วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

ป.ป.ช.ไล่บี้ข้อมูลทุจริต ธอส. ผู้บริหารทำพิลึกบริจาคเงิน 1.2 ล.แก้ทาง

วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4191  ประชาชาติธุรกิจ


ป.ป.ช.ไล่บี้ข้อมูลทุจริต ธอส. ผู้บริหารทำพิลึกบริจาคเงิน 1.2 ล.แก้ทาง





ภาย หลังจากที่มีพนักงานมือดี ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) แอบส่งข้อมูลลับชุดใหญ่ให้คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยขอให้ตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของ ธอส.จนในที่สุดเรื่องทุจริตที่เกิดขึ้นนี้ ก็กลายมาเป็นข่าวใหญ่อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อ ป.ป.ช.มีหนังสือลับถึง นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ให้กระทรวงการคลังตรวจสอบข้อเท็จจริง 3 เรื่องดังนี้

1) การทุจริตที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างระบบคอมพิวเตอร์หลัก (core bank system : CBS) กับ บมจ.ดาต้าแมท กรณีการตรวจรับงานและจ่ายเงินไม่เป็นไปตามสัญญา กล่าวคือ มีการแก้ไขวันที่ส่งมอบสัญญาและรีบเร่งอนุมัติเบิกจ่ายเงินให้แก่เอกชนผู้ รับจ้าง ทั้งที่การตรวจรับยังไม่ครบถ้วนตามสัญญา

2) การทุจริตเกี่ยวกับการระดมเงินทุนและการธุรกรรมตราสารอนุพันธ์ interest rate swap เอื้อประโยชน์ให้แก่ภาคเอกชน คือ มีการทำสัญญาจ้าง DEPFA INVESTMENT BANK LIMITED ระดมเงินฝากโดยไม่มีอำนาจ ซึ่งทาง DEPFA เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกตราสารกับ ธอส. ได้แก่ ค่า facility fee 0.72%, arrangement fee 0.5% และ financial advisor fee 0.5% เป็นต้น ซึ่งปกติธนาคารไม่จำเป็นต้องมาเสียค่าธรรมเนียมประเภทนี้

นอกจาก นี้ ในการทำสัญญาว่าจ้าง DEPFA ซึ่งเป็นบริษัทที่ไม่มีสำนักงานในประเทศไทย เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในการระดมทุนวงเงิน 25 ล้านเหรียญสหรัฐ น่าจะเป็นการกระทำที่ไม่ได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจจะต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษาภายในประเทศเฉพาะที่ขึ้นทะเบียนกับ กระทรวงการคลังเท่านั้น ดังนั้นในการทำสัญญาว่าจ้าง DEPFA ไม่ใช่การดำเนินการปกติ การทำสัญญานี้จะต้องผ่านการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดด้วย

และ ประเด็นสุดท้ายที่ ป.ป.ช.สนใจ คือ การจัดซื้อเครื่องแบบพนักงานธนาคารตั้งแต่ปี 2548-2549 ด้วยวิธีพิเศษ อาทิ จัดซื้อเสื้อแจ็กเกตสีน้ำตาลแจกพนักงานจำนวน 2,000 ตัว ในราคาตัวละ 1,800 บาท เป็นต้น โดย ป.ป.ช.ได้ขอให้กระทรวงการคลังตรวจสอบและจัดส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมกับเซ็นรับรองสำเนาเอกสารส่งให้ ป.ป.ช.พิจารณาภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือจาก ป.ป.ช.

ผลปรากฏว่า เมื่อครบกำหนดนำส่ง เอกสารตามที่ร้องขอ ทาง ป.ป.ช.กลับไม่ได้ รับเอกสาร แต่ได้รับเป็นเงินบริจาคแทน โดยเมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธอส. ได้นำแคชเชียร์เช็คมูลค่า 1.2 ล้านบาท มอบให้นายอภินันท์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อร่วมสนับสนุนการจัดงานประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ครั้งที่ 14 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 10-13 พ.ย.นี้ ซึ่งทาง ป.ป.ช.ก็แก้เกมเพื่อป้องกันข้อครหาที่จะกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ด้วยการนำภาพถ่ายนายฉัตรชัยนำเงินแบงก์มาบริจาคให้กับ ป.ป.ช.ขึ้นเว็บไซต์ทันที

ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง ก็ออกมาบอกว่า กระทรวงการคลังคงไม่สามารถจัดส่งข้อมูลตามที่ ป.ป.ช.ขอได้ทัน 30 วันที่กำหนด เนื่องจาก นายศุภชัย จงศิริ รองปลัดกระทรวงการคลัง เพิ่งจะทำหนังสือไปถึงนายนริศ ชัยสูตร ประธานกรรมการ ธอส. เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยนายนริศได้นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมบอร์ดธนาคาร และได้มีการกำหนดตัวบุคคลที่มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลนำส่ง ป.ป.ช.แล้ว ซึ่งยังไม่ทราบข้อมูลทั้งหมดจะพร้อมนำส่ง ป.ป.ช.ได้เมื่อไหร่

ซึ่งก่อนหน้านี้ นางโสภาวดี เลิศมนัสชัย ประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีพนักงาน ธอส.ทุจริตเงินแบงก์ 499 ล้านบาท ได้สรุปผลการสอบสวนเสนอต่อที่ประชุม ซึ่งก็มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการทางวินัยกับผู้บริหารที่ เกี่ยว ข้องทั้งหมด นอกเหนือจากนายสมเกียรติ ปัญญาวรคุณเดช ผู้ต้องหา เวลาผ่านมาเกือบ 1 ปี แต่ก็ยังไม่พบว่า มีผู้บริหาร ท่านใดถูกลงโทษทางวินัย

และที่น่าจับตา คือ หลัง ป.ป.ช.เริ่มเข้ามาตรวจสอบ ธอส. ก็มีเสียงสะท้อนความอึดอัดใจจากนายนริศที่ปรารภกับผู้ใหญ่ในกระทรวงการคลัง ว่าอยากจะลาออกจากประธานกรรมการ ธอส. ตามกรรมการหลายท่านที่ทยอยลาออกกันไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนายชัยยุทธ สุทธิธนากร, นายวัชชรา ตันทรานนท์, นายเฉลียว วิฑูรปกรณ์, น.ส.โสภาวดี เลิศมนัสชัย ตอนนี้เหลือเพียง "นายนริศ" เท่านั้น


หน้า 14
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02fin05110353&sectionid=0206&day=2010-03-11

--
Web link
http://www.edtguide.com/SuanplooThaiMassage_486629
http://www.victam.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://www.niwatkongpien.com
http://sundara21.blogspot.com
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com/v1/
http://cloudbookclub.blogspot.com
http://blogok09.blogspot.com
http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2049
http://www.ias.chula.ac.th/Thai/modules.php?name=NuCalendar

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

จับตาแผนพีดีพี 2010 ผุดนิวเคลียร์-ถ่านหินอื้อ

จับตาแผนพีดีพี 2010 ผุดนิวเคลียร์-ถ่านหินอื้อ
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 12 กุมภาพันธ์ 2553 08:51 น.
       ASTVผู้จัดการรายวัน- สนพ.เปิดรับฟังความเห็นแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่(2010) ระยะยาว 20 ปี(2553-2573) 17 ก.พ.นี้ ขณะที่นักวิชาการค้านคลอดเร็วผิดปกติไม่รอค่าพยากรณ์ต่างๆที่จะเสร็จมี .ค.นี้ จับตาแผนเบื้องต้นเสียบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 แห่ง ถ่านหิน 14 แห่ง กำลังผลิตพุ่งกว่า 6 หมื่นเมกะวัตต์ลงทุนกว่า 2 ล้านล้านบาท
       
        นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาลตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะ กรรมการคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(PDP 2010) หรือ(2553-2573) เปิดเผยว่า การจัดทำPDP 2010 เบื้องต้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์โดยจะมีการพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งในการ ประชุมคณะทำงานทบทวนสมมติฐาน PDP2010 เป็นการภายในอีกครั้งก่อนที่จะสรุปเพื่อนำไปทำการเปิดรับฟังความเห็นจากผู้ มีส่วนได้ส่วนเสียวันที่ 17 ก.พ.นี้
       
        ทั้งนี้ตนคงจะคัดค้านถึงแนวทางการสรุปแผนดังกล่าวที่ได้มีการเสนอร่างมาแล้ว เบื้องต้นที่มีการกำหนดอัตรากำลังการผลิตไฟฟ้าตามแผนสูงถึง 66,000 เมกะวัตต์ มูลค่าลงทุนกว่า 2 ล้านล้านบาท ขณะที่กำลังการผลิตตามแผนปัจจุบันหรือ PDP-2007 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่2) หรือช่วงปี 2551-2564 กำลังการผลิต 30,155 เมกะวัตต์ลงทุนประมาณ 1,626,274 ล้านบาท
       
        นอกจากนี้แผนยังบรรจุการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ถึง 11 แห่งตลอดแผนโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2563 โรงแรกและเฉลี่ยที่เหลือปีละแห่งกำลังผลิตแห่งละประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ ขณะเดียวกันยังบรรจุการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอีกประมาณ 14 แห่งกำลังผลิตเฉลี่ยแห่งละ 800 เมกะวัตต์โดยจะทยอยเข้าระบบควบคู่ไปกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
       
        “ การเสนอแผนดังกล่าวมาถือเป็นการเร่งรีบทำเพราะเดิมจะต้องรอการจัดทำค่า พยากรณ์การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ของสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์หรือนิด้าที่มีการจ้างให้ดำเนินการรวมถึง การนำค่าจีดีพีไปพิจารณาในการจัดทำความต้องการไฟฟ้าจากมูลนิธิพลังงานเพื่อ สิ่งแวดล้อมเสียก่อนซึ่งล่าสุดนิด้าคาดการณ์จีดีพีของไทยตลอดแผนจะโตเฉลี่ย 4-4.5% ซึ่งทั้งหมดจะสรุปไม่เกินมี.ค.นี้แต่การจัดทำแผนมีการอิงจีดีพีที่ 4.5-5 %“นายเดชรัตน์กล่าว
       
        นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผู้อำนวยการส่วนไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า สนพ.ได้แจ้งผ่านเว็บไซต์เพื่อประกาศเปิดรับฟังความเห็น "ร่างแผนพัฒนาแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 (PDP 2010)" ในวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 08.30-13.00 น. ณ โรงแรมอมารี วอร์เตอร์เกต ห้องวอเตอร์เกตบอลรูม ผู้จัดได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงแล้ว หากผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพิ่มเติมได้ โดยส่งแบบตอบรับการเข้าร่วมสัมมนาทางโทรสาร 0-2967-1474
       
        สำหรับกรณีที่มีผู้ระบุว่ามีการจัดทำเร่งรีบเกินไปนั้นได้มีการหารือกันมา อย่างเป็นลำดับขั้นตอนและแผนขณะนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์จะมีการดูรายละเอียด อีกครั้งเร็วๆ นี้โดยส่วนของนิวเคลียร์ที่ตามแผนจะมีเพิ่มขึ้นนั้นเนื่องจากนิวเคลียร์จะมี ข้อดีที่ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุของภาวะเรือนกระจกได้ดี ที่สุดและยังกระจายความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิงที่ไทยพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติในสัด ส่วนที่สูงเกินไป
       
        “ ตามแผนพีดีพีเป็นระยะยาว 20 ปี มุ่งเน้นความมั่นคงของกำลังการผลิตไฟฟ้าควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม คือ มีสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศที่เหมาะสม และมีการกระจายแหล่งและชนิดเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ควบคู่ไปกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการผลิตไฟฟ้าใหม่ โดยส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนา พลังงานทดแทน 15 ปี รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อน ร่วม (Cogeneration)”นายเสมอใจกล่าว
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000020240

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

ภาพอนาคตระบบไฟฟ้าไทย : เมื่อประเทศไทยจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรง

ภาพอนาคตระบบไฟฟ้าไทย : เมื่อประเทศไทยจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรง
โดย เดชรัต สุขกำเนิด 15 กุมภาพันธ์ 2553 18:22 น.
ไม่น่าเชื่อว่า ประเทศไทยกำลังจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรงบวกกับโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก 17 โรงในอีก 20 ข้างหน้า
       
       นี่คือ ภาพอนาคตที่กระทรวงพลังงานวางไว้ให้กับสังคมไทย ผ่านการวางแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หรือ แผนพีดีพี 2010
       
       สิ่งที่น่าสนใจคือ เราอยากให้ภาพอนาคตของระบบไฟฟ้าไทยเป็นอย่างไร และใครเป็นผู้มีสิทธิกำหนดอนาคตของสังคมไทย
       
       ไฟฟ้าไทยในสายตาของกระทรวงพลังงาน
       
       เหตุผลสำคัญที่กระทรวงพลังงานมีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้ากันขนานใหญ่ ก็เพราะคาดการณ์ว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 22,050 เมกะวัตต์ เป็น 57,097 เมกะวัตต์ในปี พ.ศ.2573
       
       เมื่อหักลบการจัดการด้านความต้องการใช้ไฟฟ้า ซึ่งกระทรวงพลังงานคาดว่าจะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้เพียง 240 เมกะวัตต์ (หรือประหยัดได้เพียงร้อยละ 0.4 ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุดเท่านั้น) ทำให้ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดลดลงเล็กน้อยเหลือ 56,863 เมกะวัตต์
       
       จากความต้องการไฟฟ้าสูงสุดดังกล่าว กระทรวงพลังงานจึงกำหนดให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งประมาณ 70,126 เมกะวัตต์ ในปี พ.ศ.2573 โดยเผื่อให้มีกำลังการผลิตสำรองไว้ร้อยละ 15
       
       เมื่อบวกกับกำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน 30,000 เมกะวัตต์ และการปลดระวางโรงไฟฟ้าเก่าไปอีกจำนวนหนึ่ง กระทรวงพลังงานจึงกำหนดว่า ประเทศไทยจะต้องมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นหรือมีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเกือบ 50,000 เมกะวัตต์ ภายในระยะเวลา 20 ปี
       
       ตัวเลข 50,000 เมกะวัตต์จึงเป็นที่มาของโครงการต่างๆ รวมทั้งโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประมาณ 11 โรง รวมกัน 11,000 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าถ่านหินประมาณ 17 โรง รวมกัน 13,600 เมกะวัตต์ และซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านอีกประมาณ 10 โรง รวมกัน 8,000 เมกะวัตต์
       
       ในขณะที่ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน กระทรวงพลังงานกำหนดให้กำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกันเพียง 5,656 เมกะวัตต์ในปีพ.ศ. 2573 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของกระทรวงพลังงานตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ที่กำหนดให้มีกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียน 5,690 เมกะวัตต์ ในปีพ.ศ. 2565
       
       กล่าวโดยสรุป ตามแผนพีดีพีของกระทรวงพลังงาน ประเทศไทยจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ประมาณ 40,000 เมกะวัตต์ (ไม่รวมการซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านและการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน) หรือเท่ากับว่า ใน 20 ปีข้างหน้าเราต้องสร้างโรงไฟฟ้ากันมากกว่าโรงไฟฟ้าที่เรามีอยู่ในปัจจุบันเสียอีก
       
       ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ นับจากปีพ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประเทศไทยจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปีละหนึ่งโรง ต่อเนื่องกันทุกปี ไม่มีเว้นจนถึงปี พ.ศ. 2573 รวมทั้งสิ้น 11 โรง
       
       ทางเลือกของอนาคตไฟฟ้าไทย
       
       สิ่งที่น่าสนใจคือ ประเทศไทยของเรามีทางเลือกอื่นๆ อีกหรือไม่
       
       ในความเป็นจริง ประเทศไทยยังมีทางเลือกอื่นๆ อีกไม่น้อย ที่ไม่ได้รับความสนใจจากกระทรวงพลังงานอย่างจริงจัง
       
       เริ่มต้นจากการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า เพราะที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นแผนพีดีพี 2004 หรือแผนพีดีพี 2007 ก็ล้วนพยากรณ์เกินความจริงไปไม่ไม่น้อย โดยในแผนพีดีพี 2007 (ซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว) พยากรณ์ความต้องการเกินไปประมาณ 3,180 เมกะวัตต์ คิดเป็นภาระการลงทุนเกินจริงมากกว่า 120,000 ล้านบาท
       
       มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมได้รับมอบหมายจากกระทรวงพลังงานให้ พยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด พบว่า ในปีพ.ศ. 2573 ความต้องการไฟฟ้าของไทยจะมีเพียง 51,123 เมกะวัตต์เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของกระทรวงพลังงานถึง 5,740 เมกะวัตต์
       
       เช่นเดียวกับมูลนิธินโยบายสุขภาวะซึ่งคาดการณ์ว่า ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในปี พ.ศ. 2573 จะมีเพียงประมาณ 49,743 เมกะวัตต์เท่านั้น หรือต่างจากที่กระทรวงพลังงานกว่า 7,374 เมกะวัตต์
       
       เมื่อบวกกับว่า เราต้องสำรองกำลังการผลิตไฟฟ้าไว้อีกร้อยละ 15 การคาดการณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้นจะช่วยลดความต้องการสร้างโรง ไฟฟ้าใหม่ไปได้ถึง 8,457 เมกะวัตต์ หรือ เท่ากับไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไป 8 โรง ประหยัดเงินลงทุนไปได้กว่า 900,000 ล้านบาท
       
       ยิ่งไปกว่านั้น หากเราพยายามอนุรักษ์พลังงานให้มากขึ้น โดยลดการใช้ไฟฟ้าส่วนที่ไม่มีประสิทธิภาพลงให้ได้ร้อยละ 15 เพื่อลดภาระทางเศรษฐกิจและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (แทนที่จะลดลงเพียงร้อยละ 0.4 ตามที่กระทรวงพลังงานวางแผน) เราก็จะประหยัดพลังงานไปได้อีก 7,461 เมกะวัตต์
       
       จากการประหยัดพลังงานที่ดียิ่งขึ้นดังกล่าว เราจะสามารถลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าได้อีกกว่า 8,580 เมกะวัตต์ เหลือ เท่ากับลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีก 3 โรงที่เหลือ และลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินลงได้อีก 7 โรง ประหยัดเงินในการสร้างโรงไฟฟ้าไปได้กว่า 620,000 ล้านบาท
       
       ส่วนพลังงานหมุนเวียน หากเราทำได้ตามแผนพลังงานทดแทน 15 ปีที่กระทรวงพลังงานกำหนดไว้ พร้อมต่อยอดอย่างต่อเนื่องจากปี พ.ศ. 2565-2573 เราก็จะมีกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มอีก 8,900 เมกะวัตต์ เท่ากับว่าในปี พ.ศ. 2573 เราจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนร้อยละ 15 ของกำลังการผลิตทั้งหมด แทนที่จะเป็นร้อยละ 8 ตามที่กระทรวงพลังงานกำหนดไว้
       
       ในจำนวนเกือบ 9,000 เมกะวัตต์นี้ เราสามารถพึ่งพากำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนได้อีก 4,500 เมกะวัตต์ (มากกว่าที่กระทรงพลังงานกำหนดไว้ในแผนพีดีพีประมาณ 2,500 เมกะวัตต์) ดังนั้น จึงช่วยลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้เพิ่มขึ้นอีก 3 โรง
       
       แถมเรายังสามารถผลิตไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าและความร้อนร่วม ซึ่งมีประสิทธิภาพทางพลังงานสูงกว่าการผลิตไฟฟ้าอย่างเดียว สำหรับนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้มากกว่า 8,000 เมกะวัตต์ (ในขณะที่กระทรวงพลังงานกำหนดไว้เพียง 4,000 เมกะวัตต์) ทำให้สามารถลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินไปได้อีก 5 โรง
       
       เช่นเดียวกับ โรงไฟฟ้าเก่าๆ ที่ต้องปลดระวางไป ประมาณ 10,000 เมกะวัตต์ แทนที่จะปลดทิ้งไปเฉยๆ เราก็ควรทำการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าดังกล่าวแทน ซึ่งก็จะช่วยลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก 2 โรงที่เหลือ พร้อมทั้งยังลดความจำเป็นในการนำเข้าไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านไปได้อีกด้วย
       
       เพราะฉะนั้น ทางเลือกที่เราจะลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรงและโรงไฟฟ้าถ่านหิน 17 โรง นั้นมีอยู่มาก ซึ่งจะช่วยลดภาระทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านล้านบาทตลอดระยะเวลา 20 ปี
       
       ปัญหาคือความเร่งรีบของกระทรวงพลังงาน
       
       ในระหว่างทางเลือกที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรงและโรงไฟฟ้าถ่านหิน 17 โรง ซึ่งจะต้องนำเข้าทั้งเทคโนโลยีและเชื้อเพลิง กับการเอาจริงเอาจังในการประหยัดพลังงานและการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนด้วยตัว เราเองนั้น กำลังจะนำสู่ภาพอนาคตที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก
       
       กล่าวเฉพาะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 11 โรงก็คงจะต้องมีการก่อสร้างในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 3 จังหวัด ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหิน 17 โรงก็คงตั้งอยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 จังหวัด
       
       ภายใต้ความแตกต่างดังกล่าว การ หารือแลกเปลี่ยนกันอย่างเปิดเผย โปร่งใส และแบบเป็นขั้นเป็นตอน เป็นหัวใจสำหรับการยอมรับซึ่งกันและกัน และการลดทอนความขัดแย้งที่จะตามมาจากโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าว
       
       แม้ว่าผมจะไม่เห็นด้วยกับโรงฟ้านิวเคลียร์ แต่ผมก็มิได้คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือนิวเคลียร์ หากผ่านกระบวนการวางแผนและคิดร่วมกันอย่างรอบคอบ
       
       แต่กระทรวงพลังงานกลับเลือกที่จะเดินหน้าการวางแผนดังกล่าวอย่างเร่ง รีบจนน่าประหลาดใจ เพราะแม้ว่าความถูกต้องของการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดก็ยังไม่ได้รับ การยืนยัน กระทรวงพลังงานกลับเลือกใช้การพยากรณ์ของตนเอง ทั้งๆ ที่ที่ผ่านมาก็พยากรณ์เกินความเป็นจริงมาโดยตลอด
       
       ยิ่งไปกว่านั้น กระทรวงพลังงาน ยังรีบจัดกระบวนการรับฟังความเห็น ในวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 โดยแจ้งล่วงหน้าเพียง 7วัน และตราบจนถึงเช้าวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 (48 ชั่วโมงก่อนเวทีจะเริ่มขึ้น) กระทรวงพลังงานก็ยังไม่ยอมเผยแพร่เอกสารที่จะใช้การรับฟังความคิดเห็นดัง กล่าวให้ผู้เข้าร่วมได้ศึกษาก่อน
       
       ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมกระทรวงพลังงานถึงต้องรีบเหลือเกิน ทั้งๆ ที่เรายังมีกำลังการผลิตสำรองเหลือเฟือ (ประมาณร้อยละ 30 ของความต้องการสูงสุด) และสังคมไทยต้องการเวลาและกระบวนการที่เปิดกว้างสำหรับการตัดสินใจที่สำคัญ เหลือเกินในอนาคต
       
       คำตอบที่ผมได้รับจากกระทรวงพลังงานคือ ภาคการเมือง (ซึ่งผมไม่รู้ว่าหมายถึงใคร???) ต้องการเร่งทำให้เสร็จโดยเร็ว ส่วนที่กระทรวงพลังงานจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นประชาชนเพียงครั้งเดียว เพราะหน่วยงานไม่มีงบประมาณ
       
       นี่หรือคือเมืองไทย ที่อนาคตถูกกำหนดจากใครก็ไม่รู้
       
       นี่หรือคือเมืองไทย ที่เรากำลังจะลงทุนนับเป็นเงินกว่าสามถึงสี่ล้านล้านบาท (ย้ำ!! ล้านล้านบาท) แต่เรากลับไม่มีงบประมาณ (น่าจะไม่ถึงหนึ่งล้านบาท) สำหรับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งประเทศ
       
       แล้วเราจะยอมให้การกำหนดอนาคตของประเทศไทย เดินหน้าต่อไปเช่นนี้หรือ???
       
       -----------------
       เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นักวิชาการผู้เกาะติดนโยบายพลังงานมาอย่างต่อเนื่อง
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000021876
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

ชำแหละแผนพัฒนาผลิตไฟฟ้าใหม่ โยนภาระค่าโง่ปีละแสนล้านให้ประชาชน

ชำแหละแผนพัฒนาผลิตไฟฟ้าใหม่ โยนภาระค่าโง่ปีละแสนล้านให้ประชาชน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 มีนาคม 2553 22:39 น.
รสนา โตสิตระกูล
       ASTVผู้จัดการออนไลน์ - วุฒิสภาร่วมกับธรรมศาสตร์ จัดเวทีซักค้านแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า 2010ชี้กระบวนการจัดทำแผนเร่งรัดผิดปกติและไม่โปร่งใส นักวิชาการอิสระชำแหละแผนลงทุนเกินจำเป็นจะก่อให้เกิดภาระหรือค่าโง่นับแสน ล้านต่อปี มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคลั่นยัดเยียดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่าหวังได้เกิด กังขาปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนเอื้อประโยชน์เอกชน โยนภาระให้ชาวบ้าน
       
       ผลประโยชน์มหาศาลในธุรกิจพลังงาน เป็นแรงจูงใจให้เกิดการวางแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าที่ออกมาในลักษณะเกินความจำ เป็นและผลักภาระค่าการลงทุนนั้นมาให้ประชาชนเป็นผู้จ่ายผ่านค่าไฟที่เพิ่ม สูงขึ้นโดยไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ ภายใต้ระบบที่ผูกขาด แผนพีดีพีที่ป่วยเรื้อรังด้วยโรค “ลงทุนเกินจำเป็น” ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องชำระสะสางเพื่อกำจัดโจรใส่สูทที่สูบเลือดประชาชน อิ่มเอมเปรมปรีดิ์มาเป็นเวลายาวนาน
       
       การปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan – PDP) หรือแผนพีดีพี 2010 ซึ่งคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงแผนฯ ที่ได้รับแต่งตั้งจากนายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.กระทรวงพลังงาน ในฐานประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) กำลังเร่งดำเนินการเพื่อให้ทันกำหนดเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการพลังงาน แห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 12 มี.ค.นี้ กำลังถูกตรวจสอบและคัดค้านจากสาธารณะ โดยตั้งข้อกังขาต่อความไม่โปร่งใส รวบรัดดำเนินการ ทั้งยังเป็นแผนที่เน้นลงทุนเกินความจำเป็น และตั้งเป้าสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กว่า 10,000 เมกะวัตต์
       
       ในงานเสวนา เรื่อง “การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าและการวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า 2010” ซึ่งจัดโดยคณะอนุกรรมาธิการทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าเพื่อให้สอดคล้องกับ สภาวะเศรษฐกิจและสังคม ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ และสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมานั้น
       
       นางรสนา โตสิตระกูล ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า กระบวนการรับฟังความเห็นสาธารณะในการปรับปรุงแผนครั้งนี้ดำเนินการอย่างเร่ง รีบ รวบรัด ยกตัวอย่างเช่น การจัดเวทีสัมมนารับฟังความคิดเห็น ร่างแผนพีดีพี 2010 ในวันที่ 8 มี.ค.นี้ เป็นการรับฟังความเห็นที่สาธารณชนไม่ได้มีโอกาสศึกษาข้อมูลก่อนล่วงหน้า เพราะรายงานผลการศึกษาแผนพีดีพี 2010 ที่กระทรวงพลังงานให้นิด้าศึกษายังไม่แล้วเสร็จ
       
       ขณะเดียวกัน สมมุติฐานอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ที่จะนำมาใช้เป็นตัวเลขฐานในคำนวณความต้องการใช้ไฟฟ้าก็ยังไม่ชัดเจน รวมทั้งแผนนี้เป็นการประมาณการล่วงหน้าถึง 20ปี ซึ่งแผนที่วางไว้ยาวนานขนาดนั้น มีค่าความเบี่ยงเบนและการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขเศรษฐกิจที่อาจไม่สอดคล้องกับ การคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า ที่ผ่านมาแผนพีดีพี 2007 เพิ่งดำเนินการได้เพียง 3 ปี ก็กลับมาทบทวนกันใหม่ แล้วทำไมคราวนี้ต้องคาดการณ์ล่วงหน้าถึง 20 ปี
       
       ประธาน คณะกรรมาธิการฯ ยังตั้งข้อกังขาว่า การวางแผนพีดีพี 2010 ยาวไกลขนาดนี้เป็นการทำแผนเพื่อรองรับโครงการไฟฟ้านิวเคลียร์ และรองรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อโครงการนี้ใช่หรือไม่ นี่เป็นข้อสงสัย เหมือนช่วงวางแผนพีดีพี 2007 ที่ให้มีโรงไฟฟ้าใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิง ปรากฎว่า หุ้นพลังงานราคาพุ่งกระฉูดขึ้นรับแผนทันที
       
       “เป็น ไปได้หรือไม่ว่า ในวันที่ 12 มี.ค.ที่จะเสนอแผนพีดีพี 2010เข้าสู่ที่ประชุมกพช. ขอให้เป็นเพียงวาระเพื่อทราบเท่านั้น แล้วกลับมาดำเนินกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากกว่านี้” นางรสนา ได้ถามประเด็นนี้ต่อนายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ที่เข้าร่วมงานเสวนาในวันดังกล่าว ซึ่งนายวีระพล รับว่าจะนำข้อเสนอไปหารือในคณะอนุกรรมการฯ อีกครั้ง
       
       นายศุภกิจ นันทะวรการ คณะอนุกรรมาธิการฯ ระบุว่า การวางแผนพีดีพีระยะยาวส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณ เช่น โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีงบจัดสรรมาแล้ว 1,200 ล้านบาท ระหว่างปี 2551-2553เพื่อเตรียมความพร้อมของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่บรรจุไว้ในแผนพีดีพี โดยที่ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว หากมีการปรับปรุงแผนพีดีพี นิวเคลียร์จะยังอยู่หรือไม่
       
       นางชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน นักวิชาการอิสระ สะท้อนภาพวงจรอุบาทว์ที่เกื้อหนุนต่อการขยายการลงทุนที่เกินความจำเป็นภาย ใต้ระบบผูกขาดว่า การพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้ามักสูงเกินจริง เพื่อนำไปสู่การวางแผนและลงทุนขยายระบบไฟฟ้าและการใช้ก๊าซฯที่อิงตัวเลข พยากรณ์และเน้นรูปแบบการลงทุนที่ใช้งบประมาณสูง แล้วกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าที่สามารถผลักภาระมาให้ผู้ใช้ไฟฟ้าหรือประชาชนเป็น ผู้จ่าย
       
       ดังเช่น การคิดอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้ผลตอบแทนจากเงินลงทุน (Return on Invested Capital – ROIC) **เป็นเกณฑ์หลักในการกำหนดค่าไฟฟ้า ทำให้นำมาซึ่งการลงทุนที่มากเกินความเป็นจริง เพราะยิ่งลงทุนมาก ยิ่งได้กำไรมาก ซึ่งปัจจุบันนี้ มีการประกันรายได้ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สูงถึง 8.4% ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในช่วงที่จะนำ กฟผ.เข้าตลาดหุ้น เพื่อทำให้หุ้นกฟผ.จูงใจสำหรับนักลงทุน เวลานี้กฟผ.ไม่ได้เข้าตลาดหุ้นแล้วแต่เกณฑ์ดังกล่าวก็ยังไม่เปลี่ยน
       
       นอก จากนั้น ยังมีค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือ ค่าเอฟที ซึ่ง กฟผ. อธิบายว่า เป็นค่าไฟฟ้าที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่า ใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าที่อยู่นอกเหนือการควบคุมการควบคุมของ การไฟฟ้า คำอธิบายนี้แปลความได้ว่า ค่าเอฟทีเป็นเครื่องมือในการส่งผ่านต้นทุนต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคโดยอัตโนมัติ ประกอบด้วย
       
       1) ค่าเชื้อเพลิง เช่น ก๊าซฯ ถ่านหินนำเข้า และอื่นๆ รวมค่าลงทุนท่อก๊าซฯ กำไรปตท.ที่ส่งผ่านความเสี่ยงราคาร้อยเปอร์เซนต์

       2)ค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนและต่างประเทศ ซึ่งรวมค่าประกันกำไร การชดเชยเงินเฟ้อ ชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน
       
       3)การส่งผ่านค่าใช้จ่ายตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนด เช่น เงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า, ค่าส่วนต่างราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น และ

       4)การชดเชยกรณีหน่วยขายต่ำกว่าประมาณการ (หรือลงทุนเกิน)
       
       “การลงทุนยิ่งมาก ยิ่งได้กำไรมาก หากลงทุนเกินแล้วขายได้ต่ำกว่าประมาณการก็มีการจ่ายชดเชยให้ กลายเป็นระบบกลับหัวกลับหาง สร้างปัญหาเรื้อรังจากโรคลงทุนเกินจำเป็น” นางชื่นชมกล่าว และให้ภาพอาการป่วยเรื้อรังของแผนพีดีพีว่า มาจาก
1)การพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าที่มักสูงเกินจริงอยู่เสมอ

2)ไม่ให้ความสำคัญกับมาตรการประหยัดพลังงาน (DSM) ซึ่งความจริงแล้วสามารถทำโครงใหม่ให้เพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่แผนพีดีพีของไทยมีเพียงโครงการเปลี่ยนหลอดผอม T5 เท่านั้น และในระยะ 20 ปีตามการปรับปรุงแผนพีดีพี 2010 คาดการณ์ว่า DSM จะประหยัดได้แต่ 0.3% เท่านั้น
       
       3)กำลังผลิตสำรองเกินจำเป็น โดยเกณฑ์สำรองไฟฟ้าของไทย กำหนดไว้ประมาณ 15% แต่ส่วนใหญ่มีกำลังสำรองเหลือเกินกว่านั้น มีบางปีที่ต่ำกว่าประมาณการแต่กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นน้อยมาก
       
       4)อาการป่วยเพราะชอบของแพง ลงทุนสูง แต่พยายามทำให้ดูเหมือนว่าถูก เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่เทียบราคาต้นทุนค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าและค่าเชื้อเพลิงต่ำกว่าโรงไฟฟ้าถ่าน หิน และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม แต่ไม่ได้คิดต้นทุนการกำจัดกากนิวเคลียร์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอื่นๆ รวมทั้งผลกระทบต่อสังคมรวมเข้าไปด้วย อีกทั้งค่าต้นทุนเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ก็ยังคิดในอัตราคงที่ตั้งแต่ปี 2553 – 2573 ซึ่งไม่เป็นจริง
       
       “การลงทุนเกินตามแผนพีดีพี 2010 จะก่อให้เกิดภาระหรือค่าโง่นับหมื่นนับแสนล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ยตลอด 20 ปี รวมกว่า 2.7 ล้านล้านบาท” นางชื่นชมกล่าว และมีข้อเสนอว่า ปัญหาดังกล่าวต้องแก้ที่หัวใจของปัญหาคือ การยกเลิกระบประกันผลกำไรให้การไฟฟ้า และระบบรับผิดในการวางแผนและพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าด้วย รวมทั้งยกเลิกการชดเชยหน่วยขายไฟฟ้าต่ำกว่าประมาณการในสูตรค่าเอฟทีด้วย เพื่อตัดวงจรการขยายระบบอย่างไร้ประสิทธิภาพ
       
       นายวีระพล ได้ให้ข้อมูลว่า การประกันรายได้ให้กับกฟผ. ขณะนี้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กำลังพิจารณาทบทวนใหม่เพื่อยกเลิก ซึ่งต้องนำเสนอเรื่องต่อกพช. และเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติยกเลิกต่อไป
       
       ทั้งนี้ ศาลปกครองมีคำพิพากษาคดีแปรรูปกฟผ.ตั้งแต่ปี 2549 แต่การพิจารณายกเลิกระบบประกันรายได้ให้กฟผ. หรือ Return on Invested Capital – ROIC กลับไม่มีการพิจารณายกเลิกจนถึงบัดนี้ หรือล่าช้ามากว่า 4 ปีแล้ว ขณะที่การปรับปรุงแผนพีดีพี 2010 กลับรีบเร่งดำเนินการอย่างผิดปกติ
       
       นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ถ้าแผนพีดีพี 2010 มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ผู้บริโภคจะเดินหน้าคัดค้านตลอด และถ้าเรื่องมาตรการประหยัดพลังงาน ไม่มีความชัดเจน อย่าหวังว่านิวเคลียร์จะได้เกิด
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9530000031622

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon