วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

คำนึงถึงชีวิตตำรวจผู้น้อยที่ต้องใช้พาหนะเหล่านี้บ้างไหม!?

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6997 ข่าวสดรายวัน


เสวยสุขบนชีวิตผู้อื่น


ชกไม่มีมุม

วงค์ ตาวัน



ไม่ กี่วันก่อน เพิ่งเกิดเหตุการณ์ที่ยังเขย่าขวัญเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจนถึงวันนี้ จากกรณีรถจักรยานยนต์ยี่ห้อไทเกอร์ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดซื้อเมื่อ 2-3 ปีก่อน เพื่อนำมาใช้ในราชการ

เกิดอุบัติเหตุพุ่งชนท้ายรถคันอื่นแล้วไฟลุกท่วม ย่างสดนายดาบตำรวจจราจรผู้ขับขี่ อย่างสยดสยอง

*รถมอเตอร์ไซค์ไปพุ่งชนอะไรแล้วมีไฟไหม้ตามมา ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดกันได้ง่ายๆ*

เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไป ทุกคนต้องนึกถึงคดีที่กองปราบฯเพิ่งไปสอบสวนดำเนินการ เนื่องจากเป็นโครงการจัดซื้อที่มีเรื่องไม่ชอบมาพากล

มีการล็อกสเป๊กในตอนประมูล มีปัญหาเรื่องศูนย์ซ่อม ไปจนถึงอะไหล่ อะไรต่อมิอะไรมากมาย

ในแง่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ต้องใช้รถมอเตอร์ไซค์รุ่นนี้เขาบ่นกันมานานแล้ว ในแง่เป็นรถที่สภาพไม่สมบูรณ์

จนกระทั่งมาเกิดเหตุร้าย คร่าชีวิตตำรวจจราจรในขณะปฏิบัติหน้าที่!

แน่นอนว่า ยังต้องรอการตรวจพิสูจน์หลักฐานที่แน่ชัดว่า ต้นตออุบัติเหตุคืออะไร และไฟลุกไหม้ขึ้นได้อย่างไร

แต่ในชั้นต้นผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่า นายดาบเคราะห์ร้ายไม่ได้ขับขี่ด้วยความเร็วสูงมากนัก อีกทั้งการลุกไหม้เกิดขึ้นที่บริเวณถังน้ำมันของรถ

ขณะที่ญาติของผู้ตายบอกว่า ปกติไม่ค่อยนำออกมาใช้เพราะเบรกไม่ดี ส่งซ่อมแล้วก็แก้ไม่ได้

*เบรกไม่ดีอยู่แล้ว อาจเป็นต้นตอทำให้เกิดการไปชนท้ายรถคันอื่น และความบกพร่องที่ถังน้ำมันอาจเป็นต้นเหตุที่นำมาสู่การย่างสดอย่างสยดสยอง*

ถ้าผลพิสูจน์ออกมาเป็นความบกพร่องของรถเช่นนี้จริง แปลว่าผู้เสียหายสามารถยื่นฟ้องร้องตามมาได้อีก

หลังจากเหตุร้ายรายนี้ มีตำรวจรายอื่นออกมาเปิดเผยว่า เคยเบรกไม่อยู่ไถลไปชนจนบาดเจ็บมาก่อนแล้ว!

ที่แน่ๆ หลายโรงพักต้องเลิกใช้ จอดทิ้งตากแดดตากฝน น่าเสียดายเงินภาษีอากรของประชาชนอย่างมาก

นี่คือผลงานของใคร จัดซื้อกันในยุคสมัยไหน

คำนึงถึงชีวิตตำรวจผู้น้อยที่ต้องใช้พาหนะเหล่านี้บ้างไหม!?

คงคล้ายๆ กับเรื่องเศร้าที่เราได้ยินกันบ่อยๆ เจ้านายจัดซื้อเสื้อเกราะ ซื้ออาวุธ แบบไม่ได้มาตรฐาน ให้ลูกน้องไปเสี่ยงตายในสนามรบโดยคนเซ็นซื้อนั่งนับเงินสุขสบายในคฤหาสน์

มอเตอร์ไซค์ถ้าไร้มาตรฐาน ก็ขาดประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ดูแลประชาชน ถ้าเอาไปใช้ในงานสายตรวจก็หมายถึง ไม่สามารถสอดส่องป้องกันโจรได้ทันท่วงที

และอาจเป็นต้นเหตุคร่าชีวิตตำรวจอย่างรายที่ถูกย่างสดนี้

*แล้วที่ยังต้องทนเสี่ยงใช้กันอีกมากมาย เพราะจัดซื้อกันเบิกบานเกือบ 2 หมื่นคัน!!*

ใครจะรับประกันความเสี่ยงให้ตำรวจ

แล้วใครที่เสวยสุขกับโครงการไทเกอร์ อย่าลืมเข้าวัดไปทำบุญให้ตำรวจที่ตายไปรายนี้ด้วย


หน้า 2
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dOekkxTURFMU13PT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1DMHdNUzB5TlE9PQ==
วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6997 ข่าวสดรายวัน


"หนังสือเดซี่" ประตูเรียนรู้จากโลกมืด





การนวดแผนไทยได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ที่สำคัญการนวดกับหมอแผนไทยที่พิการทางสายตายังได้รับความนิยมไม่แพ้กัน แต่ความจริงแล้วหมอนวดที่พิการทางสายตาทุกคนยังไม่ถูกรับรองให้เป็นผู้ ประกอบโรคศิลปะจากคณะกรรม การวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยอย่างถูกต้องเหมือนกับหมอนวดที่สายตาปกติทั่วไป

ทางมูลนิธิเด็กพิการ จึงร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้พิทักษ์ทางสายตา และวิทยาลัยราชสุดา เปิดตัวแบบเรียนเดซี่ หลักสูตรนวดไทยไฮเทค ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาผู้พิการทางสายตาให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยประเภทการนวดไทย

เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางสายตาได้มีโอกาสเรียนและสอบเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะได้ต่อไป

น.พ.ประพจน์ เภตรากาศ ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ กล่าวถึงที่มาของโครงการพัฒนาผู้พิการทางสายตาให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขา การแพทย์แผนไทย ว่า จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเตรียมคนตาบอดให้มีคุณสมบัติพร้อมที่จะสอบใบประกอบ โรคศิลปะได้ โดยโครงการนี้ในอนาคตจะพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน รวมทั้งสื่อต่างๆ อย่างเช่น หนังสือเสียงเดซี่ ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของคนตาบอด

โดยจะขยายไปยัง 7 องค์กร ได้แก่

1.ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด ปากเกร็ด
2.ศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน
3.สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
4.มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด
5.มูลนิธิคอลฟิลด์เพื่อคนตาบอดในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
6.ศูนย์การเรียนรู้และสาธิตอาชีพคนตาบอดธนบุรี และ
7.สมาคมส่งเสริมการนวดแผนไทยคนตาบอด



นอกจากนี้โครงการจะสนับสนุนมูลนิธิหรือเครือข่ายคนตาบอดที่สอนนวดอยู่แล้ว ให้ได้รับการรับรองเป็นสถาบันอบรมถ่ายทอดความรู้วิชาชีพการนวดไทย ที่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด

ผศ.ดร.พิมพา ขจรธรรม คณบดีวิทยาลัยราชสุดา กล่าวว่า ผู้พิการทางสายตาส่วนใหญ่ประสบปัญหาในการอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือด้วยระบบสัมผัสทางเสียง เช่น เทปคาสเซ็ต หรือการอ่านด้วยระบบสัมผัส เช่น อักษรเบรล เพราะหนังสืออักษรเบรลมีความหนาเกินไป อย่าง 1 หน้า A4 ของหนังสือธรรมดา จะได้หนังสือเบรล 2 หน้าครึ่ง ทำให้พกพาไม่สะดวก ส่วนเทปคาสเซ็ตก็ไม่ทนทาน และไม่สามารถค้นหาคำหรือประโยคได้ สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับผู้พิการทางสายตา

วิทยาลัย ราชสุดาจึงคิดค้นและจัดทำหนังสือเสียงเดซี่ (DAISY) หรือ DAISY ACCESSIBLE INFORMATION SYSTEM ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางสายตา สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่เขาต้องการค้นหาได้ ซึ่งหลักสูตรแรกที่วิทยาลัยได้จัดทำสำหรับหนังสือเสียงเดซี่ คือสื่อการเรียนการสอนสำหรับหมอนวดตาบอด ที่มีเสียงและรูปภาพแบบนูนที่ผู้พิการทางสายตาสัมผัสในหนังสือได้ หนังสือเสียงเดซี่นี้มีสองรูปแบบ คือแบบแผ่น ซีดีที่สามารถเปิดใช้ในคอมพิวเตอร์ได้ และแบบเล่มรูปภาพนูนที่สามารถสัมผัสรูปภาพและนำไปปฏิบัติตามได้



จุดเด่นของหนังสือเสียงเดซี่ที่แตกต่างจากหนังสืออักษรเบรลและเทปเสียง คือ รูปแบบอัจฉริยะและยืดหยุ่น เช่น หากผู้พิการทางสายตานำโปรแกรมหนังสือเสียงเดซี่เปิดในคอมพิวเตอร์ ก็สามารถสืบค้นคำที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพราะโปรแกรมจะค้นหาคำที่ต้องการให้พร้อมเสียงประกอบ ซึ่งผู้พิการทางสายตาสามารถฟังเสียงตามตัวอักษรที่หน้าจอได้เลย โปรแกรมอื่นๆ ไม่สามารถทำได้แบบนี้ และหากผู้พิการไม่อยากฟังในรูปแบบของเสียงก็สามารถพิมพ์ออกมาในรูปแบบของภาพ นูนเพื่อศึกษาได้ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางสายตา เพื่อสามารถสอบใบประกอบโรคศิลปะด้านการนวดไทยได้

อาจารย์ธรรม จตุนาม อาจารย์ประจำวิทยาลัยราชสุดากล่าวว่า หนังสือเดซี่เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง โดยกระบวนการผลิตหนังสือเสียงเดซี่ ขั้นตอนแรก คือ วิเคราะห์ต้นฉบับหนังสือ โดยวิเคราะห์จากเนื้อหาภายในและเน้นเนื้อหาที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงของคนตาบอด เช่น รูปภาพ ตาราง เป็นต้น

ขั้นตอนที่สอง คือการพิมพ์ต้นฉบับ โดยพิมพ์ตามรูปแบบที่ปรากฏในต้นฉบับ

ขั้นตอนที่สาม คือ การทำ Mark up ตามไฟล์ต้นฉบับ

ขั้นตอนที่สี่ คือ การตรวจสอบข้อผิดพลาดของ htal code โดยใช้โปรแกรม Validator

ขั้นตอนที่ห้า คือการบันทึกเสียง โดยใช้โปรแกรม sigtunar ขั้นตอนที่หก คือการตัดต่อและแก้ไขไฟล์ โดยใช้โปรแกรม sigtunar ตัดต่อไฟล์ และ ขั้นตอนสุดท้าย คือ การผลิตเป็นหนังสือเสียงต้นฉบับ โดยนำไฟล์ที่แก้ไขแล้วมาเรียงลำดับเนื้อหาและจัดทำสำเนาต้นฉบับหนังสือเสียง เพื่อนำไปใช้

อาจารย์ธรรมกล่าวต่อว่า ทางเรามีหน้าที่ผลิตต้นฉบับ โดยมีทีมงานประมาณ 5 คน รูปแบบการทำงานคล้ายๆ การทำห้องอัด คือ มีช่างเทคนิคคนหนึ่ง โปรดิวเซอร์คนหนึ่ง คนอ่านเสียงคนหนึ่ง โดยขั้นตอนพิมพ์หนังสือลง Text จะเหนื่อยที่สุด เพราะใช้เวลานาน หนังสือเดซี่นี้ในประเทศไทยเรียก "สื่อเสียงสำหรับคนตาบอด" แต่ทางต่างประเทศเขาเรียกว่า "สื่อเสียงสำหรับผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์"

ผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์ คือ ผู้ที่อ่านหนังสือไม่ได้ เช่น คนตาบอด ผู้สูงอายุ และคนพิการแอลดีที่ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ โดยคนประเภทนี้เป็นหมอนวดแผนไทยเยอะ และถ้าเอาโปรแกรมเสียงพวกนี้ไปให้เขาฟังเขาก็จะอ่านได้และเรียนรู้เนื้อหา การนวดได้

นายโชคชัย คำโพธิ์ทอง หมอนวดที่พิการทางสายตา กล่าวว่า หนังสือเดซี่ช่วยให้เข้าใจเรื่องการนวดมากขึ้น เพราะเวลาเราฟังเราจะเรียนรู้เรื่องเส้นและเรื่องการนวดที่ละเอียดขึ้น จากเมื่อก่อนเรียนจากหนังสือเบรลแล้วก็ครูสอน และการใช้งานก็ใช้ได้สะดวกแต่ควรมีพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์มาก่อน ตนคิดว่าหากหนังสือเดซี่นี้มีกระแสตอบรับที่ดี คนตาบอดจะมาเรียนเพิ่มขึ้น เพราะอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับคนตาบอดส่วนใหญ่ก็มาจากอาชีพนวดแผนไทย

หนังสือเดซี่จึงเป็นอีกช่องทางที่ช่วยผู้พิการทางสายตา


หน้า 21

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNakkxTURFMU13PT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1DMHdNUzB5TlE9PQ==

กองทุนสื่อ สร้างสรรค์ ถูกผลักดันมาเป็นเวลา 3 ปีแล้

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6997 ข่าวสดรายวัน


กองทุนสื่อสร้างสรรค์ เพื่อการเปลี่ยนแปลง


เมธาวี มัชฌันติกะ




มนุษย์กับการสื่อสารเป็นเรื่องคู่กัน!!

โลกปัจจุบันทำให้เราได้รับข้อมูลข่าวสารในปริมาณมาก และหลากหลายช่องทาง แต่สื่อก็มีทั้งสื่อดีและไม่ดี

บาง คนก็เห็นว่าไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าเห็นว่าไม่ดีก็อย่าไปดู อย่าไปอ่าน อย่าไปฟัง แต่ในความเป็นจริง เมื่อสื่อเผยแพร่ข่าวสารออกสู่สาธารณะ ถือเป็นเรื่องยากในการควบคุมให้ผู้บริโภคได้เลือกรับข่าวสารอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า "สื่อ" ไม่มีผลกระทบหรือทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมได้ เพราะเด็กและเยาวชนเปรียบเสมือนผ้าขาวที่รองรับทุกสิ่ง หลายครั้งที่เราได้เห็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ จอทีวี ว่าเด็กเลียนแบบหนังจนทำเรื่องร้ายๆ ตามมา

การผลักดันเพื่อทำให้ เกิดกองทุนสื่อสร้างสรรค์เป็นเรื่องที่ถูกคิดและทำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา นาน เพราะสาเหตุหลักที่ทำให้สื่อผลิตผลงานน้ำดีออกมาไม่ได้เกิดจากเงินทุนเป็น สำคัญ รายการดี หนังสือดี คนดูน้อยเพราะไม่โดนใจ ไม่ตื่นเต้นเท่าสื่อกระแสตลาด ทำให้นายทุนไม่สนับสนุนและผู้ผลิตไม่สามารถทำงานดีๆ ออกมาได้อย่างต่อเนื่อง และหนำซ้ำยังตายไปเรื่อยๆ

กองทุนสื่อ สร้างสรรค์ ถูกผลักดันมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว หากผ่านขั้นตอนตามกฎหมายจะกลายเป็นกองทุนใหม่ ภายใต้พ.ร.บ.กองทุนสื่อสร้างสรรค์ พ.ศ..... ซึ่งกำลังรอการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

ลองฟังความเห็นจากผู้ ทำงานด้านสื่อ นายอิทธิพล ปรีติประสงค์ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์สื่อไทยเกิดความขาดแคลนสื่อบางประเภทอย่างหนัก

โดย เฉพาะสื่อสำหรับเด็ก เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อประเภทเดียวกันชนิดอื่น เห็นได้ชัดว่า ราย การโทรทัศน์แทบไม่มีรายการสำหรับเด็กเล็กเลย หรือหนังสือเด็กเล็กก็จะมีราคาแพงมาก หรือเกมสำหรับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ก็หาได้ยาก

"เด็กเป็นกลุ่มเป้าหมายเล็กที่นักการตลาดนึกถึง เพราะเป็น กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจมากเท่ากลุ่มเป้าหมายอื่น แต่สิ่งที่ลืมกันไป คือ การลงทุนในเด็ก ถือเป็นการพัฒนาต้นทุนของชาติ เด็กถือเป็นทรัพยากรชั้นดี หากสามารถพัฒนาให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสมวัย กระตุ้นพัฒนาการในทางที่ดี ก็จะทำให้ประเทศมีเด็กที่คิดเก่ง ทำเป็น มีคุณภาพ รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคม การมีสื่อที่ดีจึงถือเป็นการสร้างต้นทุนให้เด็กทำให้เกิดพัฒนาการที่ดี"

1.เข็มพร วิรุณลาพันธ์

2.อิทธิพล ปรีติประสงค์



หลักการและภารกิจของกองทุนสื่อสร้างสรรค์ คือ

1. ส่งเสริมการผลิตสื่อให้เกิดสื่อที่มีความหลากหลาย เป็นสื่อสำหรับคนทุกกลุ่มทุกวัย ซึ่งจะทำให้เกิดคุณภาพของสื่อมากขึ้น

2. ส่งเสริมวัฒนธรรมการใช้สื่อ ทำให้เกิดการเลือกรับสื่อ เรียนรู้สื่ออย่างเท่าทัน

3. พัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อทั้งรายใหญ่ รายย่อย และสื่อชุมชน ซึ่งในอนาคตหากกฎหมายคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งจะเปิดให้สื่อรายย่อย สื่อชุมชน ได้มีโอกาสทำงานได้มากขึ้น การพัฒนาสื่อจะถือว่าได้รับประโยชน์ในการที่จะมีสื่อสร้างสรรค์จำนวนมากขึ้น

4. เปิดพื้นที่การมีสื่อสร้างสรรค์ในสังคม

5. สนับสนุนการวิจัยเพื่อค้นหาความรู้ การผลักดันให้เกิดสถานีโทรทัศน์เพื่อเด็ก หรือพื้นที่สื่อสำหรับเด็กให้มีมากขึ้นและหลากหลาย


สำหรับ รูปแบบของการสนับสนุนหากมีกองทุนสื่อสร้างสรรค์ขึ้น จะเข้าไปสนับสนุนทั้งสื่อกระแสหลัก กระแสรอง เช่น การให้ทุนสนับสนุนการผลิต การให้ทุนและร่วมผลิต การสนับสนุนให้เกิดการวิจัยการผลิต ซึ่งที่ผ่านมายังมีการให้ความสำคัญด้านการวิจัยสื่อน้อยมาก และจะทำเฉพาะสื่อที่มีทุนมหาศาลเท่านั้น นอกจากนั้น ยังต้องมีการรณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของสื่อด้วย

"สื่อของไทย จะเป็นสื่อที่ผลิตตามกระแส ทำตามประสบการณ์เป็นหลัก การวิจัย การนำหลักวิชาการเข้ามาผสานร่วมกันยังถือว่ามีน้อยมาก ซึ่งทั้งสองอย่างต้องทำให้เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กัน ที่สำคัญคือ ต้องทำให้เกิดการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ทุกฝ่ายตระหนักรู้ความสำคัญ สุดท้ายคือทำให้ประชาชนรู้จักการเลือกรับบริโภคสื่อ รู้จักวัฒนธรรมการใช้สื่อ หากเกิดขึ้นได้ก็จะเป็นต้นทุนในการพัฒนาประเทศได้เป็นอย่างดี" นายอิทธิพล อธิบาย

นางเข็มพร วิรุณลาพันธ์ ผู้จัดการแผนงานกองทุนสื่อสร้างสรรค์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ช่วยอธิบายให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่า สื่อสร้างสรรค์จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนและปลดล็อกทำให้สื่อ ดีๆ อยู่ได้ และเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการคิดเชิงสร้างสรรค์อย่างอิสระได้มากกว่าเดิม

รัฐบาล เป็นผู้ที่จะสามารถทำให้กองทุนสื่อสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งต้องอาศัยความจริงจังในการเร่งผลักดันกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งจะเป็นคำตอบเป็นทางออกที่ทำให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ปัญหานี้ได้

รูปแบบของกองทุนสื่อสร้างสรรค์ จะมีการทำงานเป็นองค์กรอิสระคล้าย สสส. แต่การมีหน่วยงานที่ทำงานด้านสื่อสร้างสรรค์โดยเฉพาะจะทำให้เกิดความจริงจัง ในการสนับสนุนสื่อประเภทต่างๆ ที่มีความหลากหลาย ทั้งนี้ จากพื้นฐานการทำงานในรูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายต่างๆ แบบที่สสส.ได้สร้างไว้ ทำให้สามารถต่อยอดและนำกลไกการเชื่อมโยงมาใช้ได้ ซึ่งการจะสร้างสื่อดีๆ จำเป็นต้องประสานความร่วมมือกันหลายๆ ภาคส่วนทั้งนักวิชาการ นักสร้างสรรค์ ทำให้เกิดส่วนร่วมของเด็ก เยาวชนและผู้ใหญ่ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดี

"ความ เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหากมีกองทุนสื่อสร้างสรรค์จะทำให้เกิดสื่อดีๆ ขึ้นมาทดแทน จากที่เด็กต้องดูสื่อของผู้ใหญ่ที่ทำขึ้นเพื่อผู้ใหญ่ ซึ่งจะมีความรุนแรง เรื่องเพศ ความก้าวร้าวแฝงอยู่ ก็จะมีทางเลือกที่จะรับสื่อที่เหมาะกับวัย ผู้ผลิตมีแรง มีความสร้างสรรค์เต็มที่ที่จะคิดสื่อเพื่อเด็กโดยไม่ต้องห่วงว่าจะไม่มีเงิน ทุนหรือจะต้องหมดตัวเพราะทำสื่อเด็ก และเยาวชนอีกต่อไป" นางเข็มพร แสดงความห่วงใย

อนาคตของชาติจะเป็นอย่างไร หากไร้การดูแลอย่างจริงจัง ซึ่งรัฐบาลคงต้องให้คำตอบว่าจะเดินหน้าหรือย่ำเท้าซ้ำๆ อยู่ที่เดิม

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVEkxTURFMU13PT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1DMHdNUzB5TlE9PQ==

รายงานประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6997 ข่าวสดรายวัน


กมธ.ศาสนาฯ-หนุนกม.อุปถัมภ์ฯ




นายอำนาจ บัวศิริ ผอ.สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เปิดเผยว่า พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้มอบหมายให้สำนักพุทธฯ นำเรื่องตามที่ ศ.เกียรติคุณตรึงใจ บูรณสมภพ ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม วุฒิสภา ได้ทำรายงานประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา นำเสนอต่อมหาเถรสมาคม (มส.) เพื่อพิจารณาหาทางแก้ไข ซึ่งประเด็นปัญหาที่คณะกรรมาธิการศาสนาฯ เสนอ ประกอบด้วย
1.การจัดห้องรับรองพระภิกษุที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งขณะนี้เกิดความล่าช้าในการขยายพื้นที่ดังกล่าว จึงเห็นว่าหากสำนักนายกรัฐมนตรี และมหาเถรฯ ให้การสนับสนุน โดยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะทำให้การดำเนินงานสำเร็จโดยเร็ว
2.ปัญหาวัดร้าง และจำนวนพระภิกษุสงฆ์ที่ลดน้อยลง เนื่องจากพบว่าขณะนี้มีวัดร้างเพิ่มขึ้นประมาณ 40 แห่งต่อปี บางวัดมีพระรูปเดียว โดยมีปัญหาสำคัญคือ ผู้ที่สนใจจะบวชลดลง จากสถิติยังพบว่าในช่วงเข้าพรรษาจะมีพระภิกษุสามเณรทั่วประเทศประมาณ 300,000 รูป แต่ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในวัดเขตเมือง ทำให้วัดตามชนบทขาดแคลนพระภิกษุสามเณร จึงเสนอแนวทางแก้ไข คือ หาแนวทางให้เห็นความสำคัญของการบวช ส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ประสานกับกระทรวงศึกษาธิการให้มีการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา และวิชาศีลธรรมในโรงเรียน รายงานดังกล่าวระบุอีกว่า ในเรื่องปัญหาในการจัดการคณะสงฆ์ควรมีการปรับฐานข้อมูลของพระสงฆ์ให้มีความ เป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันปัญหาการปลอมบวช และผู้ที่ต้องลาสิกขาเพราะมีความผิดตามกฎหมายและไปบวชที่อื่น
3.ปัญหาทางด้านกฎหมาย คณะกรรมาธิการศาสนาฯ เห็นว่าเป็นอีกปัญหาที่ทำให้การจัดการคณะสงฆ์เป็นไปอย่างล่าช้า การจะแก้ไขพ.ร.บ.คณะสงฆ์เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก จึงเห็นว่าควรเร่งผลักดันให้ร่างพ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ.... มีผลบังคับใช้โดยเร็ว หลังจากนั้นหากเป็นไปได้จึงควรที่จะแก้ไขพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ทั้งนี้ ได้มีการนำรายงานดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมมหาเถรฯ แล้ว และที่ประชุมมหาเถรฯ เห็นว่าปัญหาดังกล่าวให้ทางภาครัฐหาทางแก้ไขในระยะแรกก่อน และหากมีประเด็นข้อกฎหมายใดที่ขัดข้องก็ให้หาทางแก้ไข แต่หากจะมีการปรับแก้กฎหมายใดนั้นควรที่จะต้องนำมาปรึกษามหาเถรฯ ก่อน


หน้า 32
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdNVEkxTURFMU13PT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1DMHdNUzB5TlE9PQ==

ฝรั่งเศสจับมือเยอรมันเตือนภัย Internet Explorer - ข่าวไทยรัฐออนไลน์

ฝรั่งเศสจับมือเยอรมันเตือนภัย Internet Explorer - ข่าวไทยรัฐออนไลน์

ฝรั่งเศสจับมือเยอรมันเตือนภัย Internet Explorer

Pic_59793

ฝรั่งเศส เอาอย่างเยอรมนีด้วยการออกมาเตือนให้นักท่องอินเทอร์เน็ตหลีกเลี่ยงการใช้ เบราเซอร์ "Internet Explorer" จนกว่าทางไมโครซอฟต์จะพัฒนาแพ็ช มาป้องกันแฮ็คเกอร์

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 19 ม.ค. ว่า Certa ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลฝรั่งเศสซึ่งดูแลเรื่องของการจารกรรมทางอิน เทอร์เน็ต ออกมาเตือนชาวไซเบอร์ให้ใช้เว็บเบราเซอร์อื่นๆ แทนที่ "Internet Explorer" ของไมโครซอฟต์ จนกว่าจะมีโปรแกรมเสริมเพื่อป้องกันการเจาะข้อมูลจากแฮ็กเกอร์มาป้องกัน

ทั้ง นี้ ไมโครซอฟต์ เคยแถลงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่มีแฮ็กเกอร์ในประเทศจีนเจาะเข้าเว็บไซต์กูเกิล เพื่อค้นอีเมล์ของกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า การตั้ง Internet security zone ของเบราเซอร์ไว้ที่ High สามารถแก้ปัญหานี้ได้ พร้อมทั้งอ้างว่ากลุ่มที่เจาะเข้ากูเกิลนั้นเป็นแฮ็กเกอร์ที่มีความสามารถ และความชำนาญอยู่ในระดับที่สูงมาก รวมถึงมีเป้าหมายที่ชัดเจน ฉะนั้นผู้ใช้งานทั่วไปไม่ควรกังวล

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้เพียง 1 วัน หน่วยงานด้านความมั่นคงของข้อมูลจากเยอรมนี หรือ บีเอสไอ เพิ่งออกมาเตือนว่า แม้จะใช้วิธีการเปิดโปรแกรม Internet Explorer ใน 'security mode' ก็ยังไม่สามารถการรันตีความปลอดภัยได้ 100%.

http://www.thairath.co.th/content/tech/59793