสรวงพลีกรรมอย่างทุ่มเทเพื่อสังเวยให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรืออำนาจเหนือธรรมชาติที่มนุษย์ไม่รู้จักและควบคุมไม่ได้ จนท้ายสุดก็รับไม่ไหว เลยหันไปพึ่งพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทสืบจนทุกวันนี้

คนสมัยต่อมาที่นับถือพุทธเถรวาท มีความทรงจำเรียกพวกนับถือพราหมณ์กับมหายานเมืองละโว้อย่างรวมๆ ว่า "ขอม" ทั้งหมด โดยไม่ได้จำแนกกลุ่มชาติพันธุ์หรือชาติภาษา

(ภาพบน) - พลไพร่ในขบวนแห่ของ"ขอม"ละโว้จากสองฝั่งเจ้าพระยา และสยามจากสองฝั่งโขง ต่อมาเมื่อใช้ "อักษรไทย" ก็เรียกตัวเองว่า"คนไทย" เพราะเติบโตขึ้นเป็นชนชั้นสูง มีอำนาจปกครองบ้านเมืองและรัฐในลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ภาพล่าง) - ขบวนแห่สยามอยู่หน้าสุด (ขวา) ตามด้วยขบวนแห่"ขอม"ละโว้ อยู่ถัดไป (ซ้าย) บนภาพสลัก"ระเบียงประวัติศาสตร์" ที่ปราสาทนครวัดในกัมพูชา แสดงว่าชาวสยามในตระกูลไทย-ลาว กับชาว"ขอม"ละโว้ในตระกูลมอญ-เขมร เป็น"เครือญาติ""อยู่ปะปนกันแล้วรับแบบแผนอิทธิพลทางวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน เป็นเหตุให้ชาวสยามรับตัวอักษรขอม(เขมร)ไปใช้จนคุ้นเคย ในที่สุดก็วิวัฒนาการเป็นอักษรไทย


มีหลักฐานเก่าสุดอยู่ในจารึกวัดศรีชุม (เมืองสุโขทัย) ซึ่งเป็นจารึกภาษาไทยเก่าสุดของรัฐสุโขทัยในคำว่า "ขอมเรียกพระธม" กับชื่อ "ขอมสบาดโขลญลำพง"

ขอมสบาดโขลญลำพง ไม่ใช่ใครที่ไหน ที่แท้เป็นวงศ์เครือญาติของกษัตริย์กรุงสุโขทัยศรีสัชนาลัยนั่นแหละ

คำว่า "ขอม" ยังเรียกกันอีกหลายอย่าง เช่น "กรอม" หรือ "กล๋อม" หรือ "กะหลอม" หรือ "กำหลอม" และไม่ใช่ชื่อเรียกตัวเอง แต่เป็นชื่อที่คนอื่นใช้เรียก โดยมีความหมายทางวัฒนธรรมอย่างกว้างๆ เช่น หมายถึงพวกที่อยู่ทางใต้ แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถึงลุ่มแม่น้ำโขง ตัดผมสั้น นุ่งโจงกระเบน นับถือฮินดู (พราหมณ์) หรือพุทธมหายาน ฯลฯ โดยมิได้ระบุชัดเจนว่าเป็นชนเผ่าชาติพันธุ์ใด และจะเป็นใครก็ได้ที่เข้ารีตอยู่ในระบบความเชื่ออย่างหนึ่งในดินแดนทางใต้แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปากแม่น้ำโขง ในสมัยหนึ่งจะถูกเรียก "ขอม" ทั้งหมด

ในสมัยหลังๆ มักจะให้ "ขอม" หมายถึงชาวเขมรในกัมพูชา โดยไม่จำกัดกาลเวลา

แต่ชาวเขมรในกัมพูชาก็ไม่รู้จักคำว่า "ขอม" และไม่ยอมรับว่าตัวเองคือ "ขอม"

พงศาวดารกรุงสุธรรมวดี (สะเทิม) หรือ "สุธรรมวดีราชวงศ์" ของมอญ กล่าวถึงพวก "กรอม" (ขอม) ยกกองทัพจากกรุง "ละโว้-อโยธยา" ไปตีกรุงสุธรรมวดีเมื่อ พ.ศ.1599 (ค.ศ.1056) ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์ ตรวจสอบได้ว่ามิได้หมายถึงชาวเขมรในกัมพูชา หากหมายถึงชาวสยามในบ้านเมืองและแว่นแคว้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา


ดังนั้นชื่อขอมสบาดโขลญลำพงในจารึกวัดศรีชุมตอนนี้ จึงมิได้หมายถึงขุนนางชาวเขมรจากกัมพูชา

จากร่องรอยความสัมพันธ์ระหว่างแคว้นละโว้ (ลพบุรี) กับบ้านเมืองตอนบน เช่น สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ทุ่งยั้ง ฯลฯ ชื่อขอมสบาดโขลญลำพง ควรหมายถึงผู้มีอำนาจหรือเจ้าเมืองใดเมืองหนึ่งในเขตอิทธิพลของแคว้นละโว้ (ลพบุรี) ซึ่งเป็นวงศ์เครือญาติเดียวกันกับตระกูลศรีนาวนำถุมแห่งกรุงสุโขทัยศรีสัชนาลัยนั่นเอง



อักษรขอม ก็คืออักษรเขมร

เมื่อเรียกชาวละโว้ลุ่มน้ำเจ้าพระยาว่าขอม เลยเรียกตัวอักษรที่ชาวละโว้ใช้ทางศาสนาว่าอักษรขอมด้วย

ศาสนากับอักษรเป็นสิ่งคู่กัน เพราะอักษรใช้ในงานศาสนา ฉะนั้นอักษรจึงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งของคนยุคนั้น ผู้รู้อักษรก็เป็นบุคคลพิเศษได้รับการยกย่องเป็น "ครู" เสมอนักบวชหรือผู้วิเศษ ถึงขนาดมีอาคมบันดาลสิ่งต่างๆ ได้

คนในตระกูลไทย-ลาวสมัยก่อนๆ ยกย่องผู้รู้อักษรขอมว่า "ครูขอม" การลงคาถาอาคมที่เรียกว่า "ลงอักขระ" ตามสิ่งต่างๆ ต้องใช้อักษรขอม ก็คืออักษรเขมรนั่นเอง ยังใช้อย่างยกย่องสูงยิ่งสืบถึงปัจจุบัน

อักษรขอมไทย เขียนคำภาษาไทย ด้วยอักขรวิธีไทย ลงบนสมุดไทย เป็นตำรับตำรากฎหมายและวรรณคดีต่างๆ นี่เอง นานเข้าก็วิวัฒนาการเป็นตัวอักษรอีกแบบหนึ่ง ที่เรียกกันภายหลังว่าอักษรไทย ดังจะเห็นรูปอักษรบางตัวยังเป็นอักษรเขมร เช่น ฎ ฏ ฐ ฑ ณ ญ เป็นต้น รวมทั้งเลข ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ก็ได้จากเลขเขมรชัดๆ



"อักษรไทย"มาจากอักษรขอม(เขมร)

มีกำเนิดที่รัฐละโว้ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา


อักษรไทย ไม่ได้เกิดจากปาฏิหาริย์การประดิษฐ์คิดค้นของใครคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียว และเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดมีขึ้นในปีหนึ่งปีใดเพียงปีเดียว แต่อักษรไทยต้องเกิดจากความจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งในสังคม ด้วยพลังผลักดันของศาสนา-การเมือง และวัฒนธรรมของสังคมในสยามประเทศเป็นระยะเวลายาวนานมากก่อนเป็นอักษรไทย โดยวิธีดัดแปลงจากอักษรที่มีอยู่ก่อนและใช้กันมาก่อนอย่างคุ้นเคย

ถ้านับจากอักษรไทย ย้อนกลับไปหารากเหง้า จะพบว่าได้แบบจากอักษรเขมรที่เรียก "อักษรขอม" ย้อนกลับไปเก่ากว่าอักษรขอมจะพบอักษรทวารวดี อักษรปัลลวะทมิฬ ตามลำดับ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นต้นแบบให้มีอักษรไทยขึ้นที่รัฐละโว้ บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อราวหลัง พ.ศ.1700

หน้า 20

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra01230752&sectionid=0131&day=2009-07-23
 

"เพาะช่าง"แสดงงานศิลปกรรม รายได้ช่วยช้างไทย

วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11456 มติชนรายวัน


"เพาะช่าง"แสดงงานศิลปกรรม รายได้ช่วยช้างไทย


โดย เชตวัน เตือประโคน




ผลงานของ "สง่า อนุศิลป์"
สัตว์ขนฟู สีขาว-ดำ 2 ตัว นาม "ช่วงช่วง" กับ "หลินฮุ่ย" ซึ่งเป็นทูตสันถวไมตรีเชื่อมสัมพันธ์ไทย-จีน เพิ่งให้กำเนิดลูกตัวน้อย สร้างความตื่นเต้น ยินดีปรีดา เป็นข่าวคราวครึกโครม มีรายงานผ่านสื่อมวลชนกระแสหลักทุกแขนง ไม่ว่าแพนดาน้อยจะทำอะไร มีวิวัฒนาการอย่างไร ผู้คนทั้งประเทศได้รับรู้ ชนิดเรียลไทม์-นาทีต่อนาที!

แตกต่างกับเจ้าสัตว์ตัวใหญ่สีดำ มีงา มีหู มีตา หางยาว!

ใช่แล้ว! หมายถึง ช้าง ช้าง ช้าง นั่นเอง!

"พังทองดี" ช้างไทยในประเทศออสเตรเลียก็ให้กำเนิดลูกตัวน้อยในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่ถึงนาทีนี้ เรื่องราวของช้างในต่างแดนนั้นเงียบหายไปแล้ว แต่แพนดาในเมืองไทยยัง "เป็นข่าว"

มิหนำซ้ำ วังช้างอยุธยา ยังนำสีขาว-ดำ มาทาตัวช้างให้เหมือนหมีแพนดาเหมือนเป็นการประชด หลังจากนักท่องเที่ยวลดจำนวน

ปรากฏการณ์นี้บ่งบอกอะไรกับเรา?

ใช่ไหมว่า เราปล่อยให้สัตว์เอกลักษณ์ของชาติอย่างช้าง ต้องตกอยู่ในภาวะที่ไร้คนเหลียวแล แม้แต่ภาครัฐเองก็ปล่อยปละละเลย ไม่มีมาตรการที่ดีออกมาให้คนรักช้างได้ชื่นใจ

สภาพของช้างไทยในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์หรือการดำเนินชีวิต จึงแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเมื่อครั้งอดีต จากความยิ่งใหญ่ อยู่คู่บ้านคู่เมือง กลายมาเป็นขอทาน น่าเวทนา ชีวิตความเป็นอยู่ยากลำบากจนอยากจะร้อง แปร้น! แปร้น! ขาดใจตายเอาเสียให้ได้

ชีวิตเจ้าสัตว์ตัวโตวันนี้ยากลำบาก ป่าไม้ลดน้อย ประกอบกับควาญช้างก็ยากจนไม่สามารถเลี้ยงดูให้กินดีอยู่ดีตามธรรมชาติได้ จึงนำช้างเข้ามาเร่ร่อนในเมือง หาคนใจบุญซื้ออาหารเพื่อให้ช้างและตัวเองอยู่รอด กลายเป็นช่องทางหาเงินของคนที่หวังกอบโกยแต่ผลประโยชน์เข้าตัว ซื้อลูกช้างหรือช้างพิการ หรือมีลักษณะน่าสงสารให้คนเช่า เพื่อไปเร่ร่อนหาเงินอีกต่อหนึ่ง ทำให้ช้างเร่ร่อน มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกทีๆ

(ซ้าย-ขวาบน) ผลงานอื่นๆ ของอาจารย์วิทยาลัยเพาะช่าง และสำนักบริหารเพาะช่าง (ขวาล่าง) "กำลังจางหาย" ผลงานของ "บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส"


ท่ามกลางกระแส "แพนดาฟีเวอร์" จะมีใครบ้างไหมได้ยินเสียงช้าง!!!

บ่นเรื่องนี้มาได้พักหนึ่งแล้วก็ปะเข้าให้กับโครงการหนึ่งของ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์" หรือ "เพาะช่าง"

ภายใต้ชื่อโครงการ "เพาะช่าง : ศิลปินเพื่อช้าง ครั้ง ที่ 3 ประจำปี 2552" ซึ่งขณะนี้ (ถึง 31 ก.ค.) ได้มีการจัดแสดงผลงานศิลปกรรมของอาจารย์วิทยาลัยเพราะช่าง และสำนักบริหารเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จำนวน 40 คน ที่ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

จำนวนงานที่แสดงกว่า 80 ชิ้นนั้น ส่วนใหญ่แล้วนำเสนอเกี่ยวกับช้าง โดยรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายผลงานทั้งหมด จะนำไปใช้ในการสนับสนุนอนุรักษ์ช้างไทย โดยเฉพาะกับโครงการ "ช้างบำบัดออทิสติค" ซึ่งดำเนินการโดย ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ใช้ช้างช่วยบำบัดเด็กอทิสติค ผ่านกิจกรรมต่างๆ ซึ่งให้ผลบำบัดออกมาเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง

เห็นมั้ยว่า ช้างใช่ทำได้แต่เพียงเร่ร่อนขอทานเท่านั้น แต่ยังช่วยคนด้านการแพทย์ก็ได้

รู้อย่างนี้ยังใจดำ ทอดทิ้ง ไม่เหลียวแลช้าง (เท่าแพนดา) ได้อีกหรือ?

ปราโมทย์ กิจจำนงค์พันธุ์ กรรมการกองทุน และผู้ริเริ่มโครงการ ศิลปินเพื่อช้าง บอกไว้ในบทความหนึ่งว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องหันมามองปัญหาช้าง เพราะถ้าไม่อย่างนั้น อนาคตช้างอาจต้องสูญพันธุ์ ลูกหลานจะไม่มีช้างให้เห็นอีกต่อไป เพราะช้างเกิดยากแต่ตายง่าย

(ซ้าย) "The Eye" ผลงานของ "ศราวุฒิ ศรีศักดิ์" (ขวา) ปราโมทย์ กิจจำนงค์พันธุ์


ดังที่ผู้รู้เกี่ยวกับช้างว่า...

1.ช้างผสมพันธุ์ยาก และเมื่อติดลูก ก็อาจเสียชีวิตระหว่างคลอด เพราะช้างที่อยู่ในเมืองจะไม่มีระบบการดูแลเหมือนโขลงช้างในธรรมชาติ 2.พื้นที่ป่าลดน้อย ทำให้ช้างไม่มีที่อยู่ อาหารไม่พอเพียง 3.เนื่องจากป่าลดน้อย ช้างไม่อาจเดินทางข้ามพื้นที่ ผสมข้ามสายพันธุ์ได้ จึงทำให้เกิดลักษณะด้อยเนื่องจากการผสมในสายพันธุ์เดียวกัน

4. มนุษย์เอาช้างมาเป็นเครื่องมือทำธุรกิจ ข้างใช้ชีวิตอยู่ในที่ไม่เหมาะสม 5.ช้างที่มาอยู่ในเมืองทำความเดือนร้อนให้กับผู้คนเนื่องจากอาการตกมันตามธรรมชาติ หรือขาดอาหารจนต้องไปกินของชาวบ้าน ทำให้ช้างถูกฆ่าตายอยู่บ่อยๆ และ 6.มีขบวนการซื้อขายช้าง ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมีราคาค่าตัวสูงจูงใจให้มนุษย์นำช้างไปขายสร้างความร่ำรวยให้กับตนเอง

"ข่าวหมีแพนดา น่าจะเป็นกรณีตัวอย่างที่ดี และน่าจะทำให้เราตื่นตัวกับปัญหาช้างซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของเราเอง รัฐบาลจีนดูแลหมีแพนดาเป็นอย่างดีอย่างไร เราก็ควรดูแลช้างของเราอย่างนั้น

"ผมเชื่อว่าความพยายามของวังช้างอยุทธยาที่ระบายสีช้างให้ดูเหมือนหมีแพนดา...จะเป็นการสะท้อนให้คนไทยและรัฐบาลหันมาจริงจังกับปัญหาช้างเสียที อย่ามัวแต่รุมเห่อหมีแพนดาที่ไม่ได้เป็นของเรา ซึ่งเราก็ทราบกันดีว่าอีกไม่นานเราต้องส่งกลับคืนประเทศจีน เราควรหันมาดูแลช้างไทยให้อยู่กับประเทศไทยของเราตลอดไปจะดีกว่า" ปราโมทย์ว่า

"มีโอกาสได้แวะไปชมงานเพาะช่าง : ศิลปินเพื่อช้าง" ที่ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ตกใจกับงานหลายชิ้นที่ถ่ายทอดสภาพของช้างออกมาอย่างสมจริงเห็นแล้วน่าขนลุก ดังเช่นงานคอมพิวเตอร์กราฟิก ขนาด 30x40 เซนติเมตร ของ "ศราวุฒิ ศรีศักดิ์" ที่ชื่อ "The Eye" เป็นภาพระยะใกล้ เผยให้เห็นดวงตาของช้างที่ดูหม่นหมอง มีน้ำตาไหลออกมาด้วยราวกับกำลังบอกว่าช้างกำลังเศร้าใจในชะตาชีวิตของตัวเอง

หรืออย่างงานสีน้ำบนกระดาษ ขนาด 55x75 เซนติเมตร ชื่อ "กำลังจางหาย" ของ "บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส" แม้จำนำเสนอออกมาด้วยสีน้ำให้ความรู้สึกอ่อนโยน ประกอบกับภาพก็ออกโทนสีขาวบางเบา หากแต่รูปช้างที่เลือนรางกำลังจะจางหาย เหลือเพียง งวง ปาก และตาอย่างละนิดอย่างละหน่อยนั้น ให้ความรู้สึกว่าภาพนี้ "แรง"

นอกจาก 2 คนที่กล่าวมาแล้ว ยังมีศิลปินคนอื่นๆ อีกเพียบ...

อาทิ คำอ้าย เดชดวงตา, จรัสพัฒน์ วงศ์วิเศษ, ชลิดา ทรงประสิทธิ์, ชูศักดิ์ เครือสุวรรณ, ธง อุดมผล, ปราโมทย์ กิจจำนงค์พันธุ์, ไพโรจน์ วังบอน, สมยศ คำแสง, สุรัตน์ บญทรง, อุตสาห์ ไวยศรีแสง ฯลฯ

โดยก่อนหน้าที่จะสร้างผลงาน และจัดแสดงผลงานในครั้งนี้ เหล่าศิลปินได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาชีวิต ความเป็นอยู่ของช้างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประเพณี และวัฒนธรรมเกี่ยวกับช้าง ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อช้างไทย ที่ จ.เชียงใหม่ และศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง

วันนี้ คงยังไม่สายเกินไป ถ้าเราจะลองหันมามองช้างบ้าง!

อนาคตจะได้ไม่ต้องมาร้องโอดครวญว่า "ช้างกูอยู่ไหน?"

หน้า 21
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra02220752&sectionid=0131&day=2009-07-22

--
ขอเชิญอ่าน  blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.thaiyogainstitute.com
http://www.thaihof.org
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://dbd-52.hi5.com

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บ้านไม้ชราและลมหายใจที่ใกล้สิ้น ส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน

คุณ บ้านไม้ชราและลมหายใจที่ใกล้สิ้น ได้เข้าเวบ www.oknation.net และส่งเรื่องราวดีดีมาให้คุณอ่าน : อ่านเรื่อง คลิ๊กที่นี่ http://www.oknation.net/blog/folkner/2009/07/16/entry-1 ....................................................................... ผู้ส่ง บ้านไม้ชราและลมหายใจที่ใกล้สิ้น

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

รู้จักสมุนไพรหายากใน "พิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพร" ที่ลำตะคอง

รู้จักสมุนไพรหายากใน "พิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพร" ที่ลำตะคอง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กรกฎาคม 2552 17:31 น.

       
       

       
       กว่าจะได้ยาลูกกลอนกลมกลึงแต่ละเม็ด หรือยาสมุนไพรบรรจุแคปซูลแต่ละเม็ด หลายคนมักคิดว่าคนสมัยก่อนมีความพยายามบรรจงปั้นยาลูกกลอนกันทีละเม็ด และค่อยๆ นำผงยาสมุนไพรใส่ลงในแคปซูลทีละแคปซูล แต่ที่จริงการผลิตยาสมุนไพรในสมัยโบราณก็มีเครื่องไม้เครื่องมือทันสมัย (ในสมัยนั้น) ช่วยทุ่นแรงด้วยเหมือนกัน ตามไปดูกันได้ใน "พิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพร"
       
       ระหว่างเยี่ยมชมผลงานวิจัยของสถานีวิจัยลำตะคอง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานีวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ที่มีพื้นที่กว่า 800 ไร่ ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ได้มีโอกาสท่องไปในสวนสมุนไพร วว. เฉลิมพระเกียรติฯ และพิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพร ที่เป็นส่วนหนึ่งของสถานีวิจัยแห่งนี้ที่จัดไว้เป็นพื้นที่อนุรักษ์พืชสมุนไพรและให้ความรู้เรื่องสมุนไพรแก่ประชาชน
       
       นายสุรสิทธิ์ วงษ์สัจจานันท์ นักวิชาการ สถานีวิจัยลำตะคอง ให้ข้อมูลว่า สวนสมุนไพร วว. เฉลิมพระเกียรติฯ มีเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2542 ซึ่งภายในบริเวณนี้ได้รวบรวมพืชสมุนไพรของท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศที่มากกว่า 300 ชนิด ให้ผู้ที่สนใจมาชมและศึกษากัน ซึ่งบางชนิดหายากมาก เช่น มังกรห้าเล็บ สมุนไพรบำรุงไต รักษาโรคตับ ที่มักพบในป่าแถวจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็นำมาปลูกไว้ที่นี่ หรือตะขาบบิน พืชสมุนไพรที่ชื่อไม่ค่อยคุ้นหูคนทั่วไปนัก แต่ใช้ถอนพิษแมงป่อง ตะขาบ แก้ฟกช้ำได้ผลชะงัด
       
       สมุนไพรบางชนิดหายากและไม่สามารถปลูกให้เจริญเติบโตได้ในพื้นที่ต่างถิ่น ก็มีตัวอย่างแห้งใด้ดูด้วยภายในพิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพร เช่น หินระเบิด ที่พบในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ปัจจุบันหายากมาก เนื่องจากมีการใช้ส่วนของลำต้นเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของยาสมุนไพรทุกชนิด โดยมีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลในร่างกาย และแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
       
       ส่วนพืชสมุนไพรอื่นๆ ที่รู้จักกันดีและมีปลูกอยู่ในสวนสมุนไพรด้วย เช่น การบูร, เพชรสังฆาต, หางไหลแดง, ดีปลี, เหงือกปลาหมอ, สมอพิเภก, บอระเพ็ดพุงช้าง, แป๊ะตำปึง, กอมก้อลอดขอน, รำเพย, และทับทิม เป็นต้น
       
       ภายในพิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพรยังให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติการแพทย์แผนไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน พร้อมจัดแสดงตัวอย่างของพืชสมุนไพรไทยที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรค โดยให้ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ และสรรพคุณทางยา
       
       นอกจากนี้ยังจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตยาสมุนไพรของไทยที่แสดงให้เห็นวิวัฒนาการการผลิตและการใช้ยาสมุนไพรของคนไทยในอดีต เช่น เครื่องทำยาลูกกลอน ที่ช่วยให้ไม่ต้องปั้นยาลูกกลอนทีละเม็ด, เครื่องบรรจุยาแคปซูล ที่ไม่ต้องบรรจงบรรจุทีละแคปซูล, เครื่องหั่นสมุนไพร ที่ช่วยหั่นส่วนลำต้นหรือกิ่งก้านพืชสมุนไพรสดได้เป็นอย่างดี และเครื่องอัดเม็ดยา เป็นต้น
       
       หากใครสนใจใคร่รู้เรื่องราวของสมุนไพรไทยตั้งแต่ครั้งโบราณ หรือผ่านไปเส้นทางแถวนั้น ก็สามารถแวะเวียนเข้าไปเดินเที่ยวชมกันได้ทั้งในส่วนของสวนสมุนไพร วว. เฉลิมพระเกียรติฯ และพิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพร ที่ตั้งอยู่ภายในสถานีวิจัยลำตะคอง ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตามวันและเวลาราชการ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร. 044-390107


     
เล็บมังกรขึ้นเป็นเถาเกาะไม้ใหญ่ในสวนสมุนไพร วว. เฉลิมพระเกียรติฯ เพชรสังฆาตแก้ลักปิดลักเปิด, ริดสีดวงทวาร, ประจำเดือนมาไม่ปกติ ผลดีปลี แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ลมวิงเวียน
     
รำเพยดอกสีเหลืองสวยงาม แต่ทุกส่วนใช้เป็นสมุนไพรได้เกือบทั้งหมด ตะขาบบิน แก้พิษแมงป่อง ตะขาบได้ผล อาคารพิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพร แหล่งเรียนรู้ประวัติการแพทย์แผนไทย
     
ภายในพิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพรมีตัวอย่างสมุนไพรหายากจัดแสดงให้ชมกัน ในตู้นี้มี "หินระเบิด" นานาสมุนไพรไทยที่ใช้เป็นยามาแต่โบร่ำโบราณ
     
ในตู้นี้มีตัวอย่าง "เล็บแมว", "ขันทองพยาบาท" "ตากวางลาย" นายสุรสิทธิ์ สาธิตการบรรจุแคปซูลยาสมุนไพรด้วยเครื่องบรรจุแคปซูลตามแบบภูมิปัญญาไทย
     
หินบดยา สมัยทวาราวดี เครื่องทำยาลูกกลอน ปั้นลูกกลอนได้ครั้งละหลายสิบเม็ด เครื่องหั่นสมุนไพร ใช้หั่นสมุนไพรสด
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000073581


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://www.pnac-th.org
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://dbd-52.hi5.com
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th