วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สปสช.ลุ้นงบรายหัวคนไร้สัญชาติในไทย ชี้สภาความมั่นคงแย้ง

สปสช.ลุ้นงบรายหัวคนไร้สัญชาติในไทย ชี้สภาความมั่นคงแย้ง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 กรกฎาคม 2552 06:22 น.
       สปสช.เผยโครงการของบเหมาจ่ายรายหัว 1.1 พันล้าน ให้ชนกลุ่มน้อย-คนไร้สัญชาติ กว่า 5 แสนคนคืบ เผย ครม.ไฟเขียวในหลักการแล้ว แต่ต้องกลับไปศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นอ่อนไหว เหตุสภาความมั่นคงเกรงหากให้สิทธิ์การรักษาสุขภาพเทียบเท่าคนไทยหมายถึงเป็นการให้สิทธิกับคนไร้สัญชาติเป็นคนไทย
       
       นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช.ได้ทำเรื่องเสนอขอความเห็นชอบต่อ นายวิทยา แก้วภราดัย ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่องการสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับประชาชนที่รอพิสูจน์สถานะบุคคล (ชนกลุ่มน้อย คนไร้สัญญาชาติ) จำนวน 505,930 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว 79,585 คน ชนกลุ่มน้อย 236,681 คน บุตรของชนกลุ่มน้อย 81,752 คน กลุ่มเข้าเมืองโดยชอบตามกฎหมาย 27,912 คน และนักเรียนได้สิทธิการเรียนจากกระทรวงศึกษาฯ ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ 80,000 คน
       
       ทั้งนี้ ให้กลุ่มคนเหล่านี้มีหลักประกันสุขภาพเทียบเท่าคนไทย ที่เป็นผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ สปสช.ดูแล โดยให้รัฐบาล อนุมัติงบประมาณค่ารักษาพยาบาลเป็นงบเหมาจ่ายรายหัว 2,202 บาทต่อคน รวมทั้งสิ้นเป็นวงเงิน 1,114,057,860 บาท ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 เป็นต้นไป
       
       "สปสช.ได้เสนอเรื่องเข้า ครม.นานร่วม 2 เดือนแล้ว โดย ครม.มีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปจัดทำข้อมูลให้รอบคอบ โดยคณะทำงานจากหน่วยงานเกี่ยวข้อง อาทิ สปสช.กระทรวงมหาดไทย สภาความมั่นคง เป็นต้น ได้เห็นชอบในหลักการแล้ว แต่ยังมีข้อสังเกตที่ต้องพิจารณาในรายละเอียดใน 2-3 ประเด็น คือ หากให้สิทธิ์การรักษาสุขภาพเทียบเท่าคนไทยหมายถึงเป็นการให้สิทธิ์กับคนไร้สัญชาติเป็นคนไทยด้วยหรือไม่ และเป็นภาระด้านงบประมาณของประเทศไทยหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้ ทางสภาความมั่นคงต้องพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง" นพ.ประทีป กล่าว
       
       นพ.ประทีป กล่าวต่อว่า ปัจจุบันแม้รัฐบาลไม่อนุมัติงบประมาณค่ารักษาให้กับคนไร้สัญชาติเหล่านี้ แต่กลุ่มคนเหล่านี้ก็มาใช้บริการรักษาโรคต่างๆ ในประเทศไทยอยู่แล้ว โดยเฉพาะในโรงพยาบาลของภาครัฐที่อยู่ตามตะเข็บชายแดนไทย หรือโรงพยาบาลในพื้นที่ที่มีแรงงานต่างด้าวเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นภาระในด้านงบประมาณให้กับโรงพยาบาลอย่างมาก เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีฐานะยากจนไม่สามารถจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลได้ โรงพยาบาลจึงแก้ปัญหาด้วยการใช้เงินบำรุงของตัวเองจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลให้กับคนเหล่านี้ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องโรคติดต่อ โรคระบาดต่างๆ ตามมาจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัญหาในเชิงสังคมทำให้คนไทยได้รับเชื้อโรคติดต่อเหล่านี้ตามไปด้วย

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000076734


ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com




Chat online and in real-time with friends and family! Windows Live Messenger

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น