การจัดอบรมภาษาเขมรภาคฤดูร้อน
โดย : สมาคมภาษาและวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ (สภวส.) เมื่อ : 14/03/2009 04:17 PM
โครงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมภาษาเขมรภาคฤดูร้อน บ้านโพธิ์กอง ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
โดย : สมาคมภาษาและวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ (สภวส.)
ณ ศาลาหมู่บ้านโพธิ์กอง ต.เชื้อเพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
หลักการและเหตุผล
ภาษาเป็นแก่นแท้ของวัฒนธรรมและประเพณีในท้องถิ่น ในสภาวการณ์ที่ภาษาท้องถิ่นกำลังเผชิญกับวิกฤติอังเนื่องมาจากภาษาท้องถิ่นไม่ได้มีการเรียนการสอนภายในโรงเรียน ซึ่งได้ทำให้การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งไม่สามารถกระทำได้อันเนื่องมาจากภาษาอันเป็นสื่อกลางของสังคมได้อยู่ในสภาะวถดถอยหรือเสี่ยงต่อการสูญหายไป ภาษาเขมรเป็นภาษาที่ประชากรกว่าร้อยละ ๘๐ ของจังหวัดสุรินทร์ใช้สำหรับการติดต่อในระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ ภาษาเขมรจังหวัดสุรินทร์มีระบบการเขียนและตัวอักษรที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานนับพันปี นับตั้งแต่การค้นพบหลักฐานเป็นศิลาจารึกที่ปราสาทภูมิโปน ตำบลบ้านดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ซึ่งจารย์มหาศักราช ๔๓๔ ไว้ หรือเมื่อ พ.ศ. ๑๐๕๕ หรือเมื่อ ๑,๔๙๖ ปีมาแล้ว
เมื่อภาษาเขมรในจังหวัดสุรินทร์ตกอยู่ในสภาวะที่ถดถอยได้ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเยาวชนและผู้ปกครองที่ใช้ภาษาเขมรโดยเยาวชนส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะสื่อสารภาษาเขมรได้ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้ใช้และผู้ไม่ใช้ภาษาเขมรสำหรับการติดต่อสื่อสารกัน และนำมาสู่การไม่รู้จักพื้นเพดั้งเดิมของตนเองและการเสื่อมโทรมของวัฒนธรรมท้องถิ่นในที่สุด
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้สมาคมภาษาและวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมทางภาษาและขนบธรรมประเพณีอันดีงามของชาวเขมรสุรินทร์ จึงได้ดำริจัดให้มีการอบรมการเขียนอ่านภาษาเขมรสำหรับเยาวชนและผู้สนใจทั่วไปขึ้นในระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน นี้
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้เยาวชนและประชาชนจังหวัดสุรินทร์ได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องในคุณค่าและประวัติความเป็นมาของมรดกทางวัฒนธรรมภาษาเขมรอันเป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์ และในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอันหลากหลายของประเทศไทย
๒. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนจังหวัดสุรินทร์เชื้อสายเขมรให้มีความรักในภาษาเขมรด้วยการใช้ภาษาเขมรกับบุตรหลานให้เป็นกิจวัตรนิสัยอันจะนำไปสู่การรักษาวัฒนธรรมและประเพณีได้อย่างยั่งยืน
๓. เพื่อผลักดันให้สถาบันการศึกษาภายในจังหวัดสุรินทร์ได้ตระหนักและยอมรับคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมภาษาเขมรด้วยการจัดให้มีการสอนและการวิจัยภาษาเขมรทั้งในการศึกษาทุกระดับ
๔. เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้มีความรู้ภาษาเขมรในระดับที่สามารถอ่านออกเขียนได้ เพื่อนไปใช้ประกอบอาชีพ และเพื่อการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศ
เป้าหมาย
เป้าหมายเชิงปริมาณ
มีผู้เข้าร่วมการอบรมจากภายในหมู่บ้านโพธิ์กองและหมู่บ้านใกล้เคียงจำรวน ๑๐๐ คน
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
๑. ผู้เข้ารับการอบรมได้มีความรู้ขั้นพื้นฐานในการเขียนและอ่านภาษาเขมรในระดับเบื้องต้น และสามารถที่จะนำไปต่อยอดหรือนำไปประกอบอาชีพและในด้านการศึกษาต่อในทุกระดับได้ เช่น สถาบันการศึกษาของทหารและตำรวจ หรือสถาบันอุดมศึกษาได้
๒. ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทุกระดับร่วมกันสรุปผลเพื่อนำเสนอให้การเรียนการสอนภาษาท้องถิ่นในสถาบันการศึกษาทุกระดับให้เป็นวาระของจังหวัดสุรินทร์
ระยะเวลา
ระหว่างวันที่ วันที่ ๒๒-๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒
สถานที่จัดการอบรม
ณ ศาลาหมู่บ้านโพธิ์กอง ต.เชื้อเพิลง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ โทร. ๐๔๔-๑๔๒๑๔๑
ผู้รับผิดชอบโครงการ
๑. สมาคมภาษาและวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ (สภวส.)
รูปแบบการจัดงาน
๑. การบรรยาย
๒. การปฏิบัติด้วยการเขียนและอ่าน
งบประมาณ
- จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท จากผู้บริจาคทั่วไป
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ภาษาเขมรในระดับเบื้องต้น
๒. ประชาชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมด้านภาษาของตนเอง อันอาจจะเป็นตัวอย่างและแรงขับเคลื่อนสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ อีก เช่น กูย และลาว
๓. มีนโยบายด้านการศึกษาที่ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านท้องถิ่น และเป็นการสนองตอบต่อ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๔ และธรรมนูญองค์การสหประชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และคำประกาศองค์การสหประชาติว่าด้วยสิทธิชนชาติดั้งเดิม พ.ศ. ๒๕๔๘
ผู้ประสานงาน
-นายชัยมงคล เฉลิมสุขจิตศรี นายกสมาคมภาษาและวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ (สภวส.) หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๗๕๘๑๕๕๑๔
-นายวิทยา วิจิตร รองนายกสมาคมภาษาและวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ (สภวส.) หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๖๘๖๘๑๗๑๓
บ้านอนุรักษ์ธรรมชาติ
-
แม้ว่าสภาวะโลกร้อนจะเป็นวิกฤตการณ์ที่ทวีความร้ายแรงขึ้นทุกวัน
แต่เราทุกคนสามารถช่วยเหลือโลก เพื่อประหยัดพลังงานได้อย่างง่าย ๆ
ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แล...
16 ปีที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น