วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

กองทุนสื่อ สร้างสรรค์ ถูกผลักดันมาเป็นเวลา 3 ปีแล้

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6997 ข่าวสดรายวัน


กองทุนสื่อสร้างสรรค์ เพื่อการเปลี่ยนแปลง


เมธาวี มัชฌันติกะ




มนุษย์กับการสื่อสารเป็นเรื่องคู่กัน!!

โลกปัจจุบันทำให้เราได้รับข้อมูลข่าวสารในปริมาณมาก และหลากหลายช่องทาง แต่สื่อก็มีทั้งสื่อดีและไม่ดี

บาง คนก็เห็นว่าไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าเห็นว่าไม่ดีก็อย่าไปดู อย่าไปอ่าน อย่าไปฟัง แต่ในความเป็นจริง เมื่อสื่อเผยแพร่ข่าวสารออกสู่สาธารณะ ถือเป็นเรื่องยากในการควบคุมให้ผู้บริโภคได้เลือกรับข่าวสารอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า "สื่อ" ไม่มีผลกระทบหรือทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมได้ เพราะเด็กและเยาวชนเปรียบเสมือนผ้าขาวที่รองรับทุกสิ่ง หลายครั้งที่เราได้เห็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ จอทีวี ว่าเด็กเลียนแบบหนังจนทำเรื่องร้ายๆ ตามมา

การผลักดันเพื่อทำให้ เกิดกองทุนสื่อสร้างสรรค์เป็นเรื่องที่ถูกคิดและทำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา นาน เพราะสาเหตุหลักที่ทำให้สื่อผลิตผลงานน้ำดีออกมาไม่ได้เกิดจากเงินทุนเป็น สำคัญ รายการดี หนังสือดี คนดูน้อยเพราะไม่โดนใจ ไม่ตื่นเต้นเท่าสื่อกระแสตลาด ทำให้นายทุนไม่สนับสนุนและผู้ผลิตไม่สามารถทำงานดีๆ ออกมาได้อย่างต่อเนื่อง และหนำซ้ำยังตายไปเรื่อยๆ

กองทุนสื่อ สร้างสรรค์ ถูกผลักดันมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว หากผ่านขั้นตอนตามกฎหมายจะกลายเป็นกองทุนใหม่ ภายใต้พ.ร.บ.กองทุนสื่อสร้างสรรค์ พ.ศ..... ซึ่งกำลังรอการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

ลองฟังความเห็นจากผู้ ทำงานด้านสื่อ นายอิทธิพล ปรีติประสงค์ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์สื่อไทยเกิดความขาดแคลนสื่อบางประเภทอย่างหนัก

โดย เฉพาะสื่อสำหรับเด็ก เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อประเภทเดียวกันชนิดอื่น เห็นได้ชัดว่า ราย การโทรทัศน์แทบไม่มีรายการสำหรับเด็กเล็กเลย หรือหนังสือเด็กเล็กก็จะมีราคาแพงมาก หรือเกมสำหรับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ก็หาได้ยาก

"เด็กเป็นกลุ่มเป้าหมายเล็กที่นักการตลาดนึกถึง เพราะเป็น กลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจมากเท่ากลุ่มเป้าหมายอื่น แต่สิ่งที่ลืมกันไป คือ การลงทุนในเด็ก ถือเป็นการพัฒนาต้นทุนของชาติ เด็กถือเป็นทรัพยากรชั้นดี หากสามารถพัฒนาให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสมวัย กระตุ้นพัฒนาการในทางที่ดี ก็จะทำให้ประเทศมีเด็กที่คิดเก่ง ทำเป็น มีคุณภาพ รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคม การมีสื่อที่ดีจึงถือเป็นการสร้างต้นทุนให้เด็กทำให้เกิดพัฒนาการที่ดี"

1.เข็มพร วิรุณลาพันธ์

2.อิทธิพล ปรีติประสงค์



หลักการและภารกิจของกองทุนสื่อสร้างสรรค์ คือ

1. ส่งเสริมการผลิตสื่อให้เกิดสื่อที่มีความหลากหลาย เป็นสื่อสำหรับคนทุกกลุ่มทุกวัย ซึ่งจะทำให้เกิดคุณภาพของสื่อมากขึ้น

2. ส่งเสริมวัฒนธรรมการใช้สื่อ ทำให้เกิดการเลือกรับสื่อ เรียนรู้สื่ออย่างเท่าทัน

3. พัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อทั้งรายใหญ่ รายย่อย และสื่อชุมชน ซึ่งในอนาคตหากกฎหมายคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งจะเปิดให้สื่อรายย่อย สื่อชุมชน ได้มีโอกาสทำงานได้มากขึ้น การพัฒนาสื่อจะถือว่าได้รับประโยชน์ในการที่จะมีสื่อสร้างสรรค์จำนวนมากขึ้น

4. เปิดพื้นที่การมีสื่อสร้างสรรค์ในสังคม

5. สนับสนุนการวิจัยเพื่อค้นหาความรู้ การผลักดันให้เกิดสถานีโทรทัศน์เพื่อเด็ก หรือพื้นที่สื่อสำหรับเด็กให้มีมากขึ้นและหลากหลาย


สำหรับ รูปแบบของการสนับสนุนหากมีกองทุนสื่อสร้างสรรค์ขึ้น จะเข้าไปสนับสนุนทั้งสื่อกระแสหลัก กระแสรอง เช่น การให้ทุนสนับสนุนการผลิต การให้ทุนและร่วมผลิต การสนับสนุนให้เกิดการวิจัยการผลิต ซึ่งที่ผ่านมายังมีการให้ความสำคัญด้านการวิจัยสื่อน้อยมาก และจะทำเฉพาะสื่อที่มีทุนมหาศาลเท่านั้น นอกจากนั้น ยังต้องมีการรณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของสื่อด้วย

"สื่อของไทย จะเป็นสื่อที่ผลิตตามกระแส ทำตามประสบการณ์เป็นหลัก การวิจัย การนำหลักวิชาการเข้ามาผสานร่วมกันยังถือว่ามีน้อยมาก ซึ่งทั้งสองอย่างต้องทำให้เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กัน ที่สำคัญคือ ต้องทำให้เกิดการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ทุกฝ่ายตระหนักรู้ความสำคัญ สุดท้ายคือทำให้ประชาชนรู้จักการเลือกรับบริโภคสื่อ รู้จักวัฒนธรรมการใช้สื่อ หากเกิดขึ้นได้ก็จะเป็นต้นทุนในการพัฒนาประเทศได้เป็นอย่างดี" นายอิทธิพล อธิบาย

นางเข็มพร วิรุณลาพันธ์ ผู้จัดการแผนงานกองทุนสื่อสร้างสรรค์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ช่วยอธิบายให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่า สื่อสร้างสรรค์จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนและปลดล็อกทำให้สื่อ ดีๆ อยู่ได้ และเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการคิดเชิงสร้างสรรค์อย่างอิสระได้มากกว่าเดิม

รัฐบาล เป็นผู้ที่จะสามารถทำให้กองทุนสื่อสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งต้องอาศัยความจริงจังในการเร่งผลักดันกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งจะเป็นคำตอบเป็นทางออกที่ทำให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ปัญหานี้ได้

รูปแบบของกองทุนสื่อสร้างสรรค์ จะมีการทำงานเป็นองค์กรอิสระคล้าย สสส. แต่การมีหน่วยงานที่ทำงานด้านสื่อสร้างสรรค์โดยเฉพาะจะทำให้เกิดความจริงจัง ในการสนับสนุนสื่อประเภทต่างๆ ที่มีความหลากหลาย ทั้งนี้ จากพื้นฐานการทำงานในรูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายต่างๆ แบบที่สสส.ได้สร้างไว้ ทำให้สามารถต่อยอดและนำกลไกการเชื่อมโยงมาใช้ได้ ซึ่งการจะสร้างสื่อดีๆ จำเป็นต้องประสานความร่วมมือกันหลายๆ ภาคส่วนทั้งนักวิชาการ นักสร้างสรรค์ ทำให้เกิดส่วนร่วมของเด็ก เยาวชนและผู้ใหญ่ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดี

"ความ เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหากมีกองทุนสื่อสร้างสรรค์จะทำให้เกิดสื่อดีๆ ขึ้นมาทดแทน จากที่เด็กต้องดูสื่อของผู้ใหญ่ที่ทำขึ้นเพื่อผู้ใหญ่ ซึ่งจะมีความรุนแรง เรื่องเพศ ความก้าวร้าวแฝงอยู่ ก็จะมีทางเลือกที่จะรับสื่อที่เหมาะกับวัย ผู้ผลิตมีแรง มีความสร้างสรรค์เต็มที่ที่จะคิดสื่อเพื่อเด็กโดยไม่ต้องห่วงว่าจะไม่มีเงิน ทุนหรือจะต้องหมดตัวเพราะทำสื่อเด็ก และเยาวชนอีกต่อไป" นางเข็มพร แสดงความห่วงใย

อนาคตของชาติจะเป็นอย่างไร หากไร้การดูแลอย่างจริงจัง ซึ่งรัฐบาลคงต้องให้คำตอบว่าจะเดินหน้าหรือย่ำเท้าซ้ำๆ อยู่ที่เดิม

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVEkxTURFMU13PT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1DMHdNUzB5TlE9PQ==

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น