วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2552

การเลิกจ้างที่เป็นธรรมช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ตอน2: “แผนการโนอาห์” สร้างแรงงานสู่ผู้ประกอบการ

การเลิกจ้างที่เป็นธรรมช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ตอน2: “แผนการโนอาห์” สร้างแรงงานสู่ผู้ประกอบการ
http://www.prachatai.com/05web/th/home/16089

การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ตอน: 1) กรณีศึกษาบริษัท Levi Strauss
http://www.prachatai.com/05web/th/home/16056

รายงาน : Home School เรียนตามทางฝัน ที่ ‘ดอยผาส้ม’
http://www.prachatai.com/05web/th/home/16091

คำให้การจาก วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คนจุดไฟในสายลม: รวมคำตอบเรื่องนิติรัฐในสังคมไทยในห้วงเวลา 5 ปี
http://www.prachatai.com/05web/th/home/16076

มองต่างมุม: พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปกป้องหรือคุกคาม?
http://www.prachatai.com/05web/th/home/16078

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552

วันที่ 22 – 24 เมษายน 2552 ณ ห้อง 7007 ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ประชุมวิชาการและอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ”สรีรวิทยาและพยาธิสรีรวิทยาของระบบประสาท”


ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ร่วมกับสรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากรทางการแพทย์ และผู้สนใจ เข้าร่วมฟังการประชุมวิชาการและอบรมเชิงปฏิบัติการ สรีรวิทยา-พยาธิสรีรวิทยา ครั้งที่ 27 ประจำปี 2552 เรื่อง ”สรีรวิทยาและพยาธิสรีรวิทยาของระบบประสาท” ระหว่างวันที่ 22 – 24 เมษายน 2552 ณ ห้อง 7007 ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

หัวข้อ Day 1: Somatosensory system disorder เช่น visual-hearing-vestibular disorders, pain

Day 2: Motor function disorders เช่น movement disorders

Day 3: Higher function disorders เช่น learning memory, dementia, sleep disorders



วันที่ 22 เมษายน 2552 Topic of Lecture Lecturer

08.00-8.30 Registration

08.30 -8.45 Opening ceremony คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

08.45 -10.00 Update on physiology of vision, audition, and รศ.ดร.นพ.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย

vestibular system

10.00-10.30 -----------------Coffee Brake-----------------------------

10.30-12.00 Symposium: Common disorders of vision, ผศ.นพ.นริศ กิจณรงค์

hearing and equilibrium : Clinical correlation ผศ.พญ.สุวัจนา อธิภาส

รศ.ดร.นพ.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย

12.00-13.00 -----------------Lunch Brake----------------------------

13.00-14.00 Current view of physiology of pain ดร.นพ.สมพล เทพชุม

14.00-14.30 ------------------Coffee Brake--------------------------

14.30-16.00 Symposium: Pain in clinical พญ.ปราณี รัชตามุขยนันต์

practice and current intervention ดร.นพ.สมพล เทพชุม



วันที่ 23 เมษายน 2552 Topic of Lecture Lecturer

8.30 -10.00 Current view of movement control (1) รศ.ดร.ภญ..กนกวรรณ ติลกสกุลชัย

10.00-10.30 -----------------Coffee Brake-----------------------------

10.30-12.00 Current view of movement control (2) รศ.ดร.ภญ.กนกวรรณ ติลกสกุลชัย

12.00-13.00 -----------------Lunch Brake----------------------------

13.00 – 14.30 Symposium: Movement disorders and นพ.อภิชาติ พิศาลพงศ์

current treatment นพ.ศรัณย์ นันทอารีย์

รศ.ดร.ภญ.กนกวรรณ ติลกสกุลชัย

14.30-15.00 ------------------Coffee Brake--------------------------

15.00-16.00 Symposium: Stem cell therapy in neurological นพ.ยงชัย นิละนนท์

disorders รศ.ดร.ภญ.กนกวรรณ ติลกสกุลชัย



วันที่ 24 เมษายน 2552 Topic of Lecture Lecturer

8.30 -10.00 Update on learning and memory ดร.นพ.สมพล เทพชุม

10.00-10.30 -----------------Coffee Brake-----------------------------

10.30-12.00 Symposium: Aging brain and Dementia พญ.วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ

นพ.สุวิทย์ เจริญศักดิ์

ดร.นพ.สมพล เทพชุม

12.00-13.00 -----------------Lunch Brake----------------------------

13.00 – 14.00 Update on sleep physiology รศ.ดร.ภญ.กนกวรรณ ติลกสกุลชัย

14.00 - 14.30 ------------------Coffee Brake--------------------------

14.30 - 16.00 Symposium: Sleep disorders นพ.สนทรรศ บุษราทิจ

นพ.วัฒนชัย โชตินัยวัตรกุล

รศ.ดร.ภญ.กนกวรรณ ติลกสกุลชัย

16.00-16.15 Certificates & Closing ceremony นายกสมาคมสรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย

Contact person:








หมายเหตุ : สอบถามรายละเอียด ได้ที่ ภ.สรีรวิทยา รศ.ดร.นพ. ชัยเลิศ พิชิตพรชัย โทร. 02-419-8550
และ ดร.นพ. สมพล เทพชุม โทร. 02-419-9723 หรือดาวน์โหลดใบสมัครได้ตามเอกสารประกอบแนบท้าย

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ :
ภ.สรีรวิทยา
25/2/2552 - 24/4/2552
อบรม / สัมมนา / บรรยาย / ประชุม

27 มีนาคม 2552 เวลา 08.00 – 13.00 น. ณ ห้องประชุมตรีเพ็ชร์ ชั้น 15 อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์

หน่วยต่อมไร้ท่อทางนรีเวช ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ขอเชิญสมาชิกชมรมสตรีวัยทองศิริราช และผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรรมส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยทอง ครั้งที่ 4 แก่สมาชิก “ชมรมสตรีวัยทองศิริราช” ในโครงการ “ชีวิต...ลิขิตได้”
ในวันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2552 เวลา 08.00 – 13.00 น. ณ ห้องประชุมตรีเพ็ชร์ ชั้น 15 อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 – 09.10 น. กล่าวรายงานและกล่าวต้อนรับสมาชิก

โดย รองศาสตราจารย์นายแพทย์กิติรัตน์ เตชะไตรศักดิ์

หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

พิธีเปิด

โดย รองศาสตราจารย์นายแพทย์ชาญชัย วันทนาศิริ

หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

09.15 – 09.15 น. เสวนา “ไขข้อข้องใจปัญหาวัยทอง “ท่านถามมา - เราตอบไป”

โดย คณาจารย์ แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสตรีวัยทอง

รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุรศักดิ์ อังสุวัฒนา

ศาสตราจารย์แพทย์หญิงมณี รัตนไชยานนท์

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ประสงค์ ตันมหาสมุทร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์พิชัย ลีระศิริ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงสุชาดา อินทวิวัฒน์

10.15 – 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น. บรรยายวิชาการ “ชีวิต...ลิขิตได้”

โดย คุณกรรณิกา ธรรมเกษตร

อดีต (ส.ส. , วิทยากร , นักจัดรายการวิทยุ , เจ้าของรายการโทรทัศน์)

โดย คุณนัฎฐษ ลอยด์

ดารานักแสดงโทรทัศน์ชื่อดัง

12.00 น. ปิดงานภาคบรรยายวิชาการ

13.00 – 15.00 น. ตรวจสุขาภาพประจำปีของสตรีวัยทอง (เฉพาะที่นัดหมาย)

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2552 /วันเสาร์ที่ 23 23 พฤษภาคม 2552 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ.พญาไท กรุงเทพฯ

“โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้า”


Next Generation Network


หนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างมากในระยะ 10 กว่าปีที่ผ่านมา คือ การสื่อสารโทรคมนาคม ทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ โทรศัพท์มือถือหรืออินเทอร์เน็ตจะกลายเป็นเฉกเช่นเดียวกับสาธารณูปโภคจำเป็นอื่น ๆ ในอนาคตอันใกล้การสื่อสารโทรคมนาคมยุคหน้า หรือ next generation network (NGN) กำลังจะถูกนำมาใช้งานเพื่อเสริม หรือทดแทนเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมในปัจจุบันทั้งหมด ท่านพร้อมหรือยังที่จะก้าวเข้าสู่โลกการสื่อสารแห่งอนาคต


วิทยากร ผศ.ดร.เชาวน์ดิศ อัศวกุล
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
การศึกษา พ.ศ. 2537 ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์
บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง สาขา
วิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2543 ปริญาเอก ดุษฎีบัณฑิต สาขา
โครงข่ายโทรคมนาคมอิมพีเรียลคอลเลจ
ลอนดอนมหาวิทยาลัยลอนสหราชอาณาจักร

ความเชี่ยวชาญและผลงาน
เชี่ยวชาญด้านโครงข่ายโทรคมนาคมมีผลงานวิจัยเด่นคือ ระบบการจราจรและขนส่งอัจฉริยะ ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ICT เพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัด และ โครงการวัดคุณภาพสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.)



กำหนดการ : วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2552
12:30-13:00 น. ลงทะเบียน
13:00-14.30 น. Future Internet
- กำเนิดอินเทอร์เน็ตและก้าวต่อไปของ
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
- มุมมองโลกแห่งโทรคมนาคมและ
การสื่อสารไร้สาย
14.30 -16.00 น. - ทดลองการใช้งานจริงจากศูนย์ทดลอง/
ทดสอบ Next Generation Network

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม 2552
12:30-13:00 น. ลงทะเบียน
13:00-14.30 น. - เทคโนโลยีไฟเบอร์ออปติกส์และความ
เป็นไปได้ในการนำความเร็วกว่า
เทราบิตส์ต่อวินาทีสู่บ้าน
14.30-16.00 น. - ถ่ายทอดประสบการณ์จริงของเทคโนโลยี
Fiber to Home (FTTH)



สถานที่จัดอบรม ห้อง 209 ตึก 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ.พญาไท กรุงเทพฯ


การสำรองที่นั่ง www.eng.chula.ac.th คลิกมาที่ “เปิดโลกลานเกียร์” หรือโทร.02-218-6344 Fax. 02-218-6404

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552

ฟื้นเมืองเก่าให้มีชีวิต: ประสบการณ์จากญี่ปุ่นถึงไทย (ตอนจบ)

ฟื้นเมืองเก่าให้มีชีวิต: ประสบการณ์จากญี่ปุ่นถึงไทย (ตอนจบ)
http://www.prachatai.com/05web/th/home/15936

รายงาน : กลุ่มเสี่ยงผู้ถูกค้ามนุษย์ กับ การคุ้มครองคนหางานในประเทศ
http://www.prachatai.com/05web/th/home/15935

นักรัฐศาสตร์ชี้ ‘หลุมพราง’ ชนชั้นนำสกัดการเมืองท้องถนน ตั้งกรรมการปฏิรูปการเมืองก็ไม่แก้ปัญหา
http://www.prachatai.com/05web/th/home/15940

อาเซียนซัมมิทครั้งที่ 14: 9 เหตุผลที่ “คน (ตัวเล็ก) ในพม่า” หายไป
http://www.prachatai.com/05web/th/home/15959

การบริหารจัดการแบบวิทยุชุมชน
http://www.prachatai.com/05web/th/home/15944

ปีกซ้ายพฤษภาฯ : ป.อ. มาตรา 112 ต้อง ‘ยกเลิก’ ไม่ใช่ ‘ปฏิรูป’!!!
http://www.prachatai.com/05web/th/home/15931

ไทยโพสต์ แทบลอยด์ สัมภาษณ์ “จอน อึ๊งภากรณ์”: เสรีสื่อในกฎหมายหมิ่นฯ

ไทยโพสต์ แทบลอยด์ สัมภาษณ์ “จอน อึ๊งภากรณ์”: เสรีสื่อในกฎหมายหมิ่นฯ






"ประชาชนทั่วไป ก็ได้รับการคุ้มครองในเรื่องหมิ่นประมาท เพราะฉะนั้นสถาบันกษัตริย์ ก็ต้องได้รับการคุ้มครอง แต่ควรจะเป็นการคุ้มครองที่ไม่ต่างกันมากนัก"



"จะต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่แทนสถาบันกษัตริย์ในการดำเนินการฟ้องร้อง ซึ่งองค์กรนั้นจะต้องเป็นองค์กรที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองใดๆ ไม่ใช่ว่าใครเขียนอะไรแล้วคนอื่นจะไปฟ้องร้องได้ ต้องได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน คำจำกัดความของการหมิ่นต่อสถาบันกษัตริย์ก็ควรถูกกำหนดให้ชัดเจน เช่นการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากองค์พระมหากษัตริย์ควรจะทำได้ พระองค์ท่านก็เคยบอกว่าไม่ใช่ The King can do no wrong"





ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญากำลังเป็นประเด็นร้อนลึก และเป็นข่าวอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ มีนักวิชาการเรียกร้องให้ยกเลิกหรือแก้ไข ขณะที่มีนักวิชาการอีกฝ่ายยืนกรานไม่ให้แก้



อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพปรากฏขึ้นอย่างมากมาย นับแต่ช่วงที่มีความขัดแย้ง ทางการเมืองอย่างรุนแรง และปรากฏตามมาในช่วงที่ฝ่ายที่ยึดกุมอำนาจได้พยายามกำจัดฝ่ายที่เห็นต่าง



ข้อหานี้ในตอนแรก ๆ ถูกนำมาตั้งกับฝ่าย "เสื้อแดง" ทั้งหัวแถวและปลายแถว แต่ต่อมาก็ลามมาถึงฝ่าย “2 ไม่เอา” ทั้ง อ.ใจ อึ๊งภากรณ์ ผู้เขียนหนังสือต่อต้านรัฐประหาร และล่าสุด จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บประชาไท ถูกกองปราบปรามจับกุมตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฐานมีผู้โพสต์ข้อความซึ่ง (ต้องหาว่า) หมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเว็บบอร์ด



ปรากฏการณ์นี้ทำให้ต้องสนทนากับ อ.จอน อึ๊งภากรณ์ อดีต ส.ว.กทม.ผู้ก่อตั้งเว็บประชาไท แม้ในปัจจุบันจะแทบไม่ได้เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์นี้ เพราะมารับหน้าที่กรรมการของทีวีสาธารณะ ไทยพีบีเอส



แต่ อ.จอนก็กำลังถูกศาสดาพันธมิตรฯ ปลุกข้อหาเข้าใส่เช่นกัน



ใครผลักสถานการณ์

"ผมตั้งคำถามว่าจับทำไม ทำไมจับตอนนี้ เพราะจริงๆ แล้วประชาไทก็ร่วมมือกับตำรวจมาตลอด ตำรวจขอข้อมูลบ่อยหรือเรียกไปบ่อย เราก็บอกมาตลอดว่าถ้าเห็นว่ามีข้อความที่ไม่เหมาะสมเราก็อยากจะรู้ เราก็เอาออก ประชาไทมีนโยบายชัดเจนว่าถ้าเป็นข้อความที่ผิดกฎหมายก็เอาออก



เพราะฉะนั้นการที่บังเอิญมันมีข้อความที่หลงเหลืออยู่ระยะหนึ่งแล้วก็ถูกลบ ไปนานแล้ว ผมมาทราบตอนหลังว่าเป็นการอ้างถึงข้อความที่ขึ้นเดือน ต.ค.ปีที่แล้ว และอยู่ถึง พ.ย.ข้อความนั้นก็ถูกลบออกไปแล้ว แล้วทำไมมาจับตอนนี้ ก็เป็นคำถาม"



"ในสายตาผมเป็นการคุกคามเสรีภาพสื่อ และเสรีภาพสื่ออินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ เพราะเว็บบอร์ดเป็นที่เปิดเสรีภาพในการแสดงความเห็นของประชาชน และเว็บบอร์ดอย่างประชาไทก็พยายามคุมอยู่ ถ้าเราไม่มีเว็บบอร์ดเลยก็เหมือนเราไม่เปิดให้ประชาชนแสดงความเห็นในเรื่องสังคมการเมืองทั่วไป ถ้าเรามีเว็บบอร์ดโดยจะต้องมานั่งตรวจก่อนขึ้นแต่ละครั้ง มันก็จะไม่มีชีวิต ชีวาของการคุย เพราะฉะนั้นเราก็พยายามขอร้อง ตั้งกฎกติกาให้ระวังในเรื่องของการโพสต์ข้อความ



เราก็มีนโยบายและตระหนักมาตลอดในเรื่องของการนำข้อความที่ไม่เหมาะสมออก เช่น มีการหมิ่นประมาทบุคคล เป็นการกล่าวถึงบุคคล เป็นการใช้ภาษาที่รุนแรง และรวมถึงที่หมิ่นสถาบัน เราก็เอาออกทุกครั้ง แต่ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่ยากลำบากเพราะแม้แต่การตีความว่าข้อความแบบไหน เป็นข้อความหมิ่นหรือไม่หมิ่น มันเป็นเรื่องยาก"



"ผมยังไม่ได้เห็นข้อความที่ตำรวจอ้างถึง แต่เท่าที่ฟังจากกอง บก.บอกว่า ข้อความนั้นไม่ได้เขียนแบบโจ่งแจ้ง คล้ายๆ มีคำศัพท์ คำ code ที่ตีความได้ว่าอาจจะพาดพิงถึงสถาบัน ผมก็ถามว่าคนทั่วไปที่ไม่รู้ code อ่านแล้วจะรู้ไหม เขาบอกอาจจะไม่รู้ก็ได้ ผมก็คิดว่าบางทีมันเป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่าข้อความไหนผิดกฎหมายหรือไม่ผิด



และอีกประการหนึ่งคือการตีความกฎหมายหมิ่นตอนนี้สังคมไทยตีความค่อนข้างครอบจักรวาล มันเหมือนอะไรก็ตามที่พูดถึงสถาบัน ถ้าไม่ออกมาในเชิงสดุดีแล้วอาจจะกลายเป็นเรื่องหมิ่นก็ได้ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงของเสรีภาพในสังคมไทย"



แล้วที่ อ.ใจโดนแจ้งความจับจากหนังสือ อาจารย์ได้อ่านไหม

"ผมไม่ได้อ่านหนังสือแกนะ แกเคยให้มา แต่ผมรู้ว่า อ.ใจคิดอย่างไร แล้วผมก็คิดว่าเรื่องที่ อ.ใจถูกดำเนินคดีในจังหวะนี้ก็เป็นคำถามอีกเหมือนกัน เพราะหนังสือนี้เขียนมาหลายปีแล้ว ทำไมมาเจอในขณะนี้ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ตั้งข้อสงสัยเหมือนกันว่าใครอยู่เบื้องหลังและทำไมถึง ต้องมาเล่นอย่างนี้"



"ผมคิดว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ ไม่ว่าที่เกิดกับ อ.ใจหรือกับประชาไทไม่ได้เป็นผลดีต่อสถาบันกษัตริย์ ถ้าพูดจริงๆ คือมันทำให้สถาบันถูกนำไปเกี่ยวข้องกับเรื่องทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้เป็นสถานการณ์ไม่ปกติ"



"จริงๆ แล้วผมคิดว่าสังคมไทยต้องการกลับไปสู่สภาวะปกติ แม้ก่อนนี้เรามีกฎหมายหมิ่นฯ แต่นักวิชาการก็สามารถที่จะเขียนความเห็นเกี่ยวกับบทบาทสถาบันกษัตริย์กับ การเมืองไทยได้โดยไม่ถูกดำเนินคดี หรือคนอย่าง อ.สุลักษณ์ยังสามารถออกมาพูดความเห็นต่างๆ ได้ อาจจะมีคนแจ้งความบ้างแต่ก็ไม่โดน อันนั้นคือสถานการณ์การเมืองแบบปกติ ถึงจะมีกฎหมายหมิ่นฯ แต่ไม่ได้ควักเอากฎหมายหมิ่นฯ ออกมาเพื่อเล่นงานศัตรูทางการเมือง



แต่ต้องบอกว่าตั้งแต่ก่อนการรัฐประหาร 19 ก.ย.มันกลายเป็นสถานการณ์ไม่ปกติ และสถานการณ์การต่อสู้ทางการเมืองระหว่าง ฝ่ายเสื้อแดงเสื้อเหลือง มันทำให้สถานการณ์ทุกอย่างไม่ปกติ และเรื่อง กฎหมายหมิ่นฯ ก็มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ผมก็สงสัยว่าการควักเอากฎหมายหมิ่นฯ มาเล่นงาน ไม่ว่าเล่นงาน อ.ใจ หรือประชาไท เป็นผลดีกับใคร อันนี้ผมสงสัยจริงๆ"



แรกทีเดียวใช้กับฝ่ายเสื้อแดง ตอนนี้ลามมาถึงนักวิชาการ ฝ่าย 2 ไม่เอา

"แต่ก็ใช้กับคนที่เชียร์พันธมิตรฯ อย่าง อ.สุลักษณ์ก็โดน ตอนนี้ผมว่าโดนทุกฝ่าย ฝ่ายที่ไม่เอาทั้ง 2 ฝ่ายน่าจะเป็นฝ่ายที่ทั้ง 2 ฝ่ายพยายามช่วงชิง แต่มันกลับไม่ใช่ กลับกลายเป็นศัตรูของทุกฝ่าย เป็นเสียงข้างน้อยที่สุดในสังคม ไม่ค่อยจะมีที่ยืนในสังคม เหมือนว่าพอไม่เป็นพวกพันธมิตรพันธมิตรก็ถือว่าเป็นศัตรู พอไม่เป็นพวกทักษิณ ฝ่ายทักษิณก็มองว่าเป็นศัตรู"



ตอนนี้เหมือนฝ่าย 2 ไม่เอาถูกผลักไปรวมกับเสื้อแดง เช่นเว็บบอร์ดประชาไทก็กลายเป็นพวกเสื้อแดงเข้าไปใช้เยอะ

"ก็เป็นคนที่นิยมเสื้อแดงเข้าไปใช้ประชาไทเยอะ อันนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดาเพราะประชาไทเป็นพื้นที่เสรีภาพ คนจะมีความเชื่อทางการเมืองอย่างไรก็ได้ มีสิทธิที่จะเอาความเห็นโพสต์เข้าไปในเว็บบอร์ด ซึ่งอาจจะต่างจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับพันธมิตรฯ หรือเว็บที่เกี่ยวข้องกับเสื้อแดงโดยตรง



คุณจะโพสต์ในผู้จัดการออนไลน์ถ้าคุณเป็นใครที่ไม่เอาพันธมิตรฯ ก็ยากที่จะขึ้นไปอยู่ในนั้น ผมคิดว่ามันเป็นธรรมชาติของประชาไท ไม่ว่ายุคไหนก็ตาม คนที่ไม่เอารัฐบาลหรือคนที่เป็นฝ่ายถูกเล่นงานในสังคม เขาก็ใช้พื้นที่ประชาไทแสดงความเห็นทางการเมือง"



อ.ใจก็ไปขึ้นเวทีเสื้อแดง แม้จะยังวิจารณ์ทักษิณ

"ผมไม่เห็นด้วยนะที่ อ.ใจไปร่วมกับเสื้อแดง ผมถือว่า อ.ใจเสีย แต่ อ.ใจเป็นคนที่อาจจะต่างกับผม คือเขาไม่กลัวเสีย เวลาทำอะไรเขาไม่ได้คิดว่าผลทางการเมืองคืออะไร เขาเป็นคนที่จะทำอะไรก็จะทำตามความรู้สึก เพราะฉะนั้นเขารู้สึกว่าฝ่ายเสื้อแดงก้าวหน้ากว่าฝ่ายเสื้อเหลือง แต่เขาก็พูดตลอดว่าเขาไม่ได้มีความเคารพนับถือต่อคุณทักษิณ



เขามองคนเสื้อแดงมากกว่าเฉพาะคนเชียร์ทักษิณ อันนี้ไม่ต่างจากที่ผมรู้จักบางคนที่ไปร่วมกับพันธมิตร คือแนวคิดก็บอกไม่ได้เห็นด้วยกับคุณสนธิทุกอย่าง แต่ยังไงฝ่ายพันธมิตรก็ดีกว่าฝ่ายทักษิณ ผมคิดว่าสถานการณ์สังคมทำให้คนส่วนให้ต้องเลือกข้าง และคนที่ไม่เอาทั้งสองข้างก็ลำบาก"



ถูกผลักให้เลือกอยู่เรื่อยๆ

"แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกทุกคนนะ และแม้แต่คนที่บอกว่าไม่เลือก ก็มีแนวโน้มที่เอียงไปทางใดทางหนึ่งอยู่เหมือนกัน"



อ.ใจถูกวิจารณ์เยอะที่ไปแล้วออกแถลงการณ์

"ผมจะไม่พูดแก้ตัวแทน อ.ใจนะ เพราะความคิดผมกับ อ.ใจก็ไม่เหมือนกัน แต่แกถูกต้อนไปอยู่ตรงนั้น ในความรู้สึกของผม-ระดับหนึ่ง คือผมจะพูดถึง อ.ใจในส่วนส่วนตัวมากกว่าที่เป็นเรื่องทางการเมืองของ อ.ใจ ผมคิดว่า อ.ใจตอนแรกมีความพร้อมที่จะสู้คดี เท่าที่ผมรู้ แต่ก็เหมือนกับได้รับข้อมูลหรือความเชื่อตอนหลังว่า คดีนี้มีธงตั้งไว้อยู่ แล้วว่าต้องเอาเข้าคุกให้ได้ อันนี้เป็นความเชื่อของ อ.ใจ ผมเองก็ไม่รู้ว่าใช่หรือไม่ใช่



แต่คล้ายๆ อ.ใจคิดว่าเป็นของการเชือดไก่ให้ลิงดู และ อ.ใจเองก็มีลูกอยู่อังกฤษ แกจะต้องไปเยี่ยมลูกอยู่เป็นระยะ ฉะนั้นแกคงรู้สึกว่าแกคงอยู่ไม่ได้แล้วในสถานการณ์อย่างนี้ และการที่แกจะติดคุกเพราะหนังสือเล่มนี้ซึ่งแกก็เขียนตามความคิดของแก ผมคิดว่าแกรู้สึกว่าไม่ใช่ความยุติธรรม แกก็ไป แต่ไปแล้วทิ้งทวนอันนี้ก็อาจจะเป็นบุคลิก อ.ใจส่วนหนึ่ง"



นักวิชาการด้วยกันก็วิจารณ์ว่าทำให้คนที่ยังอยู่ลำบาก เพราะคนที่พยายามจะแก้ กม.หมิ่นฯ เลยถูกมองว่าคิดเหมือน อ.ใจหมด

"บอกแล้วว่าผมไม่แก้ตัวแทน อ.ใจ คนวิจารณ์ก็วิจารณ์ไป ผมมองว่ามีผลทั้ง 2 ด้าน ผลด้านหนึ่งคือทำให้เรื่องของกฎหมายหมิ่นฯ กลายเป็นเรื่องที่คนสนใจในสังคม และถ้าจะมองแม้แต่แรงกดดันต่อรัฐบาลนี้ที่จะแก้กฎหมายหมิ่นฯ ก็มีอยู่ สื่อมวลชนเองก็เริ่มพูดถึงกฎหมายหมิ่นฯ ว่ามันมีปัญหาในทางปฏิบัติ



ผมคิดว่าในแง่หนึ่ง อ.ใจอาจจะมีผลบวกและผลลบต่อคนที่มีความเชื่อว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนใน เรื่องของกฎหมายหมิ่นฯ แต่แน่นอนคนที่ร่วมเซ็นชื่อ ซึ่งผมก็เป็นคนหนึ่งที่เซ็นชื่อในแถลงการณ์ให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ ก็อาจะรู้สึกเดือดร้อนจากกรณีนี้ หรืออาจจะรู้สึกว่าไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ อ.ใจทำ"



พวกพันธมิตรฯ ก็ฉวยโอกาสโจมตี

"ก็เป็นธรรมดา และเรื่องแปลกมันกลายเป็นว่าใครไม่เห็นด้วยกับกฎหมายหมิ่นฯ ใครอยากให้ยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายหมิ่นฯ ก็เสมือนเป็นคนที่คิดเหมือน อ.ใจ หรือถูกมองว่าเป็นคนหมิ่นสถาบันในตัว โดยการต้องการให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ ซึ่งผมคิดว่าในสังคมไทยมีตรรกะที่น่าตั้งคำถามเยอะมาก



ผมเองถ้าถามผมจริงๆ ผมไม่ถึงกับบอกว่าให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ โดยตรง ที่ผมเซ็นให้ อ.ใจเพราะผมก็รู้สึกว่า อ.ใจไม่ได้รับความเป็นธรรม และผมก็ต้องการปฏิรูปกฎหมายมาตรา 112 ลึกๆ ผมต้องการแก้ไขมากกว่า คือผมต้องการทำให้มาตรา 112 ไม่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ ถ้ามีการทำอย่างนั้นผมคิดว่าเป็นผลดีต่อสถาบันมากกว่า เป็นผลดีที่จะดึง สถาบันกษัตริย์ออกมาจากเรื่องทางการเมือง"



แก้ให้เป็นประชาธิปไตย



ที่อาจารย์คิดว่า กฎหมายหมิ่นฯ ควรจะแก้ไปในทิศทางไหน

"ผมคิดว่าประการแรกที่ต้องทำคือ ไม่ใช่ว่าใครก็ตามสามารถเข้าไปในสถานีตำรวจแล้วกล่าวหาใครก็ตามทำผิดมาตรา 112 เพราะฉะนั้นการกล่าวหาโดยประชาชนทั่วไปไม่สมควรที่จะทำได้"



"เหตุที่ผมยังต้องการคงกฎหมายหมิ่นฯ ไว้ เพราะคิดว่าประชาชนทั่วไปก็ได้รับการคุ้มครองในเรื่องหมิ่นประมาท เพราะฉะนั้นสถาบันกษัตริย์ก็ต้องได้รับการคุ้มครอง แต่ควรจะเป็นการคุ้มครองที่ไม่ต่างกันมากนัก ใกล้เคียงกัน ก็คือผู้ใดก็ตามที่หมิ่นประมาทผู้อื่นต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น"



"ในการหมิ่นประมาทบุคคล ผมเองยังมีความรู้สึกต้องการปฏิรูปว่าไม่ใช่ความผิดอาญา เป็นความผิดทางแพ่งมากกว่า ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ ผมคิดว่าการใช้กฎหมายอาญากับการหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไปก็ไม่ค่อยเหมาะสม ในกรณีของสถาบันกษัตริย์ ผมคิดว่าต้องมีกฎหมายที่จะคุ้มครองราชวงศ์หรือกษัตริย์จากการถูกหมิ่นประมาทเช่นกัน



กฎหมายนั้นอาจจะต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่แทนสถาบันกษัตริย์ในการดำเนินการฟ้องร้อง ซึ่งองค์กรนั้นจะต้องเป็นองค์กรที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองใดๆ ไม่ใช่ว่าใครเขียนอะไรแล้วคนอื่นจะไปฟ้องร้องได้ ต้องได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่าเป็นการหมิ่น"



"คำจำกัดความของการหมิ่นต่อสถาบันกษัตริย์ก็ควรถูกกำหนดให้ชัดเจน เช่น การแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากองค์พระมหากษัตริย์ ผมคิดว่าควรจะทำได้ พระองค์ท่านก็เคยตรัสว่าไม่ใช่ The King can do no wrong. ถ้าพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ คนในสังคมมีความเห็นต่างกัน น่าจะแลกเปลี่ยนความเห็นได้ ไม่น่าจะถือว่าเป็นการหมิ่นประมาท เช่น ถ้าไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ก็ควรจะสามารถแสดงความเห็นได้



มิฉะนั้นเราจะไม่มีเสรีภาพในการแสดงความเห็น เราจะไม่เป็นประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์ ถ้าเราไม่สามารถแสดงความเห็นในเรื่องราวต่างๆ ได้ การหมิ่นประมาทน่าจะเป็นการกล่าวร้าย กล่าวในสิ่งที่เป็นเรื่องเท็จ หรือกล่าวในลักษณะที่แสดงความไม่เคารพอย่างสูง-อะไรแบบนี้ มากกว่าเป็นเรื่องการแสดงความเห็นเรื่องบทบาทของสถาบัน หรือเรื่องอื่นๆ ที่นักวิชาการหรือคนอย่าง อ.ใจเคยแสดงไว้"



สมัยที่ทักษิณฟ้องสื่อเยอะๆ เคยมีข้อเรียกร้องว่า ควรยกเลิกความผิดอาญาในคดีหมิ่นประมาท ถ้ายกเลิกกับบุคคลทั่วไปแล้ว ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพควรเป็นความผิดอาญาไหม

"ผมก็คิดอยู่เหมือนกันว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นความผิดทางอาญา ผมพยายามดูประเทศประชาธิปไตยในยุโรปส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ กรณีของคดีหมิ่นฯ ที่มีการดำเนินคดี ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการปรับและก็เกิดจากการใช้คำพูดที่หยาบคาย เป็นการกล่าวในที่สาธารณะต่อผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันกษัตริย์ด้วยคำพูดหยาบคายที่เหมือนดูหมิ่นดูแคลนอยางแรง ก็จะมีโทษเป็นการปรับ"



"ผมคิดว่าอันนั้นคือสถานการณ์ที่เรียกว่าสถานการณ์ปกติ เป็นเรื่องที่สังคมรับได้ว่าคุณทำผิดอย่างนั้น คุณทำผิดต่อสถาบันกษัตริย์ในลักษณะที่ชัดเจนว่าเป็นความผิด-ก็ควรได้รับ โทษ แต่ปัญหามาตรา 112 ของเราก็คือ โทษอาจจะสูงที่สุดในโลก-เป็นโทษจำคุก 15 ปี ซึ่งประเทศประชาธิปไตยส่วนใหญ่ที่ยังมีกฎหมายหมิ่นสถาบัน เขาไม่ค่อยได้ควักเอามาใช้เท่าไหร่ จะใช้ก็ต่อเมื่อเป็นกรณีที่ชัดเจน ผมคิดว่าโทษจำคุก 15 ปีก็ไม่เหมาะสม"



"ควรจะเป็นอาญาหรือไม่ ถ้าใจผมก็คือไม่ แต่สิ่งที่ผมอยากเห็นไม่ใช่อะไรที่ผมต้องการ ผมอยากเห็นการเปิดเวทีพูดคุยในสังคมไทย การแลกเปลี่ยนกันว่าเราจะปฏิรูปตรงนี้อย่างไร อย่างน้อยที่สุดโทษต้องถูกลดลง การตีความว่าอะไรหมิ่นฯ หรือไม่หมิ่นฯ ต่อสถาบันกษัตริย์ต้องให้มีความชัดเจน ถ้าถามผมจริงๆ ผมอยากให้เป็นโทษปรับเป็นหลัก และไม่เปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถไปฟ้องร้องประชาชนด้วยกันได้ในเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ต้องมีองค์กรที่เป็นกลางที่ปกป้องสถาบันกษัตริย์"



กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในอังกฤษยังมีไหม

"เรื่องนี้กำกวมเพราะอังกฤษเป็นกฎหมาย common law กฎหมายบางส่วนไม่ได้เขียนไว้ เท่าที่ผมดูเขาบอกว่าอังกฤษมีแต่ไม่ได้ใช้ เป็น common law เป็นกฎหมายที่มาจากประเพณีปฏิบัติ แต่ไม่ได้นำมาใช้ ถ้าเราดูบรรยากาศสถาบันกษัตริย์ในอังกฤษ อาจไปไกลกว่าที่สังคมไทยพร้อมที่จะเป็น เช่นเรื่องส่วนตัวของบุคคลในราชวงศ์ หนังสือพิมพ์สามารถเอามาเป็นข่าวได้ หรือในโทรทัศน์รายการตลกสามารถจะล้อเลียนควีนเอลิซาเบธหรือปรินซ์ชาร์ลได้



สิ่งเหล่านี้คนไทยสังคมไทยอาจจะคิดว่านำไปสู่ความเสียหายต่อสถาบัน แต่เท่าที่ผมเห็นในอังกฤษมันไม่ได้เกิดความเสียหาย คือในประเทศอังกฤษสถาบันกษัตริย์ก็ยังอยู่ สื่อมวลชนสามารถวิจารณ์บุคคล หรือแม้แต่การแสดงความเห็น เช่น ปรินซ์ชาร์ลมีความเชื่อในการแพทย์ทางเลือกบางอย่าง ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ หรือเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์บางอย่าง ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ก็เป็นเรื่องธรรมดา"



"ในสมัยก่อนพรรคแรงงานของอังกฤษมี ส.ส.บางคนเรียกร้องให้ยกเลิกสถาบัน กษัตริย์ ถึงขนาดบอกให้ตัดงบประมาณที่ให้สถาบันและให้ยกเลิก คนเหล่านี้ก็มีเสรีภาพในการแสดงความเห็น แต่ก็ไม่ได้ทำให้สถาบันกษัตริย์ในอังกฤษกระทบกระเทือน เพราะคนส่วนใหญ่ในสังคมก็ยังเห็นประโยชน์และยังให้ความเคารพอยู่



ผมคิดว่าในสังคมไทยเราน่าจะคิดถึงการไปในทิศทางของการที่สถาบันกษัตริย์จะ ไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง คือมีการป้องกันไม่ให้ถูกใช้เป็น เครื่องมือทางการเมือง การแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันอย่างตรงไปตรงมาอย่างสุภาพน่าจะทำได้ โดยไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องตามมาตรา 112"



ปัญหาทุกวันนี้ไม่ใช่แค่ใครก็ไปแจ้งจับได้ แต่ผู้ใช้กฎหมายมีความโน้มเอียงที่จะวินิจฉัยว่าพูดอะไรก็ผิดหมด ดูเหมือนพูดพาดพิงอะไรแทบไม่ได้เลย

"อันนี้เป็นอันตรายต่อสถาบันด้วย เรื่องแปลกคือคนที่เป็นแนวอนุรักษ์จะมองอย่างนี้ วิธีเดียวที่จะป้องกันสถาบันกษัตริย์ให้ยั่งยืนได้ ก็คือต้องใช้กฎหมายมาเล่นงานใครก็ตามที่พูดพาดพิงถึงสถาบันในทางที่เขามอง ว่าไม่เหมาะสม เขามองว่าวิธีนี้คือวิธีป้องกัน แต่ผมกลับมองตรงกันข้าม วิธีที่จะทำให้สถาบันกษัตริย์มีความยั่งยืน คือทำให้เป็นสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยที่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น



ตราบใดที่ไม่เป็นการหมิ่นประมาทต่อคนหรือต่อสถาบัน แต่คำว่าหมิ่นประมาทนั้นก็ต้องเป็นเจตนารมณ์ที่จะกล่าวหาในทางเท็จ หรือเป็นเจตนารมณ์ที่จะใช้ภาษาดูหมิ่นดูแคลน ไม่ใช่เรื่องของการแสดงความคิดเห็นทั่ว ๆ ไป"



"ผมคิดว่าตอนนี้มีความเชื่อที่ผิดอยู่อย่างหนึ่ง ผมเองไม่ค่อยเชื่อว่ามีขบวนการที่จะล้มสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย แต่ฝ่ายคุณสนธิ ฝ่ายพันธมิตรฯ หรือฝ่ายอนุรักษนิยม พยายามจะควักออกมาตลอดเวลาว่าตอนนี้มีอันตรายนะ มันมีขบวนการที่จะล้มล้างนะ แม้แต่ อ.ใจ ลึกๆ ผมไม่คิดว่า อ.ใจมีเป้าหมายจะล้มสถาบันกษัตริย์ และไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ว่าพวกคุณทักษิณจะต้องการล้มสถาบัน แต่ผมพูดแทนไม่ได้"



"ที่ผมพูดแทนได้คือ ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ที่อยู่ในกลุ่ม 2 ไม่เอา สิ่งที่เขาต้องการคือสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่ความคิดที่จะล้มสถาบันกษัตริย์ แต่ต้องการให้สถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองทุกรูปแบบ อยู่เหนือการถูกใช้เป็นเครื่องมือโดยใครก็ตาม ขบวนการที่พยายามเชิดชูกษัตริย์ บางทีก็เป็นขบวนการที่ใช้สถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือทางการเมืองเหมือนกัน ต้องมองอันนี้ให้เห็นชัดเจนด้วย"



เมื่อดึงมาเป็นเครื่องมือ ก็ถูกตีโต้กลับ

"จริงๆ เราจะเห็นว่า การเชิดชูสถาบันกษัตริย์จะเกิดขึ้นในยุคเผด็จการทางทหาร การเพิ่มโทษหมิ่นฯ สถาบัน การเชิดชูสถาบันแบบต่อเนื่องจะเกิดในยุคเผด็จการมากที่สุด เพราะเผด็จการต้องการใช้สถาบันกษัตริย์สร้างความชอบธรรมในการถืออำนาจของตัว เอง"



ฝ่ายอนุรักษนิยมเขาเชื่อว่า สถาบันจะมั่นคงได้ต้องไม่วิพากษ์วิจารณ์เลย

"เป็นการสร้างสถานการณ์ที่ไม่เป็นปกติ มันจะเป็นสถานการณ์ที่ตึงเครียด คือสถาบันกษัตริย์มีความสำคัญต่อทุกส่วนของสังคม คนก็ต้องพูดถึงได้ ต้องแสดงความคิดเห็นได้ ที่บอกว่าคนพูดไม่ได้นี่ ทั้งสร้างความตึงเครียดและก็ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความเห็น ผมว่าจริง ๆ แล้วในสังคมไทยสิ่งที่คนคุยกันที่บ้าน และสิ่งที่พูดกันในทางการมันต่างกัน



สังคมไทยเป็นสังคมที่เคารพสถาบัน แต่เสรีภาพในการพูดถึงสถาบันจริงๆ ก็คือที่บ้าน หรือบางทีในแวดวงเพื่อนฝูงในสำนักงาน แต่พอเป็นเรื่องทางการหรือทางสาธารณะกลับพูดไม่ได้ เสรีภาพถูกจำกัด และตอนนี้มันกลายเป็นว่าอันตรายสำหรับคนที่จะแสดงความคิดเห็น"


พ.ร.บ.คอมพ์ปิดกั้น



อ.คัดค้าน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ต้น ตอนนี้จะเสนอแก้ไขด้วยใช่ไหม

"ผมกำลังหวังว่าภาคประชาชนจะสามารถรวบรวม 10,000 รายชื่อมาแก้ไขกฎหมายคอมพิวเตอร์ ผมคิดว่าเป็นกฎหมายที่เป็นอันตรายต่อเสรีภาพ คืออินเทอร์เน็ตถือเป็นสื่อที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นสื่อที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ เป็นสื่อที่เป็นเวทีสำหรับประชาชนทุกคน ถ้าไม่มีเสรีภาพในอินเทอร์เน็ตก็เท่ากับไม่มีเสรีภาพสำหรับประชาชน ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ"



"กฎหมายคอมพิวเตอร์ผลที่เกิดขึ้นหลายอย่างเป็นเรื่องที่น่ากลัว เช่น มีการจับคนแบบเงียบๆ ตั้งแต่ยุค คมช. หลังกฎหมายออกมามีคนถูกจับแบบเงียบๆ ผมได้รับร้องเรียนอยู่รายหนึ่ง เป็นผู้หญิง ครอบครัวก็ยากจน ตำรวจกับไอซีทีมาที่บ้านตอนเช้า จับตัวไป ในที่สุดเข้าใจว่าไม่ฟ้อง แต่ขังไว้หลายวัน โดยไม่มีใครรู้และไม่สามารถประกันตัวได้ ก็เป็นผู้หญิงที่โพสต์ความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ต



การกระทำแบบนี้สร้างความกลัว คือในที่สุดก็ไม่ดำเนินคดีแต่เป็นการข่มขู่สร้างความกลัว พ.ร.บ.ก็เขียนไว้กว้างมาก ข้อความที่ต้องห้ามคือข้อความไหนก็ได้ที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ซึ่งการตีความว่าอะไรเป็นภัยต่อความมั่นคง มันสามารถตีความได้กว้างมาก ตรงนี้ต้องแก้ไข"



อ.จอนบอกว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ไม่ได้ใช้แค่กรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเท่านั้น

"แม้แต่ตั้งคำถามเกี่ยวกับสถาบันที่มีอิทธิพลในสังคม สถาบันทหาร สมมติพูดถึงความรุนแรงในภาคใต้ ตั้งคำถามเกี่ยวกับการใช้อำนาจ การใช้ความรุนแรงของรัฐใน 3 จังหวัดภาคใต้ ถ้าเขาจะเล่นงานเขาก็สามารถควัก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาเล่นงานได้ อาจจะบอกว่าเรื่องนี้เป็นผลเสียต่อความมั่นคงของประเทศ มากล่าวหาตำรวจ-ทหาร เป็นเรื่องที่เป็นอันตราย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ออกในยุค คมช. เป็นกฎหมายที่เป็นอันตรายต่อเสรีภาพ อาจจะมากยิ่งกว่ามาตรา 112 หรือพอๆ กัน ขอบเขตของการที่จะเล่นงานกว้างกว่าเรื่องเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์"



มันทำให้เว็บไซต์ที่เปิดให้แสดงความคิดเห็นพร้อมจะโดนเล่นทุกเมื่อ

"ไม่จำเป็นต้องเป็นเว็บไซต์ แม้ใครมีในคอมพิวเตอร์ตัวเอง สมมติใครก็ตามเก็บแถลงการณ์ของ อ.ใจ สยามแดง อยู่ในคอมพ์ของตัวเองอาจจะถูกเล่นงานว่าผิด สมมติว่าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพิมพ์ข่าวแล้วเก็บไว้ ก็อาจจะผิดกฎหมายได้ ไม่จำเป็นต้องเอาขึ้นเว็บไซต์ ตอนร่างแรกๆ พ.ร.บ.เลวร้ายมาก แต่ตอนหลังมีการปรับบ้าง ดีขึ้นหน่อย แต่ยังมีลักษณะที่เป็นอันตรายอยู่"



ที่ประชาไทโดนคือมีความผิดเท่าคนที่โพสต์

"ใช่ มันเหมือนกับว่าในเมื่อประชาไทเป็นเจ้าของเว็บไซต์ ในเว็บไซต์นั้นมีเว็บบอร์ดและเปิดให้คนโพสต์ ก็เหมือนกับเขาโทษประชาไท ผมรับได้ระดับหนึ่ง ไม่ต้องพูดถึงสถาบัน สมมติว่ามีข้อความในเว็บบอร์ดที่หมิ่นประมาทบุคคลใดคนหนึ่ง แล้วเจ้าของเว็บไซต์นั้นรู้และปล่อยให้มันอยู่ ผมคิดว่าก็มีความผิด คุณต้องรับผิดชอบเหมือนกัน เช่น



ผู้อ่านแจ้งแล้ว ซึ่งในประชาไทระบบของเว็บบอร์ดทุกโพสต์ผู้อ่านคนอื่น สามารถแจ้งลบได้ เจ้าของเว็บไซต์มีความรับผิดชอบในระดับหนึ่งคือต้องรับผิดชอบต่อการดูแล ทีนี้อะไรคือการดูแลรับผิดชอบที่ถือว่าใช้ได้ในความเห็นผม ก็คือการที่เปิดให้ประชาชนแจ้ง หรือเจ้าของเว็บจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปดูเป็นระยะๆ"



กม.คอมพ์คุมเสรีภาพ



จีรนุช เปรมชัยพร



"เขามีความเชื่อว่าเรื่องเหล่านี้มีขบวนการ ตำรวจเขาจะเริ่มต้นจากสมมติฐานว่าเป็นขบวนการ เขาไม่เริ่มต้นจากสมมติฐานว่าคนเหล่านี้เป็นประชาชนคนอิสระ ไม่ได้รู้กันมาก่อน เขาจะเชื่อว่าเป็นขบวนการและจะสาวว่ามี connection มี link"



"จิ๋ว" เว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์ประชาไท ผู้หวิดที่จะต้องนอนห้องขังกองปราบปราม ถ้าไม่ได้รับการประกันตัวในนาทีสุดท้ายเย็นวันศุกร์



7 วันผ่านไป ถามเธอว่ามีการติดต่ออะไรจากตำรวจอีกไหม เธอบอกว่าไม่มี เห็นแต่ข่าวที่ตำรวจโดย พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร รอง ผบช.ก. ให้สัมภาษณ์ว่าการออกหมายจับเป็นไปอย่างถูกต้องตามกระบวนการขออนุมัติศาล ไม่ใช่การกลั่นแกล้ง



จิ๋วบอกว่าก่อนหน้านี้เธอก็เคยไปประชุมกับตำรวจ กับ พล.ต.ท.ธีระเดช รอดโพธิ์ทอง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล แล้วก็ไปประชุมร่วมกับกระทรวงไอซีที 2 ครั้ง



"เขาเชิญผู้ดูแลเว็บไปคุยเรื่องขอความร่วมมือ เราก็ไปโดยตลอด"



เธอบอกว่านับแต่มี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ตำรวจก็เข้ามาติดต่อขอความร่วมมืออยู่ตลอด



"หลัง พ.ร.บ.เริ่มบังคับใช้ ก.ค.51 เขาก็ติดต่อมา เรียกเราเป็นพยานทั้งพยานเอกสาร พยานบุคคล ประมาณ 9 ครั้ง ในฐานะพยานว่ามีผู้มาทำความผิดบนเว็บไซต์ของเรา และก็ไปให้ข้อมูลว่าเว็บประชาไทก่อตั้งยังไง เราดูแลแบบไหนยังไง มีข้อมูลผู้โพสต์หรือเปล่า"



ให้ความร่วมมือแล้ว



ที่ตำรวจขอเกือบทั้งหมดประชาไทไม่มีข้อมูลให้ จิ๋วอธิบายว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มีระยะเวลาตามบทเฉพาะกาลที่ให้เว็บไซต์ต่างๆ ต้องเก็บข้อมูลของผู้โพสต์

"ตอนเขาติดต่อมา เขาขอข้อมูลตั้งแต่กฎหมายยังไม่มีผลบังคับใช้ เราก็ไม่มีข้อมูลให้เขา รวมถึงหลังจากมีผลบังคับใช้ เราเก็บข้อมูล 90 วันตามกฎหมายกำหนด แต่ส่วนใหญ่ของกระทู้ที่เขาขอมาจะเป็นข้อมูลที่นานเกินกว่า 90 วัน"



"มีอยู่รายเดียวซึ่งเป็นรายที่เป็นผลคดีสืบเนื่องมาที่เรา ที่ตำรวจเขา เชื่อว่าเป็นบัฟฟาโล่บอย แต่ที่โพสต์ในเว็บบอร์ดเราเป็นชื่ออื่น เพราะประชาไทไม่มีล็อกอินชื่อบัฟฟาโล่บอย ถ้าตามความเข้าใจที่เราดู คนที่โพสต์น่าจะไป copy ข้อความมาจากบัฟฟาโล่บอย ซึ่งอาจจะโพสต์ใน Hi5 ของเขาซึ่งปิดไปแล้ว"



รายนี้ประชาไทให้ข้อมูลไป แล้วก็เป็นรายเดียวกันนี้แหละที่ตำรวจย้อนมาเอาผิดประชาไท ตามมาตรา 15 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

"เป็นรายเดียวที่อยู่ในระยะไม่เกิน 90 วัน เราก็ให้ตัว IP ก็ปรึกษากันอยู่ว่าจะเอาอย่างไร สุดท้ายก็โอเคทำตามกฎหมาย"



เธอบอกว่าข้อความนี้โพสต์เมื่อ 15 ต.ค.และปิดไปแล้ว ยังตรวจทานข้อมูลไม่ได้ว่าปิดเมื่อไหร่ แต่ตำรวจอ้างว่าประชาไทเก็บข้อมูลไว้ 20 วัน ตั้งแต่ 15 ต.ค.-3 พ.ย.



"ตอนที่เราลบน่าจะเป็นตอนที่มีหมายจากตำรวจขอข้อมูล เราก็คลิกไปดูตามเลข กระทู้นั้นว่าข้อความมันคืออะไร ซึ่งเราก็คิดว่าโดยลักษณะแล้วนี่เป็นการแจ้งเตือนจากเจ้าหน้าที่ เราก็ปิด"



"แต่เราก็กลับไปดูอี-เมล์จากกระทรวงไอซีทีที่เขาส่งมารายวัน จะมี list ของหน้าเว็บต่างๆ ที่มีคนแจ้งเตือนเข้าไป ไล่เช็กดูตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค.ถึงต้นเดือน พ.ย.ว่ามีอี-เมล์ที่แจ้งเตือนกระทู้นี้ไหม ก็ไม่เจอว่ามี เราไม่ได้รับการแจ้งใดๆ จากไอซีที"



หลังจากประชาไทให้ IP ไป ตำรวจก็ไปจับคนที่โพสต์

"เราให้ IP ไปประมาณ ธ.ค. แล้วประมาณ ม.ค.มีการจับกุมรายหนึ่งที่โพสต์ในเว็บบอร์ดประชาไท ประชาไทก็ลงข่าว ตำรวจมีหมายเรียก บก.เป็นพยาน และระบุว่ามีผู้ต้องหาในคดีนั้นเป็นใคร ชูวัส (ฤกษ์ศิริสุข) ก็ไปให้การโดยไม่รู้ว่าคืออะไร ก็พยายามสอบถามถึงทราบว่าเป็นคดีเดียวกันกับที่เราให้ IP ตำรวจไป เราเลยรายงานข่าว แต่ก็ไม่เปิดเผยชื่อบุคคล คือเราไม่อยากให้การดำเนินการจับกุมใดๆ กลายเป็นการจับเงียบ จริงๆ คิดว่ามีอีกหลายกรณีที่เป็นการจับเงียบ โดยที่เจ้าหน้าที่ดูเหมือนอยากจะทำคดีในทางเงียบมากกว่า"



คนที่ถูกจับ ประชาไทไม่เคยเจอ ทราบแต่ว่าเป็นผู้หญิงอายุ 20 เศษ

"เท่าที่รู้คือได้ประกันตัวด้วยวงเงิน 2 ล้าน ครอบครัวคงพอมีฐานะ แต่ได้ประกันหลังจากไปอยู่ในเรือนจำเกือบสัปดาห์ ชูวัสเล่าให้ฟังว่าตำรวจไปจับวันตรุษจีน ก็เป็นตรุษจีนที่เศร้า บุกไปที่บ้าน พ่อแม่ก็ไม่รู้เรื่อง เขาน่าจะยังให้การปฏิเสธอยู่ วันก่อนเจอตำรวจก็ถามว่าเขารับหรือเปล่าว่า เป็นบัฟฟาโลบอย ตำรวจก็บอกว่าใครจะยอมรับ"

"ตามความเข้าใจส่วนตัว คิดว่าเขาไม่ใช่บัฟฟาโลบอย แต่ตำรวจอาจจะปักใจว่าเป็น เพราะเขารู้สึกว่าบัฟฟาโลบอยเป็นอะไรที่เขาต้อง hunting ให้ได้ เป็นความท้าทาย"



"อีกอันหนึ่งที่เรารู้สึกได้คือ หลายกรณีที่เกิดขึ้นเหมือนกับมีความเชื่อว่าเรื่องเหล่านี้มีขบวนการ ตำรวจเขาจะเริ่มต้นจากสมมติฐานว่าเป็นขบวนการ เขาไม่เริ่มต้นจากสมมติฐาน ว่าคนเหล่านี้เป็นประชาชนคนอิสระ ไม่ได้รู้กันมาก่อน เขาจะเชื่อว่าเป็นขบวนการและจะสาวว่ามี connection มี link"



หลังจากจับผู้โพสต์ได้เดือนเศษ ตำรวจจึงย้อนกลับมาจับประชาไท

"ก็เป็นเรื่องที่สงสัยอยู่เหมือนกันว่าทำไม คือถ้าตีความว่าจงใจยินยอมสนับสนุน ถ้าดูการให้ความร่วมมือของเรามาโดยตลอด มันก็ไม่ได้เป็นพฤติการณ์แบบนั้น ก่อนมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เจ้าหน้าที่แจ้งมา เราจะใช้วินิจฉัยของเราเอง เพราะเจ้าหน้าที่บางคนอาจจะ sensitive ทุกอย่างหมิ่นไปหมด หรือบางอันที่เราอ่านไม่เกี่ยวกับสถาบันเลย แต่เกี่ยวกับองคมนตรีหรือ คมช. แต่ก็มาอยู่ใน list ของการแจ้ง



เจ้าหน้าที่อาจจะมองเรื่องความมั่นคง แต่เราก็พิจารณาอีกที ถ้าเห็นแย้งเราก็ไม่ได้ปิด แต่พอ พ.ร.บ.บังคับใช้ ตัวเองก็เลือกที่จะใช้วิจารณญาณของตัวเองน้อยลง ถ้าสมมติว่ามีการแจ้งหรือคำขอมาจากเจ้าหน้าที่แล้ว ส่วนหนึ่งก็คือเราระมัดระวังเพราะไม่อยากให้นำไปตีความในมาตรา 15 ว่าเจ้าหน้าที่แจ้งเตือนมาแล้วก็ยังเพิกเฉย"
ต้องระวังรอบด้าน



"มันก็รู้สึกสับสนว่าการใช้กฎหมายคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้ ตั้งแต่มี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เราก็รู้สึกว่ามันมีโอกาสที่จะใช้ไปในการควบคุมเสรีภาพการแสดงออก มันควบคุมหลายๆ กลไก ตั้งแต่ให้คนที่เป็นผู้ให้บริการในระดับต่างๆ ไม่ว่า ISP ผู้ให้บริการ SERVER หรือระดับผู้ให้บริการเนื้อหาในเว็บไซต์หรือเว็บบอร์ด ต้องเก็บข้อมูลของการใช้งาน ซึ่งเรียกว่าข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ หลักๆ ก็คือ IP Addrees ถ้าเปรียบเทียบทั่วไปมันก็เหมือนเลขที่บ้าน เป็นรหัสชุดที่จะออกมา ISP



แต่ละเจ้าเขาก็จะมีเลขชุดของเขา เขาจะกำหนดเลขชุดนี้ให้คนที่ต่ออินเทอร์เน็ตเข้ามา ตัว ISP สามารถบอกได้ว่าตัว IP นี้ถูกใช้งานมาจากหมายเลขโทรศัพท์ใด อยู่ที่ไหน ขณะที่เราเองอาจจะไม่รู้ หรือรู้แค่ว่า IP เป็นของ ISP นี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะมาไล่ขอ IP ตามเว็บต่างๆ แล้วเขาจะไล่ต่อว่าเป็นของ ISP ไหน"



ตอนมาขอเรา ตำรวจใช้หมายศาลไหม

"เขาใช้ 2 อย่าง หมายเรียก และอ้างประมวลกฎหมายอาญาตามหมายเรียก อีกอันคือมีเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีกระทรวงไอซีที เป็นเหมือนเจ้าหน้าที่เฉพาะ ตอนนี้มีอยู่ 35 คน เขาอาจจะไม่ต้องใช้หมายอะไร สามารถทำหนังสือโดยอำนาจของเขาตามมาตรา 18 เขามีอำนาจเบื้องต้นคือเรียกดูข้อมูลได้ แต่ถ้าจะต้องทำสำเนาข้อมูล หรือยึดเครื่องไปตรวจสอบข้อมูล ต้องมีคำสั่งศาล"



อย่างนี้เขาก็เรียกดู IP ได้

"เขาต้องระบุเหตุผลว่าจะเรียกทำไม อันนี้เป็นเรื่องที่เราเคยตั้งประเด็นตอนกฎหมายออกว่า ในแง่การให้อำนาจเจ้าหน้าที่เรียกดูข้อมูล มันไม่ได้กำหนดสิทธิของผู้ให้บริการที่จะปฏิเสธได้ สิ่งที่มีก็คือเป็นบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติตาม เช่นไม่เก็บข้อมูลตามที่เขากำหนด เรามีข้อมูลอยู่แล้วไม่ให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ ก็กำหนดโทษกับผู้ให้บริการ รวมทั้งคราวนี้ที่เขาใช้เป็นการแจ้งข้อกล่าวหา มาตรา 15 ซึ่งเป็นมาตราที่ว่าด้วยผู้ให้บริการจงใจสนับสนุน ยินยอมให้มีการกระทำความผิด



และรวมไปถึงมาตรา 14 ว่าด้วยการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ ซึ่งนำผลให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหรือความเสียหายต่อรัฐ เขาก็เอามาตรา 15 มาใช้เป็นเหตุทั้งๆ ที่ถามว่าเราผิดในฐานะไหน ครั้งนี้มันก็เหมือนเราผิดในฐานะเป็นผู้ให้บริการในพื้นที่ตรงนี้"



ถามว่าข้อความนั้นชัดเจนไหม จิ๋วบอกว่าหลายกรณีก็ไม่สามารถวินิจฉัยได้ชัดเจน เพราะผู้เขียนจะเขียนอ้อมๆ ไม่ได้เขียนอะไรตรงๆ บางคนอ่านแล้วอาจไม่รู้เรื่องเลยก็ได้ ต้องมีการตีความ ซึ่งอีกปัญหาหนึ่งก็คือ ข้อความนี้โพสต์ในช่วงที่เว็บบอร์ดมีกระทู้เยอะมาก



ที่ผ่านมามีเกณฑ์ในการตัดสินใจลบข้อความอย่างไร

"เกณฑ์เราก็เข้มขึ้นเรื่อยๆ สมัยก่อนรัฐประหารประชาไทแทบจะไม่ต้องเซ็นเซอร์อะไร เราปล่อยให้คนถกเถียง กัน ถ้าคุยกันแบบมีเนื้อมีหนังของการถกเถียงกัน โดยไม่ได้ละเมิดตัวกฎหมาย"



"ที่ผ่านมาเราก็พยายามใช้ตัวกฎหมายเป็นฐาน ตั้งแต่กฎหมายหมิ่นสถาบัน หมิ่นประมาทบุคคล และก็อาจจะมีเรื่องของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ประชาไทเคยจัดเสวนาเรื่องกระทู้นรกโคตรๆ (หัวเราะ) เราก็อยากเรียนรู้วัฒนธรรมที่คนถกเถียงกันว่ามันจะมีลักษณะแบบไหนได้บ้าง หรือว่ามันจะมีพัฒนาการในเชิงสร้างสรรค์แบบไหน ปกติคนจะรู้สึกว่าสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตมักจะนิรนาม เหมือนกับทำอะไรก็ได้ มันมีทัศนคติแบบนี้อยู่ มันก็จริงบางส่วน แต่จากประสบการณ์ที่เราดูแลและสื่อสารกับคนในเว็บบอร์ด ก็พบว่าเขาไม่ได้เอาตัวตนจริงๆ แยกจากโลกไซเบอร์ มันมีตัวตนจริงๆ ของเขาอยู่"



"ประเด็นคือเมื่อเขาเข้าไปอยู่ในสังคมไหนๆ สักระยะ เขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นๆ ต่อให้เป็นนามแฝง มันก็ไม่ได้หมายความว่าเขาอยากจะพูดอะไรก็พูด เขาจะหวงแหนตัวตนของเขาไม่น้อยไปกว่าชื่อจริง จะกังวลว่าเพื่อนสมาชิกในนี้จะมองเขาเป็นคนแบบไหน ถ้าดูในชุมชนออนไลน์ไหนๆ ก็ตาม ถ้าเขามีโอกาสอยู่ในชุมชนนั้นนานพอที่รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่ง เคยเห็นบางคนที่มาแบบไม่ฟังกัน อยู่คนละฝั่ง เราให้เวลาให้คนได้ทะเลาะกันแบบนี้อีกหน่อยหนึ่ง



ให้เวลาเขาได้สนทนากันนานพอ เขาก็จะรู้สึกว่าเอ้า-เราลองคุยกัน ในเว็บบอร์ดจะมีทั้งคนประเภทกูไม่คุยกับมึง แต่มันก็มีคนที่รู้สึกเป็นเจ้าของบ้าน โอเคใครมาก็จะคอยไปต้อนรับ คิดเหมือนก็ไม่เหมือน มันจึงมีความหลากหลาย มันมีทั้ง 2 อย่าง ที่เป็นนิรนามแล้วไม่กังวลอะไรเลย ซึ่งบางทีเขาก็ไม่รู้ว่ากำลังทำในสิ่งที่อาจจะเดือดร้อนต่อตัวเขาเองได้ และมีคนที่เป็นตัวตนของคนนั้นๆ"



"หลักเกณฑ์ที่เราใช้ก็คือเรื่องกฎหมาย แต่พอเป็นเรื่องกรณีสถาบันมัน มากกว่าเรื่องกฎหมาย เพราะว่าหลายครั้งที่ใช้ ถึงแม้จะไม่ได้มีการเอ่ยถึงตรงๆ แต่มีข้อความหรือถ้อยความส่วนใดที่ถูกตีความ และเชื่อมโยงไปได้ว่าหมายถึงบุคคลในสถาบัน ก็ต้องปิด ช่วงหนักๆ มากๆ บางกระทู้ไม่อันตรายแต่เขียนล่อเป้าก็ต้องลบ เพราะถ้าเราไม่เฝ้าให้ดี ก็มาล่ะ ต้นกระทู้ไม่อันตรายแต่คำตอบอันตราย มันต้องดูแบบนี้ด้วย"



"ช่วงที่เกิดเหตุการณ์ กระทู้นี้เกิด 15 ต.ค. ช่วงนั้นกระทู้ในเว็บบอร์ดประชาไทเยอะมาก น่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมือง ช่วงนั้นหยุดงานอื่นเลยนะ นั่งอ่านกระทู้อย่างเดียว ขนาดอ่านอยู่ตลอดเวลายังอ่านไม่ทัน เราขึ้นข้อความสีแดงเตือนบนเว็บบอร์ด ว่าขอให้ใช้วิจารณญาณไตร่ตรองและพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะโพสต์ข้อความใดๆ"



การลบข้อความมีที่มาอย่างไร ให้ผู้อ่านแจ้งลบหรือ

"เราทำหลายระบบ ในประชาไทมีตั้งแต่ระบบอาสาสมัครช่วยดูแล สมาชิกทุกคนที่เป็นสมาชิกนานกว่า 1 เดือน สามารถปิดข้อความหรือกระทู้ที่เขาเห็นว่าละเมิดกติกาข้อตกลงการใช้งาน เราเลือกอันนี้ทั้งๆ ที่ถามว่ามีข้อเสียไหม-มี คนก็ติงว่าจะกลั่นแกล้งกันหรือเปล่า แต่เราเลือกทำอันนี้เพราะคิดว่าสร้างเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดกระบวนการ ปลอดภัยที่สุดก่อน ทีมประชาไทจะดูว่ามีการปิดข้อความอะไรไปของสมาชิก ถ้าเราคิดว่าปิดโดยไม่สมเหตุสมผล เราก็จะคืนข้อความนั้นกลับเข้าไปในเว็บบอร์ด เรายอมใช้วิธีหายไปก่อน"



"อีกอันคือต่อให้ไม่ได้เป็นสมาชิกสามารถกดแจ้งลบได้ ฉะนั้นโดยระบบคือเราจะดูว่ามีการปิดอะไรไปแล้วบ้าง เหมาะสมไม่เหมาะสม ถ้าไม่เหมาะสมก็คืนให้ ถ้าแจ้งลบอาจจะยังไม่ได้ปิดไป เราก็จะพิจารณาเหตุผลที่เขาแจ้งลบมา เราจะพยายามอ่านตัว topic"



"หลังจากช่วงสถานการณ์มันเข้มข้นขึ้น มาตรการเราก็เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จากแต่ก่อนเราไม่เคยคิดว่าเราต้องอ่านทุกกระทู้ ก่อนหน้านี้จะดูว่าชื่อกระทู้อันไหน ชื่อใครที่มีความเสี่ยง หรือกระทู้ที่มีการตอบเยอะๆ ก็จะคลิกเข้าไปดูว่ามีอะไรที่อันตรายไหม ตอนหลังนอกเหนือจากทำให้ระบบสมาชิกต้องร่วมดูแลแล้ว เราก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะอ่านทุกกระทู้ โดยกำหนดมาตรฐานของตัวเองไว้ว่าในระยะ 24 ชั่วโมง กระทู้นั้นเราจะต้องได้อ่าน"



เธอบอกว่าหลังจากเดือน พ.ย.เป็นต้นมาก็ตั้งเกณฑ์ที่รัดกุมขึ้น โดยตั้งเป้าว่าถ้ามีกระทู้ผิดกฎหมายก็จะไม่ปล่อยให้ข้ามวัน



ไม่มี กม.คุ้มครองบุคคล



ในมุมมองของเธอ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ละเมิดสิทธิ์กว่าเมื่อก่อนอย่างไร

"ก่อนมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ตำรวจจะมีอำนาจตามวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 52 เขามีสิทธิมาขอข้อมูล ขึ้นอยู่กับเรามีหรือไม่มีข้อมูล และไม่มีข้อกฎหมายว่าเราจะต้องเก็บข้อมูล แต่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ได้กำหนดหน้าที่ให้กับผู้ให้บริการที่จะต้องเก็บ ข้อมูล เมื่อมีการขอข้อมูลมาจากเจ้าหน้าเราจะอ้างว่าเราไม่มีข้อมูลไม่ได้ ถือว่าผิดมาตรา 26 ซึ่งกำหนดบทลงโทษไว้ด้วย"



จิ๋วบอกว่าในด้านของการจัดการอาชญากรรมคอมพิวเตอร์เธอก็เห็นด้วย แต่ต้องประกันเสรีภาพส่วนบุคคล



"พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ร่างในรัฐบาล คมช. มีผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตอนนั้นเขาใช้เหตุผลว่าเทคโนโลยีทางอาชญากรรมมันก้าวล้ำ กฎหมายที่มีอยู่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือกฎหมายมันมี 2 ส่วน ส่วนที่ว่าด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เกี่ยวกับเทคโนโลยี



แต่อีกส่วนคือเนื้อหา คือมาตรา 13, 14, 15, 16 ที่ว่าด้วยเรื่องเนื้อหา ซึ่งมันมีอยู่แล้วในประมวลกฎหมายอาญา ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาเข้ามาใส่ไว้ในนี้อีก สมมติเช่นมีคนกระทำความผิดบนคอมพิวเตอร์ เขาสามารถใช้กฎหมายหมิ่นประมาทได้ มันเหมือนกับสอดไส้เรื่องเนื้อหา นัยไม่มีอะไรมากไปกว่าต้องการควบคุมเสรีภาพในการสื่อสารผ่านกฎหมายฉบับนี้"



"ประเด็นที่กำหนดให้มีการเก็บข้อมูล โดยเฉพาะอีเมล์ละเอียดมาก มันทำให้หลายคนที่ใช้บริการอีเมล์ของไทยเลิกใช้ไปเลย อย่างไชโยเลิกเลย ไป transfer เป็นของ G-MAIL เพราะมันกำหนดให้ต้องเก็บข้อมูลส่วนตัวของคนใช้อีเมล์ เข้าไปละเมิดความเป็นส่วนตัว รวมถึงการให้อำนาจเจ้าหน้าที่มายึดคอมพิวเตอร์หรือคัดลอก เรียกดู โดยที่ไม่ได้กำหนดแนวปฏิบัติ ข้อยกเว้นที่ผู้ให้บริการหรือคนที่เป็นผู้ต้องสงสัยจะสามารถปฏิเสธอำนาจเจ้า หน้าที่ได้



ถึงแม้ในนั้นจะเขียนว่าบางเรื่องต้องใช้อำนาจศาล แต่เวลาตำรวจไปขอ process จากศาลก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหลายคนเก็บแทบทุกอย่างในชีวิตไว้ในนั้น มันมีชีวิตส่วนตัวอยู่ในนั้นด้วย ก็รู้สึกว่ามันเป็นปัญหาเรื่องการให้อำนาจเจ้าหน้าที่เข้ามาละเมิดข้อมูล ส่วนตัวของเรา มันเป็นปัญหาแง่กฎหมายอันหนึ่ง"



"จริงๆ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหลาย ตั้งแต่รัฐบาลสิบกว่าปีก่อนเคยมีคณะทำงานเรื่องกฎหมายและ set กฎหมายสำคัญๆ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีข่าวสารประมาณ 6 ฉบับ พวกธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อีคอมเมิร์ช อะไรพวกนี้ และตัว พ.ร.บ.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แต่มันจะดีกว่านี้มากหรือจะรับประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้มากกว่านี้ ถ้ามีอีกฉบับหนึ่งคู่ขนานกัน คือฉบับที่ว่าด้วยเรื่อง data protection หรือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่ว่าตอนที่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ออกมา เรื่อง data protection ไม่ได้ถูกเหลียวแลเลย"



จิ๋วบอกว่ากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะเป็นตัวถ่วงดุลกัน

"เหมือนกับอันหนึ่งเป็นเรื่องการปราบปรามโดยให้อำนาจรัฐ แต่อีกอันพูดถึงสิทธิของประชาชน แต่ที่ออกมาตอนนี้มีแต่อันที่ให้อำนาจรัฐ"



ปัจจุบันคือถ้าตำรวจถือหมายมาค้นคอมพิวเตอร์เรา เขาเอาไปได้หมดเลยใช่ไหม

"ซึ่งมันเป็นอำนาจกว้างขวาง เช่นโคลนฮาร์ดดิสก์ คำถามคือถ้าในนั้นมีข้อมูลส่วนตัวของเรา แล้วข้อมูลอันนั้นรั่วออกไป มันก็เป็นที่สงสัยได้ว่าจะรั่วไปทางไหน โดยทางเจ้าหน้าเป็นทางหนึ่งหรือเปล่า และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็ไม่ได้กำหนดความรับผิดของเจ้าหน้าที่ไว้ คือเขียนกันไว้เลยว่าเจ้าหน้าที่จะไม่ถูกฟ้อง แต่เราจะมีสิทธิได้รับการชดเชยค่าเสียหาย แต่เขาเขียนอีกว่าโดยสมเหตุสมผล"



ในมาตรา 15 กำหนดให้ผู้ดูแลเว็บไซต์ร่วมรับผิดกับผู้ทำผิด

"และฐานโทษเดียวกัน สมมติว่าคนนั้นมีความผิดตามมาตรา 14 จำคุกไม่เกิน 5 ปี เราซึ่งผิดตามมาตรา 15 ก็มีสิทธิที่จะติดในอัตรา 5 ปีเหมือนกัน"



บางคนอาจบอกว่าก็เหมือน บก.หนังสือพิมพ์ แต่จิ๋วแย้งว่าต่างกัน



"มันถืออย่างนั้นไม่ได้ บก.หนังสือพิมพ์เป็นผู้รับผิดชอบเนื้อหานั้นๆ อย่างชัดเจน ต่อสิ่งใดๆ ก็ตามที่เผยแพร่ออกไป คือถ้าเนื้อหาที่ออกไปจากประชาไทในส่วนที่กอง บก.รับผิดชอบ อันนี้เราปฏิเสธไม่ได้ แต่อินเทอร์เน็ตทุกวันนี้มันเป็นที่ทางของการเปิดเสรีการสื่อสาร จะไปตีความว่าคนที่ดูแลเว็บไซต์ทำหน้าที่เหมือนบรรณาธิการ ก็ไม่ใช่แล้ว จะคาดหวังให้บรรณาธิการเว็บไซต์มานั่งอ่านมันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้"



เธอเห็นว่าอินเทอร์เน็ตคือเสรีภาพที่กว้างกว่า



"เหมือนเราเปิดร้านกาแฟ คนที่เข้ามาเราไม่มีโอกาสกลั่นกรองข้อความของคนที่เข้ามานั่งในร้าน หรือเหมือนห้องสมุด หนังสือในห้องสมุดเราเป็นคนคัดสรร แต่ในห้องสมุดนั้นก็อาจจะมีโต๊ะข้างๆ ที่คนจิบกาแฟคุยกัน เราไม่ได้มีความสามารถไปกลั่นกรองถ้อยคำที่จะออกจากปาก"



บางคนที่ไม่ต้องการเห็นแบบนี้ก็จะบอกว่าปิดร้านกาแฟไปเลย

"ก็ต้องถามว่าโลกของการสื่อสารทุกวันนี้ เราจะอยู่ในโลกที่มืดๆ เป็นพลบค่ำไม่มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนหรือ หลายครั้งของการเกิดขึ้นของแนวคิดดีๆ บางทีมาจากวงแบบนี้นะ มาจากการถกเถียง มันไม่ได้มาจากวงวิชาการที่ถูกเตรียมไว้อย่างเป็นระบบ มันมาจากวงที่คนรู้สึกอิสระกับการสื่อสาร ถกเถียงพูดคุยได้เต็มที่

เราไม่ได้คิดว่าเราเป็นคนที่รู้ดีที่สุดในการกำหนดกติกา แต่เราหวังว่าโลก ของการสื่อสารบนนี้คนจะเรียนรู้และร่วมกำหนดกติกาด้วยกัน เช่นการที่ให้สมาชิกสามารถตัดสินปิดกระทู้ เพราะเราคิดว่าบางที judgement เราก็ไม่ถูก เราใช้รสนิยมของเราไปกำหนดรสนิยมคนอื่นซึ่งอาจจะผิดก็ได้ ถึงสุดท้ายเราจะเป็นคนตัดสินใจแต่เราไม่ได้ใช้วิธีเป็นคนบอกว่าอันนี้ถูกที่ สุด อันนี้ผิดที่สุด"



ผลสะท้อนอีกด้านหนึ่งใช่ไหมว่าผู้ให้บริการบางเว็บบอร์ด ถ้าไม่แน่ใจก็ปิดไปเลยหรือเซนเซอร์หมด

"self censor เกิดขึ้นโดยทันที ข้อที่แย่ของกฎหมายคอมพิวเตอร์ มันได้ทำให้รัฐลอยตัวจากความรับผิดชอบ กระทรวงไอซีทีจะพูดตลอดว่าไม่มีอำนาจไปปิดกั้นใคร เขาไม่ได้ปิด แต่กลไกที่มันถูกฝังลงไปในมาตรา 15 ผู้ให้บริการได้รับโทษเหมือนกับผู้กระทำผิด อะไรนิดหนึ่งที่รู้สึกว่าไม่เสี่ยงไว้ก่อน ผู้ให้บริการทั้งระบบ ISP ผู้ให้บริการเว็บทั้งหลายก็ต้องเลือกที่จะลบไว้ก่อนเลย".



เว็บบอร์ดยอดฮิต

"พันทิปเขาโตขึ้นมาจากการเป็นเว็บบอร์ด เขาวางโครงสร้างทีมงานเขาไว้ แต่ประชาไทเกิดจากเราตั้งใจที่จะเป็นเว็บข่าว เพียงแต่เราเป็นเว็บข่าวที่เชื่อเรื่องการสื่อสาร และเชื่อว่าคนอ่านสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของให้ได้มากที่สุด ในอินเทอร์เน็ตความเห็นท้ายข่าวหรือเว็บบอร์ด มันก็คือการที่เขาเข้ามามีส่วนร่วม ที่เราเปิดเว็บบอร์ดก็เพื่อสร้างพื้นที่ที่เขาสามารถจะแลกเปลี่ยนกับทีมงาน และไม่ได้เคยวางว่าจะต้องมีเจ้าหน้าที่มาทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่องเว็บ บอร์ด"

จนกระทั่งสถานการณ์พาไป หลังรัฐประหาร ประชาไทมีคนเข้าท่วมท้น

"อันนี้มันก็สะท้อนความเป็นจริง ที่พาเว็บประชาไทมาถึงวันนี้ ส่วนหนึ่งก็อาจจะเพราะคนรู้สึกว่าไม่มีที่ทางที่ไหนที่เขาจะสื่อสารได้ มันมีภาวะอึดอัด เขาอยากสื่อสาร มันถึงทำให้คนจำนวนไม่น้อยที่อาจจะไม่เคยอ่านประชาไทเลยมาที่เว็บบอร์ดประชาไท"

ตอนนี้มีคนเข้าเท่าไหร่ จิ๋วบอกว่าเว็บบอร์ดประมาณวันละ 20,000 คน หน้าข่าวประมาณหมื่นกว่าคน แต่ข่าวก็จะถูกส่งไปทางอีเมล์

"เว็บบอร์ดประชาไทแรกๆ คนแทบจะไม่ถกเถียงอะไรเลย พื้นที่สนทนาแต่ละที่มันใช้เวลาสะสมคนที่เข้ามาเป็นสมาชิกในชุมชนนั้นๆ เขาแลกเปลี่ยนกันจนถูกอัธยาศัย เหมือนในเว็บบอร์ดประชาไทเขาจะบอกว่าเหมือนกลับบ้าน มาคุยกันคนที่เล่นมุกกันแล้วเข้าใจ ช่วงก่อนรัฐประหารก็จะมีเข้ามาคุยทั้งฝ่ายที่เอาทักษิณไม่เอาทักษิณ ตอนนั้นไทยรักไทยยังเป็นรัฐบาล ช่วงนั้นวิธีดูแลเว็บของเราไม่ใช่ไปนั่งปิด

แต่อ่านแล้วเข้าไปคุยกับเขา เช่น ถ้าเขาอาจจะมีข้อสงสัยเกี่ยวข้องกับประชาไท เราก็จะบอกว่าเราคิดยังไง หรือถ้าบางคนที่ทะเลาะกันแรงๆ เราก็จะเข้าไปบอกว่าคุยกันดีๆ ดีไหม จนกระทั่งหลังรัฐประหารก็เกิดกระแสฮือมา เว็บบอร์ดหลายที่ปิดตัวเองชั่วคราว ใครหาที่ไหนคุยไม่ได้ก็มาประชาไท ตอนแรกเราก็คิดว่าคงมาแค่ชั่วคราว ก็มีจำนวนหนึ่งไป แต่อีกจำนวนมากที่อยู่ มากขึ้นกว่าเดิมเป็น 10 เท่า หลังจากนั้นก็มีคนกลุ่มใหม่ๆ เข้ามาเรื่อยๆ "



"ก่อนรัฐประหารประชาไทมีวันละพันคนก็เก่งแล้ว ช่วงมีเรื่องภาคใต้ 4,000 สูงสุดแล้ว หลังรัฐประหารก็เริ่มเป็นหมื่น ค่อยๆ เพิ่มสะสมมาเรื่อยๆ"



เฉพาะสมาชิกตอนนี้ 2 หมื่นกว่าคน

"แต่ก่อนประชาไทไม่ต้องล็อกอินเลย จนช่วงที่การเมืองระอุมากๆ มันก็เหมือนสนามรบกลายๆ เป็นพื้นที่สงครามในโลกไซเบอร์ ซึ่งเราก็เห็นว่าดีนะ อย่างน้อยก็ไม่เป็นสงครามกันข้างนอก"



ตอนหลังพวกพันธมิตรฯ ก็บอกว่ามีแต่สีแดงเต็มไปหมด

"เราไม่ได้จัดตั้ง เราเป็นพื้นที่อิสระจริงๆ ไม่มีปัญญาไปจัดตั้งใคร ใครมาก็มา แต่มันมีธรรมชาติของการสื่อสาร หลังรัฐประหารคนกลุ่มที่ต้านรัฐประหารก็มาประชาไท จำนวนมากอาจจะเป็นกลุ่มรักทักษิณมา บางคนมาแรกๆ บอกว่าไม่เคยชอบประชาไทเพราะประชาไทชอบด่าทักษิณ โดยธรรมชาติมนุษย์เราคิดว่ามันจะเป็นประโยชน์กว่า ถ้าเราเปิดโอกาสให้ความ เห็นที่ต่างได้เข้ามาแลกเปลี่ยน

คนที่พอคิดเหมือนๆ กันก็จะคิดว่าเป็นพวกพ้องกัน พอเสียงความเห็นต่างเข้ามาก็เจอแรงปะทะ ก็เป็นธรรมชาติ ถ้าถามว่าในเว็บบอร์ดประชาไทเป็นสีแดงเยอะไหม ก็ต้องบอกว่าสมาชิกส่วนใหญ่นิยมสีแดง แต่ถามว่าในกติกาที่ประชาไทกำหนดไว้เราปิดกั้นหรือกีดกันใครไหม เราไม่ อันนี้เป็นศีลอันเคร่งครัด"



เท่าที่เห็นสีเหลืองก็มาโพสต์ด่า แต่ด่าแล้วก็ไป

"ถ้าคนถามว่าเราใช้เกณฑ์เป็นธรรมไหม เราต้องบอกว่าเราไม่เป็นธรรมด้วยซ้ำ คือกรณีที่เป็นเสียงข้างน้อยเข้ามาแล้วอาจจะหยาบกว่าบางอัน แต่เราไม่ปิดเพราะคิดว่ามันมีประเด็นอยู่บ้าง และเราไม่อยากให้ในนี้ไม่มีเสียงต่าง ฉะนั้นเราอาจจะอะลุ้มอล่วยให้สีเหลือง อะไรประมาณนี้ ถ้าเทียบโดยตัวข้อความ มนุษย์ไม่ควรจำกัดตัวเองไว้กับคนที่คิดเหมือนกัน เพราะคุณกำลังทำลายโอกาสตัวเองในการที่จะเปิดรับฟังมุมที่คุณคิดไม่ถึง มนุษย์ไม่มีทางคิดทุกอย่างจบและสมบูรณ์"





ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ไทยโพสต์ แทบลอยด์ ฉบับวันที่ 15 มีนาคม 2552







http://www.prachatai.com/05web/th/home/15941
--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 16/3/2552

วิธีใส่ข้อความใต้ลิ้งค์ที่อยู่เว็บบล็อกของเราเวลาคอมเม้น (ใส่ลายเซ็น)

วิธีใส่ข้อความใต้ลิ้งค์ที่อยู่เว็บบล็อกของเราเวลาคอมเม้น (ใส่ลายเซ็น)
http://www.oknation.net/blog/19/2009/02/10/entry-1

องค์ประกอบที่ทำให้คนอ่าน Blog ของเรา
http://www.oknation.net/blog/soda/2009/03/01/entry-1

ย่อภาพเพื่ออัพบล็อก
http://www.oknation.net/blog/pisitmit/2009/01/04/entry-1

สานฝันสำหรับคนอยากเป็นบล็อกเกอร์
http://www.oknation.net/blog/yokekung/2009/02/18/entry-2

มาเล่นสนุกกับภาพถ่าย (1) ... จับภาพมาใส่กรอบแบบคลาสสิก
http://www.oknation.net/blog/surasakc/2009/02/22/entry-1

มาเล่นสนุกกับภาพถ่าย (5) ... ขึ้นปกนิตยสารชื่อดังของโลก
http://www.oknation.net/blog/surasakc/2009/03/04/entry-1

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 17 มีนาคม 2552 เวลา 13.30 – 16.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม แกรนด์มิลเลเนียม สุขุมวิท (ตรงข้ามสยามสมาคม อโศก)

เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์ ปฏิทินข่าว

เรียน ท่านสื่อมวลชน


สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (สพภ.) โดยนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานกรรมการ คณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัว “Bio Gang” กิจกรรมการประกวด “The Best Bio Gang Contest” การประกวดการบันทึกข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาทางท้องถิ่น ชิงทุนการศึกษารวมกว่า 300,000 บาท และเปิดตัวเว็บไซต์ www.biogang.net อย่างเป็นทางการ โดยมีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายอภิวัฒน์ เศรษฐรักษ์ ผอ.สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)เข้าร่วมงาน ในวันอังคารที่ 17 มีนาคม 2552 เวลา 13.30 – 16.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม แกรนด์มิลเลเนียม สุขุมวิท (ตรงข้ามสยามสมาคม อโศก)




ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

บริษัท พริสไพออริตี้ จำกัด โทร.0-2712-7471-3

คุณจิรกาล คุ้มประวัติ (โบ๊ต) 086-527-4461

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552

“เปิดเว็บไซต์ฟรีกับ www.dbdmart.com โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า”

“เปิดเว็บไซต์ฟรีกับ www.dbdmart.com โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า”





กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ชื่อ www.dbdmart.com สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการทำการทำการค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อเพิ่มช่องทางทางการตลาดให้กับสินค้า/บริการของท่าน ให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น โดยท่านสามารถสมัครสมาชิกเพื่อขอใช้บริการในระบบต่างๆ ได้ฟรี ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหน้าร้านอิเล็กทรอนิกส์ , Webboard โดยระบบจะมี


- Template ของหน้าร้านอิเล็กทรอนิกส์ให้เลือก 10 แบบ


- สามารถสร้าง Product Catalog ได้แบบไม่จำกัดจำนวนสินค้า


- มีระบบ Matching เมื่อผู้ซื้อ-ผู้ขายได้ลงประกาศซื้อ - ขายไว้บน กระดานซื้อ-ขาย เมื่อมีความต้องการสินค้าใดตรงกันระหว่างผู้ซื้อ - ผู้ขายสินค้านั้น ระบบจะทำการจับคู่ผู้ซื้อ-ผู้ขาย และแจ้ง และแจ้งเตือนไปยัง e-mail ของผู้ซื้อ และผู้ขายทันที


- มีระบบ Directory ร้านค้าและสินค้า


- สามารถเชื่อมข้อมูลไปยังฐานข้อมูลการจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


- สามารถเชื่อมข้อมูลไปยัง Homepage การขอใช้เครื่องหมาย Trustmark


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 547-5959-61 หรือ e-commerce@dbd.go.th

การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของสมาชิก www.dbdmart.com

28 กันยายน 2549 , 16:50 น.

การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของสมาชิก www.dbdmart.com


ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 นั้น กำหนดให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ต้องมาจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้ว่า ผู้ประกอบการมีตัวตนจริงหรือไม่ เป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำธุรกรรมอะไรบ้าง โดยผู้ประกอบพาณิชยกิจในเชิงพาณิชย์อันเป็นอาชีพปกติ ดังต่อไปนี้จะต้องมาจดทะเบียนพาณิชย์ คือ


(1) ซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
(2) บริการอินเตอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
(3) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)
(4) บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-Marketplace)


เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการ และเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการตัดสินใจทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงขอให้ผู้ประกอบการที่สมัครเปิดร้านค้าออนไลน์ใน www.dbdmart.com ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตามประกาศฉบับดังกล่าวกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ได้รับอนุมัติให้เปิดร้านค้า โดยท่านสามารถดูรายละเอียดการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และดาวน์โหลดแบบฟอร์มการจดทะเบียนได้ที่นี่ Click หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โทร. 0 2547 59759–61 หรือ e-mail : e-commerce@dbd.go.th
















- วิธีการนำโค๊ดการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ ไปใส่ที่เว็บไซต์ของคุณ (new)
- หากพบข้อผิดพลาดให้แจ้งกลับที่ โทร. 02 547 5959-61 E-mail : e-commerce@dbd.go.th

--------------------------------------------------------------------------------

ก ร ม พั ฒ น า ธุ ร กิ จ ก า ร ค้ า

44/100 ถนน นนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทร. 0-2547-5967
:: Contact กองพาณิชย์อเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธรุกิจการค้า::

http://www.dbd.go.th/edirectory/news.php?id=79&L=th

หลักสูตร เปิดโลกธุรกิจออนไลน์กับ www.dbdmart.com ปี 2552 ณ.ห้องอบรมคอมพิวเตอร์ 30516 ชั้น 5 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ใบสมัครอบรม
หลักสูตร เปิดโลกธุรกิจออนไลน์กับ www.dbdmart.com ปี 2552
ณ.ห้องอบรมคอมพิวเตอร์ 30516 ชั้น 5 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ชื่อ............................................................ นามสกุล...........................................อายุ.............................ปี
ชื่อ สถานประกอบการร้านค้า/บริษัท......................................................... ที่อยู่......................................... .ถนน...........................................ตำบล (แขวง).................................อำเภอ)..............................................
จังหวัด.........................................รหัสไปรษณีย์......................โทรศัพท์มือถือ.............................................โทรศัพท์....................... .....e-mail………………………………………………………………..
ตารางกำหนดการอบรม www.dbdmart.com (รีบสมัครด่วนรับจำนวนจำกัด)
สามารถเรียนจบภายใน 1 วัน ท่านสามารถเลือกวันอบรมได้ดังนี้
เลือก  วันที่ เวลา
20 เมษายน 2552 09.00 – 12.00 น.
21 เมษายน 2552 09.00 – 12.00 น.
30 เมษายน 2552 09.00 – 12.00 น.
13 พฤษภาคม 2552 09.00 – 12.00 น.
14 พฤษภาคม 2552 09.00 – 12.00 น.
21 พฤษภาคม 2552 09.00 – 12.00 น.
22 พฤษภาคม 2552 09.00 – 12.00 น.
11 มิถุนายน 2552 09.00 – 12.00 น.
12 มิถุนายน 2552 09.00 – 12.00 น.
17 มิถุนายน 2552 09.00 – 12.00 น.
18 มิถุนายน 2552 09.00 – 12.00 น.

หมายเหตุ 1. ผู้เข้าอบรมต้องมีความรู้การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และ Internet ค่อนข้างดี
2. ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ 1 คน/เครื่อง ผู้เข้าอบรมวันละ 20 คน/ครั้ง
3. สำเนาบัตรประชาชนเพื่อขออนุมัติเป็นสมาชิก
4. สงวนสิทธิ์ ผู้เข้าอบรม 1 ครั้ง เท่านั้น
*******************************************************
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : ส่วนส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ
ชั้น 10 ตึกกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
โทร.02 5475050 ต่อ 3192 หรือ 02 5475961

**ส่งใบสมัครมาที่ : e-commerce@dbd.go.th หรือ Fax : 02 547-5973**
แผนที่

วันที่ 18-20 และ 25-27 มีนาคม 2552 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

เริ่มต้นธุรกิจอย่างไร? ให้เป็นมืออาชีพ 13-03-2552 10:06 Age: 2 days



เริ่มต้นธุรกิจอย่างไร? ให้เป็นมืออาชีพ





กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กำหนดฝึกอบรมเพื่อปูพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่เพิ่งเริ่มต้นประกอบธุรกิจ ในหลักสูตร “การเริ่มต้นธุรกิจแบบมืออาชีพ” ระหว่างวันที่ 18-20 และ 25-27 มีนาคม 2552 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

นายสุทธิศักดิ์ เลาหชีวิน รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มุ่งส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้มีความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ให้มีความพร้อมและความมั่นใจในการทำธุรกิจ ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างเหมาะสม และเป็นการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ให้มีขีดความสามารถ จนสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็ง โดยกำหนดจัดอบรมหลักสูตร “การเริ่มต้นธุรกิจแบบมืออาชีพ” ซึ่งหัวข้ออบรมประกอบด้วย การแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ, การตัดสินใจลงทุน, ความรู้เกี่ยวกับบัญชีและภาษีอากร, หลักการเขียนแผนธุรกิจ, รูปแบบการจัดตั้งธุรกิจ, การวิเคราะห์แผนธุรกิจ, การเขียนแผนธุรกิจ, กลยุทธ์และแผนการตลาดเพื่อสร้างโอกาสในภาวะวิกฤต, เทคนิคการสร้างความประทับใจเพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ตลอดจนพาศึกษาดูงานนอกสถานที่ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชนมาเป็นวิทยากรบรรยายและฝึกปฏิบัติตลอดหลักสูตร

ผู้ประกอบธุรกิจและผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสมัครเข้ารับการอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่สำนักพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจ ชั้น 12 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทรศัพท์ 0 2547 5962,64โทรสาร 0 2547 5963 E-mail : training@dbd.go.th หรือ www.dbd.go.th





********************************************



ที่มา:สำนักพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจ ฉบับที่ 25/13 มีนาคม 2552
http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=67&no_cache=1&tx_ttnews[tt_news]=36984&tx_ttnews[backPid]=55&cHash=6798bbea41

อบรมความรู้ทรัพย์สินทางปัญญาแก่ผู้นำและเจ้าหน้าที่ภาครัฐองค์กรส่วนท้องถิ่น

อบรมความรู้ทรัพย์สินทางปัญญาแก่ผู้นำและเจ้าหน้าที่ภาครัฐองค์กรส่วนท้องถิ่น
Friday, 20 February 2009
ศูนย์ฝึกอบรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้จัดอบรมความรู้ทรัพย์สินทางปัญญาแก่ผู้นำและเจ้าหน้าที่ภาครัฐองค์กรส่วนท้องถิ่น ในโครงการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างแรงจูงใจให้แก่เจ้าหน้าที่องค์กรส่วนท้องถิ่นและสื่อมวลชนท้องถิ่น ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ ซึ่งได้จัดการอบรมทั้งหมด 4 ครั้ง ระหว่างเดือน ธันวาคม 2551- มิถุนายน 2552 ดังนี้
ครั้งที่ 1 วันที่ 17-18 ธันวาคม 2551 ณ จังหวัดเชียงราย
ครั้งที่ 2 วันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2552 ณ จังหวัดนครสวรรค์
ครั้งที่ 3 วันที่ 21-22 เมษายน 2552 ณ จังหวัด สงขลา
ครั้งที่ 4 วันที่ 25-26 มิถุนายน 2552 ณ จังหวัดขอนแก่น
สอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์ฝึกอบรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร.02-5474664, 02-5474314

อบรมหลักสูตร “การสืบค้นข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา"

อบรมหลักสูตร “การสืบค้นข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา" (Trademark search และ Patent search)
Friday, 20 February 2009
ศูนย์ฝึกอบรมทรัพย์สินทางปัญญา จัดอบรมหลักสูตร “การสืบค้นข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา" ซึ่งประกอบด้วย 2 หลักสูตรย่อย คือ หลักสูตรสืบค้นข้อมูลเทคโนโลยีจากเอกสารสิทธิบัตร (Patent Search) และหลักสูตรสืบค้นข้อมูลสารระบบเครื่องหมายการค้า (Trademark Search)
ผู้สนใจสามารถสมัครได้โดยทำการเลือกหลักสูตรและวันที่ที่ต้องการเข้ารับการอบรมตามเอกสารแนบ และแจ้งมาทาง E-mail: iptraining@moc.go.th อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 02-547-4664 และ 02-547-4314 (ในเวลาราชการ)



การอบรมหลักสูตร “การสืบค้นข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา
(เครื่องหมายการค้า และ สิทธิบัตร สาขาต่างๆ)”
ครั้งที่
หลักสูตร / ระยะเวลาในการรับสมัคร
วัน-เวลาในการอบรม
ครั้งที่ 1
พฤศจิกายน 2551
เครื่องหมายการค้า
7-26 พ.ย. 2551
28 พ.ย. 51
9.00 น. – 12.00 น.
ครั้งที่ 2
ธันวาคม 2551
สิทธิบัตร สาขา วิศวกรรมเครื่องกล/ไฟฟ้า
1-19 ธ.ค. 2551
22 ธ.ค. 51
9.00 น. – 12.00 น.
ครั้งที่ 3
มกราคม 2552
เครื่องหมายการค้า
5-26 ม.ค. 2552
29 ม.ค. 52
9.00 น. – 12.00 น.
ครั้งที่ 4
กุมภาพันธ์ 2552
สิทธิบัตร สาขา วิศวกรรมฟิสิกส์/ปิโตรเคมี
2-23 ก.พ. 2552
26 ก.พ. 52
9.00 น. – 12.00 น.
ครั้งที่ 5
มีนาคม 2552
เครื่องหมายการค้า
2-23 มี.ค.2552
27 มี.ค. 52
9.00 น. – 12.00 น.
ครั้งที่ 6
เมษายน 2552
สิทธิบัตร สาขา เคมีชีวภาพ/เคมีเทคนิค
1-24 เม.ย. 2552
28 เม.ย. 52
9.00 น. – 12.00 น.
ครั้งที่ 7
พฤษภาคม 2552
เครื่องหมายการค้า
1-25 พ.ค. 2552
28 พ.ค. 52
9.00 น. – 12.00 น.
ครั้งที่ 8
มิถุนายน 2552
สิทธิบัตร สาขา วิศวกรรมเครื่องกล/ไฟฟ้า
1-26 มิ.ย. 2552
29 มิ.ย. 52
9.00 น. – 12.00 น.
ครั้งที่ 9
กรกฎาคม 2552
เครื่องหมายการค้า
1-23 ก.ค. 2552
24 ก.ค. 52
9.00 น. – 12.00 น.
ครั้งที่ 10
สิงหาคม 2552
สิทธิบัตร สาขา วิศวกรรมฟิสิกส์/ปิโตรเคมี
3-24 ส.ค. 2552
27 ส.ค. 52
9.00 น. – 12.00 น.
http://www.ipthailand.org/ipthailand/index.php?option=com_content&task=view&id=1031&Itemid=424

ลงทะเบียนเรียนได้ ตั้งแต่ วันที่ 16 มีนาคม ถึง 26 เมษายน 2552

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเรียนหลักสูตร "ความรู้ทรัพย์สินทางปัญญาพื้นฐาน (DL-101)" (ภาคภาษาไทย) ได้ฟรี ซึ่งเป็นหลักสูตรมาตรฐาน ที่ได้รับการรับรองโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (เมื่อเรียนจบแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองจากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIPO)
โดยผู้เรียนสามารถเข้าเรียนทางอินเตอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านทางเว็บไซต์ของศูนย์ฝึกอบรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ซึ่งสามารถลงทะเบียนเรียนได้ ตั้งแต่ วันที่ 16 มีนาคม ถึง 26 เมษายน 2552 และจะเริ่มเรียนตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม – 21 มิถุนายน 2552
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ฝึกอบรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร. 0 2547 4664, 0 2547 4314 (ในเวลาราชการ) หรือ ดูรายละเอียดทางเว็บไซด์ http://iptraining.moc.go.th/
ขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจเพิ่มพูนความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา
ลงทะเบียนเรียนหลักสูตร "ความรู้ทรัพย์สินทางปัญญาพื้นฐาน (DL-101)" (ภาคภาษาไทย) ซึ่งเป็นหลักสูตรมาตรฐาน ที่ได้รับการรับรองโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกได้ฟรี
(เมื่อเรียนจบแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองจากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIPO)

เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
- ทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร
- ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่างๆ
- หลักกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
ฯลฯ

โดยผู้เรียนสามารถเข้าเรียนทางอินเตอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านทางเว็บไซต์ของศูนย์ฝึกอบรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

สนใจ สมัครสมาชิกเว็บไซต์ เพื่อลงทะเบียนเรียนได้ที่นี่
ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม ถึง 26 เมษายน 2552
เริ่มเรียนวันที่ 11 พฤษภาคม ถึง 21 มิถุนายน 2552
แล้วคุณจะรู้ว่า... ทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2547 4664, 0 2547 4314 (ในเวลาราชการ)









กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก
จัดการอบรม หลักสูตร

“WIPO-Thailand Summer School on Intellectual Property”


กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization หรือ WIPO) จัดการอบรม หลักสูตร “WIPO-Thailand Summer School on Intellectual Property” ระหว่างวันที่ 18-29 พฤษภาคม 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องต่างๆ การใช้ทรัพย์สินทางปัญญาให้เกิดประโยชน์ในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี รวมทั้งให้ทราบถึงบทบาทขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในระดับนานาชาติ

การอบรมดังกล่าวจะดำเนินการโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพย์สินทางปัญญาจากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาชาวต่างประเทศจากหน่วยงานต่างๆ และผู้บรรยายซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา และผู้ประกอบการรายใหม่ ซึ่งมีอายุไม่เกิน 35 ปี

ผู้สนใจดูรายละเอียดและสมัครผ่านทางเวบไซต์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2552 ที่...

http://www.wipo.int/academy/en/courses/summer_school_thailand/index.html

หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา โทร. 0 2547 4664 และ 0 2547 4314 ในวันและเวลาราชการ หรือติดต่อโดยตรงไปยังองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกทางอีเมล์: summerschool.thailand@wipo.int








รู้จักกับ ศูนย์ฝึกอบรมทรัพย์สินทางปัญญา



รู้จักกับ ศูนย์ฝึกอบรมทรัพย์สินทางปัญญา : Intellectual PropertyTraining Center (IPTC)

IPTCจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยให้เป็นไปโดยสะดวก ทั่วถึงและเป็นระบบ เป็นการดำเนินงานภายใต้แนวคิด"ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการ พัฒนาเศรษฐกิจไทย"อันเป็นวัตถุประสงค์หลักอย่างหนึ่งของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่มุ่งมั่นให้สังคมไทยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาการผลิต เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กิจการ ให้พร้อมรับการแข่งขันจากนานาประเทศได้อย่างมั่นใจ

หลักสูตรเรียนรู้ผ่านระบบ Online
Distance Learning 101 (DL101)
DL-101ซึ่งเป็นหลักสูตรทรัพย์สินทางปัญญาขั้นพื้นฐาน ที่ได้รับความร่วมมือจาก WIPO:World Intellectual Property Organization ซึ่งมีการเรียนอยู่ในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก และวันนี้ เรามีผู้เรียนจบและสอบผ่านหลักสูตรนี้แล้วกว่า 150 คน

หลักสูตรเรียนรู้ในห้องเรียน โครงการอบรม/สัมมนา
การสืบค้นข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญามีการเปิดการเรียนการสอน 2 หลักสูตร
1.1 หลักสูตรสืบค้นข้อมูลเทคโนโลยีจากเอกสารสิทธิบัตร (Patent Search)
1.2 หลักสูตรสืบค้นข้อมูลสารระบบเครื่องหมายการค้า (Trademark Search)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ e-mail: iptraining@moc.go.th หรือ โทร.02-547-4660 และ 02-547-4311 (ในเวลาราชการ)

http://iptraining.moc.go.th/

วันที่ 26 มีนาคม 2552 เวลา 08.30 - 16.00 น. โรงแรม พลาซา อเธนี กรุงเทพมหานคร

สัมมนา BSA เรื่อง วิธีที่เหมาะสมในการบริหารจัดการซอฟต์แวร์ในองค์กรของท่าน
จันทร์, 09 มีนาคม 2009
สัมมนา BSA เรื่อง การบริหารสินทรัพย์ประเภทซอฟต์แวร์ : วิธีที่เหมาะสมในการบริหารจัดการซอฟต์แวร์ในองค์กรของท่าน

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับกองปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย สมาคมอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ไทย กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (Business Software Alliance หรือ BSA) จัดกิจกรรมโครงการรวมใจใช้ซอฟต์แวร์แท้แห่งชาติ ปีที่2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและองค์กร ธุรกิจต่างๆ ตระหนักและเคารพสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมทั้งรณรงค์ส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่ถูกกฎหมายในกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างร้าน เป็นต้น
โดยมีกำหนดจัดสัมมนา เรื่อง การบริหารสินทรัพย์ประเภทซอฟต์แวร์ : วิธีที่เหมาะสมในการบริหารจัดการซอฟต์แวร์ในองค์กรของท่าน ในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ จำนวน 6 ครั้ง ได้แก่
1. กรุงเทพมหานคร วันที่ 26 มีนาคม 2552 โรงแรม พลาซา อเธนี
2. เชียงใหม่ วันที่ 31 มีนาคม 2552 โรงแรม ดิอิมพีเรียล แม่ปิง
3. ชลบุรี วันที่ 21 เมษายน 2552 โรงแรม เอ-วัน เดอะ รอยัล ครูส พัทยา
4. อยุธยา วันที่ 23 เมษายน 2552 โรงแรม วรบุรี อโยธยา คอนเวนชั่น รีสอร์ท
5. นครราชสีมา วันที่ 30 เมษายน 2552 โรงแรม สีมาธานี
6. ปราจีนบุรี วันที่ 20 พฤษภาคม 2552 โรงแรม ทวาราวดี

กำหนดการสัมมนา แบบตอบรับ
http://www.ipthailand.org/ipthailand/index.php?option=com_content&task=view&id=1097&Itemid=424

ชั้น 4 กรมทรัพย์สินทางปัญญา วันพุธของทุกเดือน เดือนละ 2 ครั้ง เวลา 13.30-16.30 น. อบรม “การใช้งานระบบสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตร”

http://www.ipthailand.org/ipthailand/images/Edittt/patent/patent_train_table_n.pdf

ด่วน!! อบรมฟรี รับจำนวนจำกัด ด้วยกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะจัดอบรม “การใช้งานระบบสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตร” http://patentsearch.moc.go.th ที่กรมพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อเผยแพร่การใช้งานและส่งเสริมให้ประชาชนสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง และเข้าถึงข้อมูลสิทธิบัตรได้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเอกสารสิทธิบัตรเพื่อการพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ
การอบรมนี้จัดเป็นประจำในวันพุธของทุกเดือน เดือนละ 2 ครั้ง ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน 2551 จนถึง เดือนกันยายน 2552 ณ ห้องฝึกอบรมศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา ชั้น 4 กรมทรัพย์สินทางปัญญา เวลา 13.30-16.30 น. จำกัดจำนวนผู้รับการอบรมครั้งละ 20 คน เท่านั้น
ผู้สนใจเข้ารับการอบรม สามารถสมัครได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-5474313 และ 02-5474661

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2552 9.00-16.00น ณ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การผึกอบรมเชิงปฏิบัติการทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิง
ไบโอดีเซลสำหรับประชาชน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ประชาชนเข้าใจคุณสมบัติต่าง ๆ ของน้ำมันไบโอดีเซล และยอมรับการนำ
น้ำมันไบโอดีเซลมาใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลจากปิโตรเลียม
หลักการ และเหตุผล
เนื่องจากในปัจจุบันสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นเข้าสู่สภาวะวิกฤติ รัฐบาลจึงมี
นโยบายให้นำพลังงานทดแทนมาใช้เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว ไบโอดีเซลเป็นแหล่งพลังงานหนึ่งที่
รัฐบาลสนับสนุนให้นำมาทดแทนน้ำมันดีเซลจากปิโตรเลียม โดยในปัจจุบันได้นำน้ำมันไบโอดีเซล
มาผสมกับน้ำมันดีเซลในอัตราส่วน 5% เรียกว่า B5 และพบว่ามีแนวโน้มที่จะผสมสัดส่วนของ
น้ำมันไบโอดีเซลให้สูงขึ้น
วันเวลา และสภานที่ในการฝึกอบรม
วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2552 9.00-16.00น ณ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จำนวนผู้เข้าอบรมที่สามารถรับได้ 20 ท่าน
ค่าลงทะเบียน ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
กำหนดการ
8.30-9.00 ลงทะเบียนรับเอกสารประกอบการอบรม
9.00-9.10 พิธีการเปิดการอบรม
9.10-9.50 พลังงานทดแทนในปัจจุบัน
9.50-10.00 พักรับประทานอาหารว่าง
10.00-11.00 ไบโอดีเซล และการวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ
11.00-12.00 ปฏิบัติการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 ปฏิบัติการทดสอบน้ำมันไบโอดีเซล
14.30-14.40 พักรับประทานอาหารว่าง
14.40-16.00 ปฏิบัติการทดสอบน้ำมันไบโอดีเซล (ต่อ)
16.00-16.30 ตอบคำถามข้อสงสัย และประเมินผล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ดร.ชนาธิป สามารถ, ดร.วราวุธ ติยพงศ์พัฒนา 02-5644440 ต่อ 2418
แบบลงทะเบียน
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิงไบโอดีเซลสำหรับประชาชน
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่ง
สถานที่ทำงาน
ที่อยู่
เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน โทรสาร
โทรศัพท์มือถือ
อีเมลล์
ต้องการให้จองที่พัก (หัองพักภายในมหาวิทยาลัย)
ต้องการ ไม่ต้องการ
จำนวนห้อง ห้อง ระยะเวลา คืน
รับจำนวนจำกัดเพียง 20 คนเท่านั้น กรุณาแฟกซ์แบบลงทะเบียนมาที่หมายเลข
โทรศัพท์ 02-5644483 หรือโทรแจ้งมาที่หมายเลข 02-5644440 ต่อ 2418 อ.ดร.
ชนาธิป สามารถ หรือ อ.ดร.วราวุธ ติยพงศ์พัฒนา หมดเขตลงทะเบียน 30
เมษายน 2552
แจ้งผลการตอบรับให้เข้าร่วมฝึกอบรมภายในวันที่ 3 พฤษภาคม 2552

วันที่ 16 มีนาคม 2552 เวลา 09.00 -12.00 น. ณ ศูนย์กายภาพบำบัดและธาราบำบัด อาคารราชสุดา ชั้น 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ศูนย์กายภาพบำบัดและธาราบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จัดอบรม เรื่อง “ การดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่บ้านด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด”


ศูนย์กายภาพบำบัดและธาราบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมอบรม โครงการแนะนำความรู้สู่ประชาชน เรื่อง “ การดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่บ้านด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด”
วันที่ 16 มีนาคม 2552 เวลา 09.00 -12.00 น.
ณ ศูนย์กายภาพบำบัดและธาราบำบัด อาคารราชสุดา ชั้น 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

สำรองที่นั่งและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสิรวิชญ์ ทองพูน คุณภูวรินทร์ นามแดง
โทร 02-9869213-9 ต่อ 7274, 7275

วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2552

8 June, 2009 Thammasat University (Prachan Campus), Bangkok, Thailand

Pre-registration form
The 5th Thammasat University ELT Conference
“Expanding visions in ELT”
8 June, 2009
Thammasat University (Prachan Campus), Bangkok, Thailand

We may be forced to reject walk-in registration, so please complete this form and send it to the address mentioned in this form not later than 31 March, 2009. Participants from the same institution could fill in only one form. (To download this form and get more information about the conference, visit our conference website at http://www.tuconference.th.gs)

Participants’ information

1. Title _______ First name ____________________ Surname ________________________
Affiliation _________________________________ Position _________________________
Mailing address _____________________________________________________________
____________________________________________________________________________
Tel: ___________________ Fax: _________________ Email: ________________________

2. Title _______ First name ____________________ Surname ________________________
Affiliation _________________________________ Position _________________________
Mailing address _____________________________________________________________
____________________________________________________________________________
Tel: ___________________ Fax: _________________ Email: ________________________

3. Title _______ First name ____________________ Surname ________________________
Affiliation _________________________________ Position _________________________
Mailing address _____________________________________________________________
____________________________________________________________________________
Tel: ___________________ Fax: _________________ Email: ________________________

4. Title _______ First name ____________________ Surname ________________________
Affiliation _________________________________ Position _________________________
Mailing address _____________________________________________________________
____________________________________________________________________________
Tel: ___________________ Fax: _________________ Email: ________________________
Please mail or fax this form to:
Dr. Passapong Sripicharn
English Language Center Building,
Thammasat University,
2 Phra Chan Road, Phranakorn Bangkok, 10200
Tel: 02-696-5647 Fax: 02-224-1389
E-mail: emailton@tu.ac.th

ข่าวมอนิเตอร์ประจำวันที่ 15 มีนาคม 2552

ข่าวมอนิเตอร์ประจำวันที่ 15 มีนาคม 2552
http://www.prachatai.com/05web/th/home/15926

วันสตรีสากล
โดย : กล่มประชาธิปไตยแรงงาน (Workers Democracy)
http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1115

รายงานสัมมนา: “ปัญหาแรงงานสัมพันธ์ในภาคตะวันออก”

รายงานสัมมนา: “ปัญหาแรงงานสัมพันธ์ในภาคตะวันออก”



บุญยืน สุขใหม่ ประธานคณะทำงานกลุ่มแรงงานบ่อวินสัมพันธ์ รายงาน





เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร ได้จัดสัมมนา เรื่อง “ปัญหาแรงงานสัมพันธ์ในภาคตะวันออก” ณ โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง มี ดร.สุเมธ ฤทธาคนี ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการจัดงาน



โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบปัญหาดานแรงงานสัมพันธ์ในภาคตะวันออก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและระยอง องค์กรที่เข้าร่วมในการสัมมนาประกอบไปด้วย ผู้นำแรงงานในกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก, ชมรมบริหารงานบุคคลในภาคตะวันออก(ชลบุรี-ระยอง) และผู้แทนจากภาครัฐ เช่นประกันสังคมจังหวัด ชลบุรี-ระยอง สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี-ระยอง แรงงานจังหวัดชลบุรี-ระยอง และพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดชลบุรี-ระยอง รวมกว่า 150 คน



ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา ในภาคตะวันออกโดยเฉพาะในสองจังหวัดคือ ชลบุรี และระยอง ได้มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็คทรอนิคส์ เมื่อมีการจ้างงานมากขึ้นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นคือปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงาน และที่ผ่านมาไม่มีโอกาสในการใช้กลไกทางด้านแรงงานสัมพันธ์ที่ดีบนพื้นฐานของความเข้าใจซึ่งกันและกันตามหลักเกณฑ์ได้ โดยเฉพาะในจังหวัดชลบุรีนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐมักถูกกล่าวหาว่าวางตัวไม่เป็นกลาง ในขณะที่ในจังหวัดระยองนั้น เกิดปัญหา 2 ด้าน คือ



ด้านหนึ่ง มีข้อมูลว่าผู้บริหารงานบุคคลได้รวมตัวกันเป็น “ชมรมบริหารงานบุคคลภาคตะวันออก” มีศูนย์กลางอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ยึดแนวทางการทำงานตามนโยบายของเจ้าของกิจการซึ่งเป็นชาวต่างชาติอย่างเคร่งครัด คือ ไม่ยอมรับการมีสหภาพแรงงาน โดยถือแนวปฏิบัติว่าที่ใดยังไม่มีสหภาพแรงงานต้องไม่ให้สหภาพแรงงานเกิด หากที่ใดมีสหภาพแรงงานแล้วก็หาวิธีทำลายหรือไม่ให้เติบโตเข้มแข็งได้



ส่วนอีกด้านหนึ่งข้อมูลจาก กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอศรีราชา ว่าโดยข้อเท็จจริงแล้ว ชมรมผู้บริหารงานบุคคลภาคตะวันออก ซึ่งเป็น “คนไทย” ต่างหากที่เป็นฝ่ายเสนอนโยบายและแนวทางดังกล่าวให้แก่เจ้าของกิจการ ซึ่งสมาชิกของชมรมบริหารงานบุคคลในทุกโรงงานก็ปฏิบัติแนวทางเดียวกันทั้งสิ้น



นอกจากนั้น ปัญหาแรงงานในภาคตะวันออก ใช้มาตรการทางด้านวินัยและกฎหมายเป็นหลัก ข้อพิพาททางด้านแรงงานจึงเกิดขึ้นมากมาย และไม่สามารถใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาได้



ดังนั้น กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออกจึงได้มีหนังสือร้องเรียนไปยัง๕ระกรรมาธิการการแรงงาน ในสภาผู้แทนราษฎรถึงปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อต้องการให้รัฐบาลได้รับทราบและแก้ไขปัญหาที่มีอยู่เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย คณะกรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร ได้จัดสัมมนา เรื่อง “ปัญหาแรงงานสัมพันธ์ในภาคตะวันออก” เพื่อให้ทั้งสามฝ่ายได้มานำเสนอปัญหาของตนเองและแนวทางที่แต่ละฝ่ายต้องการให้กับคณะกรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎรได้รับทราบเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลและนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ทั้งสามฝ่ายได้นำเสนอประเด็นปัญหาต่อคณะกรรมาธิการการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้



.



ประเด็นร้องเรียนและแนวทางแก้ไขที่ต้องการของกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก

ต่อคณะกรรมาธิการด้านแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร

กรณีที่นายจ้างชาวต่างชาติละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำร้ายร่างกายพนักงาน ให้ส่งนายจ้างคนดังกล่าวกลับประเทศและห้ามกลับเข้ามาในประเทศไทยอีก
ส่งกลับประเทศ
แจ้งดำเนินคดีอาญา
ภาครัฐตรวจสอบวีซ่าการเข้าประเทศว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
จัดอบรมวัฒนธรรมก่อนเข้ามาทำงานในประเทศไทย
ปัญหาการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายแรงงานคือ นายจ้างไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๒) “มาตรา ๑๑/๑” โดยให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ
ปัญหาการส่งตัวพนักงานกลับต้นสังกัด ห้ามมิให้นำส่งกลับต้นสังกัดโดยไม่มีเหตุผล
กรรมาธิการฯ เป็นผู้แทนในการฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย
ดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งกับนายจ้างเหมาค่าแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ประเด็นนายจ้างข่มขู่ให้ลูกจ้างเหมาค่าแรงเขียนใบลาออก
ให้เจ้าหน้ารัฐเข้าไปตรวจสอบในสถานประกอบการให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย
ให้กรรมาธิการฯ ตรวจสอบการจดทะเบียนนิติบุคคลว่าถูกต้องหรือไม่
เพิ่มโทษคดีอาญา
ยกเลิกกฎหมายเหมาค่าแรง
ให้ภาครัฐกำหนดวงเงินค้ำประกันของบริษัทที่จะเปิดกิจการประเภทเหมาค่าแรง
การบังคับใช้กฎหมายให้เคร่งครัด
ปัญหานายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้างระหว่างสหภาพแรงงานกับบริษัทฯ
เพิ่มโทษและมีโทษทางอาญา
ให้ระบุผู้ที่ต้องรับผิดทางอาญาให้ชัดเจน
ระหว่างการพิสูจน์สิทธิให้ลูกจ้างทำงานและได้รับค่าจ้างตามปกติ
ให้ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิ์นัดหยุดงานได้
ประเด็นนายจ้างหักเงินประกันสังคมแล้วไม่นำจ่ายสำนักงานประกันสังคม
เพิ่มโทษทางอาญา
การบังคับใช้กฎหมายให้เคร่งครัดและกำหนดกรอบเวลาให้ชัดเจน
การบังคับใช้มาตรา ๗๕ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ฉบับที่ ๒ ให้กำหนดหลักเกณฑ์การบังคับใช้ให้ชัดเจน
กำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน และกำหนดว่าใครต้องมาทำงานบ้าง
ควรมีคณะทำงานพิจารณาชี้ขาดในการใช้มาตรา ๗๕ เป็นพหุพาคี
ตั้งองค์กรอิสระตรวจสอบโรงงานที่ใช้มาตรา ๗๕
ในระหว่างยื่นข้อเรียกร้องห้ามมิให้นายจ้างใช้มาตรา ๗๕
ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ๙๕%
ให้จ่ายค่าจ้างเท่ากันทุกคนทั้งพนักงานที่หยุดและที่มาทำงาน
การบังคับใช้กฎหมายให้เคร่งครัดและกำหนดกรอบเวลาให้ชัดเจน
เมื่อมีการเลิกจ้างพนักงานเกิดขึ้นโดยอ้างว่าบริษัทประสบภาวะวิกฤติ ในกรณีที่นายจ้างต้องมีการเลิกจ้างจริงให้นายจ้างทำเป็นหนังสือขออนุญาตไปยังคณะกรรมการของแต่ละพื้นที่พิจารณาเป็นคราวๆ ไปโดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการพหุภาคีขึ้นมาตรวจสอบในแต่ละพื้นที่ โดยมีตัวแทนจาก รัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง และนักวิชาการ เข้ามาตรวจ สอบข้อเท็จจริงว่าเป็นไปตามที่บริษัทฯ กล่าวอ้างหรือไม่ ถ้าไม่เป็นจริงให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานโดยไม่มีเงื่อนไข และถ้านายจ้างประสบปัญหาจริงรัฐต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับสิทธิตามกฎหมายที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ได้รับ
ต้องพิสูจน์ว่าขาดทุนจริงหรือไม่ และควรมีคณะทำงานพิจารณาชี้ขาด
ให้ลูกจ้างสมัครใจในการออกจากงานกรณีเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
นายจ้างต้องส่งงบการเงินของบริษัททุกปีตามกฎหมายเละให้มีกรรมการเข้าไปตรวจสอบ
สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงานให้กับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง ๕๐% ทุกกรณีโดยไม่มีเงื่อนไขเป็นเวลาหนึ่งปี
แก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติประกันสังคม
ให้ผู้แทนลูกจ้างมีส่วนร่วมในการแก้ไขกฎหมาย
ให้ดำเนินคดีกับนายจ้างให้ถึงที่สุดกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีการละเมิดกฎหมายแรงงานโดยเจตนาในกรณีเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานและกรรมการลูกจ้าง
ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
เพิ่มบทกำหนดโทษให้สูงขึ้น
ระหว่างพิสูจน์สิทธิ์ตามกระบวนการยุติธรรมให้ลูกจ้างได้รับจ้างตามปกติ
ออกเป็นกฎหมายมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่รัฐให้ชัดเจน
การกระทำผิดซึ่งหน้าต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงานให้ดำเนินคดีถึงที่สุด
แก้ไขกฎหมายให้เจ้าพนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจดำเนินการกับนายจ้างในกรณีที่กระทำผิดซึ่งหน้า
กรณีถูกกลั่นแกล้งจากนายจ้างฟ้องขอให้ศาลแรงงานคุ้มครองชั่วคราว
กรณีอุบัติเหตุจากการทำงานให้นายจ้างดำเนินการให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทนและห้ามเลิกจ้างลูกจ้างที่เจ็บป่วยจากการทำงาน
· องค์กรความปลอดภัยควรตั้งเป็นองค์กรอิสระ

· (ส่วนที่เหลือดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 9)

ประเด็นการกลั่นแกล้งแกนนำสหภาพแรงงานโดยจ่ายค่าจ้างตาปกติแต่ไม่ให้แกนนำสหภาพแรงงานเข้าไปในสถานประกอบการ
· (ดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 9)

ประเด็นการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานหรือผู้มีรายมือชื่อในการยื่นข้อเรียกร้องและถูกเลิกจ้าง
· การบังคับใช้กฎหมายให้เคร่งครัดและกำหนดกรอบเวลาให้ชัดเจน

คำจำกัดความค่าค่าจ้างในพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ และคุ้มครองแรงงานฯ ต้องเหมือนกัน
ห้ามลดเงินเดือนพนักงานโดยอ้างวิกฤติเศรษฐกิจ
รัฐต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
ปัญหาการทำงานล่าช้าของภาครัฐและศาลแรงงาน
ความล่าช้าในการพิจารณาคดีของศาลแรงงาน
ความล่าช้าในการตัดสินออกคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
ความล่าช้าในการตัดสินออกคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน
เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เพียงพอ
เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่กล้าตัดสินใจว่านายจ้างผิดหรือถูกจ้าง
นายจ้างละเมิดสิทธิ์มนุษยชนโดยการขึ้น Black list ลูกจ้างที่เป็นแกนนำและสมาชิกสหภาพแรงงานและส่งไปตามสถานประกอบการต่างๆ
โครงการเลิกจ้างโดยสมัครใจลาออกควรงดเว้นการเสียภาษี
จัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างแกนนำกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออกและชมรมบริหารงานบุคคลในแต่ละพื้นที่เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์ โดยให้มีการประชุมร่วมกันเดือนละครั้ง
ขอสถานที่จัดทำเป็นศูนย์ฝึกอบรมและรับเรื่องร้องทุกข์ของกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออกโดยขอใช้สถานที่ของราชการและรัฐออกเงินสนับสนุน
การตั้งคณะติดตามปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน









โปรดติดตามตอนที่ 2

ประเด็นร้องเรียนและแนวทางแก้ไขที่ต้องการของชมรมบริหารงานบุคคลภาคตะวันออกต่อคณะกรรมาธิการด้านแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร
ประเด็นร้องเรียนและแนวทางแก้ไขที่ต้องการของภาครัฐต่อคณะกรรมาธิการด้านแรงงานในสภาผู้แทนราษฎร





http://www.prachatai.com/05web/th/home/15927

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 15/3/2552

นักเรียนอังกฤษ ยื่นข้อเสนอ ‘มาร์ก’ เรียกร้องปฏิรูป รธน.- กฎหมายหมิ่นฯ ตามด้วยยุบสภา

นักเรียนอังกฤษ ยื่นข้อเสนอ ‘มาร์ก’ เรียกร้องปฏิรูป รธน.- กฎหมายหมิ่นฯ ตามด้วยยุบสภา



14 มี.ค.52 ระหว่างการเยือนอังกฤษของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และการกล่าวปาฐกถา ที่ เซนต์จอห์น คอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กลุ่มนักเรียนไทยในอังกฤษได้ร่วมกับร่างจดหมายข้อเรียกร้องเพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี มีรายละเอียดดังนี้





เนื่องจากความห่วงใยต่อเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา และความปรารถนาดีต่อพัฒนาการที่ยั่งยืนของประชาธิปไตยไทย ในวาระที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มากล่าวปาฐกถา ณ เซนต์จอห์น คอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ข้าพเจ้าทั้งหลายดังรายนามข้างท้าย ขอเสนอข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้**



ประการแรก เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการตีพิมพ์เป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของระบบประชาธิปไตยที่พึงได้รับการ ปกป้อง การที่กฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ <1> และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ <2> ถูกบังคับใช้ในลักษณะที่ลิดรอนเสรีภาพข้างต้น ส่งผลเสียหายต่อกระบวนการตรวจสอบของประชาชน และเสรีภาพในการเรียกร้องการรับผิดจากผู้มีอำนาจ คำกล่าวที่ว่ากฎหมายเหล่านี้เป็นธรรมแล้วเพราะถูกบังคับใช้กับทุกคนอย่างเท่าเทียมกันนั้นไม่ตรงประเด็น เนื่องจากปัญหาที่แท้จริงนั้นอยู่ในเนื้อหาของกฎหมายที่ไม่ชัดเจน และเอื้อต่อการถูกบังคับใช้ที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย ด้วยเหตุนี้ นายกรัฐมนตรีควรร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาปฏิรูปกฎหมายเหล่านี้โดยทันที



ประการที่สอง รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2550 นั้นมีเนื้อหาบางส่วนที่ไม่เป็นประชาธิปไตยโดยเปิดทางให้อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเข้าแทรกแซงทางการเมือง ทั้งยังเพิ่มอำนาจให้กับสถาบันตุลาการเป็นอย่างมาก อันส่งผลให้เกิดความไม่สมดุล ระหว่างอำนาจตุลาการ นิติบัญญัติ และบริหาร สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการที่ยั่งยืนของประชาธิปไตยไทย การที่พรรคการเมืองสามารถถูกยุบได้อย่างง่ายดายส่งผลให้พรรคการเมืองมีโอกาสเพียงน้อยนิดที่จะพัฒนาไปเป็นสถาบันทางการเมืองที่มั่นคงได้สำเร็จ ขณะนี้นายกรัฐมนตรีมีโอกาสที่จะปฏิรูปรัฐธรรมนูญโดยไม่ถูกกล่าวหาว่ามีประโยชน์ทับซ้อน ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงขอเสนอให้นายกรัฐมนตรีผลักดันให้มีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญโดยเร็วที่สุด



ประการสุดท้าย เหตุการณ์ทางการเมืองที่เปิดโอกาสให้ท่านเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยังเป็นที่จดจำและถูกตั้งคำถามโดยประชาชนไทย เหตุการณ์ปิดสนามบินของผู้ชุมนุมและการตัดสินยุบพรรคการเมืองแกนนำรัฐบาลอย่างรวดเร็ว ตลอดจนบทบาทของกองทัพในการผลักดันกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคยร่วมรัฐบาลก่อนหน้าให้หันมาเข้าร่วม กับรัฐบาลปัจจุบัน <3> <4>ได้สร้างความเคลือบแคลงสงสัยในหมู่ประชาชนต่อหนทางการก้าวขึ้นสู่อำนาจของท่าน ทั้งนี้นายกรัฐมนตรียังเคยกล่าวยอมรับกับสื่อต่างประเทศว่า "ผมไม่สบายใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และหากเลือกหนทางได้ ผมจะเลือกเข้าสู่อำนาจหลังการเลือกตั้ง" <5> ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงขอเสนอว่า ทันทีที่ข้อเสนอทั้งสองประการข้างต้นได้รับการปฏิบัติแล้ว นายกรัฐมนตรีควรตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเปิดทางให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ นี่คือทางเดียวที่ท่านจะสามารถกล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้นำที่ได้รับฉันทานุมัติจากประชาชนอย่างแท้จริง



**ข้อเสนอเหล่านี้เป็นความเห็นร่วมของนักศึกษาดังรายนามข้างท้าย และมิได้อิงกับกลุ่มการเมืองใด



Chalongkwan Tavarayuth (Development Studies)

Pornthep Benyaapikul (Economics)

Chinnawut Techanuvat (Sociology)

Prach Panchakunathorn (PPE)

Grace Vesom (Medical Image Analysis)

Thorn Pitidol (Social Policy)

La-Bhus Jirasavetakul (Economics)

Wanwiphang Manachotphong (Economics)

Nirawat Thammajak (Chemistry)

Yaowaluck Roshorm (Clinical Medicine)

Panote Prapansilp (Molecular Pathology)



----------------------

< 1 > มาตรา 112 ในประมวลกฏหมายอาญา ระบุ: “ผู้ใด หมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ ต้องระวางโทษ จำคุก 3 ปี ถึง 15 ปี” จะเห็นได้ว่ามีการตีความอย่างหลากหลายว่าการกระทำใดเข้าข่ายความผิดดังกล่าว และยังมีช่องว่างให้บุคคลที่สามสามารถฟ้องร้องกันเอง เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว และทางการเมืองได้



< 2 > พระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อนุญาตให้เจ้าหน้าที่สามารถยึดอุปกรณ์และจับกุมเจ้าของเครื่องหรือผู้ใช้ ในกรณีที่มีข้อมูลที่ถือว่าเป็น “ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร” การเข้าตรวจค้นและจับกุมเว็บหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไทโดยอ้างถึงพระราชบัญญัติดังกล่าว ถูกมองว่าเป็นความพยายามลดทอนเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล



< 3 > “Democrat govt a shotgun wedding?” http://nationmultimedia.com/2008/12/10/politics/politics_30090626.php



< 4 > “I advised but did not meddle: Army Chief” http://nationmultimedia.com/2008/12/12/politics/politics_30090795.php



< 5 > http://www.cnnasiapacific.com/press/en/content/391/







จดหมายฉบับภาษาอังกฤษ

Thai Oxford students to petition Thai PM, Prachatai English, 14 March 2009







--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 15/3/2552

วันที่ 21-22 มี.ค.นี้ที่ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นักวิชาการ 4 สถาบันจัดอภิปรายใหญ่ “หลากมิติกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”



14 มี.ค.52 - โครงการประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่, สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม ม.มหิดล

และภาควิชาปกครอง รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันจัดการอภิปรายทางวิชาการ เรื่อง “หลากมิติกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ในวันที่ 21-22 มี.ค.นี้ที่ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



ทั้งนี้ ผู้จัดงานระบุเหตุผลของการจัดงานอภิปรายครั้งนี้ว่า ท่ามกลางวิกฤติการณ์ทางการเมืองที่ก่อตัวขึ้นนับตั้งแต่มีการขับไล่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนนำไปสู่การรัฐประหารโดยคณะทหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 และเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ประเด็นสำคัญที่ก่อตัวขึ้นมาในระยะเดียวกันก็คือ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย อันได้แก่ อะไรคือบทบาทและพระราชอำนาจที่แท้จริงและที่ควรจะเป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์ ไปจนถึงการใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นข้ออ้างเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนบางกลุ่ม และใช้ข้อหาไม่จงรักภักดีเป็นเครื่องมือเพื่อทำลายความชอบธรรมของฝ่ายตรงกันข้าม



อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่าการถกเถียงในเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยไม่สามารถกระทำได้อย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา เพราะมีกฎหมายมาตรา 112 ที่ระบุว่าผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือ แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ สามปีถึงสิบห้าปี ทำให้การถกเถียงส่วนใหญ่ไปปรากฏอยู่ในโลกไซเบอร์สเปซที่ยากจะควบคุมได้ และเพื่อจะหาทางควบคุม-ตอบโต้การถกเถียงในหัวข้อต้องห้ามนี้ จึงได้เกิดกระแสกดดันให้เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องหาทางจัดการกับปรากฏการณ์เหล่านี้ให้ได้โดยเร็ว ปฏิบัติการตามปิดเว็บไซต์ที่เข้าข่ายละเมิดมาตรา 112 จึงกลายเป็นภารกิจที่สำคัญของกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศของไทยไปในที่สุด ขณะเดียวกัน คดีที่เกี่ยวข้องกับหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาของผู้มีอำนาจรัฐในปัจจุบันก็คือ การเพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงมากขึ้น



กระนั้น การแก้ปัญหาที่มุ่งไปที่การจับกุมปราบปรามและลงโทษเป็นหลัก กลับก่อให้เกิดข้อกังขาตามมาอีกมากมาย เช่น วิธีการดังกล่าวจะนำมาซึ่งความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ได้จริงหรือ? อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับหลักการเสรีประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน? เจ้าหน้าที่รัฐและระบบตุลาการของไทยปฏิบัติต่อผู้ต้องหาในคดีนี้อย่างโปร่งใสและคำนึงถึงหลักการสิทธิและเสรีภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเพียงใด? กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบันหรือไม่ อย่างไร? ควรมีการปรับปรุงการใช้กฎหมายนี้หรือไม่ อย่างไร? หากไม่มีกฎหมายหมิ่นฯแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ควรได้รับการปกป้องคุ้มครองในลักษณะใด และด้วยกฎหมายใด? ฯลฯ



นอกจากนี้ คำถามเหล่านี้ไม่ได้จำกัดตัวอยู่เฉพาะแต่ในสังคมไทยเท่านั้น แต่กำลังกลายเป็นประเด็นที่ประชาคมโลกต่างให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่าจะนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพของสังคมไทยในระยะยาวหรือไม่อย่างไร ฉะนั้น สังคมไทยจึงไม่สามารถเก็บคำถามเหล่านี้ซ่อนไว้ในลิ้นชักหรือผลัดผ่อนที่จะไม่ตอบได้อีกต่อไป โดยเฉพาะในภาวะที่ความแตกแยกของสังคมมีแต่จะลุกลายขยายตัวมากยิ่งขึ้น



ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อสังคมไทย และประเด็นปัญหาที่รายล้อมการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี้เอง คณะผู้จัดในฐานะองค์กรทางวิชาการจึงเห็นร่วมกันว่าควรจัดให้มีการถกเถียงพูดคุยเชิงวิชาการอย่างรอบด้านจากบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิที่มีบทบาทสำคัญในประเด็นปัญหาดังกล่าว ด้วยความหวังว่าเวทีแห่งนี้จะเป็นก้าวแรกของการพิจารณาปัญหาที่มีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนนี้อย่างเป็นวิชาการ รอบด้าน และมีวุฒิภาวะ เพราะหากปราศจากเงื่อนไขนี้แล้ว การแสวงหาทางออกที่จะนำสังคมไทยไปสู่ความมั่นคงในระยะยาวย่อมเป็นไปได้ยากยิ่ง





วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๒

๐๘.๓๐-๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน

๐๙.๐๐-๐๙.๑๕ น. กล่าวเปิดงานโดย ผศ. ดร. จันทจิรา เอี่ยมมยุรา

ผู้อำนวยการโครงการประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน นิติศาสตร์ มธ.



๐๙.๑๕-๑๒.๐๐ น. เรื่อง “สถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมประชาธิปไตย”

- ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ

- รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มธ.

- ศ.ธงทอง จันทรางศุ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ

- นายทองใบ ทองเปาด์ ทนายความสิทธิมนุษยชน

ดำเนินรายการโดย ดร.พวงทอง ภวคร์พันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ



๑๒.๐๐-๑๓.๓๐ น. พักรับประทานอาหาร (ตามอัธยาศัย)



๑๓.๓๐-๑๖.๓๐ น. เรื่อง “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับความมั่นคงของรัฐ”

- นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

- นายวรินทร์ เทียมจรัส สมาชิกวุฒิสภา (แต่งตั้ง) คณะกรรมการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมาย และมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์

- รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มธ.

- รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มช.

ดำเนินรายการโดย อาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร คณะนิติศาสตร์ มธ.





วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๒

๐๙.๐๐-๐๙.๓๐ น. ลงทะเบียน

๐๙.๓๐-๑๒.๐๐ น. เรื่อง “ผลกระทบจากข้อกล่าวหากรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”

- นางสาวจิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทร์อัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)

- นางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเวบไซด์ข่าวออนไลน์

ประชาไท

- นายสมบัติ บุญงามอนงค์ นักกิจกรรมทางสังคม

- ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

- นายวสันต์ พานิช อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง

ชาติ



๑๒.๐๐-๑๓.๓๐ น. พักรับประทานอาหาร (ตามอัธยาศัย)



๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. เรื่อง “สิทธิมนุษยชนกับความกลัวในสังคมไทย”

- ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาฯ ม.มหิดล

- นายประวิตร โรจนพฤกษ์ สื่อมวลชน

- นายไพโรจน์ พลเพชร เลขาธิการสมาคมสิทธิเสรีภาพของ

ประชาชน (สสส.)

- ศ. เสน่ห์ จามริก ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

แห่งชาติหรือผู้แทน (รอการยืนยัน)

- รศ.จรัญ โฆษณานันท์ คณะนิติศาสตร์ มร.

ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท

สาขาสิทธิมนุษยชน ม.มหิดล



๑๖.๐๐-๑๖.๓๐ น. ปัจฉิมกถา “หลากมิติว่าด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมราชานุภาพ"

โดย ศ. วิฑิต มันตราภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ








--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 14/3/2552

‘น้ำพุฮวงจุ้ย’ ไอเดียเงินดีจากความเชื่อ

ตะโก้มันสำปะหลัง' อีกหนึ่งขนมไทยยังขายดี
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=71203&NewsType=2&Template=1

‘น้ำพุฮวงจุ้ย’ ไอเดียเงินดีจากความเชื่อ
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=71141&NewsType=2&Template=1

‘เพ็ทช็อปเคลื่อนที่’ ธุรกิจมะหมามาแรง!!
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=70520&NewsType=2&Template=1

พ่อเฒ่าวัย 72 อุทิศที่ดินเพื่อสาธารณะ

พ่อเฒ่าวัย 72 อุทิศที่ดินเพื่อสาธารณะ
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=193279&NewsType=1&Template=1

จากอดีตสู่ปัจจุบันเส้นทางหายนะ!
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=192951&NewsType=1&Template=1

ทส.คาดภายใน14ปี'ช้างไทย'สูญพันธ์
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=193347&NewsType=1&Template=1

ทบทวนระบบงบประมาณเสียที
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=71207&NewsType=2&Template=1