วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความท้าทาย "4 บิ๊ก" ซีอีโอ "เปิดสไตล์-ถอดรหัส"..บริหารความเสี่ยง

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4187  ประชาชาติธุรกิจ


ความท้าทาย "4 บิ๊ก" ซีอีโอ "เปิดสไตล์-ถอดรหัส"..บริหารความเสี่ยง





มี นักวิชาการบอกว่า "การเมือง" ไม่นับเป็น "ความเสี่ยง" เนื่องจาก ไม่สามารถคำนวณเป็น "ตัวเลข" ได้ เพราะ "การเมือง" เป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม และความคาดหมาย

ขณะที่ "ความเสี่ยง" เป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจต่างตระหนักและระแวดระวังกันทุกคน เพราะ "ความเสี่ยง" เป็นเรื่องที่ป้องกันได้ และหา "ค่า" ได้ โดยแต่ละธุรกิจต่างมีปัจจัยเสี่ยงไม่เหมือนกัน แต่ละตัวแปรสามารถแปลงเป็นตัวเลขได้ ขึ้นอยู่กับสมมติฐาน

ในงาน สัมมนาประจำปีของสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย (TLCA) จึงยึดธีม "ความท้าทายในการบริหารความเสี่ยง" (challenge of risk management) "ประชาชาติธุรกิจ" จึงเลือกหยิบการบริหารความเสี่ยงจากวงเสวนาเรื่อง "CEO challenge-leading thorough uncertainty" จาก 3 กลุ่มธุรกิจ คือ ธุรกิจพลังงาน มี "ชนินทร์ ว่องกุศลกิจ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) "อนนต์ สิริแสงทักษิณ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) จำกัด (มหาชน) ธุรกิจอาหารแปรรูป โดย "ธีรพงศ์ จันศิริ" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) และมี "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) มาร่วมกันเปิดประเด็นวิธีป้องกันและการรับมือกับความเสี่ยง

"บ้านปู" ต้องคิดง่าย ๆ

"ชนินทร์" กล่าวว่า ธุรกิจของ "บ้านปู" ปัจจัยเสี่ยงมาจากภายนอกประเทศ ซึ่งมีอยู่ 2 ส่วน คือ 1.ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ จะผันผวนและเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะเศรษฐกิจ 2.กฎระเบียบของประเทศที่ส่งสินค้าไปขายจะออกกฎระเบียบใหม่ ๆ มาควบคุมเสมอ บริษัทจึงต้องติดตามการออกกฎระเบียบของทั้งรัฐบาลกลาง และส่วนท้องถิ่นที่บริษัทไปลงทุนและค้าขาย

แม้ความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับ"ต่างประเทศ" แต่การบริหารจัดการความเสี่ยงภายในก็สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากธุรกิจหลักของบ้านปู คือ ถ่านหิน ต้องลงทุนนานกว่าจะสามารถรับรู้รายได้ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือต้องมองภาพไปข้างหน้าพร้อมกับรายงานความเสี่ยงที่ อาจเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งบริษัทมี คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ที่นำประเด็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมาคุยกัน ทุก ๆ 3 เดือน เพื่อนำไปสู่การหารือใน 2 เรื่องใหญ่ แผนประจำปีนั้น ๆ และยุทธศาสตร์ในระยะ 5 ปี

"ผู้บริหารธุรกิจต้องพยายามมองสถานการณ์ ให้ออก แล้วพยายามเรียงให้ง่าย ๆ ว่าความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรามีอะไรบ้าง ถ้ามองให้มันซับซ้อนมากเกินไปมันทำให้เรามองไม่เห็น"

และสุดท้าย คือการที่สถานการณ์ ค่อนข้างเปลี่ยนเร็ว ไม่แน่นอนสูงเราต้องสร้างทางเลือกสำหรับธุรกิจ ไม่ว่าธุรกิจดีหรือไม่ดีแล้วเรามีทางออกอย่างไร

ปตท.สผ. มอง "คน" เสี่ยงสุด

ปตท.สผ.เป็นอีกธุรกิจที่มีการลงทุนในต่างประเทศ มีความเสี่ยงจากความ แตกต่างของภูมิประเทศ (Geographic risk) "อนนต์ สิริแสงทักษิณ" กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทกระจายการลงทุน 20 โครงการ อยู่ใน 13 ประเทศ

"อนนต์" มองว่าความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของทุกธุรกิจ คือ "คน" เพราะคนคือ ผู้ที่จะตัดสินใจนำความเสี่ยงต่าง ๆ มาสู่ธุรกิจ ดังนั้นการจัด "mind set" ของบุคลากรจึงเป็นภารกิจที่สำคัญและต้องให้ความสำคัญกับโครงสร้างและ วัฒนธรรมองค์กรที่การสร้างภาวะผู้นำ รวมถึงการเปิดรับความเสี่ยงต้องสอดคล้องไปกับเป้าหมายของบริษัท

การ จัดการความเสี่ยงของ ปตท.สผ. ต้องผูกกับเป้าหมายขององค์กร มีกลยุทธ์รองรับ เข้าใจปัจจัยที่ขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จว่ามีความไม่แน่นอนอะไรบ้าง แล้วลดผลกระทบที่เข้ามา

นอกจากนี้ ต้องมั่นใจว่าธุรกิจยังคงเดินไปตามเป้าหมายระยะยาวที่วางไว้ โดยต้องมีการทบทวนกลยุทธ์อยู่เสมอว่าที่ทำอยู่ปัจจัยทำให้ธุรกิจเติบโตได้ หรือไม่ เช่น ในช่วงวิกฤตการณ์การเงินโลกในปีที่ผ่านมาทำให้การจะไปถึงเป้าหมายโดยการเติบ โตจากภายใน (organic growth) เป็นไปได้ยากขึ้น บริษัทก็มองหาการเติบโตด้วยวิธีไปซื้อสินทรัพย์ในต่างประเทศ

"การ บริหารความเสี่ยงเราต้องมองยาวด้วย สั้นด้วย และบริหารพอร์ตในภาพรวมด้วยความเข้าใจอุตสาหกรรม ก่อนหน้าวิกฤตเราตั้งเป้าเติบโตสูง แต่พอมีวิกฤตเราก็ลดการเปิดรับความเสี่ยง แต่ยังถือเป้าหมายระยะยาวไว้ เพียงแต่ปรับวิธีทำงานระยะสั้น ในขณะที่การบริหารความเสี่ยงของเรายังมีบอร์ดชุดย่อยที่ดูแลความเสี่ยงในทุก ฟังก์ชั่น แล้วนำความเสี่ยงมารวมกันเพื่อนำไปสู่การจัดการได้อย่างเบ็ดเสร็จ เพราะถ้าแยกต่างคนต่างทำ ต่างเป้าหมาย มันเป็นความเสี่ยงได้เหมือนกัน"

ไทยยูเนี่ยนฯขีดวงความเสี่ยง 5 ข้อ

ในส่วนธุรกิจอาหารแปรรูป "ธีรพงศ์ จันศิริ" จากไทยยูเนี่ยนฯบอกว่า บริษัทเป็นผู้ส่งออกไปทั่วโลก ความเสี่ยงอันดับ 1 คือ คุณภาพ เนื่องจากเป็นประเด็นที่นำไปสู่ความน่าเชื่อถือ แม้จะควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพแต่ความเสี่ยงก็เกิดขึ้นได้ตลอดในอุตสาหกรรม นี้

2.อัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากรายรับ 95% เป็นเงินดอลลาร์ แนวคิดการจัดการเรื่องนี้ต้องยืดหยุ่น จัดการได้เร็ว ใช้แนวคิดง่าย ๆ คือ 40% บริหารความเสี่ยงโดยให้รายรับและรายจ่ายที่อยู่ในรูปดอลลาร์หักกลบกัน (natural hedging) ส่วนที่เหลืออีก 60% ครึ่งหนึ่งป้องกันความเสี่ยงเต็มจำนวน (fix forward) ส่วนอีกครึ่งหนึ่งไม่ป้องกันความเสี่ยง เปิดรับความเสี่ยงเผื่อรับกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้อง ทำแบบนี้เพราะจริง ๆ แล้วไม่มีใครรู้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นอย่างไร

3.ราคา ของวัตถุดิบ เนื่องจากบริษัทมีการรับคำสั่งซื้อมาล่วงหน้าแล้ว การจัดซื้อวัตถุดิบมาผลิตก็ต้องซื้อล่วงหน้าในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ไม่เน้นการเก็งกำไร 4.ด้านแรงงาน ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงานไม่เพียงพอ บริษัทต้องเตรียมหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาทดแทนแรงงานที่ขาดแคลน

5.ความเสี่ยงจากเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากบริษัทส่งสินค้าไปทั่วโลก และไทยส่งออกอันดับ 1 ในสินค้าหลายประเภท จึงมีโอกาสสูงที่จะถูกโจมตีและกีดกันทั้งในรูปของภาษีและไม่ใช่ภาษี การจัดการความเสี่ยงเหล่านี้จึงอยู่ที่การติดตามการออกกฎระเบียบการค้า การลงทุนของแต่ละประเทศ

กสิกรไทยหวั่น "ความเสี่ยงลูกค้า"

ด้าน สถาบันการเงิน ธุรกิจซึ่งนอกจากจะต้องคุมความเสี่ยงจากการบริหารจัดการภายในของตัวเองแล้ว แต่ที่ดูเหมือนจะควบคุมยากยิ่งกว่าคือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการบริหารจัดการธุรกิจของลูกค้าซึ่งอาจเป็นที่มาของการ ผิดนัดชำระหนี้

"ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" จากค่ายกสิกรไทยประเมินว่า ขณะนี้มีหลายความเสี่ยงที่อาจเข้ามากระทบธุรกิจของลูกค้าในระดับที่แตกต่าง กันออกไป ซึ่งหากไม่จัดการให้ดีมีโอกาสที่จะกระทบมาถึงธนาคาร ประการแรกคือ ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก,ความเสี่ยงที่ ดอกเบี้ยจะปรับตัวขึ้นตามแนวโน้มเงินเฟ้อ ซึ่งจะกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น

ส่วนที่เป็นความเสี่ยงเฉพาะ ของธนาคารนั่นคือ การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การทำธุรกิจ มีแนวโน้มจะออกเกณฑ์เพื่อจัดระเบียบสถาบันการเงินมากขึ้น ซึ่งถ้ามีผลต่อต้นทุนทางธุรกิจก็มีโอกาสที่ต้นทุนดังกล่าวจะกระทบไปถึง ลูกค้าและส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

"ประสาร" กล่าวว่า ในส่วนของสถาบันการเงินมีการจัดการคือ ภายใต้ความไม่แน่นอนของทั้งเศรษฐกิจและการเมือง ธนาคารพยายามสร้างความสมดุลของพอร์ตสินเชื่อ ให้ประกอบด้วยลูกค้าทั้งขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องจากทั้งในและต่าง ประเทศ ลูกค้ารายกลางและรายบุคคล เพื่อลดการกระจุกตัวของผลกระทบการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมซึ่ง ไม่ต้องเก็บความเสี่ยงมาไว้กับธนาคาร

ส่วนการออกกฎเกณฑ์มาจัดระเบียบ สถาบันการเงินมากขึ้น แม้จะเป็นการเริ่มขึ้นในต่างประเทศก่อน แต่สถาบันการเงินไทยก็ต้องบริหารความเสี่ยงจากประเด็นนี้ด้วยการหาช่องทาง เข้าไปหารือกับผู้กำกับ เพื่อว่าหากเกิดกรณีว่าทางการจะนำเกณฑ์ใหม่ ๆ เข้ามาจะได้ข้อสรุปที่เหมาะสมในทางปฏิบัติ


หน้า 36
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02spe01250253&sectionid=0223&day=2010-02-25

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น