วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552

ปัญหาสำคัญของโครงการนมโรงเรียน คือการปล่อยให้ภาคเอกชนเข้ามากำหนดหลักเกณฑ์การผลิตและจำหน่ายมากเกินไป

รอง ปธ.กมธ.การป้องกันและปรามปรามการทุจริตฯ ระบุ ปัญหาสำคัญของโครงการนมโรงเรียน คือการปล่อยให้ภาคเอกชนเข้ามากำหนดหลักเกณฑ์การผลิตและจำหน่ายมากเกินไป


รองประธานกรรมาธิการป้องกันและปรามปรามการทุจริต สภาผู้แทนราษฎร ระบุ ปัญหาสำคัญของโครงการนมโรงเรียน คือการปล่อยให้ภาคเอกชนเข้ามากำหนดหลักเกณฑ์การผลิตและจำหน่ายมากเกินไป
นายธีระชาติ ปางวิรุฬรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานกรรมาธิการป้องกันและปรามปรามการทุจริต สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยความคืบหน้าการตรวจสอบปัญหานมโรงเรียน ว่า ได้เชิญคณะกรรมการบริหารองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ตัวแทนชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย และรองอธิบดีกรมการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มาชี้แจงปัญหานมโรงเรียนแล้ว พบปัญหาที่สำคัญคือ การที่ส่วนราชการปล่อยให้เอกชน เข้ามากำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ในระบบการผลิต และจำหน่ายนมโรงเรียนมากเกินไป โดยในคณะอนุกรรมการรับรองสิทธิในการอนุญาตให้ผู้ใดจำหน่ายนมโรงเรียนนั้น พบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้แทนผู้ประกอบการเลี้ยงโคนม และผลิตโคนมที่เป็นเอกชน ดังนั้น อ.ค.ส. ซึ่งถือเป็นผู้รับผิดชอบในการให้เกษตรกรเลี้ยง และจำหน่ายโคนมทั้งระบบ ต้องเข้ามาดูแลควบคุมมากกว่านี้ นอกจากนี้ ประเด็นที่กรรมาธิการฯ สงสัยมากที่สุดคือ ปริมาณน้ำนมดิบที่ผลิตในประเทศไทย มีถึงวันละ 2,400 ตัน แต่ได้นำไปผลิตเป็นนมโรงเรียนเพียง 800 ตันเท่านั้น ที่เหลือ 1,600 ตัน อยู่ในรูปของการผลิตนมหรือวัตถุอื่นๆ เพื่อการพาณิชย์ ซึ่งจากการสอบถามปัญหานมล้นตลาดจากประธานบอร์ด อ.ค.ส. ก็ได้รับคำชี้แจงว่ามีเพียง 300-400 ตันต่อวันเท่านั้น ดังนั้น เมื่อกระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายขยายโครงการนมโรงเรียนให้ครอบคลุมถึงเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากเดิมที่ครอบคลุมถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็น่าจะเป็นหลักประกันให้กับเกษตรกรที่เลี้ยงโคนม ว่าจะมีตลาดจำหน่าย ไม่ต้องเททิ้ง
นายธีระชาติ ปางวิรุฬรักษ์ กล่าวถึงกรณีมีการเปิดเผยว่า มีนักธุรกิจชื่อ เจริญ เป็นผู้อยู่อยู่เบื้องหลังขบวนการล็อกสเปกและฮั้วนมโรงเรียน ว่า นายเจริญเป็นผู้ร่วมหุ้นกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีหลายแห่ง ซึ่งเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างภาคเอกชนและราชการ แล้วแบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งสามารถทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าผู้ประกอบการที่มีสิทธิ์ผลิตและจำหน่ายนมโรงเรียนไม่มีความพร้อม ส่วนกรณีที่บริษัทนำศรีชล 96 ไม่มีใบอนุญาตประกอบโรงงานมาแสดงนั้น ได้รับคำชี้แจงว่าเนื่องจากผลิตโดยใช้เครื่องมือที่มีกำลังม้าไม่ถึงตามที่กำหนด ซึ่งตนเองเห็นว่าน่าจะต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ว่า หากผู้ประกอบการใดไม่มีศักยภาพ ไม่มีกำลังลงทุน ก็ไม่ควรเสนอตัวเข้ามาเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายนมโรงเรียน อย่างไรก็ตาม สัปดาห์หน้าจะตรวจสอบประเด็นความเกี่ยวพันว่ามีบุคคลใดได้รับประโยชน์จากโครงการนมโรงเรียนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ข้าราชการระดับสูง หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยคาดหวังว่าจะยกเครื่องเรื่องนมโรงเรียนทั้งระบบให้ดีขึ้น และจะเสนอมาตรการนี้ต่อนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ การควบคุมตรวจสอบโครงการนมโรงเรียนคงต้องอาศัย 3 กระทรวงหลัก คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อมูลข่าวและที่มา

วันที่ข่าว : 28 กุมภาพันธ์ 2552
http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255202280123&tb=N255202&return=ok&news_headline='รอง%20ปธ.กมธ.การป้องกันและปรามปรามการทุจริตฯ%20ระบุ%20ปัญหาสำคัญของโครงการนมโรงเรียน%20คือการปล่อยให้ภาคเอกชนเข้ามากำหนดหลักเกณฑ์การผลิตและจำหน่ายมากเกินไป'

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น