วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ระหว่างเวลา 13.30 น.-16.30 น.

การเสวนาเนื่องในวาระครบรอบ 12 ปี ของวิทยาลัยนวัตกรรม ธรรมศาสตร์ เรื่อง นวัตกรเชิงอุปนัย
โดย : วิทยาลัยนวัตกรรม มธ. เมื่อ : 3/02/2009 10:02 AM
เสวนา เรื่อง นวัตกรเชิงอุปนัย ( Inductive Innovator) โดย อาจารย์ ดร.ธีระ ชินภัทร รามเดชะ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารเทคโนโลยี จะร่วมนำการเสวนาโดยอาศัยหลักการในการพัฒนาระบบสารสนเทศ คือ การออกแบบระบบที่ดี และสามารถนำไปดำเนินการพัฒนาเพื่อสนองตอบต่อวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะการนำฐานข้อมูลสำหรับระบบสารสนเทศเพื่อการประมวลผลมาประยุกต์ใช้ เพื่อการนำประสบการณ์เชิงนวัตกรรมของนักบริหารในการคิด ริเริ่ม สร้างสรรค์ มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

การออกแบบฐานข้อมูลในที่นี้จะมีความหมายครอบคลุมถึงการออกแบบฐานข้อมูลในระดับแนวคิด (conceptual level) และการออกแบบฐานข้อมูลในระดับภายในหรือเชิงกายภาพด้วย (internal level หรือ physical level) อย่างไรก็ตาม การออกแบบฐานข้อมูลที่ดีและสมบูรณ์นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างทำได้ยาก ปัจจัยสำคัญในการออกแบบฐานข้อมูล คือ ความสามารถในการสรรหาวิธีเพื่อแก้ไขปัญหานั้น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยทั่วไปการออกแบบฐานข้อมูลเพื่อนำมาใช้งานภายในองค์กรสามารถจำแนกได้ 2 วิธี คือ วิธีอุปนัย (inductive approcah) และวิธีนิรนัย (deductive approach) การออกแบบฐานข้อมูลด้วยวิธีอุปนัยเป็นการออกแบบฐานข้อมูลด้วยการเก็บรวบรวม ข้อมูลและ/หรือโปรแกรมที่มีการใช้งานอยู่แล้วภายในหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลขององค์กร ซึ่งการใช้วิธีการเดียวกันนี้กับการสร้างสรรค์บุคลากรที่เป็นนักคิดด้านวัตกรรม หรือ นวัตกร ก็คือการศึกษาจากประสบการณ์การทำงานของแต่ละบุคคล แล้วนำมาประมวลผล เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ ก่อนนำไปสร้างตัวแบบที่มีประสิทธิภาพ


ที่มา

เพื่อส่งเสริมงานวิจัยของอาจารย์ และเผยแพร่ความรู้ ความชำนาญ ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ให้ประโยชน์ทางวิชาการ อันสอดรับกับวิสัยทัศน์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นสถาบันวิชาการชั้นนำของประเทศในระดับนานาชาติ ที่มีความเป็นเลิศในการผลิตบัณฑิต การสร้างองค์ความรู้ และการแก้ปัญหาของ ประเทศ และมีพันธกิจในการสร้างนวัตกรรม ทางด้านการศึกษา และผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพวิทยาลัยนวัตกรรม จึงรวบรวบผลงานทักษะและประสบการณ์ ของอาจารย์ในวิทยาลัยมาถ่ายทอดสู่นักศึกษา คณาจารย์ นักวิชาการ และนักวิจัย ในรูปแบบการประชุมวิชาการ โดยอาจารย์ประจำของวิทยาลัยจะนำผลงานวิจัย หรืองานเขียนทางวิชาการมากำหนดเป็นหัวข้อการประชุม โดยประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ทางสังคม และเศรษฐกิจในปัจจุบัน และสาธารณชนผู้สนใจ

วัตถุประสงค์

1. ส่งเสริมงานวิจัยของอาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรม
2. ส่งเสริมเอกลักษณ์ของวิทยาลัย และสร้างชื่อเสียงทางด้านวิชาการ
3. เผยแพร่งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ประยุกต์องค์ความรู้สู่สังคม และชุมชน

เนื้อหา

การเสวนาทางวิชาการครั้งที่ 4 นี้ จะเน้นเนื้อหา ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรของวิทยาลัยนวัตกรรม ในหัวข้อ นวัตกรเชิงอุปนัย ( Inductive Innovator) โดย อาจารย์ ดร.ธีระ ชินภัทร รามเดชะ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารเทคโนโลยี จะร่วมนำการเสวนาโดยอาศัยหลักการในการพัฒนาระบบสารสนเทศ คือ การออกแบบระบบที่ดี และสามารถนำไปดำเนินการพัฒนาเพื่อสนองตอบต่อวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะการนำฐานข้อมูลสำหรับระบบสารสนเทศเพื่อการประมวลผลมาประยุกต์ใช้ เพื่อการนำประสบการณ์เชิงนวัตกรรมของนักบริหารในการคิด ริเริ่ม สร้างสรรค์ มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

การออกแบบฐานข้อมูลในที่นี้จะมีความหมายครอบคลุมถึงการออกแบบฐานข้อมูลในระดับแนวคิด (conceptual level) และการออกแบบฐานข้อมูลในระดับภายในหรือเชิงกายภาพด้วย (internal level หรือ physical level) อย่างไรก็ตาม การออกแบบฐานข้อมูลที่ดีและสมบูรณ์นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างทำได้ยาก ปัจจัยสำคัญในการออกแบบฐานข้อมูล คือ ความสามารถในการสรรหาวิธีเพื่อแก้ไขปัญหานั้น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยทั่วไปการออกแบบฐานข้อมูลเพื่อนำมาใช้งานภายในองค์กรสามารถจำแนกได้ 2 วิธี คือ วิธีอุปนัย (inductive approcah) และวิธีนิรนัย (deductive approach) การออกแบบฐานข้อมูลด้วยวิธีอุปนัยเป็นการออกแบบฐานข้อมูลด้วยการเก็บรวบรวม ข้อมูลและ/หรือโปรแกรมที่มีการใช้งานอยู่แล้วภายในหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลขององค์กร ซึ่งการใช้วิธีการเดียวกันนี้กับการสร้างสรรค์บุคลากรที่เป็นนักคิดด้านวัตกรรม หรือ นวัตกร ก็คือการศึกษาจากประสบการณ์การทำงานของแต่ละบุคคล แล้วนำมาประมวลผล เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ ก่อนนำไปสร้างตัวแบบที่มีประสิทธิภาพ

รูปแบบกิจกรรม

การเสวนาทางวิชาการ-แลกเปลี่ยนเชิงวิชาการ

กำหนด วัน-เวลา-สถานที่
วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ระหว่างเวลา 13.30 น.-16.30 น. ณ ห้องบรรยาย C5 ชั้น 5 อาคารหอสมุดเดิม วิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เป็นบริการทางวิชาการที่สอดรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย และช่วยสร้างบรรยากาศทางวิชาการภายในวิทยาลัย

ผู้รับผิดชอบโครงการ
อาจารย์วิภา ดาวมณี
อาจารย์ ดร.เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์

ที่ปรึกษา
รอง คณบดีฝ่ายวางแผนและวิจัย และ ผอ.หลักสูตร


กำหนดการ
หัวข้อเสวนาทางวิชาการ CITU FORUM ครั้งที่ 4
เรื่อง นวัตกรเชิงอุปนัย ( Inductive Innovator)
โดย อาจารย์ ดร.ธีระ ชินภัทร รามเดชะ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารเทคโนโลยี

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552
ห้องบรรยาย C5 ชั้น 5 วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

13.00 น. ลงทะเบียน
13.30 น. ผู้ดำเนินรายการ เชิญ รศ. ม.ร.ว. พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม
กล่าวเปิดการเสวนา เรื่อง นวัตกรเชิงอุปนัย ( Inductive Innovator)
และ แนะนำวิทยากร
13.45 น. เริ่มการเสวนา
16.00 น. เปิดให้ซักถาม และ สรุปการเสวนา
16.30 น. จบรายการ

สอบถามรายละเอียด
ที่ อ.วิภา ดาวมณี
โทร. 081-6134792
อีเมล์ csi_edu@yahoo.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น