วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

ชำแหละแผนพัฒนาผลิตไฟฟ้าใหม่ โยนภาระค่าโง่ปีละแสนล้านให้ประชาชน

ชำแหละแผนพัฒนาผลิตไฟฟ้าใหม่ โยนภาระค่าโง่ปีละแสนล้านให้ประชาชน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 มีนาคม 2553 22:39 น.
รสนา โตสิตระกูล
       ASTVผู้จัดการออนไลน์ - วุฒิสภาร่วมกับธรรมศาสตร์ จัดเวทีซักค้านแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า 2010ชี้กระบวนการจัดทำแผนเร่งรัดผิดปกติและไม่โปร่งใส นักวิชาการอิสระชำแหละแผนลงทุนเกินจำเป็นจะก่อให้เกิดภาระหรือค่าโง่นับแสน ล้านต่อปี มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคลั่นยัดเยียดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่าหวังได้เกิด กังขาปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนเอื้อประโยชน์เอกชน โยนภาระให้ชาวบ้าน
       
       ผลประโยชน์มหาศาลในธุรกิจพลังงาน เป็นแรงจูงใจให้เกิดการวางแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าที่ออกมาในลักษณะเกินความจำ เป็นและผลักภาระค่าการลงทุนนั้นมาให้ประชาชนเป็นผู้จ่ายผ่านค่าไฟที่เพิ่ม สูงขึ้นโดยไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ ภายใต้ระบบที่ผูกขาด แผนพีดีพีที่ป่วยเรื้อรังด้วยโรค “ลงทุนเกินจำเป็น” ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องชำระสะสางเพื่อกำจัดโจรใส่สูทที่สูบเลือดประชาชน อิ่มเอมเปรมปรีดิ์มาเป็นเวลายาวนาน
       
       การปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan – PDP) หรือแผนพีดีพี 2010 ซึ่งคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงแผนฯ ที่ได้รับแต่งตั้งจากนายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.กระทรวงพลังงาน ในฐานประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) กำลังเร่งดำเนินการเพื่อให้ทันกำหนดเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการพลังงาน แห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 12 มี.ค.นี้ กำลังถูกตรวจสอบและคัดค้านจากสาธารณะ โดยตั้งข้อกังขาต่อความไม่โปร่งใส รวบรัดดำเนินการ ทั้งยังเป็นแผนที่เน้นลงทุนเกินความจำเป็น และตั้งเป้าสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กว่า 10,000 เมกะวัตต์
       
       ในงานเสวนา เรื่อง “การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าและการวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า 2010” ซึ่งจัดโดยคณะอนุกรรมาธิการทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าเพื่อให้สอดคล้องกับ สภาวะเศรษฐกิจและสังคม ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ และสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมานั้น
       
       นางรสนา โตสิตระกูล ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า กระบวนการรับฟังความเห็นสาธารณะในการปรับปรุงแผนครั้งนี้ดำเนินการอย่างเร่ง รีบ รวบรัด ยกตัวอย่างเช่น การจัดเวทีสัมมนารับฟังความคิดเห็น ร่างแผนพีดีพี 2010 ในวันที่ 8 มี.ค.นี้ เป็นการรับฟังความเห็นที่สาธารณชนไม่ได้มีโอกาสศึกษาข้อมูลก่อนล่วงหน้า เพราะรายงานผลการศึกษาแผนพีดีพี 2010 ที่กระทรวงพลังงานให้นิด้าศึกษายังไม่แล้วเสร็จ
       
       ขณะเดียวกัน สมมุติฐานอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ที่จะนำมาใช้เป็นตัวเลขฐานในคำนวณความต้องการใช้ไฟฟ้าก็ยังไม่ชัดเจน รวมทั้งแผนนี้เป็นการประมาณการล่วงหน้าถึง 20ปี ซึ่งแผนที่วางไว้ยาวนานขนาดนั้น มีค่าความเบี่ยงเบนและการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขเศรษฐกิจที่อาจไม่สอดคล้องกับ การคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า ที่ผ่านมาแผนพีดีพี 2007 เพิ่งดำเนินการได้เพียง 3 ปี ก็กลับมาทบทวนกันใหม่ แล้วทำไมคราวนี้ต้องคาดการณ์ล่วงหน้าถึง 20 ปี
       
       ประธาน คณะกรรมาธิการฯ ยังตั้งข้อกังขาว่า การวางแผนพีดีพี 2010 ยาวไกลขนาดนี้เป็นการทำแผนเพื่อรองรับโครงการไฟฟ้านิวเคลียร์ และรองรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อโครงการนี้ใช่หรือไม่ นี่เป็นข้อสงสัย เหมือนช่วงวางแผนพีดีพี 2007 ที่ให้มีโรงไฟฟ้าใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิง ปรากฎว่า หุ้นพลังงานราคาพุ่งกระฉูดขึ้นรับแผนทันที
       
       “เป็น ไปได้หรือไม่ว่า ในวันที่ 12 มี.ค.ที่จะเสนอแผนพีดีพี 2010เข้าสู่ที่ประชุมกพช. ขอให้เป็นเพียงวาระเพื่อทราบเท่านั้น แล้วกลับมาดำเนินกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากกว่านี้” นางรสนา ได้ถามประเด็นนี้ต่อนายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ที่เข้าร่วมงานเสวนาในวันดังกล่าว ซึ่งนายวีระพล รับว่าจะนำข้อเสนอไปหารือในคณะอนุกรรมการฯ อีกครั้ง
       
       นายศุภกิจ นันทะวรการ คณะอนุกรรมาธิการฯ ระบุว่า การวางแผนพีดีพีระยะยาวส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณ เช่น โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีงบจัดสรรมาแล้ว 1,200 ล้านบาท ระหว่างปี 2551-2553เพื่อเตรียมความพร้อมของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่บรรจุไว้ในแผนพีดีพี โดยที่ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว หากมีการปรับปรุงแผนพีดีพี นิวเคลียร์จะยังอยู่หรือไม่
       
       นางชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน นักวิชาการอิสระ สะท้อนภาพวงจรอุบาทว์ที่เกื้อหนุนต่อการขยายการลงทุนที่เกินความจำเป็นภาย ใต้ระบบผูกขาดว่า การพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้ามักสูงเกินจริง เพื่อนำไปสู่การวางแผนและลงทุนขยายระบบไฟฟ้าและการใช้ก๊าซฯที่อิงตัวเลข พยากรณ์และเน้นรูปแบบการลงทุนที่ใช้งบประมาณสูง แล้วกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าที่สามารถผลักภาระมาให้ผู้ใช้ไฟฟ้าหรือประชาชนเป็น ผู้จ่าย
       
       ดังเช่น การคิดอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้ผลตอบแทนจากเงินลงทุน (Return on Invested Capital – ROIC) **เป็นเกณฑ์หลักในการกำหนดค่าไฟฟ้า ทำให้นำมาซึ่งการลงทุนที่มากเกินความเป็นจริง เพราะยิ่งลงทุนมาก ยิ่งได้กำไรมาก ซึ่งปัจจุบันนี้ มีการประกันรายได้ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สูงถึง 8.4% ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในช่วงที่จะนำ กฟผ.เข้าตลาดหุ้น เพื่อทำให้หุ้นกฟผ.จูงใจสำหรับนักลงทุน เวลานี้กฟผ.ไม่ได้เข้าตลาดหุ้นแล้วแต่เกณฑ์ดังกล่าวก็ยังไม่เปลี่ยน
       
       นอก จากนั้น ยังมีค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือ ค่าเอฟที ซึ่ง กฟผ. อธิบายว่า เป็นค่าไฟฟ้าที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่า ใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าที่อยู่นอกเหนือการควบคุมการควบคุมของ การไฟฟ้า คำอธิบายนี้แปลความได้ว่า ค่าเอฟทีเป็นเครื่องมือในการส่งผ่านต้นทุนต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคโดยอัตโนมัติ ประกอบด้วย
       
       1) ค่าเชื้อเพลิง เช่น ก๊าซฯ ถ่านหินนำเข้า และอื่นๆ รวมค่าลงทุนท่อก๊าซฯ กำไรปตท.ที่ส่งผ่านความเสี่ยงราคาร้อยเปอร์เซนต์

       2)ค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนและต่างประเทศ ซึ่งรวมค่าประกันกำไร การชดเชยเงินเฟ้อ ชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน
       
       3)การส่งผ่านค่าใช้จ่ายตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนด เช่น เงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า, ค่าส่วนต่างราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น และ

       4)การชดเชยกรณีหน่วยขายต่ำกว่าประมาณการ (หรือลงทุนเกิน)
       
       “การลงทุนยิ่งมาก ยิ่งได้กำไรมาก หากลงทุนเกินแล้วขายได้ต่ำกว่าประมาณการก็มีการจ่ายชดเชยให้ กลายเป็นระบบกลับหัวกลับหาง สร้างปัญหาเรื้อรังจากโรคลงทุนเกินจำเป็น” นางชื่นชมกล่าว และให้ภาพอาการป่วยเรื้อรังของแผนพีดีพีว่า มาจาก
1)การพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าที่มักสูงเกินจริงอยู่เสมอ

2)ไม่ให้ความสำคัญกับมาตรการประหยัดพลังงาน (DSM) ซึ่งความจริงแล้วสามารถทำโครงใหม่ให้เพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่แผนพีดีพีของไทยมีเพียงโครงการเปลี่ยนหลอดผอม T5 เท่านั้น และในระยะ 20 ปีตามการปรับปรุงแผนพีดีพี 2010 คาดการณ์ว่า DSM จะประหยัดได้แต่ 0.3% เท่านั้น
       
       3)กำลังผลิตสำรองเกินจำเป็น โดยเกณฑ์สำรองไฟฟ้าของไทย กำหนดไว้ประมาณ 15% แต่ส่วนใหญ่มีกำลังสำรองเหลือเกินกว่านั้น มีบางปีที่ต่ำกว่าประมาณการแต่กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นน้อยมาก
       
       4)อาการป่วยเพราะชอบของแพง ลงทุนสูง แต่พยายามทำให้ดูเหมือนว่าถูก เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่เทียบราคาต้นทุนค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าและค่าเชื้อเพลิงต่ำกว่าโรงไฟฟ้าถ่าน หิน และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม แต่ไม่ได้คิดต้นทุนการกำจัดกากนิวเคลียร์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอื่นๆ รวมทั้งผลกระทบต่อสังคมรวมเข้าไปด้วย อีกทั้งค่าต้นทุนเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ก็ยังคิดในอัตราคงที่ตั้งแต่ปี 2553 – 2573 ซึ่งไม่เป็นจริง
       
       “การลงทุนเกินตามแผนพีดีพี 2010 จะก่อให้เกิดภาระหรือค่าโง่นับหมื่นนับแสนล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ยตลอด 20 ปี รวมกว่า 2.7 ล้านล้านบาท” นางชื่นชมกล่าว และมีข้อเสนอว่า ปัญหาดังกล่าวต้องแก้ที่หัวใจของปัญหาคือ การยกเลิกระบประกันผลกำไรให้การไฟฟ้า และระบบรับผิดในการวางแผนและพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าด้วย รวมทั้งยกเลิกการชดเชยหน่วยขายไฟฟ้าต่ำกว่าประมาณการในสูตรค่าเอฟทีด้วย เพื่อตัดวงจรการขยายระบบอย่างไร้ประสิทธิภาพ
       
       นายวีระพล ได้ให้ข้อมูลว่า การประกันรายได้ให้กับกฟผ. ขณะนี้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กำลังพิจารณาทบทวนใหม่เพื่อยกเลิก ซึ่งต้องนำเสนอเรื่องต่อกพช. และเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติยกเลิกต่อไป
       
       ทั้งนี้ ศาลปกครองมีคำพิพากษาคดีแปรรูปกฟผ.ตั้งแต่ปี 2549 แต่การพิจารณายกเลิกระบบประกันรายได้ให้กฟผ. หรือ Return on Invested Capital – ROIC กลับไม่มีการพิจารณายกเลิกจนถึงบัดนี้ หรือล่าช้ามากว่า 4 ปีแล้ว ขณะที่การปรับปรุงแผนพีดีพี 2010 กลับรีบเร่งดำเนินการอย่างผิดปกติ
       
       นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ถ้าแผนพีดีพี 2010 มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ผู้บริโภคจะเดินหน้าคัดค้านตลอด และถ้าเรื่องมาตรการประหยัดพลังงาน ไม่มีความชัดเจน อย่าหวังว่านิวเคลียร์จะได้เกิด
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9530000031622

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น