วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

ร่วมลงนาม ปกป้องแม่น้ำโขงจากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ



 

---------------------------

ร่วมลงนาม ปกป้องแม่น้ำโขงจากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ

คุณรู้จักเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไหม?


ในบทความเรื่อง "ความอับจนของ Trade-Off" ตีพิมพ์ในเนชั่นสุดสัปดาห์ อ.เกษียร เตชะพีระ เขียนไว้ว่า 

"ในบรรดาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำร่วม ๓๐ แห่งที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สร้างขึ้นในรอบ ๔๐ ปีที่ผ่านมา เขื่อนปากมูลเป็นแห่งเดียวที่มีการศึกษาประเมินผลหลังโครงการแล้วเสร็จ (post-project evaluation) อย่างจริงจังเต็มรูปแบบโดยทีมนักวิจัยหลายสถาบันของคณะกรรมการเขื่อนโลก

พอศึกษาเข้าก็พบว่าเขื่อนปากมูลไม่เพียงแต่ทำให้ชาวบ้านกว่าหกพันครัวเรือนเดือดร้อน ปลา ๑๖๙ พันธุ์กระทบกระเทือนโดยในจำนวนนี้ ๕๖ พันธุ์จับไม่ได้อีกเลย ป่าไม้ พืชผักเก็บกินได้ ๙๕ ชนิด และสมุนไพรนับร้อยอย่างริมฝั่งถูกน้ำท่วมจมหมดเท่านั้น หากคิดในเชิงเซ็งลี้ธุรกิจล้วน ๆ เขื่อนปากมูล ยังเป็น กิจการที่ต้นทุนหายกำไรหด ขาดทุนย่อยยับป่นปี้ชนิดทำยังไงก็ไม่มีทางเรียกคืนได้ถึง ๑๗๗ ล้านดอล ล่าร์สหรัฐฯ หรือ ๖,๗๒๖ ล้านบาท

เท่ากับพวกเราคนไทย ๖๑ ล้านคนต้องควักกระเป๋าเสียเงินค่าโง่ที่สร้างเขื่อนปากมูลให้ กฟผ. เฉลี่ย คนละ ....อะแฮ่ม ... ๑๑๐ บาทกับอีกหนึ่งสลึง"

อ่านบทความเต็มได้ที่นี่ค่ืะ 


และไม่นานมานี้ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง "เขื่อน-มลพิษ-ภาวะโลกร้อน ตัวการใหญ่ก่อปัญหา "ภัยแล้ง" โดยมีเนื่อความเกี่ยวข้องกับรายงานที่ WWF องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดองค์กรหนึ่งของโลกได้เปิดเผยเนื่องในวันน้ำโลก 22 มี.ค. 

เนื้อความบางส่วนกล่าวไว้ว่า

(รายงานฉบับนี้) "นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ขั้นวิกฤตและน่าเป็นห่วง ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่ต้องอาศัยสายน้ำในการทำมาหากิน ดำรงชีวิตและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ในรายงานฉบับนี้ยังระบุถึงสาเหตุสำคัญของความเสื่อมโทรมและแห้งขอดของแม่น้ำ ทั้ง 10 สาย ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิโลกที่เปลี่ยนแปลงไป มลพิษ และการสร้างเขื่อน

"โดยแม่น้ำ 10 สายที่รายงานกล่าวถึงเป็นแม่น้ำในทวีปเอเชียกว่า 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำแยงซีในจีน แม่น้ำโขงในลาว แม่น้ำสาละวินในพม่า แม่น้ำคงคาในอินเดีย และแม่น้ำอินดุสในปากีสถาน

"ขณะที่ปัจจุบันมี ประชากรกว่า 41% ของโลกที่ต้องดำเนินชีวิตและต้องพึ่งพาสายน้ำ แต่ในอนาคตซึ่งเหลือเวลาอยู่อีกไม่มาก แม่น้ำที่ผู้คนใช้จะเหลือน้ำน้อยลงและเกิดสงครามแย่งชิงทรัพยากรน้ำจากผู้ ที่อยู่อาศัยปลายน้ำกับต้นน้ำอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้"

อ่านบทความเต็มได้ที่นี่

ร่วมกันลงนาม (ใช้เวลาไม่เกิน 2 นาที)
เพื่อปกป้องแม่น้ำโขงจากการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ 11 แห่ง


อ้างอิง

mail ; จากเครือข่ายประชาสังคมไทยเพื่อแม่น้ำโขง


    ลงนามทางเว็บไซด์ได้ที่นี่

    Subject: ร่วมลงนาม ปกป้องแม่น้ำโขง

    เรียนทุกท่าน โปรดช่วยส่งต่อกลุ่มเพื่อน หรือบุคคลที่ท่านรู้จักเพื่อลงนามปกป้องแม่น้ำโขงร่วมลงนาม ปกป้องแม่น้ำโขง เขียนถึง นายกรัฐมนตรีไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

    เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศเหล่านี้รักษาแม่น้ำโขงให้ไหลอย่างอิสระ


    ขอแสดงความนับถือ


    เครือข่ายประชาสังคมไทยเพื่อแม่น้ำโขง
    (Thai People's Network for Mekong - TPNM) (เข้าที่นี่)
      
    และ
    พันธมิตรเพื่อปกป้องแม่น้ำโขง
    (Save the Mekong Coalition) (เข้าที่นี่)
     

     

    แนะนำเพิ่มเติม

    o Blog                    

    o Photos


          พันธมิตรเพื่อปกป้องแม่น้ำโขง
          (Save the Mekong Coalition) ;
          (เข้าที่นี่ค่ะ)

            (สามารถเลือกอ่านได้ 7 ภาษาค่ะ)

            หมวดหมู่: ธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งแวดล้อม
            คำสำคัญ: save the mekong  พันธมิตรเพื่อปกป้องแม่น้ำโขง  เครือข่ายครูโยคะ  เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ
            สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
            สร้าง: ศ. 24 เม.ย. 2552 @ 22:47   แก้ไข: ส. 25 เม.ย. 2552 @ 10:29   ขนาด: 21648 ไบต์


            ไม่มีความคิดเห็น:

            แสดงความคิดเห็น