วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม २५५२ ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โครงการจัดสัมมนาทางวิชาการ
เรื่อง วิวิธศิลป์กับพุทธศาสนา
จัดโดย
สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2552
ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-----------------------------------------------------------------------------------------

1. หลักการและเหตุผล

ศิลปะกับพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กันในฐานะที่ศิลปะเป็นตัวกลางในการสื่อความรู้ความคิดที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา รวมไปถึงสัญลักษณ์ทางศาสนาให้เผยแพร่ไปในหมู่ชนจนเกิดเป็นศิลปะรูปแบบต่างๆ ที่อาจรวมเรียกได้ว่าเป็น “พุทธศิลป์”

ศิลปะแขนงต่างๆ ได้แก่จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี เป็นต้นนั้น นับแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์ก็ล้วนแล้วแต่แสดงออกถึงความผูกพันกับพุทธศาสนาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมเกิดพัฒนาการอย่างรวดเร็ว และเกิดสกุลช่างต่างๆ ที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะออกมาหลายรูปแบบ

ในสังคมไทย พุทธศาสนาได้มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการประวัติศาสตร์มาโดยลำดับโดยเฉพาะการสร้างแบบแผนทางศิลปะสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่สัมพันธ์กับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง และแพร่ขยายสู่สามัญชนอย่างกว้างขวางต่อเนื่องยาวนาน ปัจจุบันแม้การสร้างสรรค์งานศิลปะได้เข้าสู่ยุคของงานศิลปกรรมสมัยใหม่ที่เป็นการประยุกต์โดยนำศิลปะแบบเก่ามาผสมผสานขึ้นใหม่ โดยส่วนเนื้อหาของงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนานั้นมีการแสดงออกในรูปลักษณ์ใหม่ที่ยังตระหนักในความเป็นไทยพร้อมกับการรับวิทยาการแบบตะวันตกที่ทำให้ผลงานศิลปะนั้นแสดงออกถึงคตินิยมตามแบบพุทธศาสนา อย่างไรก็ดี ผลงานศิลปะในเชิงพุทธศิลป์เช่นนี้ ส่วนใหญ่เป็นการแสดงสัญลักษณ์ทางธรรมที่ต้องอาศัยการตีความโดยใช้จินตนาการและคติความเชื่อของคนไทยที่มีอยู่เดิมเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตผลงาน เพื่อให้ผลงานศิลปะร่วมสมัยที่มีพุทธศาสนาเป็นเนื้อหาหลักได้เป็นที่เข้าใจและได้รับการเผยแพร่ในวงกว้าง สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงพิจารณาเห็นสมควรจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “วิวิธศิลป์กับพุทธศาสนา” โดยเชิญวิทยากรซึ่งเป็นศิลปินแขนงต่างๆ มาร่วมบรรยายเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในผลงานศิลปะร่วมสมัยที่แสดงออกด้วยแนวคิดทางพุทธศาสนา

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อศึกษาอิทธิพลของพุทธศาสนาในศิลปะร่วมสมัยของไทย
2.2 เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในพัฒนาการของศิลปะตามแนวพุทธศิลป์
2.3 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ระหว่างนักวิชาการและผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

3. ผู้รับผิดชอบ
สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

4. ผู้เข้าร่วมสัมมนา
อาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 120 คน

5. การดำเนินการ
จัดสัมมนาวิชาการในวันที่ 23 มีนาคม 2552

6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันที่ 23 มีนาคม 2552 เวลา 09.00 - 16.00 น. รวม 1 วัน

7. กำหนดการ
(แนบท้าย)

8. การลงทะเบียน
ไม่เก็บค่าลงทะเบียนแต่อย่างใด

9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
9.1 ได้ความรู้ทางด้านศิลปะในแนวพุทธศิลป์ ในศิลปะร่วมสมัย
9.2 ได้ข้อมูลระดับหนึ่งในการผลิตผลงานทางศิลปะที่มีพุทธศาสนาเป็นแนวคิด
9.3 นักวิชาการได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางด้านศิลปะร่วมกัน




กำหนดการจัดสัมมนาทางวิชาการ
เรื่อง วิวิธศิลป์กับพุทธศาสนา
จัดโดย
สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2552
ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
---------------------------------------------------------------------------------

08.30 - 9.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 09.15 น. พิธีเปิดการสัมมนา
รองอธิการบดี (ศาสตราจารย์ ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน)
09.15 - 10.15 น. การประดับสถาปัตยกรรมไทยประเภทศาสนสถานด้วยประติมากรรม
ครุฑและยักษ์
วิทยากร: อาจารย์วงศ์ฉัตร ฉัตรกุล ณ อยุธยา
10.15 - 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 - 11.30 น. มหาชาติล้านนา : ลักษณะเฉพาะทางดุริยางคศิลป์ ในประเพณีศาสนา
วิทยากร: อาจารย์ ดร.พรประพิศ เผ่าสวัสดิ์
11.30 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.00 น. การสร้างงานศิลป์จากแนวคิดทางพุทธศาสนา
วิทยากร: อาจารย์สุมาลี เอกชนนิยม
14.00 - 14.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.15 - 16.00 น. นาฎยศิลป์ในพิธีทางพุทธศาสนา (บรรยายและการแสดงสาธิต)
วิทยากร: อาจารย์ ดร.อนุกูล โรจนสมบูรณ์
ปิดการสัมมนา







ใบตอบรับการเข้าร่วมโครงการจัดสัมมนาทางวิชาการ
เรื่อง วิวิธศิลป์กับพุทธศาสนา
จัดโดย
สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2552
ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ชื่อ…………………..…………...…………นามสกุล…………………………………………………………….….
ตำแหน่งทางวิชาการ/ทางบริหาร/อื่นๆ……………………………………………………………………………….
สถานที่ทำงาน / สถานที่ติดต่อ………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………….……………………………………………………..…
……………………………………………………………………………………………………………………….
โทรศัพท์ ………………………………………..… ……………มือถือ..................................................................
โทรสาร………………….………….…………....E-mail .…………………………………………………….…….

 สามารถเข้าร่วมประชุมได้ วันที่ 23 มีนาคม 2552

 ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้


ลงชื่อ ...........................................................
(............................................................................)

กรุณาส่งใบตอบรับนี้กลับมายัง สถาบันไทยศึกษา อาคารประชาธิปก -รำไพพรรณี ชั้น 9
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หรือโทรสาร 0 2255 5160
โทรศัพท์ 0 2218 7493 - 5 , 0 2218 7410 www.thaistudy.chula.ac.th
E-mail : thstudies@chula.ac.th ภายในวันที่ 17 มีนาคม 2552

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น