วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ก.พลังงานลดสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เหลือ 2 พันเมกะวัตต์

ก.พลังงานลดสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เหลือ 2 พันเมกะวัตต์
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552 - เวลา 17:10:14 น.



นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ กล่าววันนี้ (16 ก.พ.) ว่า การจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2550 - 2564 (พีดีพี 2007) เดิมนั้นกำหนดว่า จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งละ 1 โรง โรงละ 2,000 เมกะวัตต์ แต่หลังจากหารือร่วมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ได้แนะนำว่า ไทยควรสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แค่ 2 โรงแรกก่อน กระทรวงพลังงาน จึงมีการปรับแผน พีดีพี 2007 ใหม่ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) โดยจะก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 โรง โรงละ 1,000 เมกะวัตต์ต่อปี รวมทั้งหมด 2,000 เมกะวัตต์ และมีโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เข้ามารองรับหากเกิดกรณีเลื่อนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป

"ส่วนอีก 2 โรงที่เหลือให้ทยอยสร้างต่อไปโรงละ 1,000 เมกะวัตต์ เพราะเป็นครั้งแรกที่ไทยเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด และต้นทุนการก่อสร้างถูกลง ที่สำคัญลดอัตราความเสี่ยงของการผลิตไฟฟ้ามีเพียงพอกับความต้องการใช้ โดยจะเริ่มก่อสร้างโรงแรกตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไปจนครบ 4 แห่ง จำนวน 4,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2566 ส่วนแผนการนำไฟฟ้าเข้าระบบยังเป็นปีเดิม คือ ปี 2563 จำนวน 1,000 เมกะวัตต์" นายณอคุณ กล่าว

นายณอคุณ กล่าวด้วยว่า การประมาณการณ์ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์จากแผนพีดีพี เดิมอยู่ที่ 2.08 บาทต่อหน่วย โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนที่ 38 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ แต่หากต้นทุนก่อสร้างลดลง ประกอบกับ เงินบาทแข็งค่าขึ้นจะทำให้ต้นทุนไฟฟ้าต่อหน่วยปรับลง ส่วนแผนการนำไฟฟ้าเข้าระบบไม่น่าจะเกิดปัญหา ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน จำเป็นต้องมีการทำแผนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553 - 2567 (พีพีดี 2009) ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
http://www.matichon.co.th/prachachat/news_title.php?id=8791

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น