วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

“เขา” ทำแผน “ผลิตไฟฟ้า” กันอย่างนี้เองหรือ!

"เขา" ทำแผน "ผลิตไฟฟ้า" กันอย่างนี้เองหรือ! 

ประสาท มีแต้ม


1. คำนำ


บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้เห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของคนไทยโดยเฉลี่ยซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และหากแผนผลิตไฟฟ้าดังกล่าวมีปัญหาแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างไร

 

สอง เพื่อเล่าถึงการจัดทำแผนผลิตไฟฟ้าที่ผูกขาดโดย "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" จำนวนน้อยตลอดมาและจะชี้ให้เห็นถึงบางสิ่งที่ผมคิดว่า "น่าจะไม่ถูกต้อง"

 

สาม หากท่านผู้อ่านได้เห็นปัญหาในข้อสองแล้ว จะได้เห็นความจำเป็นของ "การเมืองภาคประชาชน" ในการตรวจสอบโครงการของรัฐมากขึ้น

ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะโจมตีหน่วยงานใดๆ ขณะเดียวกันหากหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใดคิดว่า วิธีคิด ตลอดจนข้อมูลของผมไม่ถูกต้อง ผมยินดีรับฟังเสมอครับ แต่โปรดอย่ากล่าวหาว่ากันด้วยวิธีง่ายๆ ว่าข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ ผมขอเริ่มต้นด้วยวัตถุประสงค์ที่สองก่อนนะครับ

 

 

2. แผนผลิตไฟฟ้า คืออะไร


แผนผลิตไฟฟ้า ก็คือแผนที่จะบอกว่าในอนาคต ประเทศไทยควรจะมีโรงไฟฟ้าจำนวนกี่เมกกะวัตต์ ที่ไหน เมื่อไหร่ ด้วยเชื้อเพลิงประเภทใด และให้หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนดำเนินการ


โดยปกติ ถ้าเราตัดสินใจจะสร้างโรงไฟฟ้า (ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เชื้อเพลิง) ในวันนี้ ก็ต้องรออีกประมาณ 5-7 ปี เราจึงจะได้ใช้งานจริง ดังนั้น การวางแผนล่วงหน้าจึงมีความจำเป็น


อนึ่ง ยังมีโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น ลม ชีวะมวล ที่ใช้เวลาในการก่อสร้างไม่ถึงหนึ่งปี แต่ "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" ไม่ให้ความสนใจ


บทความนี้จะสนใจที่เราควรจะมีโรงไฟฟ้าสักกี่เมกกะวัตต์เพียงประเด็นเดียวเท่านั้น

 

 

3. ความเป็นมาของแผนผลิตไฟฟ้า


เอกสารที่ผมนำมาวิจารณ์ในบทความนี้ มาจากเอกสารที่ชื่อยาว ๆ ว่า "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.. 2552-2564 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "พีดีพี 2007: ปรับปรุงครั้งที่ 2" เป็นเอกสารที่นำเสนอต่อ "คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา" (20 เมษายน 2552) ผู้เสนอคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)


แผนนี้ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2552 (รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) โดยก่อนหน้านี้ (9 มีนาคม 2552) ได้ผ่านความเห็นชอบ "คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ" ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง


อนึ่ง โปรดสังเกตวันที่ 9 มีนาคม 2552 ไว้ให้ดีนะครับ เพราะเป็นวันที่นำไปสู่ความผิดพลาดที่สำคัญของการปรับปรุงครั้งที่ 2 ซึ่งผมจะวิจารณ์ต่อไป


ความจริงแล้ว แผนพีดีพี 2007 ได้ผ่านรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มาแล้ว (มิถุนายน 2550) และปรับปรุงครั้งที่ 1 ในปลายปี 2550 แต่ต้องมาปรับปรุงครั้งที่ 2 ก็เพราะเกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ดังที่เราทราบกันอยู่

โดยสรุป แผนนี้ได้ผ่านมาถึง 4 รัฐบาลแล้ว แต่ก็ยังมีความผิดพลาดที่ไม่น่าเกิดขึ้นจนได้

 

 

4. แผนผลิตไฟฟ้า ผิดพลาดตรงไหน


ผมมีข้อสังเกต 4 ข้อต่อไปนี้

 

หนึ่ง หลักยึดสำคัญที่ "กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ" ของไทยใช้ในการวางแผนผลิตไฟฟ้าในอนาคตก็คือ การพิจารณาจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (หรืออัตราการเพิ่มของจีดีพี) เปรียบเทียบกับอัตราการเพิ่มของการใช้พลังงานไฟฟ้าในอดีต ซึ่งถือว่าเป็นหลักยึดหรือหลักการที่มีเหตุผลมาก


ปัจจุบัน ข้อมูลของไทยเราระบุว่า ถ้าอัตราการเพิ่มของจีดีพีเท่ากับ 1 หน่วย อัตราการเพิ่มของการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.1 ถึง 1.2 หน่วย (นักวิชาการเรียกค่านี้ว่า Elasticity)


เมื่อต้องการจะคาดการณ์การใช้ไฟฟ้าในอนาคต ก็ต้องมาการคาดการณ์กันว่า อัตราการเพิ่มของจีดีพีในปีต่อ ๆ ไปจะเป็นเท่าใด จากนั้นก็นำไปคูณกับปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในปีที่เพิ่งผ่านไปหมาดๆ คือปี 2551 แล้วคำนวณปีถัดไปเรื่อยๆ ตามที่เราต้องการ


อนึ่ง นิลส์ บอห์ร (Niels Bohr) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล (ปี 1922) ที่มีความเข้าใจทางสังคมอย่างลึกซึ้งว่า "มันเป็นการยากมากที่จะทำการพยากรณ์ได้อย่างถูกต้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันเป็นเรื่องของอนาคต"


ดังนั้นการพยากรณ์จะถูกจะผิดไม่ใช่เรื่องที่สังคมติดใจ กลับเป็นเรื่องที่ทุกคนควรจะเข้าใจ และเห็นใจถึงความยากลำบากของนักวิชาการ แต่สิ่งที่ติดใจคือการใช้ข้อมูลมาคาดการณ์ต่างหาก


ต่อไปนี้ ท่านผู้อ่านโปรดอ่านอย่างช้า ๆ นะครับ แผนนี้ได้ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2552 ณ วันนั้น กระทรวงพลังงานทราบแล้วว่า ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้จริงในปี 2551 ทั้งปีเท่ากับ 134,707 ล้านหน่วย (ที่มาhttp://www.eppo.go.th/info/stat/T05_03_03.xls)


แต่ในแผนนี้กลับใช้ตัวเลข 147,229 ล้านหน่วย ซึ่งสูงกว่าความเป็นจริงไปถึง 9.3% ดังนั้นผลลัพธ์ของการทำนายก็ผิดพลาดอย่างน้อย 9.3% แล้ว


คำถามก็คือ มันเกิดอะไรขึ้นกับการ "ปรับปรุงครั้งที่ 2" นี้ ทั้งๆ ที่ข้อมูลแท้จริงได้เกิดขึ้นเกือบ 70 วันมาแล้ว แต่ในแผนยังใช้ข้อมูลที่มาจากการคาดคะเนซึ่งสูงกว่าความเป็นจริง


มีทางที่เป็นไปได้ 3 ทางคือ (1) ลืมปรับตัวเลขใหม่ (2) ขี้เกียจจะปรับ (3) ยังไม่ได้รับข้อมูลใหม่ แต่ในทางที่สามนั้นเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะข้อมูลเหล่านี้อยู่ในมือของ กฟผ.และเป็นข้อมูลที่วัดได้ตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง (real time)


อย่างไรก็ตาม การผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีชุดนี้ ได้แสดงให้สังคมเห็นแล้วว่า เป็นเพียงแค่พิธีกรรมที่คล้ายกับพิธีทอดผ้าบังสุกุลในงานประชุมเพลิงศพเท่านั้นเอง กล่าวคือ พระสงฆ์ทุกรูปพิจารณาแล้วรับทุกรูปทั้ง ๆ ที่บางครั้งไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย


สอง ทั้ง ๆ ที่ทั่วโลกกำลังประสบกับสภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงที่สุดตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา โดยมีการส่งสัญญาณให้เห็นแล้วหลายประการ เช่น การส่งออกรถยนต์ลดลงของไทยถึง 30% การใช้ไฟฟ้าระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม 2551 ได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง (คือลดลงถึง 16% ในสองเดือน) แต่คณะผู้จัดทำแผนผลิตไฟฟ้าของไทยก็ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เท่าที่ควร


กล่าวคือ "เขา" คาดว่า "การใช้ไฟฟ้าในปี 2552 จะเพิ่มขึ้นจากปี 2551 (ที่เกินความจริงมาแล้ว) ถึง 2.19%" โดยนายกอภิสิทธิ์ฯ ก็บอกเองว่าอาจจะติดลบ 4-5 %


นอกจากนี้จากข้อมูลการใช้ไฟฟ้ารายเดือนของกระทรวงพลังงานเองยังระบุว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2552 การใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม (ที่มีสัดส่วนการใช้เกือบ 40% ของทั้งประเทศ) ภาคธุรกิจ และภาคที่อยู่อาศัย ได้ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 12.9, 12.0 และ 2.6 ตามลำดับ ในขณะที่ในปีปกติจะเพิ่มขึ้นทุกภาคส่วนประมาณ 3-6%


สาม ทำไม "เขา" ไม่นำบทเรียนจากวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 มาเป็นบทเรียนในครั้งนี้บ้าง


ไม่ใช่เรื่องเสียเวลาหรือยากเย็นอะไรเลยที่จะค้นข้อมูลการใช้ไฟฟ้าในปี 2540


เช่นเดียวกันครับ จากแหล่งข้อมูลเดิมพบว่า ต้องใช้เวลานานถึงประมาณ 34 เดือน การใช้ไฟฟ้าจึงกลับมาสู่ระดับเดิม (7,187 ล้านหน่วยในมิถุนายน 2540 มาเป็น 7,173 ล้านหน่วยใน เมษายน 2543)


ดังนั้น เราควรตั้งคำถามว่า เป็นไปได้ไหมที่การใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยในปี 2554 จะเท่ากับปี 2551 หากคำถามนี้เป็นไปได้ เราพบว่าการใช้ไฟฟ้าในแผนการผลิตไฟฟ้าดังกล่าวจะสูงเกินจริงถึง 27,948 ล้านหน่วย หรือประมาณ 1 ใน 5 ของไฟฟ้าที่ใช้ในปี 2551 ทั้งประเทศเลยทีเดียว


สี่ เนื่องจากหน่วยงานของรัฐไม่เคยมีการ "ประเมินผลหลังโครงการ" ผมจึงย้อนไปตรวจสอบการพยากรณ์ในแผน "พีดีพี 2001" พบว่ามีการพยากรณ์ว่าในปี 2551 จะมีการใช้ไฟฟ้าถึง 162,438 ล้านหน่วย (หลักฐานจาก "ภาระที่ไม่จำเป็นด้านพลังงาน" เขียนโดย ประสาท มีแต้ม) แต่พบว่าในปีดังกล่าวมีการใช้จริงเพียง 134,707 ล้านหน่วย หรือการคาดการณ์สูงกว่าความเป็นจริงถึง 20.6%

 

นี่เป็นผลเพียง 8 ปี ไม่ใช่ 15 ปีตามที่ "เขา" พยากรณ์ และพยากรณ์ในช่วงที่ไม่มีวิกฤติใดๆ

 

 

5. ค่าไฟฟ้าของคนไทยต่อรายได้และความเสียหายจากแผน


ในหัวข้อนี้ ผมมี 2 ประเด็นที่จะนำเสนอ

หนึ่ง เรื่องค่าใช้จ่ายด้านค่าไฟฟ้าของคนไทย ในปี 2551 คนไทยทั้งประเทศใช้ไฟฟ้าคิดเป็นเงินปีละ 3 แสน 8 หมื่น 3 พันล้านบาท โดยที่รายได้ประชาชาติเท่ากับ 9.103 ล้านล้านบาท


หรือโดยเฉลี่ย คนที่มีรายได้เดือนละ 1 หมื่นบาทจะเสียค่าไฟฟ้าถึง 420 บาทต่อเดือน อนึ่ง คนที่มีรายได้เดือนละไม่ถึง 1 หมื่น 5 พันบาท เป็นคนที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ให้ความช่วยเหลือ แสดงว่าคนพวกนี้พอจะจัดเป็นพวกที่มีรายได้น้อย ดังนั้นค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นในแต่ละบาทจึงมีความหมายต่อพวกเขาพอสมควร


สอง ถ้าแผนผลิตไฟฟ้าสูงเกินจริงแล้วจะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นอีกอย่างไร โดยปกติสัญญาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะเป็นแบบ "ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย" ถ้าการพยากรณ์ให้ผลสูงกว่าความเป็นจริงมาก ก็จะมีผลให้ฝ่ายปฏิบัติการต้องเตรียมสร้างโรงไฟฟ้าไว้มากเกินความจำเป็น ดังนั้นค่าไฟฟ้าก็จะต้องแพงขึ้นโดยอัตโนมัติ เพราะกิจการพวกนี้สะกดคำว่า "ขาดทุนและรับผิดชอบ" ไม่เป็น แต่จะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้

 

 

6. สรุป


ตามที่ได้เรียนมาแล้วว่า ผมอยากให้สังคมช่วยกันตรวจสอบการทำงานของภาครัฐอย่างต่อเนื่องและจริงจัง รวมทั้งช่วยตรวจสอบเนื้อหาสาระในบทนี้ของผมด้วย


การเมืองภาคประชาชนจะเข้มแข็งได้ ก็ต้องช่วยกันหลายๆ ฝ่ายครับ แต่สำหรับผู้วางแผนผลิตไฟฟ้าชุดนี้นั้น ผมหมดความไว้วางใจมานานด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วครับ

 

 




http://www.prachatai.com/05web/th/home/16664

โดย : ประชาไท   วันที่ : 30/4/2552


Windows Live™ SkyDrive™: Get 25 GB of free online storage. Check it out.

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

แถลงการณ์ 5 ปี กรือเซะ กับกระบวนการยุติธรรมไทย



Rediscover Hotmail®: Now available on your iPhone or BlackBerry Check it out.

ไม่พอใจการ์ตูน ‘เซีย ไทยรัฐ’ ประชาธิปัตย์เตรียมร้องสภาการหนังสือพิมพ์

ไม่พอใจการ์ตูน 'เซีย ไทยรัฐ' ประชาธิปัตย์เตรียมร้องสภาการหนังสือพิมพ์ 

นายสาธิต ปิตุเตชะ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าววันนี้ (26 เม.ย.) ว่า อยากขอความเป็นธรรมจากสื่อ โดยเฉพาะนักเขียนการ์ตูน "เซีย ไทยรัฐ" ซึ่งเขียนคอลัมน์การ์ตูน หน้า 3 อย่างมีอคติต่อนายกฯ และพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีข้อคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์นายกฯและพรรคเท่านั้น ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งหรือฐานะอะไร และไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ความขัดแย้ง หรือสถานการณ์ใดๆ ของประเทศ

 

นายสาธิต กล่าวต่อว่า นักเขียนการ์ตูนเซีย ไทยรัฐ ไม่ได้ใช้ความเป็นสื่อสารมวลชนปฏิบัติหน้าที่ อยู่บนพื้นฐานของจรรยาบรรณสื่อ ไม่ได้ใช้วิชาชีพในการวิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็นในเชิงที่สร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การบริโภคข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา พร้อมทั้งไม่ได้ใช้ความคิดไปในทางที่เกิดประโยชน์ต่อสถานการณ์ที่เกิดความรุนแรง สถานการณ์บ้านเมืองมีปัญหา

 

ดังนั้น จึงขอความเป็นธรรมไปให้ปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอคติ และให้ดำเนินการตามวิชาชีพ จรรยาบรรณ ตามมาตรฐานของสื่อ ทั้งนี้ จะรวบรวมข้อมูลที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของ "เซีย ไทยรัฐ" เพื่อนำเสนอต่อนายกฯสภาการหนังสือพิมพ์ว่าให้ตรวจสอบจรรยาบรรณต่อไป

 

ที่มา: เรียบเรียงจากโพสต์ทูเดย์





โดย : ประชาไท   วันที่ : 26/4/2552
 
  '


Rediscover Hotmail®: Get quick friend updates right in your inbox. Check it out.

รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้รับ “ไฟเขียว” มาจากไหน? ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเหตุการณ์ 13 เมษา

 รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้รับ "ไฟเขียว" มาจากไหน? ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเหตุการณ์ 13 เมษา 

ชื่อบทความเดิม: รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้รับ "ไฟเขียว" มาจากไหน? ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการปราบปรามประชาชนในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2552

 

 

กำพล จำปาพันธ์

 

 

 

"นายอภิสิทธิ์ ใช้ทหารเข้าสลายงฝูงชนในการชุมนุมของคนเสื้อแดง แทนที่จะใช้ตำรวจปราบจลาจล แสดงว่านายอภิสิทธิ์ ถูกครอบงำ ชักใยโดยอมาตยาธิปไตย ใช้ทหารซึ่งไม่มีความชอบธรรม เหมือนเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ซึ่งมีผู้สูญหาย 187 ศพ แต่หาไม่เจอสักศพ"

                                                                        สมยศ พฤกษาเกษมสุข, วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒.

 

 

เป็นความจริงอย่างที่สุดที่การต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยในสังคมไทยครั้งใหญ่ ๆ เกือบทุกครั้ง มักพบกับการปราบปรามจากชนชั้นนำอย่างโหดเหี้ยมเสมอ แต่เหตุการณ์วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ มีบางอย่างที่ผิดแผกแตกต่างไปจากที่เคยเป็นมา เพราะถือเป็นครั้งแรกที่ขบวนการต่อสู้ได้นำเอาประเด็นเรื่องอำนาจเหนือกลไกรัฐและระบบราชการ มาเป็นประเด็นเรียกร้องตามท้องถนน ปรากฏความพยายามที่จะแตะต้องอะไรที่มากไปกว่าระดับรัฐบาล ให้นายกลาออก ดูจะเป็นเรื่องเชยแหลกเสียแล้วสำหรับการเมืองไทย ขบวนการเสื้อแดงยกระดับการต่อสู้ข้ามพ้นไปไกลกว่าขบวนการเสื้อเหลือง ฝ่ายตรงข้ามของพวกเขาก็ตรงจุดนี้

 

ในครั้งนี้ประธานองคมนตรีถูกแตะต้องมากกว่าใครอื่น ซึ่งก็ช่วยไม่ได้เพราะบทบาท พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ในช่วงที่ผ่านมาเป็นที่เคลือบแคลงไม่น้อย ข้อกล่าวหาต่าง ๆ ที่คนเสื้อแดงมีต่อองคมนตรีท่านนี้ ไม่เคยได้รับคำตอบอย่างกระจ่างชัดแม้สักครั้งเดียว การเดินสายพูดปลุกระดมทหารให้ออกมารัฐประหาร การนำคณะรัฐประหารเข้าเฝ้ากลางดึกของคืนวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ การพูดให้การรับรองรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร บ้านสี่เสาก็มีการติดตั้งจานรับสัญญาณเอเอสทีวี ทั้งเป็นที่รู้กันในหมู่นายทหารว่า ท่านเจ้าของบ้านหลังนี้ดูเอเอสทีวีเป็นประจำทุกวันและเกือบตลอดเวลาจนถึงเข้านอน หรือแม้แต่เรื่องการส่ง "ผู้การพะจุณณ์" (พล.ร.ท.พะจุณณ์ ตามประทีป) และทหาร "ลูกป๋า" อีกบางคนเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ ตั้งแต่คราวประท้วงขับไล่รัฐบาลทักษิณปีพ.ศ.๒๕๔๘ ด้วยซ้ำไป อะไรเหล่านี้กลายเป็นข้อเท็จจริงที่ยากจะหักล้างได้เสียแล้ว แต่หลังการปราบปรามวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ ดูเหมือนหลายคนจะให้ความสำคัญกับนายอภิสิทธิ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีมือเปื้อนเลือดหรือ "ทรราชฟันน้ำนม" มากกว่า พล.อ. เปรม และ พล.อ. เปรม ก็ถูกมองว่าไม่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามประชาชนในครั้งนี้ ทั้งที่หากมองจากฝ่ายผู้ชุมนุมแล้ว อาจกล่าวได้ว่าผู้ที่ตกเป็นเป้าหมายการเรียกร้องในครั้งนี้ตัวจริงคือ พล.อ. เปรม ส่วนนายอภิสิทธิ์เป็นเพียงลิ่วล้อของกลุ่มอำนาจชนชั้นนำระดับสูงที่มี พล.อ. เปรม เป็นศูนย์กลางเท่านั้น

 

คำถามในที่นี้ก็คือว่า ในเมื่อสาเหตุลึก ๆ ของความขัดแย้งนั้นอาจมีที่มาหลากหลายและดำรงอยู่ก่อนแล้ว (เช่น อาจจะเป็นปัจจัยหลักใหญ่ ๆ อย่างเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง โครงสร้าง ชนชั้น ฯลฯ) แต่อะไรเล่าคือปัจจัยเร่งปฏิกิริยาความรุนแรงให้เกิดขึ้นในเช้ามืดวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ ? (นี่คือคำถามสำคัญที่จนป่านนี้ผู้เขียนก็ยังไม่รู้และไม่มีคำตอบที่แน่ชัด เดิมคิดจะเขียนอธิบายภายหลังจากที่หลายอย่างคลี่คลายไปมากกว่านี้ เพื่อจะได้มีหลักฐานประกอบการวิเคราะห์มากกว่าที่เป็นอยู่ แต่เกรงว่าอาจไม่มีวันนั้นแล้วก็ได้ เพราะจนป่านนี้ก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้า หลายท่านที่เขียนที่พูดในช่วงที่ผ่านมาก็ยังไม่มีใครพูดถึงประเด็นดังกล่าวเลย ยกเว้นก็แต่กรณีพี่สมยศ (สมยศ พฤกษาเกษมสุข) ที่แสดงไว้ข้างต้น ผู้เขียนจึงเห็นจำเป็นต้องทิ้งประเด็นข้อสังเกตเล็ก ๆ นี้เอาไว้ เผื่อท่านใดสามารถให้ความกระจ่างได้มากกว่าผู้เขียน จะได้รับหน้าที่นี้ต่อไป ส่วนตัวผู้เขียนนั้นยอมรับว่ายังงุนงงสงสัยหลายอย่างที่เกิดขึ้นนี้อยู่มาก อีกทั้งขณะนี้ก็ยังไม่อาจหาคำอธิบายอะไรได้ดีไปกว่านี้) จากคำถามข้างต้นความเป็นไปได้ของคำตอบเท่าที่พอจะแสดงไว้ในที่นี้ได้มีอยู่ ๓ ประเด็นดังนี้

 

๑.อุบัติเหตุ?

 

เพราะเช้ามืดวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ เกิดเหตุปะทะกันขึ้นโดยไม่ได้ตระเตรียมอะไรไว้ จึงไม่มีแก๊สน้ำตา ไม่มีปั๊มน้ำ ก็เลยตามเลย เลยปราบเสียยกใหญ่ เหมือนที่คุณสุณัย ผาสุก ตั้งข้อสังเกตไว้นั้น ไม่ใช่แน่นอนครับ! เพราะถ้าเรามองเหตุการณ์ย้อนหลังจากก่อนวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ จนถึงวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่พัทยาและที่กระทรวงมหาดไทย จะเห็นได้ว่ามีความพยายามที่จะปราบปรามประชาชนเกิดขึ้นมาก่อนวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ แล้ว แก๊สน้ำตาก็มีใช้ครั้งหนึ่ง (ครั้งแรกและครั้งเดียว) ในเช้ามืดวันที่ ๑๓ เมษา เวลา 04.15 น. และก่อนนั้นอยู่ ๆ ก็จัดตั้งเสื้อน้ำเงินพร้อมคำสกรีนตรงอกซ้ายว่า "ปกป้องสถาบัน" มาปะทะกับคนเสื้อแดงแล้วประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ข่าวการจัดกำลังของทหารก็มีมาตั้งแต่วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ ทหารเคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ แล้ว เพียงแต่ถูกคนเสื้อแดงปลดอาวุธและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้

 

ทว่าแนวรบด้านสำคัญอีกหนึ่งที่ต้องยอมรับว่าเสื้อแดงเป็นรองฝ่ายรัฐบาลอยู่มากคือ "สื่อ" ภาพเหตุการณ์ที่พัทยาถูกนำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์อย่างตัดตอน เน้นภาพการพังกระจก การบุกโรงแรม การขว้างปาสิ่งของต่อสู้คนเสื้อน้ำเงิน ซึ่งเป็นภาพด้านเดียว เน้นสร้างให้เห็นภาพความรุนแรงของม๊อบเสื้อแดง แต่ไม่นำเสนอว่ามีสาเหตุอันใดทำให้คนเสื้อแดงต้องปฏิบัติการเช่นนั้น ที่มาที่ไปของคนเสื้อน้ำเงินไม่ได้ถูกนำเสนอเท่าที่ควร ให้พื้นที่แก่ฝ่ายรัฐบาลและทหารได้พูดอย่างเต็มที่ ซึ่งต่างก็ท่องเป็นนกแก้วตั้งแต่ชั่วโมงแรก ๆ ที่มีการปะทะ (จนวันนี้) ว่า "ไม่มีผู้เสียชีวิต" ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็ไม่เห็นต้องร้อนรนอะไรขนาดนั้น (คำสาบานเอาชีวิตเป็นเดิมพันของพล.อ.อนุพงษ์ ก็สะท้อนอะไรไม่ได้มากไปกว่าว่าได้มีการทำลายหลักฐานเสร็จสิ้นไปแล้ว จนแสดงความมั่นใจได้ถึงเพียงนั้น) แต่ใครที่อยู่ในเหตุการณ์หรือเห็นเหตุการณ์จะไม่พูดอย่างนั้นเลย ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าใครเป็นฝ่ายพูดความจริงมากกว่ากัน

 

"ประวัติศาสตร์" มีวิธีการในการจำแนกหลักฐานเพื่อหาความจริงอยู่วิธีหนึ่ง คือในการอ่านวิเคราะห์หลักฐานเขาจะเปรียบเทียบแยกประเภทของหลักฐานออกเป็นชั้นต้น ชั้นรอง ตามระยะเวลาและความใกล้ไกลของหลักฐานประเภทนั้น ๆ ในกรณีข้างต้นคำพูดของโฆษกรัฐบาลและทหารที่นั่งแถลงข่าวอยู่ในห้องส่งไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ เป็นหลักฐานข้อมูลประเภทชั้นรองครับ แต่ประชาชนที่อยู่ในเหตุการณ์ที่ถูกยิง ที่วิ่งหนีกระสุนปืน ที่เห็นคนบาดเจ็บล้มตายต่อหน้าต่อตา ถือเป็นหลักฐานข้อมูลชั้นต้น เชื่อถือได้มากกว่านะครับ ปัญหาคือสื่อกลับถามแต่ข้อมูลชั้นรองจากฝ่ายรัฐบาล ไม่เห็นหัวคนในเหตุการณ์เสียดื้อ ๆ แถมยังรับลูกฝ่ายรัฐบาลให้โกหกอยู่ได้ตลอด ไม่มีคนตาย ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ กระสุนปลอม ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ (ทั้งนี้น่าสังเกตว่า "ไม่มีคนตาย" ตอบโต้ฝ่ายเสื้อแดงและข่าวในม๊อบว่า มีผู้เสียชีวิต แต่ทหารลากศพเอาไป และ "กระสุนปลอม" ครั้งแรกเกิดจากการตอบโต้ของ พ.อ. สรรเสริญ กรณีที่ภาพข่าวของช่อง PBS เผลอนำเสนอภาพการยิงผู้ชุมนุมด้วยท่าเล็งแนวราบที่ถนนราชปรารภ ทั้งที่ก่อนเวลานั้นเล็กน้อย พ.อ.สรรเสริญ ได้กระชับนักข่าวให้ระวังการนำเสนอภาพการสลายชุมนุม "อย่าให้มีอะไรรุนแรง" ) เป็นเหตุผลที่ยังไงก็ฟังไม่ขึ้น เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่ามีการใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมครั้งนี้ รัฐบาลและทหารมีสิทธิกระทำต่อประชาชนอย่างนั้นตั้งแต่เมื่อไหร่ ใครให้อำนาจคุณทำเช่นนั้น ?

 

แต่สื่อกลับช่วยรัฐบาลสร้างภาพว่าทหารยิงประชาชนนั้นไม่รุนแรง ส่วนภาพการกระทำของคนเสื้อแดงนั้นดูรุนแรงไปเสียหมด แปรสถานะกลับขั้วให้ "ผู้กระทำ" กลายเป็น "ผู้ถูกกระทำ" และ "ผู้ถูกกระทำ" อย่างแท้จริง กลายเป็น "ผู้กระทำ" สิ่งที่สื่อกระทำนี้จึงถือเป็นความรุนแรงอย่างหนึ่ง คือความรุนแรงในระดับ "ภาพเสนอ" ผลิตซ้ำนำเสนอความรุนแรงด้วยภาพและคำพูดว่าไม่รุนแรง บิดเบือนการกระทำความผิดของฝ่ายรัฐบาลให้มีความชอบธรรม

 

ลักษณะการนำเสนอดังกล่าวนี้ปรากฏชัดเจนตั้งแต่ในกรณีเหตุการณ์กระทรวงมหาดไทย สื่อมีส่วนร่วมสร้างความชอบธรรมให้กับการปราบปรามประชาชนด้วยการเสนอแต่ภาพเสื้อแดงทุบรถนายอภิสิทธิ์และนายนิพนธ์ แต่ไม่นำเสนอว่าเหตุใดคนเสื้อแดงจึงปฏิบัติการเช่นนั้น ไม่มีภาพรถของบุคคลสำคัญทั้งสองพุ่งมาด้วยความเร็วหมายจะชนคนเสื้อแดงให้ถึงแก่เสียชีวิต และไม่เสนอแง่มุมของฝ่ายเสื้อแดงว่า ที่บุกกระทรวงมหาดไทยนั้น เพราะต้องการเข้าไปหาศพพี่น้องที่ถูก รปภ. นายอภิสิทธิ์ยิงเสียชีวิตก่อนหน้านี้ สื่อไร้มนุษยธรรมถึงขั้นสนใจว่า มีคนถูกยิงตายที่กระทรวงมหาดไทยจริงหรือไม่ น้อยกว่าที่สนใจว่ารถของนายอภิสิทธิ์จะพังหรือไม่เสียอีก ชีวิตคนสำคัญน้อยกว่ารถนายอภิสิทธิ์ ?

 

จะเห็นได้ว่าการปราบปรามเป็นไปโดยมีแบบแผนมีขั้นตอนและเป็นระบบพอสมควร ไม่ใช่อุบัติเหตุแล้วเลยตามเลย และควรต้องเข้าใจบทบาทสื่อในเหตุการณ์ครั้งนี้ใหม่ด้วยว่า มีส่วนร่วมในการปราบปรามประชาชนในครั้งนี้ ด้วยการปลุกปั่นยั่วยุให้เกลียดชังคนเสื้อแดง สร้างภาพแง่ลบแก่คนเสื้อแดงให้เป็นม๊อบรุนแรง ป่าเถื่อน ไม่มีเหตุผล (ฉะนั้นจึง) สมควรถูกปราบเสีย ขณะที่ตั้งคำถามต่อความรุนแรงที่เกิดจากเสื้อแดง ก็กลับละเลยแสร้งมองไม่เห็นไม่รับรู้ไม่นำเสนอความรุนแรงอันเกิดจากการกระทำของรัฐบาลและทหาร สมยอมให้กับเผด็จการจนไม่รู้อะไรถูกผิด ฯลฯ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น!

 

๒.การต่อสู้ของประชาชนในวันที่ ๘-๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

 

ในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ ประชาชนราว ๔.๕-๕ แสนคนร่วมชุมนุมเสื้อแดง กลายเป็นคลื่นมหาประชาชนขนาดใหญ่ที่ดูจะสั่นคลอนรากฐานอำนาจของชนชั้นนำลงได้ไม่ยาก ประชาชนในระดับพื้นฐานรวมตัวกันส่งเสียงขับไล่กลุ่มคนชั้นสูงของสังคมที่มีที่ปรึกษาพระมหากษัตริย์เป็นตัวแทน "เสื้อแดง" กลายเป็นพื้นที่สำคัญที่ประชาชนได้มาแสดงบทบาทและตัวตนท้าทายชนชั้นนำ (หรือที่นิยามเรียกกันว่า "อมาตยาธิปไตย" ) สิ่งนี้ทำให้ "เสื้อแดง" มีมิติของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นอย่างชัดเจน หลายฝ่ายมั่นใจว่าเสื้อแดงจะชนะ ต้องเข้าใจว่าการที่มีคนสวมเสื้อสีเดียวกันจำนวนขนาดนั้นมารุมด่าถึงหน้าบ้าน เป็นใครก็ต้องหวั่นไหวเป็นธรรมดา และการที่มีคนมาตะโกนขับไล่มากมายถึงเพียงนั้น ใครเป็นรัฐบาลก็ต้องคลั่งแค้นเป็นธรรมดาด้วย ฝ่ายรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ๒ วันต่อจากนั้นก็มีคำสั่งให้ทหารเคลื่อนกำลังเข้ามา แต่ประชาชนแทนที่จะวิ่งหนีเหมือนที่พวกเขาคาดหวังจะได้เห็น เราก็กลับได้เห็นวีรกรรมความกล้าของประชาชนมือเปล่าเข้าต่อสู้กับรถถังและกำลังติดอาวุธจนได้รับชัยชนะ ศักดิ์ศรีกองทัพพังลงทันทีทันใด

เกิดเป็นภาพตรงข้ามกับ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ขณะเคลื่อนกำลังออกมาทหารอาจคิดว่าตนจะได้รับดอกไม้เหมือนในวันนั้น (รัฐประหารในคืนวันที่ ๑๙ ประชาชนเริ่มให้ดอกไม้และถ่ายรูปร่วมกับทหารในวันที่ ๒๐) แต่ครั้งนี้พวกเขากลับเจอท่อนไม้ ธง มือเปล่า เสียงตะโกนด่า และเสียงร้องโห่ถึงชัยชนะ ใครกุมอำนาจอยู่ก็ต้องรู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ เป็นธรรมดา แม้กลางดึกของคืนวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ ทหารที่ถูกส่งเข้ามาก็ถูกคนเสื้อแดงปลดอาวุธได้หมด จนเวลาตี ๔ ของวันที่ ๑๓ เมษายน เราก็พบว่าไม่มีการส่งสัญญาณไม่มีการเตือน ทหารตัดสินใจยิงประชาชนทันที (บางคนยังกินข้าวต้มอยู่ ด้วยไม่คิดว่าจะทำกันรุนแรงถึงเพียงนี้)

 

กระนั้น เราก็ยังได้เห็นความสามารถและความกล้าหาญของประชาชนมือเปล่า พวกเขาหยุดยั้งชะลอการเคลื่อนที่ยึดถนนของทหาร ตรงนี้ต้องเข้าใจนะครับว่า จริง ๆ แล้วเสื้อแดงไม่ได้ต้องการจะต่อสู้กับทหารตำรวจเลย แกนนำก็บอกมวลชนตลอดว่า พวกเขาเป็นลูกหลานชาวไร่ชาวนาเหมือนกันกับเรา ระเบิดเพลิง ก้อนหิน ท่อนไม้ เผายางรถยนต์ รถเมล์ รถแก๊ส ฯลฯ ก็เพียงแต่หยุดยั้งการเคลื่อนรุกชิงพื้นที่ของทหารชั่วคราว เพื่อให้ได้ถอยหนี มีโอกาสต่อรอง และมีโอกาสป้องกันตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้างเท่านั้น ไม่ใช่การก่อจลาจลเหมือนที่สื่อและนักวิชาการรวมหัวกันประณามแต่อย่างใด ยังดีที่ในภาวะคับขันเช่นนั้นแกนนำเสื้อแดงตัดสินใจได้ถูกต้อง เพราะถึงที่สุดแล้วผู้ที่จะสูญเสียจริง ๆ ไม่ใช่แกนนำ แต่เป็นประชาชนต่างหากที่จะบาดเจ็บล้มตายจากการสลายการชุมนุมในครั้งนี้

 

นอกจากนี้แล้วการตัดสินใจดังกล่าวยังช่วยให้ภาพขัดแย้งกับแนวโน้มที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อมาก่อนหน้านี้ ตรงที่หากการสลายชุมนุมไม่มีการทำร้ายประชาชน ไม่มีการสูญเสีย ไม่ใช้กระสุนจริงยิงประชาชน แล้วอะไรเล่ากดดันให้แกนนำต้องตัดสินใจยอมสลายการชุมนุมด้วยตัวเองก่อนที่จะเกิดอะไรขึ้นกับประชาชน ? ผู้เขียนและเพื่อนซึ่งเข้าร่วมสังเกตการณ์ชุมนุมในวันนั้น ต่างก็เห็นพ้องกันว่าควรต้องถอยเพื่อรักษาชีวิตประชาชน จึงเสนอความเห็นผ่าน "แถลงการณ์ประณามการปราบปรามประชาชนของรัฐบาลอภิสิทธิ์" ลงวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ ที่เสนอให้ "ถอย" นั้นไม่ใช่ยอมแพ้ แต่เป็นช่องทางหนึ่งที่ใช้เป็นเงื่อนไขเชิงรุกได้ ในเมื่อสื่อหลักเป็นฝ่ายตรงข้ามไปแล้ว และสื่อฝ่ายแดงก็ถูกปิด ถูกตัดสัญญาณ ไม่มีพื้นที่ที่จะพูดความจริงอีกด้านเสียแล้ว

 

๓.ข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดงเป็นสิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามไม่อาจยินยอมได้

 

หากมองจากจุดของชนชั้นนำ ข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดงเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่อาจยินยอมให้ได้ และไม่อาจให้ขบวนการขยายใหญ่ไปมากกว่านี้ แม้แกนนำเสื้อแดงจะย้ำนักย้ำหนาว่า เป้าหมายของคนเสื้อแดงหยุดอยู่ที่องคมนตรี ไม่ได้ไปไกลกว่านั้น แต่ดูเหมือนสื่อ นักวิชาการ นักการเมืองฝ่ายขวา คนเสื้อเหลือง คนเสื้อน้ำเงิน ฯลฯ หาได้เชื่อตามนั้นไม่ การชุมนุมของคนเสื้อเหลืองในช่วงรัฐบาลสมัครและสมชาย มีการโจมตีคนเสื้อแดงไว้มากในเรื่องนี้ คือสาธารณะถูกครอบด้วยมุมมองของฝ่ายพันธมิตรอยู่ก่อนแล้ว ไม่เพียงไม่เป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมาตามจรรยาบรรณของสื่อ แต่ดังที่กล่าวข้างต้นสื่อไทยกระแสหลักกลับมีส่วนร่วมปราบปรามประชาชน ด้วยการให้ความร่วมมือกับรัฐบาลและทหาร โจมตีคนเสื้อแดงด้วยข้อมูลตัดต่อและข่าวสารแบบด้านเดียว ให้พื้นที่นำเสนอมุมมองของฝ่ายรัฐบาลและทหารอย่างเต็มที่ แต่ไม่มีการสัมภาษณ์คนเสื้อแดงหรือให้แง่มุมของฝ่ายเสื้อแดงแม้แต่คนเดียวในวันนั้น

 

ก่อนที่เหตุการณ์เช้ามืดวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ จะเกิดขึ้น นายอภิสิทธิ์เสนอหน้าทางทีวีบ่อยครั้งก็มักพูดทำนองว่า ข้อเรียกร้องของเสื้อแดงเกี่ยวกับองคมนตรีนั้นสบสน ตนไม่อาจยินยอมให้ได้ ประเด็นนี้จะได้ภาพเห็นชัดขึ้นจากงานของดันแคน แมคคาร์โก ที่เสนอว่า บทบาทองคมนตรี เช่น พล.อ.เปรมนั้น คือการเป็นศูนย์กลางเครือข่ายของราชสำนัก ทำหน้าที่ในการแทรกแซงการเมือง คอยจัดระบบการเมืองให้เอื้อประโยชน์ต่อสถาบัน และบ่อนเซาะทำลายประชาธิปไตย เมื่อเห็นว่าประชาธิปไตยจะคุกคามความอยู่รอดของสถาบัน ฉะนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่สาธารณะจะแยกขาดได้อย่างที่ทักษิณกับแกนนำคาดหวัง และข้อเรียกร้องอันนี้ถูกมองว่าเป็นข้อเรียกร้องต่อสถาบันไปด้วยโดยปริยาย การเล่นงานพล.อ.เปรม แล้วบอกยังจงรักภักดีต่อสถาบัน ก็จึงไม่อาจเป็นเกราะป้องกันให้มวลชนรอดพ้นจากกระสุนปืนในเหตุการณ์ครั้งนี้

 

ตรงข้ามประเด็นนี้แหล่ะที่เป็นจุดเร่งให้การปราบปรามเกิดขึ้น และดูมีความชอบธรรมในสายตาของเหล่าชนผู้จงรักภักดี แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรแตะต้ององคมนตรีนะครับ เพียงแต่ต่อไปคงต้องชัดเจนว่าเราไม่อาจพึ่งหวังว่า การเรียกร้องหรือแยกอะไรอย่างนี้ จะทำให้รอดการปราบ อย่าเชื่อมั่นอะไรอย่างนั้น อันที่จริงสัญญาณอันตรายนี้ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่กรณีนายเนวิน ชิดชอบ ภายหลังจากเข้าพบ พล.อ. เปรม เพียง ๒ วัน ก็ออกมาตีหน้าเศร้ากล่าวหาฝ่ายเสื้อแดงว่า ละเมิด "พระราชอัธยาศัย" นอกจากนี้ยังเชื่อแน่ได้ว่านายเนวินคือผู้อยู่เบื้องหลังกลุ่มเสื้อน้ำเงินที่สกรีนคำ "ปกป้องสถาบัน" กล่าวง่าย ๆ คือ ขณะที่ฝ่ายแดงใช้ประเด็นนี้เป็นเกราะป้องกัน แต่ฝ่ายน้ำเงิน (รวมทั้งรัฐบาลและทหาร) ใช้ประเด็นนี้สำหรับเป็นไม้ตายเล่นงานอีกฝ่ายเลยทีเดียว

 

เป็นที่รู้กันว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์เป็นรัฐบาลที่ไม่มีความชอบธรรมจากการเป็นตัวแทนของประชาชนแม้แต่น้อย ผู้ที่ให้การยอมรับรัฐบาลชุดนี้ในชั้นแรก ๆ ก็คือ กลุ่มชนชั้นนำส่วนน้อยแต่มีอำนาจมากล้น ฉะนั้น จึงเป็นธรรมดาที่รัฐบาลชุดนี้จะอ้างอำนาจจากสถาบันเช่นเดียวกับรัฐบาลเผด็จการที่มาจากรัฐประหารชุดอื่น ๆ ที่เคยมีในอดีต อ้างปกป้องสถาบัน ใช้ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเล่นงานผู้ที่เห็นต่างจากตน บังคับใช้กฎหมายอย่างป่าเถื่อน (และ/หรือ "สองมาตรฐาน") เมื่อแรกเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์เข้าพบ พล.อ. เปรม และ พล.อ. เปรม ก็ให้การรับรองรัฐบาลที่ไม่มีความชอบธรรมนี้ ด้วยคำกล่าวแสดงความชื่นชมยินดีที่ว่า :

 

"ต้องขอขอบคุณนายกรัฐมนตรีและทุกคนที่มาในวันนี้ ผมมีความปิติยินดีมาก และจะจดจำน้ำใจอันดีงามของนายกรัฐมนตรีและพวกเราที่มาในวันนี้ เมื่อนายกรัฐมนตรีได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านได้พระราชทานพระบรมราโชวาทไม่ค่อยยาวเท่าไหร่ แต่ก็ชัดเจนดีว่าท่านรับสั่งอย่างไรบ้าง และนายกรัฐมนตรีได้มาพูดให้สาธารณะได้ยินว่านายกรัฐมนตรีได้รับใส่เกล้าใส่กระหม่อม เพื่อจะปฏิบัติให้บรรลุตามที่ทรงพระราชทานกระแสรับสั่ง ผมคิดว่าโจทย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั้นและชัดเจน แต่คำตอบของนายกรัฐมนตรีคงจะใช้เวลานาน และผมมั่นใจว่านายกรัฐมนตรีจะตอบโจทย์ข้อนี้ได้ ขณะนี้บ้านเมืองเรากำลังลำบาก ประชาชนไม่ค่อยมีความสุข พระองค์ท่านจึงรับสั่งเรื่องความสุข บ้านเมืองเราโชคดีที่ได้ท่านมาเป็นนายกรัฐมนตรี ผมมั่นใจว่านายกรัฐมนตรีจะแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมืองได้ด้วยความร่วมมือของคนทั้งประเทศ

ผมดีใจที่ได้นายกรัฐมนตรีชื่ออภิสิทธิ์ และคิดว่าคนไทยก็ดีใจ แต่คนไทยยังคงไม่หายกลัวเท่าไหร่ คงต้องรอดูว่านายกรัฐมนตรีจะเอาอะไรไปมอบให้เขาได้บ้าง ในระยะเวลาที่คุณอภิสิทธิ์เป็นผู้นำรัฐบาล

 ผมรู้จักคุณอภิสิทธิ์มานานพอสมควร และเข้าใจดีว่าคุณอภิสิทธิ์เข้ามาเล่นการเมืองเพื่ออะไร จึงมั่นใจว่าคุณอภิสิทธิ์จะช่วยแบ่งเบาภาระ... อย่างที่บอกแล้วว่าโจทย์นี้ยาก แต่ไม่ยากเกินกว่าจะทำได้ ดีใจที่มีพวกเราเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระ คิดว่างานนี้ไม่เบา และต้องเหนื่อยมาก ๆ"

 

อีกอย่างที่ไม่ควรลืมก็คือว่า ทหารอยู่ในฐานะพี่เลี้ยงผู้อุปถัมภ์ค้ำจุนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เพราะการกดดันของพล.อ.อนุพงษ์ ทำให้กลุ่มเนวินตัดสินใจย้ายขั้วมาสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล และเป็นที่รู้กันว่าประโยคเด็ดที่พล.อ.อนุพงษ์ ใช้ข่มขู่เนวินนั้นคือประโยคที่ว่า "รู้ไหมว่าพวกคุณกำลังสู้อยู่กับใคร ไม่มีวันชนะหรอก ...อยู่ตรงนี้" และรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็แถลงอยู่เสมอตั้งแต่วันแรก ๆ ของการจัดตั้งรัฐบาลแล้วว่า รัฐบาลจะทำหน้าที่ปกป้องสถาบันอย่างแข็งขัน มีการเล่นงานฝ่ายตรงข้ามด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่เสมอ และบทบาทของทหารที่มีต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ในช่วงจัดตั้งรัฐบาลดังกล่าวข้างต้นนั้นก็ทำให้บุคคลสำคัญ เช่น พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา, พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ, พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาต, พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในทางปฏิบัติแล้วท่านเหล่านี้ล้วนอยู่ในฐานะที่มีอำนาจมากกว่านายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ตรงนี้ก็ทำให้เชื่อแน่ได้ว่ารัฐบาลไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะสั่งการให้ทหารทำอะไรได้จริง แม้การปราบปรามประชาชนเสื้อแดงจะกลายเป็นผลประโยชน์ร่วมกันในหมู่ชนชั้นนำไปแล้วก็ตาม แต่สุเทพกับอภิสิทธิ์ก็ไม่ได้มีอำนาจและสติปัญญามากพอที่จะสั่งให้ทหารทำการปราบปรามถึงขั้นนั้นได้

 

คำถามก็คือว่า ในเมื่อรัฐบาลทักษิณยังเป็นแต่เพียง "จ๊อกกี้" ในสายตาของบุคคลระดับสูง แล้วรัฐบาลอย่างอภิสิทธิ์-สุเทพนี้จะเป็นเจ้าของม้าไปได้อย่างไร ? ข้อน่าสังเกตก็คือว่าเป็นไปได้หรือไม่ว่าเพราะผู้มีอำนาจที่แท้จริงรู้ดีว่าตนจะไม่ตกเป็นจำเลยผู้รับผิดชอบต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริง ที่เหลือหากมีอะไรหลุดรอดก็เป็นหน้าที่ของ "จ๊อกกี้" อย่างอภิสิทธิ์อย่างสุเทพที่ต้องรับไปแก้ไขตอบโต้เอาเอง! ถึงตรงนี้คงต้องกล่าวด้วยว่า เป็นความจริงทีเดียวที่ในสังคมไทยปัจจุบัน "รัฐ" ไม่ใช่ที่มาของอำนาจหลักอย่างแท้จริง แต่ "รัฐ" ถูกใช้เป็นเพียงที่มั่นสุดท้ายของความขัดแย้งและการต่อสู้ที่สำคัญ ๆ เท่านั้น

 

การปราบปรามประชาชนในครั้งนี้ก็จึงทิ้งข้อน่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า น่าจะมีบุคคลระดับสูงที่มีอำนาจสั่งทหารได้จริงเกี่ยวข้อง หรือไม่รัฐบาลก็คงได้รับ "ไฟเขียว" จากบุคคลระดับสูงกว่ารัฐบาลขึ้นไป (นอกเหนือจาก "ไฟเขียว" ที่ได้รับจากสื่ออย่างสม่ำเสมอ) อย่าลืมนะครับว่าช่วงนี้อยู่ในช่วงของการจัดระบบการเมือง เพื่อรองรับปัญหาการเปลี่ยนผ่านที่จะเกิดในอนาคต เป็นไปได้อย่างไรที่ชนชั้นนำไทยขณะนี้มืดบอดกับการจัดการปัญหาอันนี้ ถึงขนาดเอาสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นมาเป็นปัญหาก่อความขัดแย้งในปัจจุบัน ถูกต้องใช่แน่แล้วหรือว่า การเมืองแบบเผด็จการสุดขั้วนั้นจะช่วยปกปักรักษาสถาบันชั้นสูงได้ดีกว่าการเมืองระบอบประชาธิปไตย ต้องให้เสียหายอีกเท่าไหร่ถึงจะคิดได้ว่าที่ทำกันอยู่นี้น่ะผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง!?

 

กล่าวโดยสรุป หากจะพิจารณาว่าการปราบปรามประชาชนในครั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่าจะมีสาเหตุมาจากอะไรใน ๓ ประเด็นข้างต้น ก็น่าสนใจว่าประเด็นที่ ๓ ยังคงเป็นประเด็นที่น่าจะพิจารณามาเป็นลำดับแรก ประเด็นที่ ๒ ก็มีส่วนไม่น้อยที่ทำให้ฝ่ายชนชั้นนำอดรนทนไม่ได้ในที่สุด ส่วนประเด็นแรกนั้นไม่มีความเป็นไปได้เท่าไรนัก อย่างไรก็ตาม แม้เสื้อแดงจะถูกปราบจนต้องสลายการชุมนุมไปในวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ แต่อย่างน้อยที่สุดนั้นการต่อสู้ครั้งนี้เสื้อแดงก็ประสบความสำเร็จใน ๔ ประการด้วยกันดังนี้

 

๑.เสื้อแดงได้พิสูจน์ให้เห็น "ความเป็นทรราช" ของรัฐบาลอภิสิทธิ์และกลุ่มอำนาจชนชั้นนำผู้อยู่เบื้องหลัง การปราบปรามประชาชนครั้งนี้จะเป็นตราบาปของรัฐบาลชุดนี้ต่อไปอีกนาน เหตุการณ์ปราบปรามครั้งนี้ก่อให้เกิดความเจ็บแค้น ไม่พอใจในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่เพียงต่อบุคคลระดับรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังหมายถึงอีกกลุ่มอำนาจที่วางตัวอยู่เหนือรัฐบาลขึ้นไปอีกด้วย เพราะถึงอย่างไรก็ยากจะอธิบายว่าการปราบปรามประชาชนในครั้งนี้มีที่มาจากเพียงคำสั่งของนายอภิสิทธิ์ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินเท่านั้น

 

. การต่อสู้ครั้งนี้ทำให้ประชาชนระดับพื้นฐานตื่นตัวทางการเมืองอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เท่าที่สอบถามหลายคนยังใจสู้ หากเกิดการต่อสู้แบบนี้อีกก็จะเข้าร่วมอีกแน่นอน ปัญหาจึงตกอยู่ว่าในการสู้อีกครั้งนั้นจะสู้อย่างไร พลังของประชาชนจึงจะแสดงผลในทิศทางที่ถูกต้องที่ควรจะเป็นและได้รับชัยชนะในท้ายสุดเท่านั้น แนวโน้มหนึ่งก็คือการให้ความสำคัญกับสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

 

. (สืบเนื่องจาก ๒ ประการข้างต้น) ปัญหาความเหลื่อมล้ำต่ำสูงในสังคม หรือที่คนเสื้อแดงเรียก "สองมาตรฐาน" จนถึงความจำเป็นที่ต้องเรียกร้องความเท่าเทียมกัน เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจว่าเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ แม้แต่ในหมู่ฝ่ายตรงข้ามเสื้อแดง ก็เห็นความพยายามที่จะกล่าวถึงเรื่องนี้ เช่น พูดถึงกระบวนการเยียวยา การปฏิรูปการเมืองเป็นต้น ปัญหาคือเสื้อแดงเองก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะคิดหวังอะไรให้คนพวกนี้หยิบยื่นความช่วยเหลือหรือการแก้ปัญหาที่ถูกต้องอะไรได้ ยังคงเป็น "สองมาตรฐาน" อยู่ดังเดิมนั่นแหล่ะ และเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะสร้างความเสียหายให้กับรัฐบาลและกลุ่มชนชั้นนำขณะนี้อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะงั้นในท้ายสุดก็เชื่อแน่ได้ว่า ปัญหานี้จะคลี่คลายหรือถูกแก้ไขได้ลุล่วงก็แต่โดยประชาชนเองเท่านั้น

 

. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หนึ่งในข้อเรียกร้องของฝ่ายเสื้อแดง เกิดกระแสได้รับความสนใจ แต่ใครจะเป็นผู้แก้ ประเด็นอยู่ตรงนี้ รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็บอกจะพิจารณาเรื่องนี้ แต่เราต่างรู้ดีคือ "ไม่มีทางที่งาช้างจะงอกจากปาก..." พวกเขากำลังเอาเรื่องนี้มาดับกระแส ชะลอให้การแก้ไขที่แท้จริงต้องเลื่อนออกไป ไม่ก็ใช้เรื่องนี้เป็นประเด็นป้องกันไม่ให้เกิดกาชุมนุมใหญ่อีก ในอนาคตเรื่องนี้จะตกเป็นภาระหน้าที่ของขบวนการประชาธิปไตยอย่างไม่ต้องสงสัย

 

นอกจากนี้แล้ว ผลจากการชุมนุมใหญ่ที่เห็นได้ชัดเจนอีกประการคือ หลังสลายชุมนุมผ่านไปแล้วรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ยังไม่กล้าจะประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยทันที แถมยังปิดวิทยุชุมชน ปิดสถานี D-Station ปิดเวบไซต์ของฝ่ายเสื้อแดง ทั้งที่รัฐบาลแถลงแล้วว่าได้จัดการนำความสงบกลับคืนมาเรียบร้อยแล้ว แต่กลับต้องสาละวนกับการตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามผ่านสื่อแบบวันต่อวัน แต่ถึงอย่างไรข้อเท็จจริงของ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ ก็จะไม่เพียงทำให้บุคคลในรัฐบาลชุดนี้หลุดจากตำแหน่งไปเท่านั้น แต่จะรับโทษในฐานะฆาตกรมือเปื้อนเลือดหรือไม่ยังต้องรอดูกันต่อไป...

 

(สรุปของสรุป) มองในแง่ประวัติศาสตร์แล้ว เหตุการณ์นี้จะไม่เป็นเหมือน ๑๔ ตุลา' และพฤษภา' ๓๕ เพราะชัยชนะของประชาชนจะไม่ใช่ได้มาในเวลาอันสั้น และก็ไม่เป็นเหมือนแม้แต่เหตุการณ์ ๖ ตุลา' ที่พ่ายแพ้เพราะถูกปราบถูกฆ่า ไม่มีป่า ไม่มีพรรค ให้ถอยหนีไปพึ่งพิง แม้จะมีชนบทอันไพศาลอยู่ก็ตาม แต่ครั้งนี้จะเป็นชัยชนะในการต่อสู้ระยะยาว ระหว่างนี้เราทุกคนต่างจะได้เรียนรู้ร่วมกัน หาทางออกให้ได้ในที่สุดว่า สังคมที่มีความยุติธรรมและเท่าเทียมกันอย่างที่เราค้นหาและต่อสู้เพื่อได้มานั้นเป็นแบบไหน เรากำลังเริ่มประวัติศาสตร์ใหม่กันจริง ๆ ประวัติศาสตร์ของการต่อสู้เพื่อขับเคลื่อนประวัติศาสตร์ ขับเคลื่อนประชาธิปไตยไทยให้ก้าวเดินไปในทิศทางที่ควรจะเป็น... ก็เท่านั้นเองมิใช่หรือ ?

 

 


http://www.prachatai.com/05web/th/home/16612

โดย : ประชาไท   วันที่ : 26/4/2552


Windows Live™ Hotmail®:…more than just e-mail. Check it out.

สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์อาเซียนจากการประชุมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินอาเซียน

สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์อาเซียนจากการประชุมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินอาเซียน 

โสภณ พรโชคชัย [1]

 

หมายเหตุ: ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ AREA บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ร่วมประชุมสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินอาเซียน ที่เมืองฮอยอัน ทางภาคกลางเวียดนาม โดยในช่วงเช้าวานนี้ (27 เม.ย.) ได้มีการนำเสนอภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ของประเทศต่างๆ ในอาเซียน ดร.โสภณ ได้ทำการสรุปสถานการณ์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้:

 

 

บรูไน

บรูไนเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่มีประชากรเพียง 383,000 คน มีขนาดเพียง 5,765 ตร.กม. หรือประมาณ 3 เท่าของขนาดของกรุงเทพมหานครเท่านั้น ที่ดินสำหรับภาคเอกชนมีเพียง 4% ของทั้งประเทศ และประมาณ 3% ใช้เพื่อการเกษตรกรรม

 

สำหรับลักษณะของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้น ตลาดที่อยู่อาศัยในบรูไน เป็นพวกบ้านเดี่ยวขาด 125 ตร.ว. และมีขนาดอาคารประมาณ 200 ตร.ม. อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เน้นพัฒนาอาคารพาณิชย์ 3 ชั้นแบบประเทศไทยเป็นหลัก โดยมีราคาเฉลี่ยประมาณ 22 ล้านบาท อาคารสำนักงานก็มีบ้านเหมือนกันแต่ไม่มากนัก โดยค่าเช่าเฉลี่ยตกเป็นเงินประมาณ 700 บาทต่อตารางเมตร

 

ในปี 2552 นี้คาดว่า อาคารพาณิชย์จะมีราคาลดลง คาดว่าค่าเช่าจะลดลงเกินหนึ่งในสาม ความต้องการที่อยู่อาศัยยังมีอยู่แต่จะมีขนาดเล็กลงตามภาวะเศรษฐกิจ บรูไนกำลังจะมีพระราชบัญญัติผู้ประเมินค่าทรัพย์สินและนายหน้า เพื่อควบคุมนักวิชาชีพให้บริการที่ดีต่อสังคม ซึ่งถือว่าก้าวหน้ากว่าของไทยเพราะในประเทศไทยยังให้สมาคมซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพและคู่แข่งกันเองควบคุมกันเองเป็นสำคัญ

 

 

มาเลเซีย

เศรษฐกิจของมาเลเซียในปี 2552 คงจะลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก โดยอัตราการเติบโตจะติดลบถึง 2% อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของมาเลเซียก็ยังถือว่าค่อนข้างแข็งแกร่ง

 

ก่อนหน้าวิกฤติปี 2552 พื้นที่อาคารสำนักงาน 100,000 ตร.ม. และมีอัตราผลตอบแทนประมาณ 7% แต่ขณะนี้ราคาลดลงประมาณ 10% และค่าเช่าก็ลดลงบ้าง สำหรับพื้นที่ค้าปลีก และโรงแรม ก็อ่อนตัวลงเพราะนักท่องเที่ยวน้อยลง ในส่วนของอาคารชุดพักอาศัยราคาแพงใจกลางเมือง ซึ่งมีราคาค่อนข้างจะแพงเกินไป จึงมีอัตราผลตอบแทนประมาณ 5% และคาดว่าในปี 2552 จะมีอัตราผลตอบแทนลดลงเหลือเพียง 2% เท่านั้น

 

ในด้านการประเมินค่าทรัพย์สินมีความก้าวหน้ากว่าไทยมาก โดยมีคณะกรรมการควบคุมนักวิชาชีพผู้ประเมินค่าทรัพย์สินและนายหน้าตามพระราชบัญญัติผู้ประเมินค่าทรัพย์สินและนายหน้าเกิดขึ้นมาประมาณ 20 ปีแล้ว และมาตรฐานวิชาชีพก็กำลังปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัยขึ้นเรื่อย ๆ มาเลเซียอาจถือเป็นแบบอย่างสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพอสังหาริมทรัพย์ในไทย

 

 

เวียดนาม

เวียดนามยังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อเนื่อง โดยในปี 2552 นี้คาดว่าจะเติบโตประมาณ 6% ซึ่งสูงพอ ๆ กับอินโดนีเซีย ในขณะที่ประเทศอื่นในภูมิภาคนี้มีการเติบโตในทางติดลบ อย่างไรก็ตามภาวะเงินเฟ้อก็ค่อนข้างสูง โดยปกติจะเป็นประมาณ 2% ต่อเดือน หรือปีละประมาณ 22% ซึ่งถือว่าสูงมาก แต่นับแต่วิกฤติเศรษฐกิจโลกในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 อัตราเงินเฟ้อกลับต่ำมากจนแทบเท่ากับศูนย์

 

ในรายละเอียดของนครโฮจิมินห์พบว่า ค่าเช่าพื้นที่สำนักงานตกเป็นเงินประมาณ 1,700 บาท ต่อตารางเมตรต่อเดือน หรือสูงกว่าไทยประมาณ 3 เท่า! ทั้งนี้เพราะมีอุปทานค่อนข้างจำกัด อย่างไรก็ตามราคาที่อยู่อาศัยแบบอาคารชุดราคาแพงราคาลดลงประมาณ 5% แต่สำหรับอาคารที่ยังก่อสร้างอยู่ ราคาบางแห่งลดลงถึง 30% นอกจากนี้ในส่วนของอพาร์ทเมนท์และโรงแรม สถานการณ์ก็ยังดี มีอัตราการครอบครองสูงมาก แต่ค่าเช่าบางแห่งก็อาจลดลงไปบ้างเพื่อดึงดูดผู้เช่า

 

ในส่วนของวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สิน พบว่า งานประเมินลดน้อยลงมาก เพราะรัฐบาลก็ลดค่าใช้จ่ายลง และมีบริษัทผู้ประเมินค่าทรัพย์สินมากขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันกันค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินในเวียดนามมีความก้าวหน้าเร็วมาก ปัจจุบันมีมาตรฐานการประเมินค่าทรัพย์สินถึง 12 ด้านแล้ว โดยในการนี้ผู้เขียนเคยเป็นที่ปรึกษากระทรวงการคลังเวียดนามในการวางแนวทางการพัฒนาวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินในเวียดนามด้วย

 

 

สิงคโปร์

สิงคโปร์ยิ่งมีขนาดเล็กว่าไทยคือมีขนาดเพียง 710 ตร.กม. แต่มีประชากรถึง 4.84 ล้านคน แต่ประมาณ 1 ล้านคนเป็นคนต่างประเทศที่มาทำงานในสิงคโปร์ อาจกล่าวได้ว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์ขึ้นอยู่กับประเทศเพื่อนบ้าน และเศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญ ในเงื่อนไขนี้ คาดว่าสิงคโปร์จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบติดลบถึง 69%

 

สิงคโปร์ก่อนหน้าวิกฤติ 2551 นั้น ราคาอสังหาริมทรัพย์ขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เช่น ที่อยู่อาศัยเพิ่มราคาขึ้นไปถึง 700,000 บาทต่อ ตร.ม. ส่วนค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีกเพิ่มขึ้นเป็น 6,250 บาทต่อ ตร.ม. อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดวิกฤติในช่วงเดือนสิงหาคม 2551 ราคาที่อยู่อาศัยราคาแพงชานเมืองลดลงถึง 14% ในช่วงไตรมาส 1/2552 สำหรับที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ของประเทศ (80%) ที่สร้างโดยการเคหะแห่งชาติสิงคโปร์ ราคายังลดลงน้อยนัก

 

ในปี 2552 นี้คาดว่าราคาอสังหาริมทรัพย์อาจจะตกต่ำลงไปเหลือต่ำกว่าสองในสาม โดยเฉพาะทรัพย์สินที่เคยมีราคาขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งเป็นสินค้าที่มีการเก็งกำไรสูง โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัยราคาแพง

 

โดยที่มีการเปลี่ยนมืออสังหาริมทรัพย์กันมาก (ไม่ว่าจะเพราะเศรษฐกิจหรือไม่ก็ตาม) ในขณะนี้ จึงทำให้ผู้ประเมินค่าทรัพย์สินมีงานทำ จึงเกิดมีบริษัทประเมินเพิ่มขึ้น 10-20% ส่วนค่าประเมินค่อนข้างถูกคือประมาณ 10,000 บาท สำหรับห้องชุด

 

 

อินโดนีเซีย

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกบ้าง แต่ไม่มากนักเพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2551 ยังสูงถึง 6.1% ซึ่งแทบจะไม่ได้ลดลงจากปี 2550 นอกจากนี้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศยังเพิ่มขึ้นเป็นเงินประมาณ 525,000 ล้านบาท

 

ในกรุงจาการ์ตามีอาคารสำนักงาน 3.8 ล้าน ตร.ม. ซึ่งเท่ากับครึ่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แต่มีอัตราว่างเพียง 10% ค่าเช่าสำนักงานใจกลางเมืองตกเป็นเงินประมาณ 450 บาทเท่านั้น สำหรับพื้นที่ค้าปลีกใจกลางเมืองมีค่าเช่าเดือนละ 2,100 บาท ส่วนตลาดอาคารชุดราคาแพงมีอยู่ประมาณ 63,250 หน่วย และส่วนมากขายได้แล้ว และมีการครอบครองกันถึง 80% และมีราคาเฉลี่ยเป็นเงิน 47,000 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งถูกกว่าของไทยเล็กน้อย

 

ในด้านนักวิชาชีพประเมิน มีผู้ประเมินค่าทรัพย์สินประมาณ 3,000 ราย รวมบริษัทประเมิน 120 แห่ง ภายในปี 2552 นี้ บริษัทประเมินจะถูกยุบทั้งหมด และผู้ประเมินจะทำงานเป็นรายบุคคลเช่นเดียวกับทนายความ ผู้ประเมินยังสามารถรวมตัวกันเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด การเปลี่ยนแปลงนี้มีวัตถุประสงค์ผู้ประเมินมีความเป็นอิสระ ไม่ต้องถูกครอบงำโดยเจ้าของบริษัท นอกจากนี้อินโดนีเซียยังมีการประกาศมาตรฐานการประเมินค่าทรัพย์สินเมื่อปี 2550 ซึ่งถือว่าเป็นความก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง

 

 

บทสรุป

อาจกล่าวได้ว่า สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศอาเซียนล้วนได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกา และยังไม่เห็นจุดสิ้นสุดของสถานการณ์แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจมากและมีจำนวนประชากรมาก โดยเฉพาะเวียดนามและอินโดนีเซีย ยังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณ 6% ต่อปี ทั้งนี้อาจรวมทั้งฟิลิปปินส์ ซึ่งมีประชากรถึง 10% ออกไปทำงานต่างประเทศและส่งเงินเข้าไปหล่อเลี้ยงประเทศของตน

 

อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศที่ไม่มีฐานประชากร (Hinterland) เช่น สิงคโปร์ การเติบโตจะกลับติดลบ ส่วนในกรณีประเทศไทย ความจริงไม่น่าจะเลวร้ายมากนัก แต่เนื่องเพราะการเมือง ซึ่งยุ่งยากมาตั้งแต่รัฐประหารเมื่อ พ.ศ.2549 จนถึงเหตุการณ์อื่น ๆ ไล่มาจนถึงปัจจุบัน จึงทำให้สถานการณ์ของไทยก็ค่อนข้างตกต่ำเช่นกัน ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำ

 

การสร้างมาตรฐานและจรรยาบรรณของนักวิชาชีพอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนการควบคุมผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค อาจถือเป็นหนทางพัฒนาระบบตลาดอสังหาริมทรัพย์ให้มีความเข้มแข็ง ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในตลาดและมีการซื้อขายต่อเนื่องแม้จะมีภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงก็ตาม

 

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

[1] ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) เป็นประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ AREA บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส




http://www.prachatai.com/05web/th/home/16633

โดย : ประชาไท   วันที่ : 28/4/2552


Rediscover Hotmail®: Now available on your iPhone or BlackBerry Check it out.

WHO เพิ่มระดับเตือนภัย หวัดหมูระดับ 4 แพร่จากคนสู่คน

WHO เพิ่มระดับเตือนภัย หวัดหมูระดับ 4 แพร่จากคนสู่คน 

สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน วันนี้ (28 เม.ย.) ว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ปรับระดับการเตือนภัยโรคไข้หวัดหมู จากระดับ 3 เป็นระดับ 4 แสดงถึงความสามารถในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากคนสู่คน และกระจายต่อไปยังชุมชน การตัดสินใจดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากการประชุมฉุกเฉินของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ ที่ใช้เวลาหลายชั่วโมง ในการหารือว่า ควรมีการปรับเพิ่มระดับการเตือนภัย จากระดับ 3 หรือไม่ ขณะที่เชื้อไข้หวัดหมูได้คร่าชีวิตประชาชนไปแล้ว 149 คน ในเม็กซิโก และแพร่ขยายไปยังสหรัฐฯ แคนาดา รวมถึงในยุโรป

 

นางเจ เน็ท นาโปลิตาโน รัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายใน กล่าวเมื่อวันจันทร์ ตามเวลาท้องถิ่น ว่า การปรับเพิ่มระดับการเตือนภัยดังกล่าว แสดงถึงการเผชิญกับภาวการณ์แพร่ระบาดอย่างหนักของเชื้อไข้หวัดหมู ที่มีจุดเริ่มต้นจากเม็กซิโกทั้งนี้ WHO ระบุว่า ในสหรัฐฯ มีการยืนยันถึงผู้ติดเชื้อ 40 คน เม็กซิโก 26 คน แคนาดา 6 คน และสเปน 1 คน นอกจากนี้ ยังมีการยืนยันว่ามีผู้ติดเชื้อมากกว่า 2 คน ในสก็อตแลนด์

ส่วน ที่เม็กซิโก มีการรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 149 คน จากการติดเชื้อไข้หวัดหมู แม้ว่ายังไม่มีการยืนยันในรายงานดังกล่าวก็ตาม ขณะที่มีประชาชนอีก 2,000 คน ที่อยู่ระหว่างการเฝ้าดูอาการ

 

นอกจากนี้ นายนิโคลา สเตอร์เจียน รมว.สาธารณสุขของสก็อตแลนด์ในสหราชอาณาจักรอังกฤษแถลงเมื่อ 27 เม.ย.ว่า จากผลการตรวจเชื้อยืนยันแล้วว่าชาย 2 คนที่ีมีอาการไข้และถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลเมืองแอร์ดรี ใกล้เมืองกลาสโกว์ ในสก็อตแลนด์ หลังเดินทางกลับจากเม็กซิโก ติดเชื้อไข้หวัดหมูจริงแต่ยังไม่เสียชีวิต นับเป็นผู้ติดเชื้อ 2 รายแรกในสหราชอาณาจักรอังกฤษ และเป็นชาติที่ 2 ในยุโรปถัดจากสเปน

 

ด้าน นายไมเคิล บลูมเบิร์ก นายกเทศมนตรีนิวยอร์ก แถลงว่า พบผู้ติดเชื้อท่ีได้รับการยืนยันหรือสงสัยว่าติดเชื้อไข้หวัดหมูแล้วอย่าง น้อย 45 ราย ในมหานครนิวยอร์กที่เดียว โดยผู้ติดเชื้อทั้งหมดอยู่ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในย่านควีนส์หลังนักเรียน กลุ่มหนึ่งเดินทางกลับจากเม็กซิโก

 

นายบลูมเบิร์ก เผยด้วยว่า ยอดผู้ติดเชื้ออาจพุ่งขึ้นเกิน 100 คน ขณะที่การตรวจเชื้อเด็กนักเรียนดำเนินอยู่ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขท้องถิ่นยังรายงานว่า โรงเรียนเซนต์ เมลส์ แคธอลิก สกูล ในย่านแฟร์ โอ๊คส์ ชานเมืองซาคราแมนโตในรัฐแคลิฟอร์เนีย ถูกสั่งปิดไม่มีกำหนด หลังนักเรียนคนหนึ่งล้มป่วยมีอาการคล้ายโรคไข้หวัดหมู

 

ส่วน โฆษกของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหรัฐฯ (ซีดีซี) แถลงว่า ซีดีซีได้นำยาต้านไวรัสในคลังสำรองของรัฐบาลกลางถึง 11 ล้านชุดหรือ 25 เปอร์เซ็นต์ออกมาแจกจ่ายให้รัฐต่างๆ เพื่อต่อสู้กับไวรัสไข้หวัดหมูแล้ว รวมทั้งรัฐนิวยอร์ก แคลิฟอร์เนีย และเท็กซัส

 

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์




http://www.prachatai.com/05web/th/home/16640

โดย : ประชาไท   วันที่ : 28/4/2552


Windows Live™ SkyDrive™: Get 25 GB of free online storage. Check it out.

เครือข่ายเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้: พ่อแม่ของเด็กสองภาษา คุยกันด้วยภาษาอะไร ต่อหน้าลูก



 

ข้อความถึงสมาชิกทั้งหมดของ เครือข่ายเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้

พ่อแม่ของเด็กสองภาษา คุยกันด้วยภาษาอะไร ต่อหน้าลูก
คลิปนี้มีคำตอบ

http://go2pasa.ning.com/video/2456660:Video:27965

เข้าร่วมเครือข่ายเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้ : http://go2pasa.ning.com

--
To control which emails you receive on เครือข่ายเด็กสองภาษา พ่อแม่สร้างได้, go to:
http://go2pasa.ning.com/profiles/profile/emailSettings

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

คมนาคมสั่งขสมก. จัดงบเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน ต้องละเอียด สามารถชี้แจงเหตุผลครม.ได้

สั่งขสมก.แจงข้อมูลรถเมล์ วงเงินสูงกว่ารัฐประเมินไว้

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552
คมนาคมสั่งขสมก. จัดงบเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน ต้องละเอียด สามารถชี้แจงเหตุผลครม.ได้
 

นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมจัดทำแผนฟื้นฟูขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้สั่งให้ขสมก. จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันให้ละเอียด เนื่องจากพบว่าวงเงินที่ขสมก. ขอมาสูงกว่าที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ ตามที่พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ตั้งข้อสังเกตไว้ประมาณ 7,000 ล้านบาท ครม.ได้อนุมัติวงเงินที่จะใช้ในช่วงระยะเวลา 10 ปี ประมาณ 6.2 หมื่นล้านบาท แต่ขสมก. เสนอมาถึง 6.9 หมื่นล้านบาท

ดังนั้นขสมก. จะต้องมีเหตุผลและรายละเอียดรองรับการดำเนินการครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการชี้แจงต่อสาธารณชนและที่ประชุมครม. อีกทั้งในเรื่องดังกล่าวทางสำนักงานงบประมาณ กระทรวงการคลังได้ตั้งข้อสังเกตไว้ตั้งแต่แรกเช่นกัน

ด้านนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานกรรมการขสมก. กล่าวว่า วงเงินโครงการเช่ารถโดยสารเอ็นจีวี 4,000 คัน ซึ่งกำหนดไว้ 6.9 หมื่นล้านบาทนั้น เป็นวงเงินที่สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่ได้เพิ่มขึ้นจากงบประมาณเดิม

ทั้งนี้การที่ครม. อนุมัติวงเงิน 6.2 หมื่นล้านบาทนั้น เกิดความคลาดเคลื่อน เพราะตัดรายการด้านไอทีบางอย่างออกไป ซึ่งเป็นการตัดที่ซ้ำซ้อนกัน

ส่งผลให้วงเงินโครงการต่ำกว่าความเป็นจริง โดยขสมก. จะชี้แจงรายละเอียดและทำความเข้าใจกับกระทรวงคมนาคม ก่อนเสนอให้ครม. พิจารณาต่อไป

นอกจากนี้ ขสมก. จะเสนอให้ครม. พิจารณาเพิ่มเติมใน 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรก ขอหลักการเพื่อขอรับการชดเชยบริการเชิงสังคม หรือพีเอสโอ โดยจะเสนอขอใช้กับรถโดยสารทุกประเภท จากเดิมที่รัฐบาลเตรียมจะชดเชยพีเอสโอเฉพาะรถโดยสารธรรมดาเท่านั้น

ประเด็นสุดท้าย ขอใช้วิธีการเช่าที่ดิน เพื่อจัดทำอู่จอดรถ จากเดิมที่ครม. ให้ใช้วิธีซื้อหรือเช่าซื้อที่ดิน เพราะขสมก. มีปัญหาการเงิน จึงไม่สามารถจัดซื้อได้ ส่วนการเช่าซื้อไม่สามารถดำเนินการได้เพราะผิดระเบียบ
 
http://www.posttoday.com/business.php?id=44403



Rediscover Hotmail®: Get quick friend updates right in your inbox. Check it out.

ทนายผู้เสียหายสลายพันธมิตรถอนฟ้องเหตุ 7ตุลาฯ 51อ้างสมานฉันท์

ทนายคดีสลายพธม.ขอถอนฟ้อง

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552 14:26
ทนายผู้เสียหายสลายพันธมิตรถอนฟ้องเหตุ 7ตุลาฯ 51อ้างสมานฉันท์
 

ที่ศาลอาญาวันนี้ ผู้พิพากษาได้ออกนั่งบัลลังก์ นัดไต่สวนมูลฟ้องคดีหมายเลขดำที่ อ.4142/2551 ที่ นายสิทธิพร โพธิโสตา อาชีพทนายความ ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้เสียหายจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ที่บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา และกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 ที่ผ่านมา เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี, พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. , พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร., พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. , พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. เป็นจำเลยที่ 1- 5 ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีร่วมสั่งการให้มีการสลายการชุมนุมจนมีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต
          
วันนี้ทนายความจำเลยเดินทางมาศาลเพื่อเตรียมการซักค้านพยาน แต่ปรากฏว่า นายสิทธิพรโจทก์ ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง พล.ต.อ.พัชรวาท จำเลยที่ 2 , พล.ต.ท.สุชาติ จำเลยที่ 4 และพล.ต.ต.อำนวย จำเลยที่ 5 ไปเมื่อวันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา หลังจากได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องนายสมชาย จำเลยที่ 1 ไปตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค.51 และถอนฟ้อง พล.ต.อ.จงรัก จำเลยที่ 3 ไปเมื่อวันที่ 27 ก.พ.52 ซึ่งการถอนฟ้องโจทก์ระบุว่าไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีต่อไป และเพื่อความสมานฉันท์ และความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ศาลสอบถามฝ่ายจำเลยไม่คัดค้านจึงอนุญาตให้ถอนฟ้อง และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
          
มีรายงานข่าวระบุว่า ทนายความคนดังกล่าวมีความสนิทสนมกับ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น.และถูกมองว่านำคดีดังกล่าวมาฟ้องเพื่อหวังให้ ป.ป.ช.ยุติการไต่สวนนายตำรวจที่เกี่ยวข้องกับการใช้กำลังสลายการชุมนุม ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ.2542 มาตรา 86 ได้บัญญัติ ห้ามไม่ให้ ป.ป.ช.รับคำกล่าวหาที่เกี่ยวกับเรื่องที่ศาลรับฟ้องในประเด็นเดียว.


Rediscover Hotmail®: Now available on your iPhone or BlackBerry Check it out.

คกก.ภาพยนตร์ฯแบนหนัง Zack and Miri หวั่นเยาวชนเลียนแบบ

คกก.ภาพยนตร์ฯแบนหนัง Zack and Miri หวั่นเยาวชนเลียนแบบ
ข่าววันที่ 21 เมษายน 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ

คกก.ภาพยนตร์ฯแบนหนัง Zack and Miri หวั่นเยาวชนเลียนแบบ

สยามรัฐ ศิลปวัฒนธรรม 21 เม.ย. นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ มีการพิจารณาภาพยนตร์เรื่อง Zack and Miri  make a pormo จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งคณะกรรมการได้พิจารณาแล้วไม่อนุญาตให้เผยแพร่ในประเทศไทย เนื่องจากขัดต่อศีลธรรมอันดีตามบทบัญญัติมาตรา 28 แห่งพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 2551 จึงทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวขออุทธรณ์ต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาและให้ความเห็นด้านกฎหมายและด้านวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่ง ตามพ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ ซึ่งมีนายโกเมน ภัทรภิรมย์เป็นประธาน ทั้งนี้คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวมีความเห็นว่าคำอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น เห็นสมควรไม่อนุญาตให้นำภาพยนตร์ดังกล่าวเผยแพร่ในประเทศไทย เนื่องจากคำพูด เนื้อหานั้นหมิ่นเหม่เกินไปสำหรับสังคมไทย ยิ่งตอนนี้มีกระแสคลิปวิดิโอที่กำลังแพร่หลาย อาจทำให้เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อเยาวชนได้

         ด้าน นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดวธ. กล่าวว่า เนื้อหาของหนังบางตอนเป็นการสอนให้คนสร้างหนังโป๊ โดยตัวเอกของเรื่องไม่มีเงินจ่ายค่าน้ำค่าไฟ จึงรวมตัวกับกลุ่มเพื่อนๆ ถ่ายหนังโป๊ เพื่อออกจำหน่ายหาเงิน ดังนั้นคณะกรรมการจึงมีมติว่าภาพยนตร์ดังกล่าวไม่เหมาะสมกับประเทศไทย จบ
 
  รูปประกอบข่าว
http://www.siamrath.co.th/UIFont/NewsDetail.aspx?cid=71&nid=36594


Windows Live™ SkyDrive™: Get 25 GB of free online storage. Check it out.