วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2552

กรมตำรวจฝรั่งเศสระบุ "โอเพนซอร์สช่วยประหยัดเงินไป 50 ล้านยูโร"

กรมตำรวจฝรั่งเศสระบุ "โอเพนซอร์สช่วยประหยัดเงินไป 50 ล้านยูโร"
http://www.oknation.net/blog/aumpradya/2009/03/14/entry-1

นักวิชาการ และเครือข่ายเฝ้าระวังสื่อ อัดระบบเรตติ้งไทยไร้คุณภาพ [13 มี.ค. 52 - 08:54]

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้(12 มี.ค.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน(สสย.) มูลนิธิการพัฒนาเด็ก เปิดเวทีเสวนาในหัวข้อ “เจาะลึกจอตู้ วันนี้หนูๆดูอะไร” ขึ้น โดยงานนี้มีผู้ร่วมเข้าเสวนาจากหลายภาคส่วนมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอาทิ ผู้เชี่ยวชาญจิตวิทยาเด็ก นักแสดง กลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังสื่อ และ ตัวแทนเยาวชน

รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผอ.สำนักงานรณรงค์และสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม สสส. กล่าวถึงสถานการณ์ของสื่อในปัจจุบันว่า สิ่งที่เห็นในหน้าจอทุกวันนี้เต็มไปด้วยละครที่ผู้หญิงตบตีกัน แย่งผู้ชาย ใช้ถ้อยคำรุนแรงหรือไม่ก็ละครผี ซึ่งทั้งหมดออกอากาศช่วงเวลาที่เด็กๆยังนั่งดูโทรทัศน์อยู่ ขณะที่ละครตลกหรือโรแมนติกก็ใช้คำพูดที่รุนแรงบางครั้งถึงขึ้นหยาบคาย เพื่อกระตุ้นให้คนติดตาม ให้ตลก ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก ขณะที่ผู้จัดละครมักบอกว่าคนดูละครไม่โง่ สามารถแยกแยะได้ แต่อะไรก็ตามที่แฝงมากับความบันเทิง มักจะซึมลึก จนทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบในเด็กได้

“ปัญหาทั้งหมดนี้ต้องแก้ไขที่โครงสร้างของสื่อ ซึ่งขณะนี้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ได้เข้าสู่ขั้นตอนของสภาฯแล้ว ซึ่งหากร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มีผ่าน จะทำให้เรามีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มาจัดการแยกประเภทสื่อ ทำให้มีสื่อบริการสาธารณะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีเกณฑ์เรื่องสัดส่วนเนื้อหามากำหนด เช่น ต้องมีรายการสาระไม่ต่ำกว่า 70% สื่อพาณิชย์ที่จะมีมาตรฐานด้านเนื้อหาและความรับผิดชอบต่อสังคมมากำกับมากขึ้น” รศ.ดร.วิลาสินี กล่าว

ขณะที่ ผศ. ลักษมี คงลาภ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์รายการโทรทัศน์/เนื้อหาคามรุนแรงในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก ซึ่งผลวิจัยชี้ว่า สถานีโทรทัศน์ช่องฟรีทีวี (ช่อง 3,5,7,9,NBT และ TPBS) ยังมีการนำเสนอเนื้อหาและภาพที่มีความรุนแรงอยู่มาก และจากการสัมภาษณ์เด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี พบว่าส่วนใหญ่ยอมรับว่าเคยเลียบแบบพฤติกรรมในโทรทัศน์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโทรทัศน์มีต่อพฤติกรรมของเด็ก

ผศ.ลักษมี กล่าวว่า ที่ผ่านมาระบบการจัดเรตติ้งของไทยยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคนดูไม่ได้สนใจ หรือไม่เชื่อใจการจัดเรตติ้ง บรรดาฟรีทีวีเองก็นำระบบเรตติ้งมาใช้เป็นเครื่องมือในการปกป้องตัวเอง โดยอ้างว่าได้มีการแนะนำแล้วว่ารายการใดเหมาะหรือไม่เหมาะกับเด็ก

“ทางออกที่ดีที่สุดของเรื่องนี้ คือ เราต้องพยายามสร้างความสมดุลระหว่างผู้ชม ผู้ผลิต และเจ้าของธุรกิจหรือสปอนเซอร์ให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะตราบใดที่ยังผลิตรายการเพื่อขายเท่านั้น เราก็ไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้” ผศ.ลักษมีกล่าว

ด้าน ดร.บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เห็นสอดคล้องว่า ระบบการจัดเรตติ้งที่ใช้อยู่ขณะนี้ยังไม่ได้ผล เนื่องจากเด็กก็ยังดูทีวีตามที่อยากดู สถานีเองก็พยายามใช้วิธีสอดแทรกเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบางส่วนเข้าไปในรายการที่ออกอากาศในช่วงเวลาของเด็ก โดยเฉพาะละครไทยที่แม้จะมีพัฒนาการไปมากในเรื่องของการถ่ายทำ เทคนิคที่นำมาใช้ แต่ในส่วนของพล็อตเรื่องยังยึดกับรูปแบบเดิม และเน้นแต่ว่าต้องขายได้

ส่วนแนวทางป้องกันเด็กจากความรุนแรงในสื่อนั้น ดร.บุญอยู่ เสนอว่าต้องเริ่มจากการทำให้พ่อแม่มีทักษะในการให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่บุตรหลาน ซึ่งจากผลการวิจัยเรื่องความต้องการรับชมโทรทัศน์ของเด็ก ชี้ว่าที่ผ่านมาพ่อแม่ส่วนใหญ่แม้จะให้คำแนะนำในการดูทีวีกับเด็ก แต่ไม่ได้เน้นที่เนื้อหา กลับเน้นเรื่องการห้ามนอนดึก อย่าดูโทรทัศน์ใกล้แทน พร้อมกันนี้ยังสนับสนุนแนวคิดในการก่อตั้งกองทุนเพื่อสร้างสรรค์สื่อดี เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตรายการดีๆเพื่อสังคม แต่ขาดสปอนเซอร์สนับสนุน

ส่วนกรณีที่กระทรวงวัฒนธรรม เตรียมหารือเพื่อเลื่อนเวลาการออกอากาศของละคร” เมียหลวง”ซึ่งกำลังมีเรตติ้งสูงในขณะนี้ ไปอยู่หลังเวลา 22.00 น. เนื่องจากเนื้อหาและภาพความรุนแรงนั้น บรรดาเครือข่ายเฝ้าระวังสื่อกลับเห็นว่าไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

นายวีระพงศ์ ทวีศักด์ กรรมการสื่อมวลชนคาทอลิกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อยากให้รัฐกลับไปแก้ปัญหาที่ต้นเหตุมากกว่า ไม่ใช่ใช้วิธีห้ามไม่ให้เด็กดู แต่ควรสอนให้เด็กรู้จักการคิดวิเคราะห์ และสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง

ขณะที่ นางกมลชนก เขมะโยธิน นักแสดงชื่อดัง เห็นว่า แม้การเลื่อนออกอากาศอาจไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แต่อย่างน้อยก็เป็นการกันเด็กกลุ่มหนึ่งที่อาจยังไม่สามารถเข้าถึงสื่ออินเตอร์เนตออกมาได้ ดีกว่าจะปล่อยให้เด็กรับสื่อแบบนี้ไปเรื่อยๆ
http://www.thairath.co.th/news.php?section=interesting_news&content=127652

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น