วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

"มิวเซียมคอร์รัปชั่น" ประชัน "มิวเซียมเซ็กซ์"

วันที่ 08 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11442 มติชนรายวัน


"มิวเซียมคอร์รัปชั่น" ประชัน "มิวเซียมเซ็กซ์"


คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ




สิงคโปร์เมื่อราว 50 ปีที่แล้ว มีทุจริตคอร์รัปชั่นเท่าๆ กับประเทศไทย แต่ปัจจุบันสิงคโปร์ได้รับยกย่องว่าปราศจากทุจริตคอร์รัปชั่น ถ้ามีบ้างก็น้อยอย่างยิ่ง

ส่วนประเทศไทยยังเต็มไปด้วยทุจริตคอร์รัปชั่นไม่ต่างจากเมื่อราว 50 ปีที่แล้ว และอาจมีมากกว่าเสียด้วย เพราะมีแรงจูงใจทำได้ง่ายขึ้น

แล้วยังมีความเหลื่อมล้ำ, ความไม่เสมอภาค, ความไม่เท่าเทียม, ตลอดจนการเอารัดเอาเปรียบเบียดเบียนคนอ่อนแออย่างหน้าด้านๆ ดูได้จากการจราจรไม่จอดรถให้คนข้ามถนนทางม้าลาย ฯลฯ กระตุ้นให้ทุจริตมีมาก

วิธีปราบทุจริตคอร์รัปชั่นให้ลด แล้วให้หมดจากสิงคโปร์มีหลายวิธีแน่ๆ แต่น่าประหลาดมหัศจรรย์มากที่อย่างหนึ่งของสิงคโปร์คือ ใช้มิวเซียม หรือพิพิธภัณฑ์ ปราบทุจริตคอร์รัปชั่น ทำโดยหน่วยงาน Corrupt Practices Investigation Bureau (CPIB) ผมอ่านพบในบทความเรื่อง ทำไมสิงคโปร์แก้ไขปัญหาคอร์รัปชันเป็นผลสำเร็จ? โดย ยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์ (พิมพ์ใน ASTV ผู้จัดการ ฉบับวันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน 2552 หน้า 13) จะขอยกสาระสำคัญมาดังนี้

ลายแทงของสุนทรภู่ : เมืองเพชรและพระอภัยมณี : ลายแทงของสุนทรภู่และนางงิ้วในนิราศอิเหนา โดย ศ.ดร. ทศพร วงศ์รัตน์ ราชบัณฑิต 285 หน้า ราคา : 230 บาท จัดจำหน่ายโดย : ศูนย์หนังสือจุฬาฯ

นิราศภูเขาทอง...นิราศอิเหนา...นิราศเมืองเพชร แต่งเมื่อใด?

ใครเป็นใครในเหตุการณ์? และเมื่อใด?

เมืองในพระอภัยมณีมีอยู่ที่ไหนบ้าง?

เรื่องเกี่ยวกับงานของสุนทรภู่ ที่มีการตีความหลายประเด็น



"เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในอดีตว่ากระทบต่อประเทศสิงคโปร์มากน้อยเพียงใด หน่วยงาน CPIB ได้เปิดพิพิธภัณฑ์คอร์รัปชันขึ้นที่สำนักงานใหญ่เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เยี่ยมชม

โดยกำหนดลูกค้าเป้าหมายเป็นเด็กนักเรียนสิงคโปร์ที่เป็นคนรุ่นใหม่ของประเทศ ที่เกิดภายหลังรัฐบาลปราบปรามคอร์รัปชันแล้ว ส่วนใหญ่จึงไม่เคยมีประสบการณ์ในด้านคอร์รัปชันมาก่อน ต้องมาทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ว่าในอดีตคอร์รัปชันเป็นไปอย่างไร

รวมถึงลูกค้าเป้าหมายเป็นบรรดาข้าราชการต่างประเทศที่เดินทางมาดูงานเพื่อต้องการเรียนรู้ถึงเคล็ดลับความสำเร็จในการปราบปรามคอร์รัปชันของสิงคโปร์ด้วย

พิพิธภัณฑ์ได้แสดงคดีดังคดีเด่นให้ประชาชนได้รับทราบ โดยเฉพาะ"เกียรติประวัติ"บุคคลสำคัญหลายคน

เป็นต้นว่า คดีที่นาย Teh Cheang Wan ซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาประเทศ ซึ่งได้ฆ่าตัวตายเมื่อปี 2529 ขณะอยู่ระหว่างถูกสอบสวนคดีคอร์รัปชันโดยหน่วยงาน CPIB

รวมถึงนิทรรศการเกี่ยวกับคดีของนาย Wee Toon Boon อดีตรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ที่ถูกพิพากษาว่ากระทำผิดในด้านคอร์รัปชันเมื่อปี 2518 ซึ่งถูกพิพากษาให้จำคุก 4 ปี 6 เดือน ซึ่งต่อมาเขาอุทธรณ์ จึงได้ลดหย่อนโทษจำคุกลงเหลือ 3 ปี"

ประเทศไทยจะมี"มิวเซียมคอร์รัปชั่น"ได้ไหม?

ตอบทันทีว่า "ยากส์" และอาจไม่มีวันทำได้เลย เพราะสังคมไทย "หน้าไหว้หลังหลอก", "หลอกตัวเอง", "เกลียดตัวกินไช่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง", "ปากว่าตาขยิบ", "มือถือสาก ปากถือศีล", ฯลฯ

ถ้าทำมิวเซียมคอร์รัปชั่นอย่างนี้สำเร็จจะมีชื่อว่าใหญ่โตที่สุดในโลกก็ได้ เพราะเนื้อหาจะบรรจุมีมากตั้งแต่"พิธีแก้บน" เพราะติดสินบน"ผี/เทวดา"เอาไว้ก่อนแล้ว จนถึงบุคคลที่ทุจริตคอร์รัปชั่นจะมีประวัติมากมาย แต่แล้วจัดแสดงไม่ได้ เพราะเห็นแก่วงศ์ตระกูลของกันและกัน เลยช่วยกันปิดบังไว้

รัฐบาลไทยไม่ปราบคอร์รัปชั่นจริง ทำได้แค่"ดีแต่พูด good but mouth" เราทุกคนต้องแฉคอรัปชั่น ไม่ว่าในรัฐบาล, ในวัด, ในมหาวิทยาลัยหรือในองค์การมหาชน, ฯลฯ

นอกจากมิวเซียมคอร์รัปชั่นแล้ว ยังมี"เซ็กซ์มิวเซียม" ก็ควรทำเพื่ออธิบายความงดงามของความสัมพันธ์ทางเพศจนถึงเพศสภาพในประวัติศาสตร์สยามตั้งแต่ 3,000 ปีมาแล้ว สืบจนทุกวันนี้โดยเน้นให้เห็นภัยของเอดส์

แต่ก็อีกนั่นแหละ?สังคมไทย?จริตดกเสียจนพูดเรื่องเพศไม่ได้ แต่มีซ่องอยู่ทั่วประเทศในนาม"อาบอบนวด และนาบ" ไม่เว้นแม้ข้างวัดและข้างโรงเรียน

ที่สำคัญคือ รายได้จากการท่องเที่ยวปีละเป็นแสนล้านบาทนั้น เกือบครึ่งหนึ่งเป็นแรงงานของกะหรี่, โสเภณี, พนักงานอาบอบนวด(และนาบ) แต่สังคมไทยอวดอ้างยกตนว่า"เป็นเมืองพุทธ" เลยทำเป็นมองไม่เห็น แล้วไม่ปริปากถึงสักแอะ


หน้า 20
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra03080752&sectionid=0131&day=2009-07-08

--
  ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.thaiyogainstitute.com
http://www.thaihof.org
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://ilaw.or.th
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.pdc.go.th
http://www.biz652.com
http://dbd-52.hi5.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น